ตาเหลิม
นาย วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์

8. ความฉลาดด้านต่างๆ ที่สามารถพัฒนาได้ในเด็ก-เยาวชน


ทำไม Q มันเยอะอย่างงี้

ไม่ได้เขียนไปนาน จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตามแต่ ผมก็ยังคงเขียน 

แต่เขียนในที่รูปแบบอื่นๆ เช่น รายงาน สรุปประชุม มากมาย

อ้อแล้วก็ช่วงนี้ไปจัดรายการวิทยุ

 

คลื่นเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทุกกลุ่มวัย

สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา

กรมประชาสัมพันธ์

ทุกวันพุธ เวลา 18-19.00 น.

ในชื่อรายการ "จิ้มถูกจุด" ครับ

ออกอากาศ 12 สถานีพร้อมๆกัน ทั่วประเทศ 

กทม. บริเวณรอบๆ อารีย์ 5 โลเมตร ทาง FM 90.75 MHz 

แม่ฮ่องสอน FM 102 MHz 

ระนอง FM 105.75 MHz 

ปทุมธานี  AM  1467 KHz

นครสวรรค์ AM  936 KHz

ลำปาง AM  549 KHz

ขอนแก่น AM  621 KHz

อุบลราชธานี AM  711 KHz

จันทบุรี AM  927 KHz

สุราษฎร์ธานี AM  1242 KHz

สงขลา AM 558  KHz

กระบี่ AM  963 KHz

 

และรายการนี้ด้วยความต้องการที่จะสื่อสารเรื่องการพัฒนาเด็ก เยาวชน และสถาบันครอบครัว

ผมก็เลยต้องหาข้อมูลเอง ไปพูดเอง และสนุกสนานพอสมควรกับการเป็นดีเจ

ก็ฝึกฝนตัวเองไป ปกติมีแต่เรื่องยากๆ พอพูดทีก็ต้องทำความเข้าใจกันหลายยก

(ขนาดผมเองพูดเอง ยังงงเลยครับ แล้วคนฟังจะไม่งงเร๊อะ)

 

เข้าเรื่องดีกว่า เนี่ยพอผมเข้าไปจัด ก็ต้องเตรียมข่าวนี่นั่นนู่น นี้นั้นโน้น

เพราะรายการนี่มีรูปแบบ พูดๆ เล่าๆ เรื่องข่าวเด็ก เยาวชน ครอบครัว ที่น่าสนใจในรอบสัปดาห์

แล้วก็มีเรื่องราววิชาการ เอาไว้ให้พ่อแม่ไปเลี้ยงดูเด็กๆ ที่บ้านตัวเอง

 

พอจัดไปจัดมา ชักจะรู้สึกว่า ข้อมูลมันมีประโยชน์ดีแฮะ น่าที่จะต้องเอามาแบ่งปัน

โดยเฉพาะเรื่องทักษะและการเสริมสร้างความฉลาดด้านต่างๆ (นอกเหนือไปจาก IQ กับ EQ)

ก็ไปป๊ะ เข้ากับ Q อื่นๆ อีกประมาณ 6-7 Q พอดูไปดูมาก็คิดว่าเอ๊ะ ทำไม Q มันเยอะอย่างงี้วะ

แล้วคนอื่นๆ เขาจะรู้ไหมหนอ ก็เลยคิดจะรวบรวม(ทั้งที่เขียนเพิ่มเติมเอง และของคนอื่นๆ) มาลงไว้แบ่งปัน

ให้อ่านเล่น รวมถึงให้สมองของผมพอได้สร้างรอยหยักเล็กๆ บางๆ ในสมองเพื่อจดจำมันไว้ซักนิด

 

นี่แหละ ๆ เลยเป็นที่มาของบันทึกหน้าใหม่...

 

แต่น แตน แต๊น

นี่คือ Q ด้านต่างๆ ที่ไปแอบพบ แอบเจอมา

 

IQ = Intelligence Quotient    

ความฉลาดทางสติปัญญา เชาว์ไวไหวพริบ

EQ = Emotional Quotient    

ความฉลาดทางอารมณ์ มีความสุขสร้างสรรค์ อยู่ร่วมกันกับคนอื่นได้

MQ = Moral Quotient

มีคุณธรรมประจำใจ ซื่อสัตย์ มีวินัยห่างไกลอบายมุข

PQ = Play Quotient หรือ Physical Quotient

ความฉลาดทางพลานามัย ฉลาดในการเล่น มั่นใจตัดสินใจได้

SQ = Social Quotient 

ฉลาดในการเข้าสังคม มีทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

AQ = Adversity Quotient

ความสามารถในการแก้ปัญหา และการเผชิญกับวิกฤต 

HQ = Health Quotient

ความสามารถในการดูแลและจัดการสุขภาพพลานามัยของตนเอง

OQ = Optimist Quotient

ความสามารถในการมองโลกในแง่บวก

UQ = Utopia Quotient 

ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์

Q ต่างๆ ดังนี้ 

  1.  เชาว์ปัญญา ( IQ, Intelligent Quotient) คือ ความสามารถด้านสติปัญญา การเรียนรู้ จดจำด้านวิชาการ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การแก้ปัญหาเชิงตรรกะ และการคิดวิเคราะห์ การทดสอบ IQ วัดได้ด้วยแบบทดสอบ คน IQ สูง มักเป็นผู้เรียนเก่ง ฉลาด ทำอาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ความคิด ความจำ เช่น แพทย์ วิศวกร นักการเงิน เป็นต้น IQ มี องค์ประกอบหลายด้านทั้งพันธุกรรม การฝึกฝนตนเอง และสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อพัฒนาการของเด็ก ตลอดจนความรักและความเอาใจใส่จากพ่อแม่ อย่างไรก็ตามไอคิวมีผลต่อการประสบความสำเร็จในชีวิตเพียง 20% เท่านั้น
  2. ปรีชาทางอารมณ์ (EQ, Emotional Quotient) คือ การรู้จักควบคุมตนเอง เข้าใจอารมณ์ มีวินัยบังคับใจตนเอง ไม่แสดงออกตามอารมณ์พาไป คน EQ สูง จะมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่นง่าย ทำงานเป็นทีมได้ สร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นและรักษาให้ยืดยาวได้ รู้จักเห็นอกเห็นใจและเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น ซึ่งอารมณ์สำคัญที่ต้องควบคุมให้ได้คือก้าวร้าว ความต้องการทางเพศ ความกลัว และมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น
  3. ความสามารถในการเผชิญอุปสรรค (AQ, Adversity Quotient) คือ การมีน้ำอดน้ำทนในการเอาชนะอุปสรรคที่ผ่านเข้ามาในชีวิต, ความพยายามควบคุมสถานการณ์และแก้ไขสถานการณ์และกล้าเผชิญอุปสรรคด้วยตนเอง, มุมมองปัญหาที่ต้องแก้ไขว่ามีจุดจบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง, อดทนและทนต่อปัญหาต่างๆ ได้ มีงานวิจัยพบว่าคนที่มี AQ สูงหรือมีจิตใจชอบการต่อสู้ จะมีสุขภาพแข็งแรงไม่ค่อยเจ็บป่วย หากเจ็บป่วยก็จะฟื้นตัวเร็วกว่าผู้ที่ AQ ต่ำ ที่รู้สึกพ่ายแพ้ท้อแท้อยู่ตลอดเวลา หากเป็นมากอาจถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าและฆ่าตัวตายในที่สุด
  4. การมีจริยธรรม ศีลธรรม (MQ, Moral Quotient) คือ จริยธรรมและศีลธรรมส่วนตัว ส่งผลต่อการควบคุมตนเองให้มีระเบียบวินัย รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ซื่อสัตย์ กตัญญู มีความรู้ผิดถูกสำนึกชั่วดี อ่อนน้อมถ่อมตนและมีสัมมาคารวะ ซึ่ง MQ ไม่สามารถฝึกฝนหรือ ขัดเกลาได้ในเวลาสั้นๆ แต่เกิดจากการสั่งสมและปลูกฝังตั้งแต่เด็กและฝังลงใต้จิตสำนึก เมื่อถูกกระตุ้น(ตอนเป็นผู้ใหญ่) MQ จะแสดงออกมา แต่ถ้าบุคคลนั้นไม่เคยถูกปลูกฝัง MQ มาก่อน เมื่อถูกกระตุ้นก็อาจไม่สามารถเป็นคนดีได้มากนัก
  5. พลานามัยสมบูรณ์ (HQ, Health Quotient) คือ การมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เพราะหากร่างกายไม่แข็งแรง การพัฒนาคิวด้านอื่นๆ คงเกิดขึ้นไม่ได้ การดูแลสุขภาพที่ดีควรดูแลทั้งการออกกำลังกาย อาหาร และสุขภาพใจ ไปพร้อมกัน
  6. รู้เล่นให้เป็นสุข (PQ, Play Quotient) คือ การมีทักษะในการเล่น การวางแผน การเคลื่อนไหว การตัดสินใจ การทำงานเป็นหมู่คณะ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย (สร้างได้ตั้งแต่ยังเด็ก)
  7. ทักษะทางสังคม (SQ, Social Quotient) คือความสามารถในการเข้าสังคม มีมนุษยสัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส การวางตัว บุคลิกภาพในการเข้าสังคม รวมถึงภาษากาย (body language) ขณะพูดกับผู้อื่น การตรงต่อเวลาและมารยาททางสังคมด้วย SQ อาจมีความใกล้เคียงกับ EQ แต่ต่างกัน เพราะ SQ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการวางตัวในสังคม มีการแต่งตัว การพูดจา ส่วน EQ เป็นเรื่องของอารมณ์และมนุษยสัมพันธ์ไม่มีเรื่องของการแต่งตัว เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ทั้งสองตัวนี้ก็เกื้อหนุนกัน เพราะหากเป็นคนที่ EQ และ SQ สูง ก็จะได้รับการยอมรับจากสังคมมากกว่า
  8. การมองโลกแง่ดี (OQ, Optimist Quotient) คือ การมองโลกแง่ดี เปลี่ยนมุมมองใหม่ ทำจิตใจให้แจ่มใส พร้อมเผชิญปัญหา มองอุปสรรคเป็นความท้าทาย การมองโลกแง่ดีทำให้เป็นคนมีสุขภาพจิตดีเมื่อเกิดปัญหาไม่เครียดจนเกินไปและ พร้อมจะฝ่าฟันไป ซึ่งต้องมีความมานะอดทน (AQ) ช่วยในการเอาชนะ อุปสรรค คนที่มองโลกแง่ดีและมีความมานะอดทนจึงเป็นผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่า ผู้มองโลกแง่ร้าย และไม่กล้าที่เผชิญปัญหา
  9. สร้างสรรค์จินตนาการ (UQ, Utopia Quotient) คือ ความสามารถในการสร้างสรรค์จินตนาการ รู้จักคิดฝัน (ทางบวก) เป็นที่มาของความคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative) จินตนาการ เป็นการพัฒนาสมองซีกขวา คนที่มีพลังในการจินตนาการจะเป็นผู้สามารถสร้างสรรค์งานใหม่ สิ่งใหม่ๆ คนที่มีพลังในการจิตนาการจะเป็นผู้กล้าลองผิด ลองถูก และพร้อมจะเผชิญปัญหา แต่ถ้าเป็นคนที่ใช้พลังด้านจินตนาการด้านลบ หรือในทางที่ผิด อาจกลายเป็นคนหุนหันพลันแล่น ก้าวร้าว ขาดการไตร่ตรอง ต่อต้านสังคมและคนรอบข้าง ยึดติดอยู่ในโลกแห่งความฝัน

 

 

โยว่ๆ  รวมได้ 9 Quotient พอดี

แต่ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติม ว่ามีมากกว่านี้ ก็สามารถแบ่งปันได้นะครับ

ฉบับต่อไป ผมเอา แต่ละ Q มาย่อยๆ แยกๆ แล้วใส่ไว้ให้อ่านกันครับ

 

หมายเลขบันทึก: 273417เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2009 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ๋อ นี่คือที่มานี่เอง

ที่แท้ก็คิวเยอะ แสดงว่างานเข้ามากมาย

จัดคิวกันไม่หวาดไม่ไหวเลยสิค่ะ อิอิ

แล้วจะอ่าน Q ตัวอื่น ๆ อีกค่ะ

แจงง่าย ๆ หน่อยน่ะค่ะ

ขออนุญาตเอาไปแบ่งปันนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท