3. พุทธปรัชญาสำนักวิชญาณวาทหรือโยคาจารปรัชญาสำนักนี้บางทีเรียกว่า “โยคาจาร” ทั้งนี้เพราะมุ่งศึกษาให้รู้แจ้งสัจธรรมขั้นสูงสุดโดยการปฏิบัติโยคะ และวิธีปฏิบัติก็ดำเนินตามพระบาทของพระพุทธองค์ ซึ่งทรงเน้นข้อปฏิบัติทางกายและทางใจเป็นสำคัญ เพื่อนำไปสู่การรู้แจ้งสัจธรรมดังกล่าว ข้อปฏิบัติทางจิต ก็คือการฝึกจิตเพื่อให้รู้แจ้งในสัจธรรมขั้นสูงสุด แล้วจะพบว่า1. สากลจักรวาล หาใช่อะไรอื่นที่แยกออกไปจากจิตไม่2. ในสัจจธรรม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเกิด และการตาย3. ไม่มีสิ่งหรือวัตถุภายนอกจิตที่มีอยู่จริง ๆ ท่าทีดังกล่าวนี้ ย่อมแสดงถึงเหตุผลอย่างเพียงพอว่า ทำไมจึงใช้ชื่อว่า “โยคาจาร” และเพราะเหตุที่ปรัชญาสำนักนี้ถือว่าไม่มีความแท้จริงใด ๆ อื่นนอกจากจิตหรือวิญญาณฉะนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิชญาณวาท (วิญญาณวาท-บาลี)ในด้านอภิปรัชญา นักปรัชญาอินเดียท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า สำนักปรัชญาอินเดียที่จัดได้ว่าเป็นจิตนิยม (Idealistic school) อย่างแท้จริงนั้น มีสำนักเดียวเท่านั้น คือ สำนักปรัชญาโยคาจารหรือวิชญาณวาท นั้นเอง เพราะปรัชญาสำนักนี้มีทัศนะว่า ความแท้จริงมีอยู่อย่างเดียวเท่านั้น คือ "อาลยวิญญาณ" วัตถุทั้งหลายในโลกเป็นเพียงรูปแบบและภาพปรากฏของวิญญาณหรือจิตทั้งสิ้น เช่นที่ปรากฏในคัมภีร์ลังกาวตารสูตรตอนหนึ่งว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ใช่อะไรอื่น ที่แท้ก็คือจิตนั้นเอง” คำว่า จิตในที่นี้ ท่านหมายถึง “อาลยวิญญาณ” ซึ่งเป็นหนึ่งในวิญญาณ 8 ตามการจำแนกของปรัชญาสำนักนี้ประเภทของวิญญาณ 8 อย่างคือ1. จักขุวิญญาณ2. โสตวิญญาณ3. ฆานวิญญาณ4. ชิวหาวิญญาณ5. กายวิญญาณ6. มโนวิญญาณ7. กลิษฏมโนวิญญาณ (มนัส)8. อาลยวิญญาณวิญญาณ 5 ข้างต้น เรียกว่า ปัญจวิญญาณ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกับของเถรวาทเลย มโนวิญญาณ มีหน้าที่สำคัญคือ เป็นต้นเหตุแห่งการประกอบกรรมดี กรรมชั่ว มโนวิญญาณเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล และอัพยากฤต เช่นเดียวกับปัญจวิญญาณ และมโนวิญญาณจะขาดตอนก็ต่อเมื่อเข้าสู่อสัญญีภพ,เข้าอสัญญีสมาบัติ, เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ,คนที่หลับสนิทไม่มีฝัน และคนที่สลบกลิษฏมโนวิญญาณ (วิญญาณที่ 7) โยคาจารอธิบายไว้ว่า มนินทรีย์(อินทรีย์คือใจ) ต่างกับมโนวิญญาณ เพราะมนินทรีย์คือมโนธาตุ มีสภาพเป็นอัพยากฤต ทำหน้าที่ยึดอาลยวิญญาณ(วิญญาณที่ 8) ว่าเป็นตัวตน เป็นตัวอุปาทานยึดครอง อาลยวิญญาณ, อาลยวิญญาณเป็นสภาพมนินทรีย์หรือมนัสเข้ายึดไว้ ไม่มีหน้าที่พิจารณารับรู้อารมณ์ภายนอก รับรู้คิดยึดแต่อารมณ์ภายใน คืออาลยวิญญาณ แต่เนื่องด้วยเป็นตัวทำการยึดถืออาลยวิญญาณจึงมีอิทธิพลมาก สามารถทำให้มโนวิญญาณมีความรู้สึกไปในทางกุศล และอกุศลได้ เพราะฉะนั้นแม้จะมีลักษณะเป็นอัพยากฤตก็นับว่าเป็นกิเลส จึงมีชื่อว่า “กลิษฏมโนวิญญาณ”“กลิษฏมโนวิญญาณ” นี้ ทำหน้าที่คิดพิจารณาอาลยวิญญาณว่าตัวตนเสมอสืบสันตติเนื่องกันไปไม่ขาดสายจนกว่าจะสิ้นภพชาติพ้นกิเลส กลิษฏมโนวิญญาณจะขาดตอนก็ต่อเมื่อได้บรรลุอรหัตตผลหรือเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธเท่านั้นอาลยวิญญาณ (วิญญาณที่ 8) ที่เรียกชื่อเช่นนี้เพราะวิญญาณนี้เป็นสภาพที่กลิษฏมโนวิญญาณเข้าไปยึดครองแล้วเกิดอุปาทานว่า เป็นตัวของตัวจึงมีความอาลัยเลิกถอนไปได้ยาก อลยวิญญาณตรงกับภวังคจิตของฝ่ายเถรวาทนั่นเอง แต่ปรัชญาโยคาจารถือว่า วิญญาณนี้มีความสำคัญมาก คือถือว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่เป็นอาลยวิญญาณ และออกมาจากอาลยวิญญาณนี้ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ ปรัชญาโยคาจาร จึงมีชื่อวิชญาณวาท หรือจิตนิยมหน้าที่ของอาลยวิญญาณนั้น ท่านนิยามความหมายไว้สั้น ๆ ว่า“เก็บก่อ” , “เก็บ” คือเก็บเอาพืชของสิ่งทั้งปวงไว้ เช่นเดียวกับเมล็ดพันธุ์ผลไม้ย่อมเก็บเอาลำต้นกิ่งก้านสาขาตลอดจนผลไว้หมด รอการนำส่งปลูกรดน้ำพรวนดิน ตลอดแสงอาทิตย์เป็นปัจจัยเร่งเร้า ก็จักโตวันโตคืน แตกดอกออกผลโดยลำดับ “ก่อ” คือสร้างพฤติกรรมต่าง ๆ ให้เกิดให้มีขึ้น เช่นโตเป็นลำต้นมีใบมีดอกอายลวิญญาณเป็นมูลฐานของสิ่งทั้งปวงอาลยวิญญาณกับมูลฐานของสิ่งทั้งปวง ถ้าไร้อาลยวิญญาณแล้ว สิ่งทั้งปวงก็ไม่มีเพราะว่าสิ่งทั้งปวง เป็นเพียงเงาสะท้อนออกมาหรือพฤติกรรมของอาลยวิญญาณ นั้นเองนักปรัชญาโยคาจารยุคแรกมีท่านอสังคะ และท่านวสุพันธุ์ เป็นต้น ถือว่าสิ่งทั้งปวงเป็นเพียงความคิดของเรา สิ่งทั้งปวงอยู่ในจิตของเราครั้นมาถึงยุคหลัง สมัยท่านธรรมปาละ ท่านทิงนาคะ ได้สอนต่างออกไปว่าสิ่งที่ดำรงอยู่ภายนอกจิตก็มีเหมือนกันแต่มูลกำเนิดของมันไม่พ้นไปจากจิต
อภิปรัชญาจากพุทธปรัชญา
3. พุทธปรัชญาสำนักวิชญาณวาทหรือโยคาจาร
ปรัชญาสำนักนี้บางทีเรียกว่า “โยคาจาร” ทั้งนี้เพราะมุ่งศึกษาให้รู้แจ้งสัจธรรมขั้นสูงสุดโดยการปฏิบัติโยคะ และวิธีปฏิบัติก็ดำเนินตามพระบาทของพระพุทธองค์ ซึ่งทรงเน้นข้อปฏิบัติทางกายและทางใจเป็นสำคัญ เพื่อนำไปสู่การรู้แจ้งสัจธรรมดังกล่าว ข้อปฏิบัติทางจิต ก็คือการฝึกจิตเพื่อให้รู้แจ้งในสัจธรรมขั้นสูงสุด แล้วจะพบว่า
1. สากลจักรวาล หาใช่อะไรอื่นที่แยกออกไปจากจิตไม่
2. ในสัจจธรรม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเกิด และการตาย
3. ไม่มีสิ่งหรือวัตถุภายนอกจิตที่มีอยู่จริง ๆ ท่าทีดังกล่าวนี้ ย่อมแสดงถึงเหตุผลอย่างเพียงพอว่า ทำไมจึงใช้ชื่อว่า “โยคาจาร” และเพราะเหตุที่ปรัชญาสำนักนี้ถือว่าไม่มีความแท้จริงใด ๆ อื่นนอกจากจิตหรือวิญญาณฉะนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิชญาณวาท (วิญญาณวาท-บาลี)
ในด้านอภิปรัชญา นักปรัชญาอินเดียท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า สำนักปรัชญาอินเดียที่จัดได้ว่าเป็นจิตนิยม (Idealistic school) อย่างแท้จริงนั้น มีสำนักเดียวเท่านั้น คือ สำนักปรัชญาโยคาจารหรือวิชญาณวาท นั้นเอง เพราะปรัชญาสำนักนี้มีทัศนะว่า ความแท้จริงมีอยู่อย่างเดียวเท่านั้น คือ "อาลยวิญญาณ" วัตถุทั้งหลายในโลกเป็นเพียงรูปแบบและภาพปรากฏของวิญญาณหรือจิตทั้งสิ้น เช่นที่ปรากฏในคัมภีร์ลังกาวตารสูตรตอนหนึ่งว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ใช่อะไรอื่น ที่แท้ก็คือจิตนั้นเอง”
คำว่า จิตในที่นี้ ท่านหมายถึง “อาลยวิญญาณ” ซึ่งเป็นหนึ่งในวิญญาณ 8 ตามการจำแนกของปรัชญาสำนักนี้
ประเภทของวิญญาณ 8 อย่างคือ
1. จักขุวิญญาณ
2. โสตวิญญาณ
3. ฆานวิญญาณ
4. ชิวหาวิญญาณ
5. กายวิญญาณ
6. มโนวิญญาณ
7. กลิษฏมโนวิญญาณ (มนัส)
8. อาลยวิญญาณ
วิญญาณ 5 ข้างต้น เรียกว่า ปัญจวิญญาณ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกับของเถรวาทเลย
มโนวิญญาณ มีหน้าที่สำคัญคือ เป็นต้นเหตุแห่งการประกอบกรรมดี กรรมชั่ว มโนวิญญาณเป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล และอัพยากฤต เช่นเดียวกับปัญจวิญญาณ และมโนวิญญาณจะขาดตอนก็ต่อเมื่อเข้าสู่อสัญญีภพ,เข้าอสัญญีสมาบัติ, เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ,คนที่หลับสนิทไม่มีฝัน และคนที่สลบ
กลิษฏมโนวิญญาณ (วิญญาณที่ 7) โยคาจารอธิบายไว้ว่า มนินทรีย์(อินทรีย์คือใจ) ต่างกับมโนวิญญาณ เพราะมนินทรีย์คือมโนธาตุ มีสภาพเป็นอัพยากฤต ทำหน้าที่ยึดอาลยวิญญาณ(วิญญาณที่ 8) ว่าเป็นตัวตน เป็นตัวอุปาทานยึดครอง อาลยวิญญาณ, อาลยวิญญาณเป็นสภาพมนินทรีย์หรือมนัสเข้ายึดไว้ ไม่มีหน้าที่พิจารณารับรู้อารมณ์ภายนอก รับรู้คิดยึดแต่อารมณ์ภายใน คืออาลยวิญญาณ แต่เนื่องด้วยเป็นตัวทำการยึดถืออาลยวิญญาณจึงมีอิทธิพลมาก สามารถทำให้มโนวิญญาณมีความรู้สึกไปในทางกุศล และอกุศลได้ เพราะฉะนั้นแม้จะมีลักษณะเป็นอัพยากฤตก็นับว่าเป็นกิเลส จึงมีชื่อว่า “กลิษฏมโนวิญญาณ”
“กลิษฏมโนวิญญาณ” นี้ ทำหน้าที่คิดพิจารณาอาลยวิญญาณว่าตัวตนเสมอสืบสันตติเนื่องกันไปไม่ขาดสายจนกว่าจะสิ้นภพชาติพ้นกิเลส กลิษฏมโนวิญญาณจะขาดตอนก็ต่อเมื่อได้บรรลุอรหัตตผลหรือเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธเท่านั้น
อาลยวิญญาณ (วิญญาณที่ 8) ที่เรียกชื่อเช่นนี้เพราะวิญญาณนี้เป็นสภาพที่กลิษฏมโนวิญญาณเข้าไปยึดครองแล้วเกิดอุปาทานว่า เป็นตัวของตัวจึงมีความอาลัยเลิกถอนไปได้ยาก อลยวิญญาณตรงกับภวังคจิตของฝ่ายเถรวาทนั่นเอง แต่ปรัชญาโยคาจารถือว่า วิญญาณนี้มีความสำคัญมาก คือถือว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่เป็นอาลยวิญญาณ และออกมาจากอาลยวิญญาณนี้ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ ปรัชญาโยคาจาร จึงมีชื่อวิชญาณวาท หรือจิตนิยม
หน้าที่ของอาลยวิญญาณนั้น ท่านนิยามความหมายไว้สั้น ๆ ว่า“เก็บก่อ” , “เก็บ” คือเก็บเอาพืชของสิ่งทั้งปวงไว้ เช่นเดียวกับเมล็ดพันธุ์ผลไม้ย่อมเก็บเอาลำต้นกิ่งก้านสาขาตลอดจนผลไว้หมด รอการนำส่งปลูกรดน้ำพรวนดิน ตลอดแสงอาทิตย์เป็นปัจจัยเร่งเร้า ก็จักโตวันโตคืน แตกดอกออกผลโดยลำดับ “ก่อ” คือสร้างพฤติกรรมต่าง ๆ ให้เกิดให้มีขึ้น เช่นโตเป็นลำต้นมีใบมีดอก
อายลวิญญาณเป็นมูลฐานของสิ่งทั้งปวง
อาลยวิญญาณกับมูลฐานของสิ่งทั้งปวง ถ้าไร้อาลยวิญญาณแล้ว สิ่งทั้งปวงก็ไม่มีเพราะว่าสิ่งทั้งปวง เป็นเพียงเงาสะท้อนออกมาหรือพฤติกรรมของอาลยวิญญาณ นั้นเอง
นักปรัชญาโยคาจารยุคแรกมีท่านอสังคะ และท่านวสุพันธุ์ เป็นต้น ถือว่าสิ่งทั้งปวงเป็นเพียงความคิดของเรา สิ่งทั้งปวงอยู่ในจิตของเรา
ครั้นมาถึงยุคหลัง สมัยท่านธรรมปาละ ท่านทิงนาคะ ได้สอนต่างออกไปว่าสิ่งที่ดำรงอยู่ภายนอกจิตก็มีเหมือนกันแต่มูลกำเนิดของมันไม่พ้นไปจากจิต