จากการได้ฟังเพื่อนในclass นำเสนอทั้งหมดในวันนี้ ดิฉันมีความสนใจในกรณีศึกษาของเมธิตาค่ะ และขอเสนอแนะการบำบัดรักาาทางกิจกรรมบำบัดในเด้กออทิสติกที่ทีปัยหาต่าง ๆ ดังนี้
• เด็กที่มีความบกพร่องในด้านการประมวลผลการรับความรู้สึก: sensory processing disorder
นักกิจกรรมบำบัดจะใช้กรอบอ้างอิงการผสมผสานข้อมูลความรู้สึก : sensory integration
โดยการให้ข้อมูลความรุ้สึกแบบองค์รวม มีการกระตุ้นในทุก ๆ ระบบแบบผสมผสาน เช่น กระโดดพร้อมกับโยนลูกบอล การนั่งชิงช้า และนักกิจกรรมบำบัดต้องสังเกตพฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของเด็ก เด็กบางคนอาจจะชอบหรือไม่ชอบในการทำกิจกรรม นักกจกรรมบำบัดต้องคอยสังเกต เข่นเด็กบางคนชอบให้กระตุ้นในจังหวะแตกกัน และต้องยึดหลักของพัฒนาการแต่ละช่วงวัย เพื่อให้สิ่งเร้าที่เหมาะสมกับเด็กไม่ยาก หรือง่ายเกินความสามารถของเด็ก
รวมทั้งนักกิจกรรมบำบัดก็ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณืและวิเคราะห์หิจหรรมที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดขั้นตอนของการปรับระดับข้อมูลและพัฒนาความสามารถพื้นฐานต่อการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สมองก็จะเกิดการเรียนรู้ แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม และการที่เด็กเล่นด้วยตัวของตัวเอง หรือการที่เด็กแสดงออกถึงความต้องการว่าต้องการเล่นอะไร เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เด็กเกิดการปรับตัวตอบสนองได้ดี
• เด็กที่มีปัญหาด้านสมาธิสั้น
นักกิจกรรมบำบัดจะใช้การวิเคราะห์กิจกรรม ( activity analysis ) ที่ใช้ในการฝึก ให้เด็กสามารถทำได้สำเร็จ โดยปรับที่กิจกรรมให้มีจำนวนมาก ๆ ไม่ซับซ้อน และสามารถเห็นผลสำเร็จ ร่วมกับการปรับพฤติกรรม (behavior modification) โดยการให้แรงเสริมทางทางบวก เมื่อเด็กสามารถนั่งทำกิจกรรมได้จนครบเวลาที่กำหนด และการใช้ sensory integration โดยการให้การกระตุ้น 3 ระบบหลัก เพื่อให้เด็กมีระดับความตื่นตัวที่เหมาะสมต่อการทำกิจกรรม
• เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในกิจกรรมรับประทานอาหาร แต่งกายและการเข้าห้องน้ำ
นักกิจกรรมบำบัดจะใช้การวิเคราะห์กิจกรรม (activity analysis) วิเคราะห์ขั้นตอนของกิจกรรมว่าเด็กทำได้ถึงขั้นตอนไหนแล้วปรับกิจกรรม ปรับวิธีการหรือปรับสื่อให้เด้กสามารถทำได้ด้วยตนเอง การใช้การปรับพฤติกรรม (behavior modification) เมื่อให้เด้กสามารถทำกิจกรรมได้สำเร้จก้ให้คำคำชมเชย การใช้การปรับสิ่งแวดล้อม (environment adaptation) โดยการจัดวางอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรมให้ระบบ มีตู้ใส่เสื้อผ้า หรือลิ้นชักเก็บของ และการใช้ PECS โดยการใช้รูปภาพเป็นสื่อในการช่วยให้เด้กเข้าใจขั้นตอน หรือเตือนเวลาที่เด็กที่เด็กจะลืมขั้นตอน
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก