ความเห็น


การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นการพัฒนาใหม่ มีคำนิยาม ดังนี้ - การพัฒนาที่สนองความต้องการของปัจจุบัน โดยไม่ทำให้ประชาชนรุ่นต่อไปในอนาคตต้องประนีประนอมยอมความสามารถของเขา ในการที่จะสนองความต้องการของเขาเอง นโยบายที่สนองความต้องการของประชาชนในปัจจุบันโดยไม่ต้องทำลายทรัพยากรซึ่งจะเป็นที่ต้องการในอนาคต การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชุมชนให้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น เป็นชุมชนที่มีความสุข มีความเป็นระเบียบเรียนร้อย สังคมสงบสุข มีความรักสามัคคีมีความรับผิดชอบ มีความยุติธรรม การพัฒนาที่ยั่งยืนสมบูรณ์ตามแนวทางพุทธ โดยเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก 1.พัฒนาทางด้านพฤติกรรมและวิธีใช้ชีวิต ตลอดจนการทำมาหาเลี้ยงชีพ 2.พัฒนาทางด้านจิตใจ คือ คุณธรรม ความเข้มแข็งมั่นคงของจิตใจที่ดีงาม 3.พัฒนาทางด้านปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจต่าง ๆ ความคิด ทัศนคติและค่านิยม พุทธศาสนาให้ศึกษามนุษย์ด้วยการฝึกฝนและพัฒนาให้รู้จักรับรู้และรู้จักปฏิบัติต่อสิ่งที่เกี่ยวข้องในชีวิตได้อย่างถูกต้อง การพัฒนาโดยอาศัยกฎแห่งเหตุผล กระบวนการพัฒนาบุคคลโดยแยกออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ก่อนเข้าสู่กระบวนการพัฒนา ให้ศึกษาเกี่ยวกับมรรคมีองค์ 8 ให้เข้าชีวิตและการดำเนินชีวิตตามหลักของเหตุและผล จากเรียนรู้จากปัจจัยภายนอก คือ พ่อ แม่ ครู อาจารย์ ผู้ใหญ่ หรือวัฒนธรรม ขั้นตอนที่ 2 ในกระบวนการพัฒนา ขั้นไตรสิกขา ศีล เป็นเรื่องของการฝึกฝนในด้านพฤติกรรม สมาธิ เป็นเรื่องของการฝึกฝนด้านจิตใจ ปัญญา เป็นเรื่องของการฝึกฝนด้านความรู้ความจริงโดยการรู้จักวินิจฉัย ไตร่ตรอง วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนมีลักษณะดังนี้ 1. ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับวัด มีความแนบแน่นต่อกัน 2. กิจกรรมของวัดกับชุมชนเป็นกิจกรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อกัน 3. บรรยากาศของวัดทั้งพระเณร สถานที่ พิธีกรรม เป็นที่ศรัทธาของประชาชน 4. กิจกรรมที่ทางวัดจัดขึ้นนั้นส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชน 5. วัดทำบทบาทหน้าที่ถูกต้อง ในด้านการบริการ การจัดการวัด การปรับปรุงวัด และการพัฒนาวัดให้เป็นที่พึ่งเป็นศูนย์กลางชุมชนได้ การพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน 1. พัฒนาวัดให้เกิดเป็นแหล่งความรู้ของชุมชน 2. สร้างสภาพวัดให้เป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุสามเณร 3. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับประชาชนในท้องถิ่น 4. วัดควรเป็นแกนนำประชาชนในท้องถิ่น 5. ให้เกิดการยอมรับตลอดไป ให้การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกัน และกัน ชุมชนชาวพุทธที่พัฒนาแล้ว 1. การปกครอง สุขกายสบายใจ ตามกติกา รู้จักต้อนรับ มีสัมมาคารวะ 2. การศึกษา ต้องให้คนในชุมชนและพระเณรได้รับการศึกษาดี มีมรรยาทดี เป้าหมายคือสอนคนให้เป็นคนดี 3. การเผยแผ่ เราต้องสำนึกอยู่เสมอว่าพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ไทยเพราะการเผยแผ่ 4. การสาธารณูปการ คือ สิ่งก่อสร้าง ที่ไม่ใหญ่โต โอ่อ่า มีความสะอาด ร่มรื่น และมีระเบียบ 1. จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยความเมตตา 2. จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยความเมตตา 3. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยความเมตตา 4. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ 5. ทำบุญอุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย