ความเห็น


ได้ความรู้มากเลยครับ

ผมพบว่า มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เช่น
นกจากกลุ่มเถินเรียนรู้จากสมุทรปราการนำมาเปิดร้านค้าชุมชน อ.อ้อมเรียนรู้จากพิจิตร นำแนวทางการจัดตารางทำงานมาเป็นตัวอย่างให้เครือข่ายพิจารณา
ทีมวิจัยช่วยชูธงหลักหรือเป้าหมายของขบวนการทำงานอย่าง   สม่ำเสมอ อีกทั้งช่วยแจกแจงธงย่อยตามรายทาง อีกทั้งบันทึกกระบวนการทำงานไว้ค่อนข้างละเอียด ถ้าได้ถ่ายทอดโดยการเรียนรู้จากงานในวิธีการดังกล่าวผ่านแกนนำให้เกิดทีมวิจัย/คุณอำนวยในกลุ่มแกน5พื้นที่เพื่อบันทึกการทำงานในกลุ่มและการทำกิจกรรมกับสมาชิกเช่นเดียวกับที่อ.อ้อม อ.พิมพ์และคุณสามารถทำในระดับเครือข่ายอยู่ในตอนนี้ เราก็จะมีเรื่องราวใน5พื้นที่มาบอกเล่าอย่างต่อเนื่อง เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ผมเห็นว่า การแบ่งความรับผิดชอบของทีมวิจัยใน5พื้นที่และรับผิดชอบร่วมกันในระดับเครือข่ายนั้นดีแล้ว และหากทีมวิจัยได้เสริมสร้างให้เกิดทีมวิจัยและคุณอำนวยย่อยในระดับกลุ่มทั้ง5กลุ่มดังกล่าว โดยมีคุณลิขิตอย่างน้อยทีมละ1คน(ซึ่งอาจจะจัดอบรมเรื่องนี้ขึ้นมา)ก็จะเป็นการเพิ่มพลังการเรียนรู้เป็นอย่างมาก

ถ้าเครือข่ายลำปางไม่ติดยึดรูปแบบเดิมๆมากเกินไป แต่ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายชัดเจนเรื่องสวัสดิการและความเข้มแข็งของชุมชนก็จะสามารถสร้างนวัตกรรมการจัดการเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะทำให้เครือข่ายมีภูมิคุ้มกันพร้อมรับต่อความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น

อ.อ้อม อ.พิมพ์และคุณสามารถคือผู้สนับสนุนสำคัญในบทบาทนักวิจัยจัดการความรู้ที่จะผลักดันเรื่องนี้ได้อย่างดีที่สุด ขอเอาใจช่วยให้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขและประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย