สมรรถนะของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง.. ที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง


Completency of APN Cancer

 จากการที่ได้ถูกสัมภาษณ์จากคุณหรรษา เทียนทอง นักศึกษาพยาบาลปริญญาเอก ม.เชียงใหม่ ได้กล่าวถึงเรื่อง สมรรถนะของพยาบาลทั่วไป  ที่ควรจะมีในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิไปแล้ว

ในที่นี้ดิฉันจะขอกล่าวถึง   สมรรถนะ APN ในผู้ป่วยมะเร็ง

อาจเน้นหนัก  ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม..นะคะ

ก่อนจะกล่าวถึง   ก็ขออธิบายสมรรถนะของ APN ทั่วไปก่อนค่ะ 

คุณลักษณะและสมรรถนะของผู้ปฏิบัติการขั้นสูง(ทั่วไป)

ประกอบด้วย
คุณลักษณะเบื้องต้น (Primary criteria)
สมรรถนะกลาง (A central competency)
สรรถนะหลัก(Core competency)

คุณลักษณะเบื้องต้น (Primary criteria)

1.ได้รับการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอกในสาขาเฉพาะทาง
2. ได้รับวุฒิบัตรรับรอง  สำหรับการปฏิบัติในสาขาระดับสูง
3. มีความสามารถในการปฏิบัติงานที่เน้นผู้ป่วย  ผู้ใช้บริการและครอบครัว

สมรรถนะกลาง (A central competency)

เป็นความสามารถในการปฏิบัติทางคลินิกโดยตรง (Direct clinical care) 5 ข้อ ได้แก่
1. การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม
2. เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของผู้ป่วย
3. มีการตัดสินใจทางคลินิก
4. ใช้หลักฐานงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นแนวทางการปฏิบัติการพยาบาล
5. ผสมผสานวิธีการปฏิบัตการดูแลสุขภาพหลายวิธีอย่างเหมาะสม
ลักษณะของการปฏิบัติทางคลินิกโดยตรงเหล่านี้
มีความสำคัญและจะช่วยแยกให้เห็นความแตกต่าง
ระหว่าง  พยาบาลผู้ชำนาญการปฏิบัติจากประสบการณ์  และผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงได้

สรรถนะหลัก(Core competency)

1. มีความชำนาญทางคลินิก
2. เป็นผู้ให้คำปรึกษา
3. มีทักษะการทำวิจัยและใช้ผลงานวิจัย
4. เป็นผู้นำทางคลินิกและวิชาชีพและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
5. เป็นผู้ทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ
6. มีทักษะการตัดสินใจที่เกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม

 

คุณลักษณะและสมรรถนะของผู้ปฏิบัติการขั้นสูง (APN) ในผู้ป่วยมะเร็ง

ในที่นี้...จะขอกล่าวถึงกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับยาเคมีบำบัด เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่รับผิดชอบโดยตรง คือ 

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารักษาด้วยยาเคมีบำบัด 

  • ที่มีปัญหาซับซ้อน
  • มีค่าใช้จ่ายสูงและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจและครอบครัว

 ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดที่ต้องการดูแลแบบประคับประคอง (Supportive Treatment)  ระยะสั้น  เช่น   การให้เลือด   ให้ยากระตุ้นเม็ดเลือด  ให้ยาปฏิชีวนะ 

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีปัญหาด้านจิตใจ  จากการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ และมีปัญหาครอบครัว 

ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารักษาด้วยยาเคมีบำบัดที่มีปัญหาโรคกลับเป็นซ้ำต้องรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ( Second line drug)   

ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะสุดท้าย 

สมรรถนะของผู้ปฏิบัติการขั้นสูง (APN) ของพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

ด้านการปฏิบัติการพยาบาล

  • ประเมินและวิเคราะห์ปัญหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับยาเคมีบำบัดอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ ทั้งในระยะก่อนและหลังให้ยาเคมีบำบัด
  • ติดตามความก้าวหน้าของโรคและการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  • ริเริ่มและกำหนดแผนดูแลที่เฉพาะและเหมาะสมตามปัญหาที่พบโดยบูรณาการ ความรู้ทางการพยาบาล และข้อมูลสนับสนุนที่มีหลักฐานอ้างอิงกับปัญหานั้นมาตัดสินให้การพยาบาลอย่างอิสระและมีระบบ  เช่น 
  1.  ดูแลให้ได้รับยาเคมีบำบัดและป้องกันอาการข้างเคียง   
  2. ดูแลฟื้นฟูสภาพโดยการออกกำลังแขนและไหล่เพื่อป้องกันแขนบวม  
  3. นำการบำบัดทางการพยาบาลมาใช้ เช่น ดนตรีบำบัด เพื่อลดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้  อาเจียน 
  4.  ลดความวิตกกังวล โดยให้ข้อมูลเตรียมความพร้อม (Preparatory information) ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับยาเคมีบำบัด Course แรก ทุกคน 
  5.  ให้เข้ากลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (Self-help group) ในกรณีมารับยาเคมีบำบัดครั้งต่อไป
  6. ป้องกันภาพลักษณ์เปลี่ยนแปลง  โดยแนะนำการออกกำลังกาย  การใส่เสื้อชั้นในหรือการใช้เตานมเทียม
  7. ประสานกับทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแผนการดูแลที่ต่อเนื่องขณะอยู่โรงพยาบาลและอยู่ที่บ้าน  และจัดระบบการส่งต่อไปที่โรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับยาเคมีบำบัดต่อ Day 8  หรือรับยากระตุ้นเม็ดเลือด เป็นต้น
  • เป็นตัวแทนของผู้ป่วยและครอบครัวในการเจรจาต่อรอง เพื่อคงไว้ซึ่งสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับยาเคมีบำบัด
  • ช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพื่อการดูแลรักษาที่เหมาะสมกับสภาพของโรค  เศรษฐานะและปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
  •  สร้างมาตรฐานและแนวปฏิบัติในการให้ข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับยาเคมีบำบัด
  • ประเมินประสิทธิผลของการพยาบาล การจัดการกับอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัด  โดยมีดัชนีชี้วัดผลการปฏิบัติที่ชัดเจน
  • พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบการดูแลผู้ป่วยเฉพาะราย (Case manager)

 ด้านการให้ความรู้

  • จัดระบบการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับยาเคมีบำบัด มีการพัฒนาสื่อการให้ข้อมูลเป็นวิดิทัศน์  และมีคู่มือการรักษาและการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเมื่อได้รับยาเคมีบำบัด และพัฒนาทำให้ผู้ป่วยมีความรู้และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม  สามารถเผชิญกับอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัดได้
  • จัดทำโครงการพัฒนาระบบการให้ข้อมูลสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีคู่มือการสอนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด สำหรับพยาบาลและคู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด  รวมทั้งจัดทำสมุดประจำตัวของผู้ป่วยเพื่อบันทึกการดูแล การให้ยาและข้อมูลสำคัญของผู้ป่วย
  • สอนและให้คำแนะนำและจัดโปรแกรมการให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง แก่พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
  • สอนและให้ความรู้เรื่องประเด็นปัญหาและการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับยาเคมีบำบัด แก่นักศึกษาปริญญาโทที่มาดูแลผู้ป่วย
  • จัด Conference,  Journal club,  Interesting case ร่วมกับพยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพ

 ด้านการให้คำปรึกษา 

  • ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและครอบครัวเมื่อเผชิญกับภาวะวิกฤติต่างๆและหาทางช่วยเหลืออย่างหมาะสม
  • ให้คำปรึกษาและให้กำลังใจเมื่อผู้ป่วยต้องรักษาต่อเนื่องกรณีโรคกลับเป็นซ้ำ
  • ให้คำปรึกษาและแนะนำแหล่งประโยชน์
  • ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์   เมื่อผู้ป่วยมีปัญหาต่างๆ เช่นอาการข้างเคียงของยา หรือปัญหารีบด่วนที่ต้องการความช่วยเหลือ
  • ให้คำปรึกษา  แก่พยาบาลหรือนักศึกษาพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยกรณีที่มีปัญหาซับซ้อน

 ด้านบริหาร

  • มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระดับโรงพยาบาล  โดยจัดทำเป็น Care map ในการให้บริการผู้ป่วยมะเร็งเต้านมตั้งแต่รับใหม่จนจำหน่าย ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ
  • นำเสนอปัญหาที่พบ จากระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับยาเคมีบำบัดต่อผู้บริหารระดับต่างๆ
  • วางแผนร่วมกับพยาบาลภายในหอผู้ป่วย ในการจัดระบบการดูแลผู้ป่วย
  • วางแผนร่วมกับคณะกรรมการบริหาร ในการจัดทำโครงสร้างในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่พบบ่อย 10 โรคแรก เพื่อพัฒนาบุคลากรไปสู่พยาบาลขั้นสูงหรือพยาบาลชำนาญการ
  • ประสานงานกับแพทย์และทีมสุขภาพ ในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

 ด้านวิจัย 

  • ทำวิจัยและประยุกต์ผลงานวิจัยมาใช้ ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับยาเคมีบำบัด เช่น ระบบการให้ข้อมูล  การให้ข้อมูลโดยใช้กระบวนการกลุ่ม  การทำกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน 
  •  เผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ
  • เป็นที่ปรึกษาวิจัยและเป็นวิทยากรในการทำวิจัย
  • เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจเครื่องมือวิจัยและการสอบวิทยานิพนธ์แก่นักศึกษาปริญญาโทคณะพยาบาลศาสตร์ 
  • เป็นผู้นำในการทำ Research club และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการเสนอแนะในการทำ Research club

 ด้านคุณธรรม จริยธรรม 

  • ปฏิบัติการพยาบาลโดยยึดหลักคุณธรรม  จริยธรรม จรรณยาบรรณวิชาชีพและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • พิจารณาและร่วมตัดสินใจปัญหาที่ซับซ้อนทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง
  • เป็นข้าราชการดีเด่น

 

ความคิดเห็นของแพทย์  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง 

ด้เน้นเกี่ยวกับบทบาทที่สำคัญของพยาบาล     ผู้บริหารและพยาบาลระดับปฏิบัติการ  ในศูนย์ตติยภูมิเฉพาะทางมะเร็งไว้  4 ด้าน คือ
  • นักปฏิบัติการพยาบาล 
  • นักวิชาการและนักวิจัย 
  • ผู้จัดการทางการพยาบาล  และ 
  • ผู้จัดการความรู้ทางการพยาบาล  
 บทบาทนักปฏิบัติการพยาบาล  เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดของผู้ป่วย
  • Prevention  and Detection
  • Treatment / spiritual  care
  • Symptom  management
  • Servivorship/ Ouality  of Life
  • Rehabilitation /Complication
  • Palliative /Hospice care
 บทบาทนักวิชาการและนักวิจัย  (Research  Nurse)พัฒนาการวิจัยทางการพยาบาล  เพื่อก่อให้เกิดความคุ้มค่า  คุ้มทุนในการรักษาพยาบาล  เน้น
  • Evidence-based  Practice
  • Priority  Areas  and  Topics
  • Routine  to  Research
  • จัดการศึกษาทางการพยาบาล  โดยมีหลักสูตร Trainingเฉพาะด้าน
 บทบาทผู้จัดการทางการพยาบาล   เพื่อกระบวนการบริหารจัดการภายในที่มีประสิทธิภาพ
  • พยาบาลผู้จัดการการดูแล  ( Nurse  Case manager)
  • พยาบาลผู้ประสานงาน  (Coordinating  Nurse)
  • Nurse  Health  educator
  • IT  Nurse
  • National  Cancer  Control  Program  (NCCP)
 บทบาทการจัดการความรู้ทางการพยาบาลการทำให้เกิดความรู้ (Knowledge  generation)
  • นำความรู้จากแหล่งต่างๆที่มีอยู่ (Acquisition)
  • ได้ความรู้จากการจ้างที่ปรึกษา (Rental)
  • ผลิตความรู้ด้วยตนเอง(Dedicated  Resource)
  • ผสมผสานความรู้ร่วมกัน  (Fusion)
  • การบริหารความรู้

 จะเห็นว่าความเห็นของแพทย์ต่อสมรรถนะที่พยาบาลควรมีเหล่านี้

ทั้งพยาบาลทั่วไปและผู้ปฏิบัติการขั้นสูงจะต้องทำงานร่วมกัน จึงจะได้สมรรถนะตามที่กำหนดค่ะ

หมายเลขบันทึก: 125772เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2007 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2012 02:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

สวัสดีค่ะน้องหรรษา

พี่เขียนสมรรถนะ APN ของพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งตามสัญญาแล้วค่ะ

มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม แลกเปลี่ยนได้นะคะ

 สวัสดีค่ะน้องพยาบาลที่ผ่านการสอบAPN(ทฤษฎี)

น้องพยาบาล APN ที่เตรียมตัวจะไปสัมภาษณ์

ลองตอบให้ได้นะคะว่า

ผู้ป่วยกลุ่มที่เราต้องดูแลเป็นใคร 

ทำไมต้องมี APN ดูแล

APN อย่างเรา ได้พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้มาแล้วทำอะไรบ้าง

โดยวิเคราะห์ตามสมรรถนะทั้ง 6 บทบาท

ถ้าตอบได้ครบถ้วนทุกข้อแล้วและทำจริงๆ

พี่ว่าน่าจะ...สอบสัมภาษณ์ผ่านนะคะ

โชคดีทุกท่านค่ะ

สวัสดีค่ะพี่อุบล
สมรรถนะของ APN cancer nurse ที่พี่ให้ความเห็นไว้ จะช่วยเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดสำหรับพยาบาลที่อยู่ในระบบบริการเดียวกัน
ขอแสดงความเห็นเพิ่มเติม ในบางประเด็น ดังนี้
สมรรถนะด้าน
"ประสานกับทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแผนการดูแลที่ต่อเนื่องขณะอยู่โรงพยาบาลและอยู่ที่บ้าน  และจัดระบบการส่งต่อไปที่โรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับยาเคมีบำบัดต่อ Day 8  หรือรับยากระตุ้นเม็ดเลือด เป็นต้น"
จากระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งในเมืองไทยจะเห็นว่ามีศูนย์รวมอยู่ในศูนย์มะเร็ง ร.พ.มหาวิทยาลัยและร.พ.ศูนย์บางแห่งอยู่ ซึ่งมีศักยภาพและเทคโนโลยีเพียงพอในการรักษาผู้ป่วย แต่การพยาบาลผู้ป่วยไม่ควรจำกัดอยู่เฉพาะภายในหน่วยงานของเราเอง การประสานงานกับร.พ.เครือข่ายหรือแหล่งประโยชน์ในชุมชนเพื่อจัดระบบการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องน่าจะเป็นบทบาทที่สำคัญของพยาบาลด้วย ที่จะให้การดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและครอบคลุม ครบตามบทบาทของเราคือ ดูแล รักษา ส่งเสริมและฟื้นฟู
บทบาทในการปฎิบัติที่มักจะถูกมองข้ามไปในโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัยและตติยะภูมิ ที่ให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งคือ เรื่องของ prevention & detection และ Servivorship ทำให้การดูแลยังไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่อยู่ในระยะปลอดโรค
ดังนั้นการกำหนดสมรรถนะด้านการดูแลต่อเนื่องจึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งครอบคลุมปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างแท้จริง
หรรษา

สวัสดีค่ะคุณหรรษา

การจัดระบบการดูแลต่อเนื่องเป็นบทบาทหนึ่งของAPN แต่เมื่อพัฒนาระบบได้สมบูรณ์และต่อเนื่องแล้ว

พยาบาลทั่ไปสามารถดำเนินงานตามระบบที่วางไว้ค่ะ 

บทบาท เรื่อง prevention & detection และ Servivorship

จะมีหน่วยมะเร็ง ออกตรวจ pap smear / สอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ในชุมชน

มีการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในโอกาสต่างๆ

มีการตรวจสุขภาพประชาชนตลอดปี โดยมีหน่วยตรวจสุขภาพที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก

หน่วยวิจัยมะเร็งท่อนำดี จะมีการออกรณรงค์การให้เลิกกินปลาดิบ และปลาร้าดิบ

สำหรับบนหอผู้ป่วย    เราจะสอนน้องพยาบาลเสมอว่าให้แนะนำผู้ป่วยและครอบครัว  ให้ดูแลป้องกันการเกิดโรคมะเร็งที่เกิดจากพฤติกรรม

สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะปลอดโรค  เรามี hotline ผู้ป่วยและญาติสามารถโทรศัพท์มาปรึกษาได้ กรณีมีปัญหา

หน่วยChest จะมีการสอนประชาชนการป้องกันมะเร็งปอด

เราอาจไม่สามารถติดตามเยี่ยมได้ แต่เราจะมีระบบส่งต่อ PCU ให้ไปติดตามเยี่ยม และเราจะมีเครือข่ายช่วยกันดูแลค่ะ

ลองดูนะคะว่า เราจะทำอะไรได้บ้าง

 ให้ข้อเสนอแนะด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะ

บทบาทเรื่อง prevention & early detection นั้นพัฒนาขึ้นได้ตามบริบทของแต่ละที่ ซึ่งที่ขอนแก่นมีโครงการดีๆ ที่สอดคล้องกับปัญหาของชุมชนในพื้นที่

สำหรับเชียงใหม่มีโครงการที่เกี่ยวกับการรณรงค์การตรวจสุขภาพ รวมทั้งการตรวจหามะเร็งเบื้องต้นของโรงพยาบาลเช่นเดียวกัน ทำโดยทีมสร้างเสริมสุขภาพของโรงพยาบาล กลุ่มเป้าหมายมีทั้งประชาชนทั่วไป และ บุคลากรในโรงพยาบาล

ส่วนจากประสบการณ์ที่ทำงานด้านมะเร็งนรีเวช เราสอดแทรกเรื่องนี้เข้าไปในงานประจำของการสอนสุขศึกษา

- ผู้ป่วยทุกรายได้รับการสอนเรื่อง การตรวจเต้านมด้วยตนเองและประเมินผลการปฏิบัติด้วย เพื่อให้สามารถดูแลและเฝ้าระวังอาการลุกลามของเซลล์มะเร็ง

- มีโครงการให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเป็นกลุ่มกับญาติของผู้ป่วยที่มานอนโรงพยาบาลเดือนละ 1 ครั้ง เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน

- โภชนากรจะมาสอนผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับอาหารเพื่อปรับพฤติกรรมการบริโภคเดือนละ 1 ครั้ง

- มีโครงการออกกำลังกาย (ที่เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย) ทั้งในหอผู้ป่วยและมี CD ให้นำไปออกกำลังกายกับครอบครัวต่อที่บ้านหรือในชุมชน

สำหรับกลุ่ม Survivorship เรา (ทีม PCT) เคยทำโครงการกลุ่มเครือข่ายผู้ที่เคยป่วยด้วยมะเร็งรังไข่ มีการจัดประชุมกลุ่ม 4 ครั้ง แต่ละครั้งเชิญผู้ที่เคยป่วยและญาติเข้าร่วม มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเอง ให้ความรู้ จัดกิจกรรมต่างๆ ซึ่งผลลัพธ์น่าพอใจป็นอย่างยิ่ง นี้ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งซึ่งเราเคยทำและอยากให้มีการดำเนินการในลักษณะนี้ในผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆต่อเช่นกัน

 เรื่องการติดตามเยี่ยมก็ยังทำไม่ได้เช่นกันค่ะ ยังคงใช้ระบบส่งต่อ พร้อมสมุดประวัติการเจ็บป่วยและรักษาที่เราจัดทำไว้ให้คนไข้ เพื่อใช้เวลาติดต่อกับโรงพยาบาลในเครือข่าย

ก็เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนะค่ะ เผื่อใครเข้ามาอ่าน มีโครงการดีๆของหน่วยงานก็จะได้แลกเปลี่ยนกันอีก

หรรษา

สวัสดีค่ะน้องหรรษา

ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์มีกลุ่ม Excellence Cancer Center ซึ่งมีโครงการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาล

โดยมีพยาบาลที่เกี่ยวข้องเป็นมาชิก มีพี่อุบล จ๋วงพานิช เป็นประธานฯ

เรามีการวางแผนการดูแลร่วมกัน ตั้งแต่เริ่มวินิจฉัยที่ OPD  และเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่ใด เช่น ผ่าตัด ฉายแสง ให้เคมี

เรามี Care map และมีคู่มือการดูแลตนเองของผู้ป่วยในแต่ละจุด และมีการส่งต่อแผนการดูแล

เพื่อพยาบาลจะได้ไม่ต้องทำงานซำซ้อน เช่น ผู้ป่วยจะถูกสอนเรื่อง  การตรวจเต้านมด้วยตนเองที่ OPD แล้ว เมื่อเข้ารักษาที่ตึกผู้ป่วยใน พยาบาลจะทบทวนความรู้ ถ้ายังปฏิบัติไม่ได้จึงจะสอนอีกครั้ง

วันนี้พูดถึงโครงการเดียวก่อนนะคะ

ขอบคุณค่ะที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ 

ในกรณีที่รับยา day 8 ที่โรงพยาบาลพี่ส่งมาที่มหาสารคามบางครั้งจะเป็นวันหยุดซึ่งทำไม่มีเภสัชกรเตรียมยาให้ทำให้ไม่สะดวกและเกิดการเลื่อนวันรับยาหรือทำให้ผู้ป่วยต้องมาหลายครั้งขึ้นจากที่ไม่ทราบ ดังนั้นจึงขอประสานการดูแลให้ด้วยนะคะ และจะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีศูนย์ติดต่อ ประสานงาน ส่งต่อผู้ป่วยรับรังสีรักษาได้จุดเดียวเลยจากโรงพยาบาลมหาสารคาม เช่นการเตรียมตัวผู้ป่วย Lab เอกสาร และนัดคิวได้เลย เป็นต้น

ค้นข้อมูลสมรรถนะ

ขอบคุณมาก ไดประโยชน์มาก

น้องก้อเป็นอีกคนหนึ่งที่สนใจเรื่องมะเร็งเต้านมต้องการให้ผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีแต่พึ่งจับงานนี้ก้อคงต้องข้อคำแนะนำจากพี่อุบลมากๆมากๆหล่ะค่ะจึงข้อคำแนะนำในการเขียนโครงการในการดูและผู้ป่วยมะเร็งเต้านมพี่ๆเค้าต้องการให้ลงลึกถึกการให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดเต้านมแต่น้องก้อต้องการให้การเสนอโครงการครั้งแรงเป็นการเห็นภาพรวมทั้งหมดก่อนแล้วค่อยเขียนโครงการย่อยๆไป จะดีไม๊ค่ะ

 น้องก้อ Kasamapust

การทำโครงการดูแลผู้ป่วยถ้าเขียนภาพกว้าง จะทำยาก

การเขียนเรื่องการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด  น่าจะดีกว่านะคะ

ก่อนอื่นต้องขอชื่นชม ก่อนนะคะ เก่งมากค่ะ พอดีทำงานในโรงพยาบาลราชวิถี เป็นหัวหน้าตึก พิเศษนรีเวช 7ข และได้เปิดหน่วยให้ยาเคมีบำบัดเล็ก จัดขึ้นเพื่อแก้ปัญหา การไม่มีเตียงให้ผู้ป่วยค่ะ ที่ขอนแก่นมี WP WI ไหมคะ ถ้ามีอยากขอดูตัวอย่างค่ะว่าที่ทำอยู่ถูกต้องหรือเปล่า ไม่เคยไปดูงานที่ไหน ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

คุณอรชร

ขอมาดูงานขอนแก่นสิคะ ยินดีต้อนรับค่ะ

สวัสดีคะ พอดีหนูอยากได้intervention สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายบ้างมั้ยคะ หาของต่างประเทศก็หาได้บ้างไม่ได้บ้าง บางอันได้ก็ไม่มีfull text หนูเครียดมากเลยคะ ถ้าจะให้ดีหนูอยากได้โปรแกรมเกี่ยวกับให้ความรู้แก่ผู้ดูแลในครอบครัวสำหรับเรื่องทักษะการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย หนูรู้สึกดีมากเลยคะที่เปิดมาแล้วก็มาเจอกกับพี่ หนูคิดว่าคงพอมีทางออกบ้าง ไม่งั้นคงเรียนต่อไปไม่ไหว รบกวนพี่ด้วยนะคะ

ขอบคุณมากคะ

เรียนพี่แก้ว ขณะนี้กำลังเรียนเฉพาะทางการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งมีplan จะทำโครงการในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง 2  ผมมีplanจะทำเรื่องการประคมร้อนและเย็นบริเวณที่แทง IV line เพื่อป้องกันการirritationของหลอดดำขณะให้ยาเคมีบำบัด ของยาแต่ละชนิด ว่าผู้ป่วยมีความพึงพอใจและลดอาการปวดแสบร้อนของหลอดเลือดดำขณะให้ยาเคมีบำบัด และไม่เิกิดextravasation พี่คิดว่าโครงการนี้เป็นอย่างไรและจะ มีงานวิจัยที่เป็นภาษาไทย-อังกฤษหรือไม่และจะต้องค้นคว้าอย่างขอความกรุณาช่วยอนุเคราะห์ในการหาข้อมูลให้หน่อยนะครับขอขอบพระคุณอย่างยิ่ง

การปฏิบัติการพยาบาลเรื่องอะไร เราก็ต้องทบทวนงานวิจัยก่อนค่ะ

จำเป็นไหมที่จะทำ ถ้ามีงานวิจัยสนับสนุน ว่าการประคบจะป้องกันได้เราก็ทำ

เราต้องใช้หลัก advanced searching ดูนะคะ คุณเฉลิมพันธ์

คุณขวัญจิรา

ขอโทษด้วยที่เพิ่งเข้ามาพบ ป่านนี้น้องคงได้เรื่องไปทำสำเร็จแล้วนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท