อนุทิน 104904


ป.
เขียนเมื่อ

คิดอย่างไร หากบ้านเราให้เกษียณอายุราชการตอนอายุ 65 ปีแทน 60 ปี
...

เนื่องจากผู้สูงอายุในปัจจุบัน มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น มีอายุยืนยาวขึ้น
คนแต่งงานเมื่ออายุสูงขึ้น
ในบางประเทศ ที่ประชากรใหม่เกิดน้อยอย่างยุโรปให้คนเกษียณตอนอายุ 65 ปี
...

ข้อพิจารณาจากข่าวนี้

แต่สิ่งสำคัญคือความโปร่งใส "ประโยชน์ต่อราชการ"..(อ่านข่าวนี้แล้วถอนหายใจยาว...)



ความเห็น (4)

ปัญหาที่องค์กรผม ก็คือ อาจารย์ที่ได้รับการต่ออายุเป็น "ผู้สอน" มีประโยชน์กว่าอาจารย์ที่ได้รับการต่ออายุจากเหตุผล "ทำโครงการระยะสั้น-ยาว"

หลาย ๆ ครั้งการต่ออายุ คือ "ผลประโยชน์ต่างตอบแทน" ที่ค่าจ้างแสนแพง

อีกประเด็น เมื่ออาจารย์ที่เป็นผู้บริหารเกษียณอายุ จะมีแผนการต่ออายุออกมา เมื่อต่อได้ก็จะทำงานเช่นนั้นต่อไป ทำให้คนอาวุโสน้อยกว่า ไม่มีโอกาสได้ทำงานบริหารที่ตนเองครองไว้ กว่าคนเหล่านั้นออกไป คนอาวุโสน้อยเหล่านี้ก็ทำงานไม่เป็นแล้ว เพราะไม่เคยมีการสอนงาน มากไปกว่า การหวงเก้าอี้ เอาไว้จนตาย

แลกเปลี่ยนกันนะครับ ;)...

คำพูดของอาจารย์ ทำให้นึกถึง ต้นไม้ใหญ่

หากอยู่เพื่อให้ต้นกล้าใหม่ ได้เติบโต บริเวณนั้นก็ไม่ขาดร่มเงาไม้ และยังแผ่ขยาย

หากอยู่เพื่อครองพื้นที่ เมื่อถึงวันร่วงรา ก็ไม่มีร่มไม้มาทดแทน

....

ทบทวนว่าทำอย่างไร ไม่ให้เกิด หรืออย่างน้อยบรรเทาเหตุการณ์ลักษณะนี้

เรื่องความเมตตา และ โยนิโสมนัสิการ มีมากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละบุคคล

ส่วนหนึ่งอาจทำได้โดย

การอ่อนน้อมของผู้ด้อยอาวุโสเพื่อรับการสอนงาน และยกท่านผู้อาวุโสไว้ในที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ

แต่ถ้าเป็นผลประโยชน์ในแง่อามิส ก็...อิทธิปัจจัตตา

อิทธิปัจจัตตา แปลว่า อะไรเหรอครับ ;)...

(เป็นแ่ง่อามิส อย่างมิต้องสงสัยครับ)

ขอบคุณอาจารย์มากคะ นี่ก็เข้าใจไปเองว่าเขียนแบบนี้ ที่ถูกต้องคือ "อิทัปปัจจยตา"
คือ สิ่งที่เกิดขึ้นมีเหตุมีผลของมันอยู่
แม้กฎระเบียบอาจไม่ศักดิ์สิทธิ์เสมอไป
แต่สักวัน "ผล"งาน ก็จะปรากฎเป็นประจักษ์เอง
ว่า "เหตุ" แห่งการกระทำนั้น ทำเพื่อส่วนรวม หรือเพื่อส่วนตัวคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท