ผลการประกวดผ้าไหมในเทศกาลงานไหม อกหักดังเฮ้


เรื่องเล่าในชีวิตประจำวัน

วันนี้ไปเอาผ้าไหมกลับมาจากการส่งไปประกวดผ้าไหมของงานเทศกาล ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาดเมืองขอนแก่น ผลการประกวดปรากฎว่าผ้าขอชาวบ้าน(ออต)ไม่มีผืนไหนได้รางวัลเลย

ผ้าที่ได้รางวัลส่วนมาก

  • เป็นผ้าไหมที่ทำจากโรงงานเส้นใยจึงละเอียดเนื้อผ้าจึงบางสมำเสมอกัน ซึ่งโดยมากก็เป็นไหมของจุลไหมไทย
  • ผ้าไหมลายขั้น สองตะกอ สามกะตอ ลวดลายที่ได้รับรางวัล ทั้งหมดเป็นลายแบบโบราณคือลายอนุรักษ์
  • ผ้าไหมลายสร้างสรรค์ ทั้งหมดเป็นลายที่พัฒนาจากลายโบราณนิดหน่อยแต่ยังคงสีสันของผ้าอีสานเอาไว้คือเน้นฉูดฉาด ดึงดูดสายตา

ส่วนผ้าของออตออกจะสวนทางกลับผ้าที่ชนะไปบ้าง เมื่อมาคิดมิน่าถึงไม่ได้รางวัลกับเขา

  • ผ้าออตทั้งหมดเป็นผ้าที่ผลิตจากเส้นใยไหมพันธุ์พื้นบ้าน เลี้ยงโดยชาวบ้าน
  • การสาวเส้นไหมสาวด้วยมือไม่อศัยเครื่องจัก สาวโดยชาวบ้าน ดังนั้นเส้นใยที่ได้จึงมีลักษณะเป็นเส้นใยแบบโบราณคือไม่เรียบแต่ให้ความรู้สึกกับพื้นผิว(ไม่เข้าเกณฑ์)
  • การย้อม ก็ยอมด้วยสีธรรมดาเนื้อผ้าสีจึงไม่เรียบ และสีไม่สดเหมือนสีเคมี(ไม่เข้าเกณฑ์)

ความจริง รู้สึกแย่ไปบ้างกับเกณฑ์ที่กรรมการตั้งขึ้น เนื่องจากไม่ได้ใช้เกณฑ์ของการพัฒนาที่แท้จริง ทุกอย่างพึงพิงแต่วัตถุดิบจากโรงงาน แต่ก็โทษเขาไม่ได้เพราะออตไม่ได้ไปดูเกณฑ์การประกวด

แต่ความเสียใจก็บังเกิดเป็นความดีใจ  เมื่อผ้าที่ออตไปขอรับคืนได้ถูกขอซื้อโดยเจ้าหน้าที่ในราคาที่สูงอยู่มาก แต่ออตก็ได้แต่ปฏิเสธเพราะเพื่อนที่ไปเอาผ้ากันขอซื้อผ้าผืนนี้แล้วเนื่องจากเธอชอบ

ก็เป็นว่า อกหักแทนที่จะดังเปาะกับอกหักดังเฮ้   เนื่องจากกรรมการตัดสินไม่มีใครชอบผ้าออต แต่เมื่อมารู้ว่ายังมีคนชอบผ้าของออตและชาวบ้านของออตอยู่บ้างจึงได้ร้อง เฮ้

จดบันทัดนี้จึงได้แต่มคิดถึง นานาจิตตัง ว่ามันเป็นเช่นนี้เอง

แต่ถึงอย่างไรก็ยังเชื่อว่าการจัดกิจกรรมแบบนี้จะช่วยพัฒนาการทอผ้าของชาวบ้านได้ อยากให้มีการประกวดต่อไปอีกและพัฒนามาตราฐานการประกวดที่สอดคล้องกับ แนวคิดพอเพียง ด้วย น่าจะดี

 

หมายเลขบันทึก: 66719เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2006 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอขอบคุณอาจารย์ออต...

  • ผมเห็นด้วยที่ว่า กติกาที่ใช้ยังไม่ดีพอ โดยเฉพาะไม่มีการแยกประเภทผ้าโรงงาน กับผ้าทอมือ
  • กรรมการน่าจะปรับปรุงกฎ กติกาให้ดีขึ้นกว่านี้ในการแข่งขันครั้งต่อไป

บางที... ผิดหวังครั้งนี้อาจจะเป็นทางผ่านไปสู่ความสำเร็จในครั้งต่อไป หรือเวทีใหม่ก็ได้ครับ

  • มหาตมะ คานธีท่านว่า คนเราต้องผ่านการท้าทาย เยาะเย้ย ลองของอย่างน้อยสัก 3-4 ครั้ง... ถ้ายืนหยัดจึงจะประสบความสำเร็จ(เด้อ... คำสุดท้ายนี่ผมต่อให้เข้ากับบรรยากาศ)
  • อาจารย์ออต ไม่ต้องเสียใจนะ เห็นด้วยกับนานาจิตตังที่ว่า
  • พี่เองก็ชอบผ้าไหมที่เนื้อไม่เรียบ (แนวธรรมชาติ) และสีไม่ฉูดฉาด
  • แต่ตอนนี้ไม่ค่อยได้ตัดและใส่ผ้าไหมเนื่องจากเหนื่อยกับการรีด

อาจารย์หมอครับ 

การใช้ไหมพื้นบ้านสาวมือนั้นทำให้เกิดอาชีพในชุมชนนะครับ

  • เกิดสวนหม่อน ใบหม่อนเอาไปทำชาเหมือนอาจารย์เคยเสนอ
  • กิ่งหม่อนหรือลำหม่อน เอาไปใช้หุ่งหาอาหารได้
  • หญ้าในแปลงลูกหม่อนเอาไว้เลี้ยงวัว ควาย
  • ตัวไหมหรือดักแด้เอาไปรับประทานได้ เหลือก็ขาย เหลือมากเอามาทำอาหารปลา ไก่
  • ขี้ไหม เอาไปทำปุ๋ยอินทรีย์ได้
  • ได้เส้นไหมที่เป็นเอกลักษณ์ด้วย

ดังนั้นจังหวัควรส่งเสริมการประกวดผ้าที่ใช้ไหมพื้นบ้านเลี้ยงเองด้วยครับ

จะเดินทางต่อไป ชาวบ้านของออตและออต คงต้องอดทนและเดินทางต่อไป

 อาจารย์ paew

  • ขอบพระคุณในกำลังใจสำหรับออตและชาวบ้านนะครับ
  • ออตและช่างทอจะเดินทางต่อไปอย่างน้อยก็คนชอบผ้าของเราอยู่
  • หนาวนี้ลองมีผ้าฟันคอสักผืนก็ได้นะครับอาจารย์ ผ้าไหมจะอุ่นดีมาก ดีต่อการดำเนินชีวิตหน้าหนาวนี้
  • การซื้อผ้าสักเล็กน้อย ก็ช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้นะครับ ออตอยากให้ชาวบ้านทำงานที่บ้านของเขาเพราะที่บ้านคือความสุข ไม่ต้องทิ้งลูกหลานไปทำงานไกล ๆ (เราไม่ทอดทิ้งกันครับ)
  • ครอบครัวอบอุ่น หมู่บ้านอบอุ่น สังคมอีสานอบอุ่น เมืองไทยอบอุ่น โลกก็อบอุ่นครับ
  • แล้วจะอุดหนุนผ้าพันคอของอาจารย์ออตและชาวบ้านได้ที่ไหนค่ะ
  • ปกติจะไปซื้อผ้าฝ้าย ทอมือ ย้อมสีธรรมชาติ ของกลุ่มแม่บ้าน ที่เปิดร้านอยู่ถนนชาตะผดุงข้างโรงพยาบาลศูนย์ค่ะ
  • ช่วงนี้ไม่ได้ไปนาน จำชื่อร้านไม่ได้.....

ร้านที่อาจารย์paew หมายถึงน่าจะเป็นร้านแพรพรรณ

  • ร้านนี้มีจุดเด่นมากตรงที่เขาเลี้ยงดูตัวเองได้โดยปราศจากการง้อโครงการจากรัฐ(OTOP)
  • กรรมการเป็นชาวบ้าน  กลุ่มเข็มแข็งและคนทำงานมีความสุข
  • อยากจะเสนอกลุ่มนี้ในการจัด การจัดการความรู้ภาคอีสานตามข้อเสนอของท่านอาจารย์หมอJJ อีกองค์กรหนึ่ง
  • ส่วนของออตอยู่ที่หอศิลป์ มข.ของเรา แต่อาจารย์ช่วยที่ไหนก็ได้นะครับทั้งแพรพรรณและเล้าข้าวเพราะเป็นการช่วยเหลือชาวบ้านเหมือนกัน
  • ขอบพระคุณอาจารย์ครับที่ไม่ทอดทิ้งชาวบ้าน

 

  • โดยส่วนตัวถูกแม่สอนว่า เวลาเลือกผ้าไหม ให้เลือกเอาซื้อผ้าไหมน้อย
  • ดิฉันเข้าใจว่า น่าจะหมายถึง ผ้าที่เลี้ยงไหมเอง สาวไหมตามธรรมชาติและทอเอง เพราะแม่บอกว่า ไหมน้อย เวลาเอามาทอเป็นผืนผ้าแล้ว เวลาใช้ไปนานๆเข้า ยิ่งนิ่ม สวย และมันวาว
  • แต่ถ้าเส้นไหมโรงงาน  มันจะย้วย นะคะ แม่บอกอย่างนั้น
  • แต่โดยส่วนตัวชอบผ้าไหมใส้นใหญ่ๆ หน่อย และเป็นแบบตะปุ๋มๆ แบบที่ชาวบ้านเรียกขี้ไหม รึเปล่าไม่แน่ใจนะคะ เพราะดิฉันรู้สึกว่ามันเป็นธรรมชาติดี และเป็นไหมที่ไม่แข็งทื่อจนเกินไป
  • อายุยังไม่เยอะนะคะ แต่ชอบซื้อผ้าไหม
  • งานไหมที่ผ่านมาก็ได้มา 2 ชิ้น สวยมาก

คุณKawao

  • ขอบคุณมากครับที่แวะเข้ามาเยี่ยม
  • ไหมนั้นเมื่อสาวด้วยมือ ธรรมชาติของมันจะเส้นใยไม่สม่ำเสมอ
  • ขอบคุณที่สนับสนุนงานของชาวบ้านนะครับ
  • ช่างทอเองก็ต้องพยายามพัฒนางานทอให้คนรุ่นใหม่กล้าใช้ด้วย

ผมก็เป็นคนนึงที่ชอบผ้าไหม ใส่มาทำงานทุกวัน ใส่สบาย ตัดให้ทันสมัยก็ดูไม่แก่ บางตัวตัดใส่กับยีนส์ เท่ห์ครับ รีดง่ายนะครับ ถ้าเป็นไหมพื้นบ้านจริง ๆๆ อยากให้สนับสนุนไหมพื้นบ้าน เพราะที่วางขายเกลื่อนตลาดอยู่ล้วนเป็นไหมโรงงานทั้งนั้น รีดยาก ยับง่าย แต่ถ้าไหมบ้านเราจริง ๆๆ สีสันไม่สดมาก แต่สวยยิ่งใช่นานยิ่งนุ่มครับ ตอนนี้มีเก็บไว้หลายผืน....... ขอเป็นกำลังใจให้ช่างทอพื้นบ้านทุกคนนะครับ ท่านคือผู้รักษามรดกของแผ่นดิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท