ความเห็น


อาจารย์ค่ะ..หนูมีเรื่องจะเล่าให้ท่านฟังค่ะ...

คือว่า..มีอาจารย์ท่านหนึ่งมาขอให้หนูช่วยเขียนหลักการและเหตุผลของโครงการ "สาธิตการทำขนมเดือนสิบ"  หนูก็อ่าน ๆ รายละเอียดวิธีดำเนินการดู เห็นว่า เขาจะเชิญชาวบ้านมาเป็นวิทยากรสาธิตการทำขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า ฯลฯ  ให้นักศึกษาและคนทั่วไปชม เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น..ประมาณนี้...

พออ่านเข้าใจแล้วก็เปลี่ยนชื่อโครงการซะใหม่เลยว่า...โครงการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น : ขนมเดือนสิบของชาวนครศรีธรรมราช  ..555..  ลากมาเข้า KM ซะงั้น.. แล้วเขียนหลักการและเหตุไปว่า  เป็นการให้นักวิชาการ นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในเรื่อง "ขนมเดือนสิบ"  แล้วสกัดความรู้อันเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านมาบันทึกเป็นขุมความรู้ต่อไป...   หนูจะเป็นคุณลิขิต..ที่หนูคิดอย่างนี้นะคะ  ก็เพราะว่าหนูคิดว่าชาวบ้านต้องมีความรู้และเทคนิคในการทำขนมที่ดีนะคะ..ก็เขาทำกันทุกปีค่ะ  ถ้าเราไม่บันทึกไว้  การสาธิตก็ผ่านไปรู้เฉพาะคนที่มาดูเท่านั้น  ถ้าหนูได้ถ่ายรูปขั้นตอนต่าง ๆ และบันทึกสาระอะไร ๆ ที่ได้จากการพูดคุยกับชาวบ้านด้วย..หนูว่านี่คือ ..การจัดการความรู้นะคะ..

เอ...หรือว่าหนูเข้าผิด   อาจารย์ช่วยออกความเห็นหน่อยนะคะ    โครงการนี้จะจัดวันที่  2  ก.ค  49  ที่ มทร.ศรีวิชัย นครศรีฯน่ะ...  อาจารย์เคยมาบรรยายด้วย  เมื่อวันที่  6  มิ.ย. 49  ไงคะ  น่าจำหนูได้..ที่พูดกับอาจารย์ว่าจะทำ KMในไสใหญ่นะค่ะ ..ขอบคุณค่ะ.. ทุกเรื่องใน Blog ของอาจารย์  หนูชอบอ่าน...

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย