วันแรกในมหาวิทยาลัยในอเมริกา


ชีวิตในวันแรกๆ ที่ UCMP ....

หลังจากพักนอนคืนแรกที่บ้านหนึ่งคืน เช้ารุ่งขึ้นตื่นขึ้นมา น้องคนไทยที่อยู่ที่บ้านหลังเดียวกันก็อาสาพาไปดำเนินการต่างๆ (อย่างน้อยก็พาเดินไปถูกทาง ไม่ต้องงมเอง ^ ^ ) ที่มหาวิทยาลัย

 

โดยทั่วไปแล้ว เวลานักศึกษาต่างชาติมาใหม่ที่มาเรียนต้องมารายงานตัวที่มหาวิทยาลัย โดยมากก็ไปรายงานตัวที่ International office ของแต่ละมหาวิทยาลัย หรือไปรายงานตัวที่ภาควิชาที่จะมาเรียน  ของที่ Purdue สมัยก่อนจะไปรายงานตัวที่ inter office แต่ที่ UMCP (University of Maryland College Park) นี้ เขารายงานตัวกันที่ภาควิชา

สำหรับตัวเองแล้ว มาในฐานะ Visiting Scholar ก็คือเป็น visitor คนหนึ่งนั่นเอง ไม่ได้มาเรียน ก็เลยไม่แน่ใจว่ารายงานตัวที่ไหน พอดีใน Fulbright package เอกสารที่เขาส่งมาให้ระบุชื่อคนๆ หนึ่งที่ inter office ก็เลยเดินไปที่ inter office ก่อน แต่ปรากฎว่า เขาบอกให้ไปรายงานตัวที่ภาควิชา ก็เลยเดินกลับมาที่ภาควิชาอีก

ระบบที่นี่ค่อนข้างดี เราแค่ไปเจอเ้จ้าหน้าที่ที่เป็น business manager ของภาควิชา เล่าเรื่องให้เขาฟัง เอา DS 2019 ให้เขาดู (ถ้าเป็นนักศึกษาจะเป็น I 20) เขาก็ถามเรื่องราวเราเล็กน้อย แล้วก็เริ่มกรอกประวัติเรา กับ status ของเราในมหาวิทยาลัยนี้ลงในระบบออนไลน์ อ้อ..สิ่งที่ต้องใช้อีกอย่างหนึ่งก็คือ social security number เปรียบไปก็คล้ายๆ กับเลขบัตรประชาชนของเราแหละค่ะ ต่างกันบ้างตรงที่ระบบที่นี่นิยมใช้ใบขับขี่ในการระบุตัวตนมากกว่า SSN ค่ะ ถ้าใครเพิ่งมาอเมริกาเป็นครั้งแรก ยังไม่มี SSN เขาจะให้เลขชั่วคราวมาก่อน แล้วต้องไปขอเลขจริงภายหลังค่ะ

พอเขาใส่ชื่อเราในระบบแล้ว จะสามารถสมัคร email ของมหาวิทยาลัยได้ด้วยตัวเอง และเราจะต้องรีบไปทำบัตรประจำตัวของมหาวิทยาลัย (University ID Card)  เพราะบัตรนี้จะทำให้เราสามารถใช้ facility ต่างๆ เช่น รถโดยสารของมหาวิทยาลัย (ฟรี) ห้องสมุด recreational center (ยิมและสนามกีฬา ที่ออกกำลัง) ฯลฯ ได้..

รถโดยสารของมหาวิทยาลัยที่นี่ค่อนข้างดีค่ะ มีหลายสายมาก (ประมาณ ๒๐ สายได้) มีท่ารถหลักอยู่ที่ Student Union สามารถต่อไปยังส่วนต่างๆ ของในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัยได้หลายทาง ไป Metro Station ได้หลายอันทีเดียว และวิ่งไปยังกลุ่ม apartments หรือที่พักที่มีอยู่รอบๆ และภายในมหาวิทยาลัย และมีวิ่งไปยังห้าง (Mall) หลักๆ แถวนี้ด้วย เรียกว่าสะดวกทีเดียว ระบบรถโดยสารที่นี่สามารถดูได้ออนไลน์ว่ารถอยู่ที่ไหน จะมาถึงป้ายไหนในเวลากี่นาที หรือโทรสอบถามเอา หรืออยู่ที่ป้ายก็กดดูไ้ด้ว่ารถสายไหนจะมาถึงในกี่นาที (เฉพาะบางป้าย) รถจะมีทุกๆ ๑๕-๒๐ นาทีในช่วงเช้า ช่วงเที่ยง และช่วงเย็น สำหรับนักเรียนที่จะใช้รถเดินทางไปมาจากบ้าน จนนานสุดเป็นชั่วโมงละคัน เวลาจะออกไปรอรถต้องดูตารางรถดีๆ ค่ะ ไม่งั้นยืนรอนาน ยิ่งอากาศติดลบแล้วลมแรงแบบวันสองวันนี้ละก็ หงิกเลยค่ะ อิอิ

เอาเป็นว่าไปเอาชื่อเข้าระบบเรียบร้อย อีกวันหนึ่ง (วันพฤหัส ๒๑ ก.พ.) ก็สมัคร email จากที่บ้าน แล้วก็ไปทำบัตรประจำตัว ทำง่ายมากค่ะ ประมาณ ๒ นาทีเสร็จ ไปถึงไม่มีคิวเลย เอาเอกสารที่มีอยู่ไปยื่น ถ่ายรูป แล้วก็พิมพ์บัตรออกมา รวดเร็วทันใจจริงๆ

จากนั้นก็ไปตามเรื่องห้องที่ทำงาน พอดีอาจารย์เขาไม่ได้บอกที่ฝ่ายธุรการไว้ล่วงหน้า เขาก็เลยไม่ได้เตรียมไว้ แต่ดิฉันไม่โวยหรอกค่ะ (เพราะเราเองก็ติดต่ออาจารย์น้อยมากๆ ไม่ได้ตามเรื่องเองแหละ) เขาก็พยายามจัดให้ สุดท้ายวันศุกร์ (๒๒ ก.พ.) ไปพบอาจารย์ ก็ประสานงานจนได้กุญแจห้อง และทำ key card เข้าอาคาร  ซึ่งก็คือบัตรมหาวิทยาลัยใบเดิมแหละค่ะ เขาเพิ่มข้อมูลลงไปในระบบก็กลายเป็น key card เข้าอาคารกับเข้าห้องสำนักงานได้อัตโนมัติ เป็นอันเรียบร้อย

ลืมเล่าไปว่า email account ของที่มหาวิทยาลัยจะใช้ในการ access ระบบ internet ไร้สายของที่นี่ด้วย เพราะฉะนั้นก็สะดวกค่ะ เอาโน๊ตบุ๊คมา เปิดเครื่อง แล้วก็ต่อได้เลย ไม่ว่าจะอยู่ตึกไหนในเขตมหาวิทยาลัยก็ตามค่ะ เน็ตที่ทำงานก็จะเร็วกว่าเน็ตที่บ้านที่ใช้อยู่ สะดวกดีค่ะ

นอกจากนั้นแล้วระบบการลงทะเบียนกับหาชื่อหนังสือ เอกสาร ตำราเรียนของที่นี่ก็สะดวกค่ะ เขามีระบบให้ลงทะเบียนออนไลน์ ดูชื่อตำราที่จะใช้ ชื่อคนสอน ห้องเรียน เวลาเรียน แผนที่ตึกอาคารเรียน สั่งซื้อเอกสาร/หนังสือ (มีบริการส่งถึงบ้าน หรือจะไปรับเอง) 

แล้วก็มีระบบ blackboard สำหรับแต่ละ class เป็นที่ๆ อาจารย์ลงเอกสารที่จะใช้ในการสอน เช่น พาวเวอร์พอยท์ไว้ออนไลน์ นักเรียนสามารถเข้ามา download ไปเองได้ แล้วก็เป็นที่นักเรียนส่งการบ้าน หรือมาเอาข้อสอบไปทำก็ได้ด้วย (ถ้าเขาอนุญาติให้สอบออนไลน์)  เวลาอาจารย์สอนที่ห้องเรียนก็จะมีคอมพ์ประจำห้อง อาจารย์ก็ไม่ต้องพกคอมพ์ พก LCD (เหมือนบ้านเรา) ไปห้องเรียน ไปถึงก็ต่อเข้าระบบ blackboard แล้วก็ฉายขึ้นจอเลย  แล้วถ้าเป็น class online ก็จะเรียนในห้องที่มีกล้อง มีทีวี มีระบบ teleconference คนที่อยู่ปลายทางอีกที่หนึ่งก็เรียนไปพร้อมกันกับคนที่อยู่ที่ห้องเรียน ผ่านจอทีวีถ่ายทอดสด โต้ตอบกันได้ด้วย สะดวกมากค่ะ

เอาเป็นว่าเรื่องทั่วๆ ไปในวันแรกๆ ที่มหาวิทยาลัยก็มีเพียงเท่านี้ ว่าจะเล่าเรื่องเปิดบัญชีธนาคารอีกเรื่องหนึ่ง แต่ตอนนี้ชักยาว เอาแค่นี้ก่อนค่ะ

หมายเลขบันทึก: 168090เขียนเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2008 03:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)
    • ขอบคุณ ดร.กมลวัลย์.....ที่พาไปเที่ยวอเมริกา...ได้รู้..ในเรื่องราว..ต่างๆ...
    • บันทึกนี้เป็นประโยชน์มากเลย...สำหรับคนไม่เคยไปเมืองนอก....อย่างผม
    • ขอให้มีความสุข....ในการเดินทาง...และประสบความสำเร็จ..ในภารกิจนะครับ
  • ชื่นชมครับ
  • ประสบการณ์ที่เก็บรายละเอียดดังนี้  เป็นสารคดีที่น่าอ่านมาก ๆ

สวัสดีค่ะอ.พิสูจน์

กะว่าเขียนไว้อ่านเองตอนหลังๆ แล้วก็เผื่อคนอื่นๆ ที่กำลังจะไปเรียนต่อที่อเมริกาด้วยค่ะ ชีวิตค่อนข้างจะสะดวก เพราะระบบเขาค่อนข้างดีค่ะ แต่ก็แตกต่างกันไปบ้างในแต่ละมหาวิทยาลัยนะคะ แล้วแต่ว่าเป็นมหาิวิทยาลัยระดับไหนน่ะค่ะ  ถ้าชื่อเสียงดีๆ เงินทอง(จากการสนับสนุนภายนอก ศิษย์เก่า อุตสาหกรรม แล้วก็รัฐ) เยอะ ก็จะอู้ฟู่ ระบบแน่นหนาเป็นระบบดีค่ะ เทียบที่นี่กับที่เก่าที่เคยเรียนตอน ป.เอก แล้ว ที่เคยเรียนดีกว่านิดหน่อยค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่อวยพรนะคะ แล้วจะเขียนให้อ่านกันเพิ่มเติมอีกค่ะ ^ ^

 

สวัสดีค่ะครูชา เปิงบ้าง

ยินดีต้อนรับนะคะ

เท่าที่เขียนนี้ยังไม่เข้าข่ายสารคดีเต็มรูปแบบมั้งคะ ^ ^ แค่เป็นบันทึกประสบการณ์ส่วนตัวอันหนึ่งเท่านั้น แต่ยินดีมากนะคะที่ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ให้หลายๆ ท่านที่สนใจได้รับรู้น่ะค่ะ

ขอบคุณครูชาที่แวะมาเยี่ยมเยียนนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ตุ๋ย

อ่านแล้วได้รับความรู้  ตื่นเต้น  ชื่นชมไปด้วยค่ะ

รักษาสุขภาพนะคะ

สวัสดีค่ะครูอ้อย

คุณครูตื่นเช้ากันทุกคนเลย ^ ^  ดีใจแทนนักเรียนค่ะ

ขอบคุณที่แวะมา ลปรร นะคะ ครูอ้อยก็รักษาสุขภาพเช่นกันนะคะ  ^ ^

สวัสดีค่ะอ.ตุ๋ย

โอ้โห..เดี๋ยวนี้การเรียนการสอนไปไกลแบบมีระบบ blackboard วันก่อนดูคอนเสริท์ (ช่วยด้วย ..สะกดแบบไม่แน่ใจค่ะ) ในทีวี เห็นเค๊าเล่นเปียโน หน้าจอมอนิเตอร์LCD เล็กๆ แทนสมุดโน๊ตดนตรี ไม่รู้เหมือนกันหรือเปล่า แต่สะดวกจริงๆค่ะ ทันสมัยจัง =)

อเมริกาเป็นเจ้าเทคโนโลยี มาเรียนมาทำงานวิชาการที่นี่เรียกได้ว่าสะดวกมากๆเลยนะคะ ทันสมัยจริงๆ การเข้าถึงข้อมูล การติดต่อสื่อสาร พอสะดวกมันทำให้ชีวิตไม่เคร่งเครียดนักนะคะ

สวัสดีค่ะพี่อุ๊

ระบบ blackboard เนี่ย ตัวเองเคยใช้ที่เมืองไทย ตอนยังเป็นของฟรีค่ะ บริษัทเขาเพิ่งเริ่มทำ ตอนหลังถูกใคร take over ไปก็ไม่รู้ เขาทำเป็น module ขายเลยค่ะ บ้านเราก็มีใช้่ รู้สึกว่าจะเป็นชื่อ Moodle หรืออะไรนี่แหละค่ะ ถ้าจะลงต้องลงระบบใหญ่เหมือน blackboard แล้วใช้ platform เดียวกันทั้งมหาวิทยาลัย

ตั้ง account ใ้้้ห้อาจารย์มาเปิด course เอา material การสอนมาลง พอเด็กลงทะเบียนวิชาโน้นนี้ เด็กก็จะมีสิทธิ์เข้ามา enroll ใน course ที่ตัวเองลงทะเบียนได้อัตโนมัติ

พื้นที่ของแต่ละ course จะเป็นพื้นที่ ที่เด็กๆ สามารถทำงานกลุ่มร่วมกัน ส่งงาน ส่งการบ้าน อาจารย์ assign งาน คืนการบ้าน โพสท์เกรด (แต่ละคนดูได้แต่เกรดของตัวเอง) สารพัดค่ะ มี link ไปค้นเอกสารที่ห้องสมุดด้วยค่ะ นับว่าสะดวก แต่ก็ต้องใช้เป็นนะคะ ไม่งั้นก็แย่เหมือนกันค่ะ ตามชาวบ้านเขาไม่ทัน นี่ก็พยายาม catch up เรียนรู้อยู่ค่ะ

สำหรับคำว่าคอนเสริต์นั้น ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ อิอิ ส่วนใหญ่จะเขียนเป็น concert ไปเลย 5555

สวัสดีค่ะพี่นุช

ที่นี่เรื่องข้อมูลข่าวสารล่ะก็ไม่ต้องห่วงค่ะ ได้ทุกอย่าง แต่ก็แพงนะคะ เทียบเป็นเงินเราน่ะค่ะ ตามโรงเรียนเด็กเสียค่าเทอมแพงนะคะ กว่าจะได้ระบบอย่างนี้มาใช้ แต่ก่อนยังจำได้เลยว่าค่าเทอมห้าพันขึ้น ไม่รู้ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ยังไม่รวมค่ากินอยู่นะคะ

ถ้าพูดถึงตามบ้าน ตอนนี้ระบบตามบ้านเขาใช้เป็นไฟเบอร์ออพติกเลย คือเส้นเดียวมาหน้าบ้าน แล้วต่อกับทีวี internet และโทรศัพท์ ซื้อทีเดียวเป็น package แต่ต้องเซ็นสัญญาเป็นปีเป็นอย่างต่ำ เดี๋ยวนี้โทรศัพท์ก็ผ่าน internet ... อะไรๆ ก็ internet ไปหมด.. แต่ตุ๋ยคิดว่ายังไงๆ ก็อยู่บ้านริมน้ำของเราดีกว่าใช่ไหมคะ

เทคโนโลยีดีอย่างไร ก็สู้ธรรมชาิติไม่ได้หรอกค่ะ ลองไฟฟ้าดับสักอาทิตย์สิ เป็นเรื่องแน่ๆ ^ ^

  • เย้ๆๆไปทำบัตรแล้วนะครับ
  • ในบัตรเหมือนนักศึกษาใหม่เลยครับพี่ตุ๋ย
  • ระบบบริการเกี่ยวกับ internet
  • ต่างจากบ้านเรามากไหมครับพี่

สวัสดีค่ะ อ.ขจิต

ได้บัตรตั้งแต่วันแรกๆ ที่มาถึงเลยค่ะ สะดวกมากจริงๆ

ระบบบริการ internet ถ้าพูดถึงในฐานะผู้ใช้ก็ต้องบอกว่าเร็วกว่า และ stableกว่าที่มหาวิทยาลัย (มจพ.) ค่ะ และเขาใช้ระบบ เป็น platform สำหรับ access ข้อมูลทุกอย่างเลยค่ะ ทุกหน่วยงานมีเวบหมด หาข้อมูลดูได้ตลอด มีประกาศปฏิทินมหาวิทยาลัยตลอดเวลาค่ะ เรียกว่าข้อมูลล้น ดูกันไม่ทัน และcorrespondences ส่วนใหญ่ก็ผ่าน internet ค่ะ โทรศัพท์ใช้น้อยกว่าเยอะค่ะ

ส่วนเรื่องการซื้อบริการใช้ internet ที่บ้าน ยังไม่เคยเห็นที่ตามร้านเขาขายชั่วโมง internet นะคะ ที่นี่ส่วนใหญ่เป็นระบบ wireless เพราะฉะนั้นจะซื้อ package ให้เขามาติดตั้งเป็นระบบ wireless เสียมากกว่า ยกเว้นคนที่ซื้อแบบ package ทั้งบ้านเลย คือ hook up ทั้งทีวี โทรศัพท์ internet ด้วยกันหมด แบบนี้จะเป็น fiber optics ค่ะ (อันนี้ฟังจากอาจารย์ต่ออีกที ไม่มีประสบการณ์ค่ะ) อาจารย์เขาติดตั้งที่บ้านเพราะเขาสอนทางไกลด้วยน่ะค่ะ

ขอบคุณที่ชมว่าดูเด็กนะคะ ดูตัวเองทีไรก็โทรมทุกที ^ ^ มองกันคนละมุมใช่ไหมคะ อิอิ

สวัสดีค่ะ

ที่อเมริกา ใครอยู่ก้ต้องติดใจเรื่องความสะดวกค่ะ ยอมรับ แต่เรื่องความมีน้ำใจสู้บ้านเราไม่ได้

 

สวัสดีข้ามโลกครับ อาจารย์กมลวัลย์ :)

  • High Technology มาก ๆ ครับ
  • อยากให้มหาวิทยาลัยของเราเป็นแบบนี้บ้างครับ
  • โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของผมนี่แหละ อิ อิ
  • e-mail ทำให้ทุกอย่าง .. One Stop Service ของแท้เลย
  • Blackboard เป็นชื่อซอฟต์แวรที่ทำหน้าที่จัดการระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งบ้านเราก็ต้องเรียก e-Leaning กันครับ หรือ LMS นี่แหละ Learning Management System ครับ
  • ตื้นเต้น ๆ ครับ

Take Care Yourself ครับอาจารย์ :)

  • ตอนนี้อยากได้เน็ตความเร็วสูงๆค่ะอาจารย์
  • เพราะตรวจการบ้านไม่ทัน
  • ฮือๆเขาทวงเกรดแล้วด้วย
  • มหาวิทยาลัยเขาเน้นสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้ทั้งอาจารย์และนักศึกษานะคะ
  • แต่ของเราอำนวยความสะดวกให้ผู้บริหาร อ้าวพูดมากไปแล้ว อิอิ

สวัสดีข้ามทวีปครับพี่กมลวัลย์

อ่านไป นึกภาพตามไป เหมือนได้ไปเอง

รักษาสุขภาพด้วยนะครับ

ทันสมัยจัง เมื่อไหร่มหาวิทยาลัยของบ้านเราจะเป็นแบบนี้บ้าง จริงๆ พวกนี้เป็นบริการพื้นฐานที่มหาวิทยาลัยควรมีเลยนะ ทำแล้วคนทำงานก็สะดวกขึ้น ทุกอย่างติดตามง่ายด้วย

สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์

อเมริกาเป็นเจ้าของความสะดวก แต่ขาด human contact จริงๆ ค่ะ อะไรๆ ก็มี drive through หรือมีเครื่อง/คอมพ์/ตู้อุปกรณ์ ไว้ให้ติดต่อ หาคนไม่ค่อยเจอ

ขนาดทำงานอยู่ข้างห้องกัน ยังเขียน email เอาเลยค่ะ 5555 วันก่อนอาจารย์คนนึงที่นี่เขาเล่าตอนประชุมกันให้ฟังว่า เด็ก email มาถามคำถามเขาในขณะที่เขากำลังสอนหนังสืออยู่หน้าชั้น แล้วเด็กก็นั่งเรียนอยู่ด้วย แล้วก็เปิด laptop เรียนไปด้วย แทนที่จะถามโดยการยกมือถาม ดันเขียน email มาถาม เอากะเขาสิ ^ ^

 

สวัสดีค่ะอ.วสวัติดีมาร

ถ้ามหาวิทยาลัยของเราเป็นแบบนี้...นึกไม่ออกค่ะ...5555

จะมีระบบแบบนี้ คนต้องพร้อม อุปกรณ์ต้องพร้อมค่ะ อย่างน้อยคนต้องพิมพ์สัมผัสกันได้หมด ใช้เทคโนโลยีกันได้ เครื่องกับระบบต้องไม่ิติดๆ ดับๆ ...  ถึงได้บอกว่านึกไม่ออกว่ามันจะเกิดที่บ้านเราได้ยังไง อิอิ

เฉพาะวันนี้วันเดียว มี email ของที่นี่ที่เกี่ยวข้องกับเราประมาณ ๒๐ ฉบับ.. วันแรกมีฉบับเดียว ผ่านมาอาทิตย์นึงเรตติ้งชักดีแฮะ

 

สวัสดีค่ะอ.นารี

แหะๆ ถ้าพูดถึงผู้บริหารละก็..เดี๋ยวยาวค่ะ ^ ^

มีเน็ตเร็วๆ ไว้ใช้งานมันสะดวกจริงๆ ค่ะ ทำงานแล้วส่งงานได้ทันใจ ค้นหาอะไรก็ง่าย แต่พูดถึงที่บ้านเราก็ไม่ได้เลวร้ายมาก เพียงแต่มันแย่กว่าเท่านั้นเอง ดูง่ายๆ ก็ดู highway กับระบบขนส่งมวลชนของเขา ที่ดีกว่าเรา แต่บ้านเราก็ใช่ว่าจะไม่มี เพียงแต่ถนนเรามันขดไปขดมา แล้วก็เป็นหลุมเป็นบ่อบ้าง และก็แคบกว่าเขา ประมาณนั้น.. ระบบ internet ก็เหมือนกับถนนเนี่ยแหละค่ะ คือๆ กัน

 

สวัสดีค่ะน้องกบ

ขอบคุณที่แวะมาแสดงความห่วงใยกันนะคะ จะรักษาสุขภาพเป็นอย่างดีเลยค่ะ ไม่อยากป่วยเลย..เดี๋ยวจะไปนอนแล้วล่ะค่ะ เป็นเด็กอนามัยนอนเร้ว ตื่นเช้าค่ะ

 

สวัสดีจ้าน้องซูซาน

บ้านเรายังไม่มีแบบนี้ในเร็ววันนี้แน่ๆ เพราะพี่คิดว่าเรามี infrastructure ที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ มันเหมือนคนมีตังค์ซื้อคอมพ์ แต่ไม่ได้ซื้อสายต่อน่ะ แล้วก็ไม่มีตังค์ซ่อมด้วย เจ๊งแล้วเจ๊งเลย...

ตอนนี้แค่ดูการเมืองก็รู้แล้วว่าการศึกษาจะลงเหวขนาดไหน..เฮ้อ..มั่วกันจริงจริ๊ง...อ้าว..ไปเรื่องนี้ได้ไงหนิ ^ ^

สวัสดีค่ะ รูปใหม่ สดใสและดูท่าจะหนาวนะคะ...ชอบรูปที่มาประกอบด้วยค่ะ

มหาวิทยาลัยต่างประเทศ..ส่วนที่ชอบคือห้องสมุดค่ะ ...ชอบที่เขาลงทุนให้กับนักศึกษาจริงๆ ก็ค่าลงทะเบียนมันแพง วารสาร on line เขามีหมด แต่มหาวิทยาลัยของไทย ต้องรอ ช่วงที่ เขา ให้ trial databased ไม่เช่นนั้น หาอะไรก็เจอแต่ abstract ทั้งๆที่เทียบค่าเล่าเรียนกับค่าเงินแล้ว พอๆกัน...

การลงทุนทางการศึกษาของไทย ไปลงที่ไหนบ้างไม่ทราบเหมือนกันค่ะ

สวัสดีค่ะพี่สร้อย

ใช่แล้วค่ะ ตอนถ่ายภาพกำลังหนาวอยู่เลยค่ะ ^ ^

ที่นี่ห้องสมุดโอเคค่ะ หนังสือไม่เยอะเท่าที่เคยอยู่ แต่ก็พอสมควร แต่ที่สำคัญคือเรื่อง journal นี่แหละค่ะ ที่มีให้เลือกเยอะกว่า จริงๆ ตอนนี้ที่ มจพ.ก็มีให้ download ได้เหมือนกันค่ะ เขาซื้อ license มา เรียกว่าดีกว่าเมื่อ ๑๐ ปีที่แ้ล้วมากๆ

การลงทุนทางการศึกษาของไทย...Hummm..ถ้าให้คิดนะคะร้อยละ ๖๐ มาที่เงินเดือนค่ะ ก็ทำให้น่าคิดว่าอีก ๔๐ ที่เหลือมันจะไปทำอะไรได้ใช่ไหมคะ ที่ต่างประเทศงบการศึกษาของเขาสูงกว่าเรามาก แล้วก็ผู้เรียนจ่ายสูงกว่าบ้านเราเยอะค่ะ ไม่ผ่านทางค่าเล่าเรียน ก็ผ่านทางภาษีต่างๆ ที่รัฐเก็บค่ะ บ้านเราการเสียภาษียังน้อยอยู่มากค่ะ ที่นี่ทุกอย่างมีภาษีหมดค่ะ ไปกินข้าวในร้านมี eat in tax แต่ถ้า order to go ก็มี eat out tax ค่ะ หนีไม่พ้น  ^ ^

 

สวัสดีค่ะ อ.ตุ๋ย

เผลอแผลบเดียว อ.ตุ๋ย ไปอเมริกาแล้ว ... ตามอ่านที่ อ.ตุ๋ย บันทึกเกี่ยวกับการเดินทางแล้วคิดถึงตอนที่ไปอเมริกาเมื่อ 3 ปีที่แล้ว โหย เหนื่อยแบบสุดๆ เลยค่ะ เจอทั้งเครื่องยกเลิก ต้องรอกันเป็นวัน แถมไปถึงกระเป๋าก็ไม่มา ไม่มีเสื้อผ้าเปลี่ยน ไปถึงโรงแรมดึกเขาก็ยกห้องให้คนอื่นต้องย้ายไปนอนโรงแรมอื่น กำลังหลับสนิทเพราะเพลียๆ สัญญานไฟไหม้ก็ดังขึ้นอีกกระโจนออกนอกห้องแทบไม่ทัน...มานั่งรอนอกโรงแรมเกือบชั่วโมงจึงได้ขึ้นไปนอน กำลังหลับๆ เสียงโทรศัพท์ดังขึ้นมาบอกว่า Prof. มารับแล้ว...โอ้ยยยย

เมืองที่ไปคราวนั้นก็ Baltimore นี่แหละค่ะ ก็สนุกดีค่ะ ได้ประสบการณ์และได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ มากเหมือนกันแม้จะไปเพียงช่วงสั้นๆ 10 วัน ค่ะ

ชอบบรรยากาศแถวๆ Inner Harbor ค่ะ สดชื่น สบายๆ ช่วงที่ไปไม่ใช่ฤดูหนาว (กันยายน-ตุลาคม) มีแสงแดดอุ่น ผู้คนมาเดินเล่นมากมาย ...

ชอบที่ตามมุมถนนตรงโน้นตรงนี้มี รูปปั้นปูแบบต่างๆ ประดับตามมุมถนน ช่วยลดความแข็งของตึกลงได้เยอะค่ะ

มีความสุขกับการทำงานนะคะ

คิดถึงค่ะ

โรงแรมในลาวและเวียตนามใช้ Internet free แต่บ้านเราคิดเงิน  แพงด้วย อิอิ

สวัสดีค่ะพี่แป๋ว

วันเวลาอย่างกับติดปีกค่ะพี่ เดี๋ยวเผลออีกแผลบ ก็กลับบ้านเรา(รักรออยู่)แล้วค่ะ ^ ^

ฟังพี่เล่าเรื่องทริปของพี่นี่หฤโหดน่าดูเลยนะคะ พอเริ่มต้นพลาดจากเครื่องบินแล้วก็เลยเป็นโดมิโนเอฟเฟคเลย.. แต่ไอ้เรื่องโดนปลุกจาก fire alarm เนี่ยมันอีก incident นึงเลยนะคะ.. แสดงว่าเขาจะไม่ยอมให้นอน..พอเจอ prof. เสร็จอีกวันนึงรับรองหลับสนิท หาย jet lag ทันที อิอิ

ส่่วนเมือง baltimore นั้นยังไม่ได้ไปเลยค่ะ เนื่องจากไม่มียานพาหนะส่วนตัว ไม่งั้นคงร่อนไปทั่วเหมือนกัน ตอนนี้ก็นั่งรถเมล์กับเดินเอา เพราะฉะนั้นยังไม่ค่อยได้ไปที่ไหนสักเท่าไหร่ค่ะยกเว้นแถวๆ นี้กับดีซีที่ Metro มาถึง

ฟังพี่เล่าแล้วต้องไป baltimore ให้ได้เลย แต่เดี๋ยวตอนสปริงนี้ที่ดีซีจะมีดอกซากุระบานเพียบ จะถ่ายรูปมาฝากให้วี๊ดว๊ายกัน อิอิ (แต่ไม่รู้จะสู้พี่ได้หรือเปล่านะ รอดูก็แล้วกันนะคะ  ^ ^

 

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

นั่นน่ะสิคะ..แต่ว่าที่โรงแรมที่อเมริกาก็ charge เหมือนกันค่ะ แต่ก็มีร้านอาหารบางที่ที่เขาต้องการเรียกคนไปนั่ง ก็ให้บริการ wireless ฟรีค่ะ คงแล้วแต่หลักการคิดและราคาค่าคิดตั้ง/ค่าบริการ internet ในแต่ละที่ด้วยล่ะค่ะ ^ ^

ตอนไปอเมริกาเมื่อหลายปีที่แล้ว...

สิ่งที่ประทับใจมากก็คือ  เรื่องผังเมืองนั้นดูเป็นระบบและถูกสร้างรองรับอนาคตได้อย่างน่ายกย่อง  พื้นที่แต่ละแห่งในตัวเมืองถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่  และที่ชอบมากก็คือ  ในแต่ละเมืองจะมีสวนสาธารณะที่มีคุณภาพ  เป็นได้ทั้งสถานที่พักผ่อนทางกายและเป็นทั้งสถานที่เรียนรู้อื่น ๆ ... รวมถึงแต่ละเมืองจะให้ความสำคัญกับเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตนเองมาก .. 

ขับรถไม่ค่อยคุย.. ผมถามว่า "ทำไม"  เขาบอกว่าคล้ายกับจะเป็นกฎหมายอยู่เหมือนกัน.. 

แต่ยังไงแล้ว.. ก็นักประเทศไทยที่สุด ครับ

สวัสดีค่ะน้องแผ่นดิน

เรื่องผังเมืองกับความเข้มข้นของกฎหมายผังเมืองก็ต้องยกให้อเมริกาเหมือนกันค่ะ ที่นี่กว่าจะสร้าง/ต่อเติม/ปรับปรุงอะไรสักอย่างก็ต้องไปขอกับเขตเหมือนบ้านเรานั่นแหละค่ะ แต่ของเขาเข้มงวดกว่าเยอะ ถ้ามาเจอทีหลังว่าปลูกสูงเกิน ทำไม่ตรงแบบ หรือไม่ได้ขออนุญาติ ก็โดนปรับค่ะ แล้วปรับหนักมากด้วย  คนไม่ค่อยที่จะสร้างอะไรใหญ่เกินจำเป็นหรือไม่ได้ใช้ด้วยค่ะ มีภาษีที่ดิน ภาษีบ้าน ภาษีสารพัด คิดตามพื้นที่ใช้สอย ฯลฯ  เหมือนบ้านเราน่ะค่ะ ถ้าปล่อยที่ดินว่างเปล่าก็เสียภาษีแบบนึง ใช้ประโยชน์ทำสวนก็เสียภาษีอีกแบบหนึ่ง แต่ที่นี่ภาษีมันหนักกว่าของเราเยอะ แล้ว record ก็บันทึกในคอมพ์ พอมีประวัติเสียที่นึงก็อาจจะลามปามไปหลายที่ได้ค่ะ

แต่เรื่องคุยโทรศัพท์ผิดกฏหมายนั้นยังไม่เคยได้ยินค่ะ แต่เป็นไปได้ว่าเป็นก.ม.ของเฉพาะรัฐ ที่นี่กฎหมายแต่ละรัฐไม่เหมือนกัน เป็นวิศวกรมีใบประกอบวิชาชีพรัฐหนึ่ง ก็ใช้ได้รัฐเดียวเท่านั้น ถ้าไปทำงานที่รัฐอื่นก็ต้องมีอีกใบของรัฐอื่นๆ เพราะก.ม.ก่อสร้างไม่เหมือนกัน ประเทศเขาใหญ่ค่ะ ภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศต่างกันมากๆ เลยมีก.ม.ที่ต่างกันมากๆ ในทุกๆ เรื่องค่ะ ^ ^

ยังไงๆ ก็รักประเทศไทยเหมือนกันค่ะ ยังไงก็คงกลับไปอยู่บ้านเราแน่ๆ งานนี้มาชั่วคราว ปรับปรุงความรู้ และพัฒนาตัวเองให้กระฉับกระเฉงขึ้น นับเป็นโอกาสดีค่ะ ได้เปลี่ยนบรรยากาศและรูปแบบการทำงาน ได้เห็นอะไรหลากหลายดี เป็นรสชาติของชีวิตอีกแบบค่ะ ^ ^

  • เล่าได้เยี่ยมมากครับ ช่วยให้ผู้อ่านได้ติดตามประสบการณ์ต่างด้วยค่าใช้จ่ายที่ประหยัดมาก
  • ขอติดตามแบบนี้ต่อไปด้วยคนนะครับ
  • โลกนี้แคบลงจริงๆ เหมือนไม่มีความห่างไกลกันเลย รู้ข่าวเคลื่อนไหวกันได้ทั้งโลกเลย
  • ต้องขอบคุณอาจารย์อย่างสูงที่ช่วยถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ให้ชาว G2K ได้รับอย่างทั่วถึงกัน

สวัสดีค่ะ อ.ประถม

ขอบคุณที่ชมค่ะ ยินดีต้อนรับนะคะ ^ ^

ก็เขียนเพราะตั้งใจนำประสบการณ์มาเก็บไว้ แล้วก็เผื่อให้คนอื่นอาจจะใช้ได้ด้วยค่ะ  

ต้องขอบคุณโกทูโนว์ที่ทำให้การติดต่อสื่อสารแบบนี้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้รับประโยชน์กันถ้วนหน้า อยู่ไกลก็เหมือนใกล้ค่ะ

กำลังว่าจะเล่าตอนต่อ รออ่านต่อนะคะ ขอบคุณค่ะ ^ ^

 

สวัสดีค่ะ อยากทราบว่าที่มหาลัยไหนในอเมริกาที่เปิดสอนด้านภาษาศาสตร์,การสอนภาษาอังกฤษ วรรณกรรมภาษาอังกฤษ อะไรแบบนี้บ้างค่ะ อยากไปเรียนต่อปริญญาโทค่ะ แต่ยังไม่มีข้อมูลเลย รบกวนแนะนำหน่อยนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท