สรุปวิเคราะห์ผลการติดตามเพลี้ยแป้ง
1.การระบาดของเพลี้ยแป้ง มีความสัมพันธ์กับความชื้นในดิน บริเวณที่ระบาดเป็นบริเวณความชื้นในดินต่ำทั้งหมด
2.ความแข็งแรงของต้นมันสำปะหลังไม่มีความสัมพันธ์กับการระบาดของเพลี้ยแป้ง
เพราะมันสำปะหลังที่อ่อนแอจากน้ำสารเคมีจากรถขยะเคมีไม่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง แต่มันสำปะหลังที่อ่อนแอจากขาดน้ำเกิดเพลี้ยทั้งหมด
3. การระบาดของเพลี้ยแป้งมีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของน้ำเลี้ยงมันสำปะหลัง เพลี้ยชอบกินน้ำเลี้ยงต้นที่มีความเข้มข้นของน้ำเลี้ยงสูง เมื่อเจือจางน้ำเลี้ยงถึงระดับหนึ่ง เพลี้ยแป้ง ไม่สามารถใช้เป็นอาหารได้(สมมุตติฐาน)
4.การเจือจางน้ำเลี้ยงมันสำปะหลังเป็นการป้องกันตัวเองจากเพลี้ยของมันสำปะหลังที่ได้ผลที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้ความเข้มข้นน้ำเลี้ยงมันสำปะหลังสูงขึ้น
1 ดินขาดสารอินทรีย์ สารอินทรีย์ทำให้ดินอุ้มน้ำได้ดี และดูดซับสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงไว้ในตัวเองสูง
2.การใส่ปุ๋ยเคมี และสารเคมี เกลือของ ซัลเฟต ไนเตรด คลอไร มีค่าการละลายสูง ถ้าน้ำมีจำกัด เกลือเหล่านี้จะแย่งน้ำมาใช้ในทำละลายเป็นอันดับแรก
ประการที่2 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีอินทรีย์ สารเคมีประเภทเกลือซัลเฟต ยังไปเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายโดยตรง เพราะเป็นสารที่ละลายน้ำได้มากความเข้มข้นสูง เมื่อมันสำปะหลังดูดสารลายที่มีความเข้มข้นสูงเข้าไป ทำให้น้ำเลี้ยงมีความเข้มข้นสูงตามไปด้วย
3.การใส่ปุ๋ยคอกที่ยังไม่ผ่านการหมักที่สมบูรณ์ การย่อยสลายของปุ๋ยคอกต้องการน้ำและเกิดความร้อน ยังมีสารพิษด้วย เป็นการแย่งน้ำและเพิ่มความร้อนให้กับดินอีกทางหนึ่ง ความร้อนและสารพิษพอที่จะเป็นอันตรายต่อรากมันสำปะหลังได้ ทำให้ระบบลำเลียงน้ำชำรุดลงด้วย การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีค่าการย่อยสลายที่สมบูรณ์ต่ำก็ส่งผลเช่นเดียวกัน
4. ดินขาดร่มเงาจากใบมันสำปะหลัง ทำให้น้ำในดินระเหยออกไปมาก เป็นผลมาจากมันสำปะหลังไม่สมบูรณ์
การป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งระบาดโดยวิธีลดความเข้มข้นของน้ำเลี้ยงมันสำปะหลัง
1.สร้างระบบเก็บน้ำที่สมดุลและเพียงพอในดิน โดยระบบbuffer (แก้มลิง) แก้มลิงจะต้องเก็บน้ำให้ใช้เพียงพอในแต่ละวัน น้ำที่นำเข้า (input) แก้มลิงในแต่ละวันได้จากน้ำค้างตอนกลางคืนสมดุลกับน้ำที่สูญเสีย(Out put)ในแต่ละวัน
การคำนวณการสร้างแก้มลิงจาก ค่าอินทรียวัตถุ OM ในปุ๋ยอินทรีย์
จากการทดลอง
ความต้องการ ค่าอินทรียวัตถุ OM ในดินร่วนปนทราย พื้นที่ราบทั่วไป = 40 กิโลกรัมต่อไร่
ถ้าปุ๋ยอินทรีย์มีค่า OM = 20%
ต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 200 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อจะสร้างแก้มลิง (Buffer) ที่เพียงพอในการเก็บน้ำแต่ละวัน
ดินที่ขาดความชื้น เช่นที่เนิน หรือดินเสื่อมโทรม ควรเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์มากขึ้น
พิจารณาจากราคาปุ๋ยอินทรีย์ในปัจจุบันแล้ว เกษตรกรต้องทำปุ๋ยใช้เอง
ปุ๋ยที่ค่าการย่อยสลายที่สมบูรณ์GI สูงจะมีประสิทธิภาพในการสร้างแก้มลิงที่สูงกว่า เพราะขนาดที่ละเอียดสร้างช่องว่างในดินได้มากกว่า ยังอุ้มน้ำได้มากกว่าด้วย ค่าGIไม่ควรน้อยกว่า100% ควรใส่ตอนยกร่องปลูกมันสำปะหลัง
2.อย่าใช้ปุ๋ยเคมี และอินทรีย์เคมี ในช่วงหน้าแล้ง ปุ๋ยเคมีควรใส่หลังจากการระบาดของเพลี้ยแป้งผ่านไปแล้ว
3.อย่าใช้ปุ๋ยที่มีส่วนผสมสมของเกลือซัลเฟต เช่น ยิปซั่ม เพราะทำให้ดินเป็นกรดและแย่งน้ำจากพืช
4.อย่าใช้ปุ๋ยคอก ถ้าจะใช้ควรหมักให้สมบูรณ์ก่อน การย่อยสลายของปุ๋ยคอกนอกจากต้องการน้ำและคายความร้อนแล้ว มีราบางชนิดทีสร้างสารกันความชื้น ทำให้ดินขาดความชื้นและขาดการซึมน้ำ OM จากปุ๋ยคอกประสิทธิภาพในการสร้างแก้มลิงต่ำเพราะซึมน้ำได้น้อย
5.เลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีค่า การนำไฟฟ้าEC ต่ำ เพราะมีปริมาณเกลือน้อย
6.เลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีค่าการย่อยสลายที่สมบูรณ์ GI สูง เพราะจะไม่มีการย่อยสลายต่อในดิน
7.เลือกปุ๋ยอินทรีย์ทีมีส่วนผสมของซิลิก้าละลายน้ำ ความเข้มข้นเมื่อเป็นสารละลาย อย่างน้อย 100 ppm
8.ฉีดพ่นสารเคลือบลำต้นใบด้วยสารละลายซิลิก้า Silica Solution ในช่วงหน้าแล้ง
9.อย่าใช้สารเคมี เพราะทำให้ศัตรูตามธรรมชาติของเพลี้ยแป้งหมดไป
ฟิล์มซิลิก้า มีคุณสมบัติ แข็ง ดูดความชื้นจากอากาศ ลดการคายน้ำทางใบ ทำให้มีน้ำในต้นมันสำปะหลังมากขึ้น ความเข้มข้นของน้ำเลี้ยงลดลง เพลี้ยแป้งไม่สามารถใช้เป็นอาหารได้อีกต่อไป
ซิลิก้าทำให้ก้านใบแข็งแรง ทำให้รังเพลี้ยถูกเปิดอ้าออก ตัวอ่อนและไข่ถูกมดกินเป็นอาหารต่อไป
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการลดความเข้มข้นน้ำเลี้ยงในมันสำปะหลัง เพื่อทำลายแหล่งอาหารของเพลี้ยให้หมดไป
ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ทดลองครั้งนี้ ค่า OM=40.19% GI=189.5% EC=2.88dS/m Ph = 6.49
สนั่น บุญทองใหม่
โทร. 0810101567