รักเท่าเทียม สัญญะ แห่งสันติภาพ


ชีวิตผู้ข้ากับหนังดี

  เมื่อวานเป็นวันอาทิตย์ที่ใช้เวลาพักผ่อน เติมความงามให้ชีวิตด้วยร้านกาแฟ ร้านหนังสือและโรงภาพยนต์ ดีที่ขอนแก่นมีโรงหนังหลายโรงและคิดอยากจะดูหนังก็ไม่ต้องใช้เวลารอนาน 

วันนี้ไปกับน้องชายคนหนึ่งตอนแรกกะจะไปดูหนังที่เพื่อนมีส่วนร่วมในการทำเรื่อง คนไฟบิน แต่พอเดินดูโปรแกรมก็พบว่าต้องรออีกราวชั่วโมง จึงตัดสินใจเปลี่ยนหนังที่จะดูทันทีผมเลือกดูหนังเรื่อง มหาบุรุษกู้แผ่นดินแทน ทั้งที่จริงเรื่องนี้ดูไปแล้วรอบหนึ่ง แต่คราวนี้อยากให้น้องชายที่ไปด้วยดูหนังเรื่องนี้อีกคนเพื่อเผยแพร่แนวคิดบางเรื่องที่ผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อน้องชายคนนี้

มหาบุรุษกู้แผ่นดินหรือ A Battle of Wits เป็นหนังดราม่าแอคชั่นที่สร้างจากหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นยอดฮิตชื่อ Bokko (หรือ Mozi ในภาษาจีน) ฝีมือการวาดของ ซาเกมิ ชิยอิจิ, โมริ ฮิเดกิ และคุโบตะ เซนทาโร่ ซึ่งมีความยาวทั้งหมด 11 เล่ม และฮิตข้ามทวีปจนได้ตีพิมพ์ในประเทศฝรั่งเศสภายใต้ชื่อ Strategy

จาคอบ จาง ผู้กำกับหนังฮาร์ตฮ่องกงชื่อดังได้อ่านหนังสือการ์ตูนเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 1995 และรู้สึกประทับใจ เขาวางแผนสร้างมันเป็นภาพยนตร์ตั้งแต่ตอนนั้น นับรวมแล้ว โปรเจ็กต์นี้จึงใช้เวลาเตรียมงานและสร้างยาวนานกว่า 10 ปี

ลิวเต๋อหัว(นักแสดงนำของเรื่อง)เองก็ได้อ่านการ์ตูนเล่มนี้เช่นกัน เขาอ่านตั้งแต่ที่มันตีพิมพ์ครั้งแรก และก็ชอบมันเช่นเดียวกับ จาคอบ จาง เขาคิดจะซื้อลิขสิทธิ์มาสร้างเป็นภาพยนตร์แต่เมื่อติดต่อไปปรากฎว่ามีผู้กำกับคนหนึ่งซื้อลิขสิทธิ์ไปแล้ว และเมื่อรู้ว่าผู้กำกับคนนั้นคือ จาคอบ จาง หลิวเต๋อหัวก็รู้สึกดีใจมาก เพราะทั้งคู่เป็นเพื่อนรักกันอยู่แล้ว และจาคอบจางเป็นผู้กำกับที่มีมโนภาพเกี่ยวกับหนังของตัวเองชัดเจน

เนื้อเรื่องกล่าวถึง 370 ปีก่อนคริสตศักราช ประเทศจีนแตกออกเป็น 7 ดินแดนใหญ่ และเมืองเล็กๆ อีกหลายเมือง   เมืองเล็กหนึ่งในจำนวนนั้น คือ เมืองเหลียง ที่ตกเป็นเป้าหมายของดินแดนใหญ่อย่างเมืองจ้าว แม่ทัพเซียงหยางจง  แห่งเมืองจ้าว วางแผนนำกำลังพลบุกเมืองเหลียงเพื่อยึดครองดินแดน

ดูจากรูปการณ์แล้ว เมืองเหลียงที่มีไพร่พลเพียงหยิบมือ ไม่มีทางเอาชนะกำลังพลมหาศาลของเมืองจ้าวได้เลย ความหวังเดียวของเมืองเหลียงคือ นักรบลึกลับนาม เก้อหลี่ (หลิวเต๋อหัว) ผู้เชี่ยวชาญยุทธวิธีการรบ ที่มีคติประจำใจคือทำสงครามโดยให้เสียเลือดเนื้อน้อยที่สุด อาวุธเดียวที่เก้อหลี่มีคือไหวพริบปฏิภาณเชิงสงคราม ที่จะนำกองพลเล็กๆ ของเมืองเหลียงให้ต่อกรกับเมืองจ้าว ด้วยปณิธานแน่วแน่ในการปกป้องบ้านเกิด ไม่ให้ถูกดินแดนใหญ่บุกรุกครอบครอง

ความงามของหนังสำหรับไม่ใช่เรื่องแต่เป็นแนวคิดเรื่อง รักเท่าเทียมและสันติภาพ ที่เก้อหลี่ ใช้ในการปกป้องเมืองต่าง ที่ถูกรุกรานโดยเมืองอื่นโดยไม่ให้เสียเลือดเสียเนื้อ แนวคิดที่พระเอกในเรื่องใช้เป็ฯแนวคิดใหม่ ๆที่ใช้ในการรบโดยไม่เน้นการปะทะแต่เน้นที่ปกป้องโดยใช้กลยุทธ์แบบใหม่ โดยเป็นกลยุทธ์ที่เหล่าขุนพลทหารไม่เคยใช้กันและมีแรงต่อต้านเพราะเหล่าทหารรู้จัการปกป้องเมืองแค่การรบเท่านั้น

หนังเรื่องนี้เป็นหนังดีสำหรับผมในรอบสองสามเดือนมานี้ซึ่งเอามาเขียนเพื่อเชิญชวนท่านไปดูและเอาแนวคิดจากหนังมาวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนกัน บางทีความรู้ที่จะพัฒนางานพัฒนาองค์กร พัฒนา KM สามารถวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อยจากหนังเริ่องนี้ได้

ดูแล้วกลับมาแลกเปลี่ยนกันนะครับ ท่านประทับใจ ฉากไหน ตอนไหน คำพูดไหนที่สุด  

หมายเลขบันทึก: 71454เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2007 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 13:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ยังไม่ได้ดูเลย  และดูเหมือนช่วงนี้งานประจำจะพรากเราออกไปจากวันง่าย ๆ ที่ต้องพักผ่อนเสียแล้ว
  • ผมเองก็ชื่นชอบในภาพยนต์เช่นนี้มาหลายเรื่อง
  • และภูมิใจเสมอหากได้ดูหนังไทยที่ปลุกเร้าให้คนรักชาติ หวงแหนแผ่นดินเกิดของตนเอง
  • ผมกำลังสงสัยว่า  ชาติต่าง ๆ มีมหากาพย์กันทั้งนั้น ทั้ง ท้าวฮุ่งท้าวเจียง   อีเลียต  ฯลฯ แต่มหากาพย์ของไทยคือเรื่องอะไร...
  • แต่ส่วนตัวชอบขุนช้างขุนแผน เพราะมีกลิ่นอายความเป็นไทยที่ชัดเจนมาก โดยเฉพาะยุคต้นรัตนโกสินทร์

 

  • ขอบคุณคุณแผ่นดินครับ เรื่องเวลาว่างหลังงานประจำนี้ เป็นเรื่องที่ต้องทำให้ได้ เพระถือเป็นพักผ่อนของเราครับ
  • หนังไทยก็ชอบครับ แต่ที่ชอบคือดูที่เนื้อหามากกว่าที่จะเลือก่า ไทยหรือเทศ ครับขอให้ดีมีความคิด
  • จำไม่ได้ว่า ขุนช้างขุนแผนเคนเอามาทำหนังหรือเปล่าแต่ถ้าเอามาทำน่าจะสนุกครับ

อาจจะไม่ได้ไปดูเรื่องนี้ครับ แต่ขอเข้ามาติดตามด้วยครับ

เรื่องขุนช้างขุนแผน จำไม่ได้ว่ามีการตัดบางส่วนมาทำเป็นภาพยนตร์หรือเปล่า แต่คุ้นๆ อยู่เหมือนกันครับ    เร็วนี้ๆ จะมีเรื่องพระนเรศวร  เรื่องนี้คงไม่พลาดครับ ไว้ดูแล้วจะมาลปรร.นะครับ

เมื่อดูเสร็จใช้เวลาหลายวันในการค้นหาแก่นเรื่องและต้นต่อของแนวคิดในภาพยนต์โดยเฉพาะแนวคิดของลัทธิโมจื้อ เมื่อค้นจาก Google พบภาษาไทยเพียงฐานข้อมูลเดียว แต่ถ้าเป็นภาษาอังกฤษมีมากเสียดายที่ผมอ่านไม่ออก จึงค้นมาเพิ่มเติมในบันทึกครับ


แนวคิดและหลักคำสอน
แก่นคำสอนของโมจื้ออยู่ที่การมองทุกสิ่งทุกอย่าง โดยให้ถือประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นหลักซึ่งตรงกับ หลักอรรถประโยชน์นิยม ดังนั้น โมจื้อจึงเป็นคนต่อต้านพิธีกรรมและการสงคราม โมจื้อเป็นผู้นำในด้านตรรกวิทยาพวกแรกของชาติจีน เขาได้กล่าวถึงความคิดของเขาอย่างง่ายๆดังต่อไปนี้

1. แหล่งกำเนิดของเหตุผล ควรหาได้จากความชำนาญและศึกษาความคิดของผู้ที่มีความรู้ในอดีต

2. วิธีการที่จะนำไปสู่เหตุผล ควรจะตริตรองหาความจริงจากประสบการณ์และชีวิตของประชาชน

3. การนำเหตุผลมาปฏิบัติ ควรทำให้เป็นกฎหมายหรือระเบียบของรัฐบาล ควรสืบสวนดูว่าสิ่งเหล่านี้มีประโยชน์แก่ประเทศชาติหรือประชาชนมากน้อยเพียงใด
 

โมจื้อมิได้เป็นเพียงนักทฤษฎีเท่านั้น ยังเป็นนักปฏิบัติอีกด้วย เนื่องจากโมจื้อถือกำเนิดมาในหมู่กรรมกร จึงได้พยายามชักจูงให้คนเห็นความสำคัญระหว่างมนุษย์ที่ดีกว่า โดยกล่าวว่า "ในการที่จะรัก สิ่งแรกที่ต้องเรียนรู้คือไม่เกลียดกัน ในการแสดงออกซึ่งการเกลียดกันนั้นสงครามเป็นสิ่งเลวที่สุด ดังนั้น การไม่ใช้กำลังทหารจึงเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่ความรักสากล" อิทธิพลของลัทธิโมจื้อที่มีต่อสังคมจีน ลัทธิโมจื้อสอนให้คนมีความรักและเสียสละซึ่งกันและกัน เพื่อที่โลกจะได้อยู่อย่างสงบสุขและยังสอนให้คนมีความประหยัด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นนิสัยติดตัวคนจีนมาช้านานทั้งในเรื่องความประหยัดและความรักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท