ทำไมจึงเรียกว่าเพลงเถา


ทำไมจึงเรียกว่าเพลงเถา

          เพลงเถา คือระเบียบวิธีการบรรเลงและขับร้องเพลงไทยที่มีอัตราลดหลั่นกัน ประกอบด้วยอัตราสามชั้น สองชั้น และ
ชั้นเดียว อัตราที่ลดหลั่นกันนี้ จะต้องมีไม่น้อยกว่า 3 ขั้น จึงเรียกได้ว่า
เพลงเถา
               
ส่วนอัตราสี่ชั้น และอัตราครึ่งชั้นนั้นในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมบรรเลงกันแล้ว เพราะอัตราสี่ชั้นจะมีท่วงทำนองช้ายืดยาด
อัตราครึ่งชั้นก็เร็วเกินไป ทำให้ไม่ได้รับความนิยมดังกล่าว

เพลงอัตราสามชั้น     เป็นอัตราจังหวะที่ดำเนินลีลาเชื่องช้าใช้เวลาบรรเลงยาวกว่าอัตราอื่นๆ มี 2 ลักษณะ ดังนี้คือ เพลงอัตราสามชั้น
โดยกำเนิด เป็นเพลงที่ครูเพลงได้ประพันธ์ขึ้นโดยตรง เช่นพวกเพลงเสภาต่างๆ ที่กำเนิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงที่ พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) ได้คิดประดิษฐ์เพลงไทยในอัตราสามชั้นไว้มากมาย จนถือได้
ว่าท่านเป็น
"บิดาแห่งเพลงสามชั้น" ที่เดียวนอกจากนั้น ลักษณะเพลงอัตราสามชั้นอีกประเภทหนึ่งคือ เพลงอัตราสามชั้นที่ถือกำเนิด
มาจากเพลงอื่น โดยอาศัยทำนองเพลงดั้งเดิมในอัตราสองชั้น แล้วแต่งขยายขึ้นในภายหลัง

เพลงอัตราสองชั้น     เป็นอัตราจังหวะที่ดำเนินลีลากลางๆ ไม่ช้าไม่เร็วจนเกินไป แยกพิจารณาว่าเป็นเพลงอัตราสองชั้นโดยกำเนิด
ซึ่งครูเพลงได้คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่เป็นเพลงอัตราสองชั้นโดยตรงเพื่อใช้ในการบรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงโขนและละคร
ส่วนเพลงอัตราสองชั้นที่ถือกำเนิดจากเพลงอื่น ก็หมายถึง เพลงที่ครูได้นำเพลงเร็วชั้นเดียวของเก่ามาขยายขึ้นอีกเท่าตัวเป็นเพลงเร็ว
สองชั้น เพื่อใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงโขนละคร

เพลงอัตราชั้นเดียว     เป็นชื่อเรียกอัตราจังหวะที่ดำเนินลีลาด้วยประโยคสั้นๆ และรวดเร็วในสมัยโบราณ จัดอยู่ในประเภทเพลงเร็ว
ต่างๆ รวมทั้งเพลงเกร็ด เพลงหางเครื่องก็นำมารวมไว้ในประเภทชั้นเดียวนี้ด้วย

หมายเลขบันทึก: 47075เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2006 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 11:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท