ดูพยากรณ์อากาศให้เป็น


          ผมเรียนวิชาภูมิศาสตร์เป็นวิชาโท ในระดับปริญญาตรี แต่ไม่เคยใช้ประโยชน์เพื่อคนอื่นเลย  ได้แต่ใช้ประโยชน์สำหรับตนเองเพื่อติดตามสภาพอากาศเพื่อการเกษตรและชีวิตประจำวันเท่านั้น  เห็นว่าการพยากรณ์อากาศของหน่วยงานหลายๆ หน่วยงาน รวมทั้งสื่อมวลชนทั้งวิทยุ โทรทัศน์   ชาวบ้านไม่เข้าใจสิ่งที่เขารายงานครับ  เลยถือโอกาสนี้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศ/ความรู้เกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศ มาเล่าสู่กันฟัง เผื่อใครๆ ที่สนใจเรื่องนี้จะได้นำไปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะเพื่อการเกษตร

    ผมกำลังติดตามแนวโน้มว่าจะเกิดพายุขึ้นหรือไม่

    วันนี้ผมเข้าไปดูแผนที่อากาศ ที่กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศทาง Web  ซึ่งเป็นอากาศในช่วงเวลา 07.00 น. ตามเวลาประเทศไทย( 00.00 UTC)

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา 1 ธ.ค. 53 เวลา 14.00 น.

    หากดูแผนที่อากาศที่ผมแนบมานี้จะเห็นตัว L ล้อมรอบด้วยวงกลม  นั่นเป็นสัญลักษณ์แสดงว่าเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำครับ(อุณหภูมิสูง) ความเร็วลมศูนย์กลางไม่เกิน 50 กม/ชม หย่อมความกดอากาศต่ำนี้สามารถพัฒนาขึ้นเป็นพายุดีเปรสชั่นได้ ซึ่งแปลว่าจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น เป็น 50-63 กม/ชม (คราวที่เข้าปัตตานีเมื่อ 1 พย. 53 ความเร็ว 55 กม/ชม)

    จากแผนที่อากาศ ขอให้จับตาดูตัว L ดังกล่าว  หากเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ผืนดิน ก็จะทำให้ฝนตกหนักติดต่อกัน 3 วัน 3 คืนได้ แล้ววันนั้นก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมแน่นอน
    หากตัว L พัฒนาเป็นตัว D ก็เท่ากับความเร็วลมเพิ่มขึ้น ก็คือเป็นพายุดีเปรสชั่น หากเข้าไปตรงไหน ไม่ต้องอธิบายนะครับ  เมื่อ 1 พ.ย. 53 คงได้ประสบการณ์กันพอสมควรครับ

    ถ้าหากดูแผนที่อากาศแล้วไม่เข้าใจ  ให้ขึ้นไปบนท้องฟ้า แล้วมองลงมาบนโลก จะเห็นการเคลื่อนตัวของกลุ่มเมฆ หากเมฆหนาทึบขาวโพลนหนามาก แสดงว่าบริเวณนั้นฝนตกหนัก หากมองเห็นพื้นโลกแสดงว่าไม่มีเมฆหรือเมฆน้อยแสดงว่าไม่มีฝนหรือฝนน้อย  อ้อ ลืมบอกไม่ต้องเหาะขึ้นไปดูเมฆนะครับ ดูจากภาพถ่ายดาวเทียมก็ได้ครับ คลิกเลยเป็นภาพปัจจุบันครับ

ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา 1 ธ.ค. 53 เวลา 14.00 น.

     จากรูปจะเห็นว่าบริเวณภาคใต้ตั้งแต่สุราษฎ์ธานีลงมา มีเมฆหนามาก ซึ่งตรงกับความจริงที่ในช่วงเช้าถึงเที่ยงฝนตกหนักมากและตกตลอดเวลาของวันที่ 01/12/2010 05:10 UTC

       ตัวเลข "01/12/2010 05:10 UTC"  

01/12/2010 หมายถึงวันที่ 1 ธันวาคม ปี 2553(คศ.2010)

05:10 UTC เป็นเลขบอกวันเวลามาตรฐาน เมื่อเทียบกับเวลาไทย ต้องบวก 7 ชม. เวลา 05:10 UTC +7.00 น.=12.10 น. หมายความว่า 12.10 น. ตามเวลาในเมืองไทย  ถ้าบวกแล้วข้ามวัน ก็ต้องบวกวันเข้าไปด้วย เพราะไทยเร็วกว่า 7 ช.ม. ครับ

      ดูที่ภาพอีกครั้ง  จะเห็นว่าเมฆหนานั้นเกาะกลุ่มอยู่บนภาคใต้ตั้งแต่สุราษฎร์ธานีลงมา ในขณะเดียวกันในทะเลเมฆจะน้อย เมื่อประกอบกับเดือนนี้ลมจะพัดจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก แสดงว่าตั้งแต่ประมาณช่วงบ่ายๆ วันนี้เป็นต้นไปฝนจะลดลง  หากจะตกบ้างก็เกิดจากเมฆก้อนเล็กๆที่อยู่ในทะเล

      แต่ถ้าดูที่ปลายแหลมญวน จะเห็นมีเมฆกลุ่มใหญ่  อาจกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำและพัฒนาเป็นพายุดีเปรสชั่นได้เช่นเดียวกัน  ต้องเฝ้าระวังกันต่อไปครับ  ทั้งแผนที่อากาศและภาพถ่ายดาวเทียม ควรติดตามทุกๆ 2-4 ชม. ครับ

      นอกจากจะดูจากแผนที่อากาศและภาพถ่ายดาวเทียมแล้ว  สามารถดูได้จากภาพเรดาร์ที่วัดกลุ่มฝน  สำหรับภาคใต้ดูจากเว็บสถานีพยากรณ์อากาศสงขลาครับ ซึ่งภาพข้างล่างนี้เป็นเวลา 00.30 UTC ของวันที่ 1 ธ.ค.53 ครับ

ที่มา : สถานีอุตุนิยมวิทยาสงขลา 1 ธ.ค. 53 เวลา 14.40 น.

     จากภาพ ปริมาณฝนตกจะสอดคล้องกับภาพเมฆจากภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งจะพบฝนตกกลุ่มใหญ่ตั้งแต่สุราษฎร์ธานีถึงตอนบนของจังหวัดนราธิวาส แต่ละสีที่ปรากฏบนภาพเป็นความเข้มของปริมาณน้ำฝนครับ  วันหลังจะเขียนเรื่องนี้โดยเฉพาะครับ

     ขอบคุณ zeallsoft.com ที่เอื้อเฟื้อ Super Screen Capture  (free software  edition) สำหรับ capture หน้าจอ ครับ

    

หมายเลขบันทึก: 411400เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2010 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

พีชนันท์คะ

ได้ความรู้มาเพียบ ขอบคุณมากค่ะ จะได้ดูฟ้า ดูอากาศได้เองบ้าง

ช่วงนี้ต้องลุ้นน้ำท่วมกันต่อสักระยะเลยนะคะ

แจ่มเลยเพื่อนเรา สอนวิชาภูมิศาสตร์ได้เลยนะเนีีย...อ่านแล้วเข้าใจง่ายค่ะ ที่สำคัญมีภาพให้ดูด้วย...ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ

บันทึก ๑๙.๐๐ น. ๑ ธค.๕๐

     ค่ำๆ มีเวลา เข้าไปดูแผนที่อากาศไล่ตามเวลา 18 UTC, 00 UTC, 06 UTC ได้แผนที่อากาศมา ๓ ฉบับ  ไล่ดูพัฒนาการนะครับ

 

สังเกตจากแผนที่สองภาพข้างต้น  หย่อมความกดอากาศต่ำ มีตัวเลขกำกับ 1006 เท่าเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง  แต่ศูนย์กลางของตัว L ขยับไปทางตะวันตกเล็กน้อย ตามไปดูภาพที่ 3 กันต่อนะครับ

 

 

ดูภาพที่ 3 นะครับ ตัวเลขกำกับ เป็น 1004 ทิศทางเคลื่อนลงไปข้างล่าง(ทิศใต้)เล็กน้อย แสดงว่าแนวโน้มอาจจะไม่ขึ้นมาถึงปัตตานี-สงขลาครับ แต่ต้องดูภาพถ่ายดาวเทียมและภาพจากเรดาร์ประกอบด้วยครับ ความจริงสัญลักษณ์ในแผนที่อากาศมีความหมายทั้งนั้นเลย วันหลังจะเอามาขยายความให้ครับ

ได้ความรู้มากๆเลยครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากๆเลยครับ 

รับเมนูสุขภาพไปทานด้วยครับ

 

.... ผมอยากทราบวิธีอ่านแผนที่ลมแบบlinkนี้

http://www.tmd.go.th/programs/uploads/maps/2011-05-07_13_UpperWind600m.jpg

รบกวนคุณขอความรู้จากคุณ ชนันท์ ด้วยครับ มีคนถามไปที่ ..

http://share.psu.ac.th/blog/wasp/18191?page=1

ต้องขอแสดงความขอบคุณอย่างยิ่งครับ ที่เข้าไปช่วยตอบอย่างรวดเร็วทันใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท