หนังสือบุดของสุราษฎร์ธานี หนังสือบุดหรือหมุด
คือหนังสือซึ่งทำด้วยกระดาษย่านปริหนา ซึ่งพับเป็นชั้น ๆ ภาคกลาง
เรียกหนังสือชนิดนี้ว่า "สมุดไทย" หรือ "สมุดข่อย"
ลักษณะตัวอักษรที่ใช้บันทึกมักเอนไปข้างหลัง หรือ ทางขวาประมาณ 30-40
องศา ที่เขียนด้วยตัวตรงนั้นพอ
จะมีอยู่บ้างแต่น้อยกว่าการเขียนเอนไปข้างหลัง
มักจะใช้บันทึกเรื่องทั่ว ๆ ไป เช่น นิทานเรื่องพระแสงสุริฉาย เล่ม 2
วรรณกรรมท้องถิ่นจากหนังสือบุดเรื่องพระแสงสุรีฉาย มีอายุประมาณ 100
กว่าปี แต่งขึ้น สมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ.2438
เนื้อเรื่องกล่าวถึงฤาษีตนหนึ่งพบทารกน้อยนอนอยู่ใกล้แม่น้ำ
จึงเก็บมาเลี้ยงและตั้งชื่อว่า อุบลวันนา เพราะว่านางถือกำเนิด
มาจากดอกบัว ฤาษีและพระแสงสุรีฉายซึ่งเป็นศิษย์จึงช่วยกันเลี้ยงดูนาง
นางอายุได้ 14 ปี ฤาษีจึงให้นางอภิเษกกับพระแสงสุรีฉาย
แล้วเนรมิตปราสาทให้ทั้งสองครองคู่กัน
ทุกวันทั้งสองจะออกหาผลไม้ให้พระฤาษีทุกวัน
อยู่มาวันหนึ่งพระแสงสุรีฉายออกเที่ยวป่า องค์เดียวเกิดหลงป่า
หาทางกลับไม่ได้ จนค่ำก็พบช้างป่ามากมาย พระแสงสุรีฉายจึงแผงสรออกไป
ทำให้สัตว์ทั้งหลายตกใจหนี ไปหมด เหลือแต่พญาช้างเผือกตัวเดียว
พญาช้างเผือกเห็นพระแสงสุรีฉายจึงเกิดความรักใคร่
แล้วถามพระสุรีฉายว่าทำไมมาเดินป่า องค์เดียว
พระแสงสุรีฉายตอบว่าตนหลงป่าให้พญาช้างสารช่วยบอกทาง กลับให้ที
พญาช้างจึงให้พระแสงสุรีขี่หลังแล้วพาหายไป
ขณะที่นั่งบนหลังพญาช้างพระแสงสุรีฉายได้กลิ่นหอมของดอกไม้
จึงถามพญาช้างว่ากลิ่นอะไร พญาช้างตอบว่าเป็นกลิ่นของ
นางแสงแก้วธิดาของยักษ์วิจิตราช มีสิริโฉมงดงามมาก
พระแสงสุรีฉายต้องการจะเห็นโฉมของนาง จึงให้พญาช้างพาไป พญาช้าง
บอกว่าบิดาของนางดุร้ายมาก พระแสงสุรีฉายบอกว่าไม่กลัว
พญาช้างจึงพาพระแสงสุรีฉายเหาะลงมาเมืองยักษ์พระแสงสุรีฉาย
จึงได้ลักลอบเข้าในห้องของนางแสงแก้ว
และได้นางแสงแก้วเป็นมเหสีอีกองค์หนึ่ง
จนกระทั่งพ่อของนางแสงแก้วทราบเรื่อง จึงต่อสู้กับพระสุรีฉาย
แต่สู้ไม่ได้จึงต้องยอมรับพระแสงสุรีฉาย
หลังจากนั้นพระแสงสุรีฉายและนางแสงแก้วได้เดินทางกลับมายัง
อาศรมฤาษีและเล่าความจริงให้นางอุบลวันนาฟัง พักอยู่กับฤาษี 15 วัน
พระแสงสุรีฉายจึงลาฤาษีกลับเมืองและพานางแสงแก้วและ
นางอุบลวันนากลับไปด้วย หนังสือบุดเล่มนี้ได้มาจาก นางเงิน
อภัยสวัสดิ์ อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สภาพของหนังสือข้อนข้างสมบูรณ์ ชำรุดหน้าปลายเล็กน้อย