สวัสดีจ้าศิษย์น้อง
ตอนที่เขียนนั้นคิดถึงเรีืองประมาณว่า คนเรานั้นอดคิดเปรียบเทียบไม่ได้ (ทิฎฐิ) โดยมี subject เป็น เรา/เขา/อื่นๆ โดยเทียบว่าดีกว่า เสมอ หรือเลวกว่า เวลาเห็น/ได้ยิน/ได้สัมผัสปุ๊บ มักจะมีความคิดเปรียบเทียบเหล่านี้เกิดขึ้นได้ทันที
ประเด็นคือเวลาเวลาเห็น/ได้ยิน/ได้สัมผัสแล้ว ความคิดเกิืดขึ้นแล้ว ดันไปยึดความคิดนั้น เช่น ฉันไม่สวย เขารวย ฉันเก่ง ฯลฯ มาเป็นจริงเป็นจัง อันนี้เขาเรียกว่าเป็นอุปาทาน (มานะ) พอยึดความเห็นเหล่านั้นไว้ก็จะเป็นทุกข์/สุขทันที ซึ่งในทางธรรมท่านว่าสิ่งเหล่านี้เป็นแค่ความคิด มันไม่จริง มันไม่เที่ยง (นำมาสู่ทุกข์)
ดังนั้นที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาสอนท่านพาหิยะไว้จึงสอดคล้องกันพอดี เพราะท่านว่า เห็นก็สักว่าเห็น อย่าไปยึดเอาไว้ สวยก็คือสวย งามก็คืองาม ชื่นชมได้ แต่อย่ายึดไว้
เวลาได้ยินก็คือได้ยิน อย่าไปยึดเอาไว้ จะเป็นเสียงเพลง เสียงชม หรือเสียงด่า ก็ไม่ต้องไปยึดสิ่งเหล่านั้นไว้ ทำนองนั้นจ๊ะ
ถ้าทำได้ตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนตลอด ก็จะทำให้อัตตาเราหายไป (ไม่มี) ตัวตนเราหายไป เป็นอนัตตานั่นเองจ๊ะ
ไม่รู้ว่าเขียนอธิบายแล้วจะทำให้ชัดเจนขึ้นบ้างหรือเปล่า แต่ก็ลองดูจ๊ะ ^ ^