- ตื่นเช้าเหมือนกันนะคะ ท่านศน.ลำดวน วิไลก็ตื่นตี 5 ค่ะ ปกติจะตื่นตี 4 แต่คืนวันที่ 19 ได้นอนแค่ 3 ชั่วโมง แล้วต้องไปนั่งอบรมอีกทั้งวัน แต่ก็ไม่หลับในห้องอบรมนะคะ ดูคนนั่งทางซ้าย 2 คนก็หลับ ทางขวาก็หลับ แต่วิไลไม่เคยนั่งหลับในห้องอบรม
- ในการอบรมทุกครั้ง วิไลจะทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังด้วยความสนใจ โดยเก็บรายละเอียดทั้งเนื้อหา อารมณ์และเจตคติของผู้พูด อย่างที่เรียกว่า การฟังเชิงลึก (Deep Listenning) ตามแนวจิตตปัญญาค่ะ เมื่อเช้าวานนี้ ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน จากจุฬาฯ เป็นวิทยากรเรื่อง "วิทยากรกระบวนการตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา" ค่ะ วิไลเคยอบรมเรื่องนี้ในปี 2553 เป็นเวลา 3 วัน แต่ก็ไม่ได้ทำตัวแบบ "คนประเภทน้ำชาล้นถ้วย" พร้อมที่เรียนรู้เพื่อเติมเต็มและก็ทำให้ได้อะไรเพิ่มเติมมาอีกเยอะ วิทยากรถามผู้เข้ารับการอบรม (ห้องรวมทุกสาขากว่า 400 คน) ว่า ในฐานะที่ท่านเป็นครู-อาจารย์ ท่านเคยใส่ใจในความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียนเป็นรายบุคคลไหม เคยให้พวกเขาแสดงความเห็นหรือไม่หลังจากที่ท่านสอนไป ว่า ผู้เรียนแต่ละคน รู้สึกนึกคิดอย่างไรกับประสบการณ์ที่เขาได้รับ วิไลก็เพิ่งทำเช่นนั้นมาในการจัดการเรียนรู้สัปดาห์แรกของวิชา "จิตวิทยาสำหรับครู" ให้กับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (5ปี) พบว่านักศึกษา ทั้ง 3 ห้อง ยกเว้น 1 คน นอกนั้นให้ข้อมูลย้อนกลับทางบวก (Positive Feedback) หมด ตัวอย่างที่เพิ่งเริ่มพิมพ์เมื่อวานนี้ ได้แก่
รู้สึกว่าเป็นการสอนที่แปลกใหม่มาก เพราะยังไม่เคยเรียนรู้อะไรที่แปลกใหม่เช่นการเรียนการสอนในชั่วโมงนี้...เท่าที่ข้าพเจ้าได้เข้ามาเรียน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ไม่เคยมีอาจารย์ท่านไหนให้ข้าพเจ้าได้ทำกิจกรรมแบบนี้ ข้าพเจ้าประทับใจในกิจกรรมที่ทำวันนี้มาก ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้จักตัวเองมากขึ้น และฝึกความมีระเบียบความรอบคอบในการทำสิ่งต่างๆ และที่สำคัญได้ฝึกคิดอย่างลึกซึ้ง และได้รู้จักตัวตนของเพื่อนๆ ค่ะ ...เป็นวิชาที่ฝึกให้ใช้ความคิด การวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อข้าพเจ้าและนักศึกษาทุกคนที่จะนำไปใช้ในวิชาอื่นๆ หรือใช้ในชีวิตประจำวันได้ …สนุกกับการเรียนวันนี้ค่ะ เพราะอาจารย์มีการสอนที่หลากหลาย ผู้สอนก็อัธยาศัยดีกับนักศึกษา สามารถทำให้นักศึกษารู้จักกันในห้อง มีการบูรณาการไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย มีความคิดสร้างสรรค์ …ข้าพเจ้าไม่ชอบการบีบบังคับ แต่เรียนวิชานี้แล้วรู้สึกว่าข้าพเจ้ามีวินัยมากขึ้น แม้จะเป็นการเรียนเพียงเริ่มต้นเท่านั้น วิชานี้ทำให้ข้าพเจ้ารอบคอบขึ้นมาอีกระดับหนึ่งจากที่เคยทำงานอย่างปล่อยปละละเลย (ควรใช้คำว่า แบบสุกเอาเผากิน) ชื่นชอบอาจารย์อีกอย่างหนึ่ง คือ อาจารย์จัดกฎควบคุมมาก แต่อาจารย์ก็สามารถทำให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลายและสนุกสนานได้ ซึ่งนั่นเป็นหลักอย่างหนึ่งที่ผู้เป็นครูต้องมีในจิตวิญญาณ…อาจารย์มีแบบการสอนที่แตกต่างจากอาจารย์ท่านอื่นๆ นักศึกษาได้พูด อ่าน เขียน ฟัง และคิดวิเคราะห์ในเวลาเดียวกัน ไม่ได้นั่งเรียนตลอด ทำให้ไม่รู้สึกเบื่อแม้จะเรียนหลายชั่วโมงก็ตาม การเรียนน่าสนใจมาก…ข้าพเจ้ามีความตื่นเต้นเล็กน้อย และรู้สึกว่า วิชานี้มีความท้าทาย สนุกสนานกับการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นการกระตุ้นความคิดเป็นอย่างมาก และรู้สึกเกร็งเล็กน้อยที่ต้องนั่งเรียนกับรุ่นพี่ แต่ก็มีความสุขในการเรียนวิชานี้
(นักศึกษาที่เรียนประมาณ 95 % เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่เหลือเป็นชั้นปีที่ 1 [สาขาวิชาภาษาอังกฤษ] ใน จำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ทั้งหมด 90 % เป็นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ที่เหลือเป็นสาขาวิชาสังคมศึกษา ปฐมวัย และ พลศึกษา)
- ตอนนี้อยู่ในห้อง 1172 ที่ "The Twin Towers Hotel" กทม. ค่ะ ตามหลักภาษาที่ได้อธิบายไปแล้ว คำว่า "Towers" จะต้องไม่มี "s" ค่ะเพราะทำหน้าที่เป็น AdJective ขยาย Noun คือ คำว่า "Hotel" เดี๋ยวต้องปิดเครื่องเตรียมข้อมูลเข้าประชุมกล่มวิทยากรจากอุบลฯ ค่ะ ทีมอุบลฯ จะแข็งขันมาก เที่ยวนี้มา 7 คน (ปีที่แล้วมา 4 คน) ขาดครูแกนนำแนะแนวระดับประถมจากสพป.ไป 1 คนค่ะ ทราบจากครูแกนนำแนะแนวระดับมัธยม ว่า เธอเพิ่งรู้ว่าต้องมาอบรมจึงมาไม่ทัน (ครูแกนนำแนะแนวระดับมัธยมเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิของวิไลเองค่ะ เรียนปริญญาตรีสาขาจิตวิทยาและการแนะแนวที่มีอ.วิไลเป็นที่ปรึกษาในปี 2534-2535 และปริญญาโทสาขาวิจัยฯ ที่เรียนการวิจัยตัวแปรทางจิตวิทยากับผศ.วิไล และผศ.วิไลเป็นกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่ใช้เทคนิกการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม [PAR] เพื่อพัฒนากิจกรรมสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้กับนักเรียนม.ต้น ในกิจกรรมแนะแนว เธออยู่โรงเรียนมัธยมเล็กๆ ที่มีครู 19 คน นึกว่าสพม.จะเลือกครูจากโรงเรียนเบญจะมะมหาราชหรือโรงเรียนนารีนุกูล โรงเรียนประจำจังหวัดที่มีครูโรงเรียนละประมาณ 300 คน มาร่วมรับหลักสูตร แสดงว่าสพม.ต้องเห็นแววในตัวเธอจึงทำให้ได้รับเลือก)