มือใหม่เตรียมตัวก่อนใช้อูบันตู


จากการลองผิดลองถูกติดตั้งอูบันตูนับสิบครั้งในรอบเดือนที่ผ่านมา ผมได้ข้อสรุปว่า ระบบนี้ น่าสนใจ คือมีความสามารถเรื่องฮาร์ดแวร์ที่สูงมาก แม้จะยังมีจุดอ่อนเรื่องใช้ยาก ถ้าไม่รู้มาก่อน พอได้งมหาวิธีกันเหงื่อตก

ตัวอย่างความสามารถฮาร์ดแวร์...

  • ผมทำใส่ usb เสียบเครื่องอื่น มันมองเห็นฮาร์ดแวร์ได้ค่อนข้างดี ข้ามเครื่องตั้งโต๊ะไปมาได้แบบเหลือเชื่อ สร้างจากเครื่องหนึ่ง ไปใช้อีกเครื่องหนึ่งได้ โดยไม่โวยวายเรื่องหา drivers ไม่เจอ แต่ไปลองใช้กับ notebook แล้วเกิดปัญหา ประเด็นนี้ ใครจะใช้ ควรค้น hardware compatability list ดูก่อนด้วย
  • เล่นเพลงได้ เล่นหนังได้ โดยระบบเห็นฮาร์ดแวร์เอง ไม่ต้องหาไดร์เวอร์ โดยโปรแกรมที่แนะนำคือ VLC (ต้องลงเพิ่ม)
  • รู้จัก lan card และเชื่อมต่อ internet ได้ง่าย
  • ลองใช้ wireless usb adapter (ราคาราว 1200 บาท) มาเสียบเครื่องตั้งโต๊ะที่ไม่มีระบบไร้สายอยู่ก่อน ถ้าอยู่ในโซนมีสัญญาณไร้สาย มันจะมองเห็นสัญญาณได้เองโดยไม่ต้องลงไดร์เวอร์หรือโปรแกรมอื่นอีก (อันที่จริง ผู้ผลิตเขาอุตสาห์แถมโปรแกรมไดร์เวอร์มาให้ด้วย โดยไม่บอกสักคำว่าใช้กับ ubuntu ได้หรือเปล่า แต่เอาเข้าจริง อูบันตูไม่ง้อแผ่นไดร์เวอร์ เห็นแล้ว เอ๊ะ ผิดคาด)

ตัวอย่างเรื่องใช้ยาก คือหลาย ๆ อย่าง ต้องพิมพ์สั่ง ดีว่าค้นจาก net ได้ (แนะนำใช้คำว่า ubutu forum ควบคำที่ค้น จะได้ค่อนข้างตรงกับใจ)

  • ระบบถังขยะลบแฟ้ม ใช้ยาก ถ้าไม่รู้วิธีเท อาจเทไม่สำเร็จ เช่น ผมใส่แฟ้มแบบ read only ลงไป แล้วลบ จะไม่สามารถสลัดให้หลุดจากถังขยะได้ ต้องใช้คำสั่งแบบพิมพ์บังคับลบ จึงลบได้
  • ติดตั้งโปรแกรมที่ไม่อยู่ในรายการขึ้นทะเบียน จะยากมาก ต้องพิมพ์สั่งผ่านโปรแกรม terminal
  • usability จะอยู่ระดับเดียวกับสมัยใช้ DOS 6.22/Windows 3.11 นู่นเลย (ใครเกิดทันบ้าง ?) คือบางรายการ สั่งผ่าน graphic user interface ได้ บางรายการต้องพิมพ์สั่ง ใครติดนิสัยใช้แต่คลิกเมาส์ อาจคางเหลือง
  • การอ้างอิงถึง drive ใช้ระบบที่แปลกออกไป ชวนเวียนหัว เช่น /dev/sdb1 สำหรับ usb ช่องนี้  /dev/sdc1 สำหรับ usb อีกตัวนึง โอว้าว...
  • การ format ทำยากมาก
  • การต่อเครือข่าย home networking ยากสำหรับมือใหม่ แต่รู้ว่ามีเครื่องมือดี ๆ เพียบ

 

ได้ข้อสรุปว่า สิ่งสำคัญที่ควรมี ถ้าจะลองใช้อูบันตู ในช่วงที่ยังเป็นมือใหม่ ก็ได้แก่...

 

1. ซีดีบูตอูบันตูที่ไปโหลดมา หลังจากลงคอมเสร็จแล้ว อย่าได้คิดจะทิ้งเชียว ต้องเก็บไว้ เพราะเวลามีปัญหาอะไร แผ่นนี้จะจำเป็นเวลาต้องกู้ระบบฉุกเฉิน

 

2. เครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าให้ดี ไม่มีฮาร์ดดิสก์อื่นอยู่ในเครื่อง จะประเสริฐสุด เพราะบางคำสั่งที่อันตราย อาจลามไปสร้างปัญหาได้

ผมเคยใช้คำสั่ง dd โคลน usb ต่างขนาด แต่ grub loader ดันลามไปติดฮาร์ดดิสก์ของระบบปฎิบัติการอื่นโดยที่ไม่ได้สั่ง ทำให้ระบบปฎิบัติการอื่นบูตไม่ขึ้น

ดีรองลงไปคือ ตั้งไบออสให้ซ่อนฮาร์ดดิสก์ลูกที่ไม่เกี่ยวข้องไว้ก่อน

หรือหากระบบฮาร์ดดิสก์ใช้แบบลิ้นชัก (mobile rack) ก็จะดีมากเช่นกัน เพราะสามารถถอดออกไปก่อนได้

ระบบ dual boot อย่าเพิ่งไปยุ่งถ้ายังใช้อูบันตูไม่เป็น เพราะอาจพลาด

 

3. ถ้าจะใช้ dual boot ต้องมีแผ่น recovery tool ของระบบอื่นเตรียมไว้ พลาดอะไรขึ้นมา จะได้แก้ปัญหาได้

 

4. ระบบ internet ควรจะแรง ๆ หน่อย ต่ำกว่า 2 MB/s ควรคิดหนัก ไม่งั้นติดตั้งข้ามวันข้ามคืนก็อาจไม่เสร็จ หัดช็อปปิ้งลงโปรแกรมมาลองเล่นดู เดี๋ยวใส่เข้า เดี๋ยวถอดออก กว่าจะลงตัวว่ารายการไหนใช้ประจำ ก็แรมเดือนอยู่แหละ

 

5. ใช้ตอนแรก เน้นเรื่องบันเทิง ท่อง net ฟังเพลงอะไรไปตามเรื่องก่อน พอให้คุ้น อย่าเก็บข้อมูลไว้ในตัวที่ boot ubuntu เพราะหากมีปัญหา ก็ลงใหม่เองแบบล้างเครื่องไปเลย จนเมื่อใช้คล่อง ค่อยเก็บข้อมูลถาวร

 

6. ต้องมีช่องทางอื่นในการแก้ปัญหาด้วยเสมอ  เช่น มีเครื่องสำรองอื่นค้นจาก internet / มีตำราคู่มือมากพอ / หรือมีเส้นสาย สามารถเชิญเทพอูบันตูประทับทรงได้ (อย่างหลังสุดนี่ ดีกว่าเพื่อน ^ ^)

 

คำสำคัญ (Tags): #ubuntu#อูบันตู
หมายเลขบันทึก: 254544เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2009 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

นี่ เป็นคู่มือที่ดีได้เลยนะคะ เผื่อใครอยากจะใช้ อูบันตู จะได้เข้ามา ทำตามได้ ดีจังค่ะ

สวัสดีครับ พี่P  Sasinand

 

  • ผมยังไม่่ค่อยรู้วิธีใช้เลยครับ
  • ที่ผ่านมา ทำผิด มากกว่า ทำถูก
  • เขียนไว้ เตือนให้คนอื่นระวัง ไม่ต้องทำผิดตามครับ จะได้ประหยัดเวลาการเรียนรู้
  • แต่ไม่ได้จุดประสงค์ให้ใช้เป็นคู่มือวิธีใช้ครับ

ตอนนี้โน๊ตบุ๊คใช้ XP สวมหน้ากาก Ubuntu ไปก่อนค่ะ เพราะความไม่สะดวกในการทำงานร่วมกับคนอื่น อันนี้เปลี่ยนแค่ Theme แต่จริงๆ แล้วสามารถเปลี่ยนได้ตั้งแต่ boot, login page จนกระทั่งหน้าตาแฟ้มข้างใน ซึ่งรู้สึกว่าเยอะไปเลยเอาเท่านั้น แค่พอหายอยาก



แต่วิธีของอาจารย์น่าลอง แค่มี USB Drive ก็พอใช่มั้ยคะ ต้องขนาดใหญ่เท่าไหร่ ที่มีอยู่มากสุดแค่ 4 GB เพราะไม่ค่อยได้ใช้ อยากลองลงดู ไม่งั้นไม่ได้ทดสอบสักที พอดีมีเครื่องที่ไม่มีฮาร์ดดิสก์อยู่ตัวหนึ่ง แต่มีช่องใส่ mobile rack คือเอาฮาร์ดดิสก์ไปเสียบเมื่อไหร่ก็ได้ mobile rack พวกนี้ดีตรงที่เลื่อนปิดไม่ให้มันทำงานได้ ง่ายกว่าอยู่ข้างในที่ต้องไปสั่ง disable มือใหม่ก็ไม่กล้าใช้ dual boot เหมือนกันค่ะ ไว้ต้องลองให้เชี่ยวแล้วค่อยยกระดับ แต่เคยใช้พวก dos, windows 3.11 และ linux มาก่อน คงไม่น่าเป็นปัญหาใหญ่ ถ้ามีก็จะไปร่วมแชร์เทพกับอาจารย์นะคะ ^ ^

Little Jazz

  • ระบบใช้เนื้อที่ระหว่าง 4-6 GB ขึ้นกับว่าลงโปรแกรมเสริมเยอะไหม ดังนั้น โดยหลักการแล้ว 8 GB พอครับ ผมทำใช้ใน 8 GB ก็ทำงานได้ดี ไม่มีปัญหาเรื่องลงโปรแกรม เว้นแต่จะลองลงแบบกวาดเหมาทุกอย่างที่ขวางหน้า
  • 4 GB ถ้าบีบให้ดี ๆ อาจใส่ได้ แต่อึดอัด ขยับตัวไม่ได้เลย ไม่แนะนำครับ
  • ผมเชื่อว่า งานของเรา + แฟ้มที่เราอยากพกติดไปด้วยตลอด น่าจะเกิน 2 GB ดังนั้น แม้ 8 GB จะพอในทางทฤษฎี แต่ถ้าได้ 16 GB ได้ ก็จะดีกว่าเยอะ เพราะน่าจะพอใช้งานสำหรับคนส่วนใหญ่ เพราะจะเท่ากับว่า ลงโปรแกรมมากมาย แต่ก็ยังเหลือเนื้อที่อีก 5-10 GB ให้ใช้สอย ใส่ งาน + home entertainment ได้สบาย
  • โฆษณาตั้มไดรฟ์ยุคหน้า อาจบอกว่า นี่คือออฟฟิซเคลื่อนที่...
  • เพิ่มเติม...
  • 4 GB พอสำหรับติดตั้งพื้นฐานครับ แต่อาจลงโปรแกรมใช้งานได้นิดเดียว ถ้าจะฝึก ก็ใช้ได้ครับ เพียงแต่ถ้าใช้ได้ดี นึกติดใจ จะขยับขยายยากหน่อย เพราะโคลนข้าม usb ไปยังลูกใหญ่ขึ้น แม้ทำได้ แต่ยุ่งยากมาก

อืมม์ ขอบคุณค่ะ เบื้องต้นคงต้องไปหา USB Drive ใหญ่ๆ มาลอง หรืออาจจะใช้ฮาร์ดดิสก์เก่าๆ ลูก 20 GB มาใส่ rack เสียบเพื่อทดลองดู

ผมลองใช้ Ubuntu อยู่พักหนึ่งครับ ชอบตรงของฟรีเยอะดี (แต่นานๆใช้ที)

แต่ไม่นานมานี้มันมีปัญหาตรง vga card ผมเกิดพังขึ้นมา พอเปลี่ยน card ใหม่แล้วไม่สามารถเข้า Ubuntu ครับ และช่วงนี้ี้ผมก็ยังไม่มีอารมณ์จะมานั่งหาสาเหตุหรือแก้ไขปัญหา ก็เลยเป็นอันว่าหยุดใช้ Ubuntu ไปเลย (มีแนวโน้มว่าจะหยุดใช้ยาว)

คุณจีรัง

  • ตอนเครื่องเริ่ม boot ที่ขึ้นว่า GRUB 1.5 บรรทัดแรก ๆ ลองรีบกด ESC แล้วสั่งให้เข้า recovery mode ดูนะครับ มันอาจจะซ่อมตัวเองได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท