นอนกรน ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม


นอนกรน ภัยใกช้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

การนอนกรนแบ่งได้เป็น 2 ประเภท  คือ

           1.  ภาวะนอนกรนธรรมดา  สาเหตุมาจากกล่องเสียงหย่อนยาน  จนกระทั่งไปอุดกั้นทางเดินหายใจ  ทำให้หายใจไม่สะดวก  และมีเสียงดังเวลานอนหลับ  ภาวะดังกล่าวจะไม่มีอาการบ่งชี้ใด ๆ  แต่จะมีผลกระทบต่อคนข้างเคียง  เกิดความรำคาญใจ  ไม่อยากอยู่ใกล้

           2.  ภาวะนอนกรนอันตราย  เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณลำคอหย่อนตัวระหว่างช่วงการหลับจึงไปอุดทางเดินอากาศ  กล้ามเนื้อที่มีการหย่อนตัวนี้  ได้แก่  กล้ามเนื้อของเพดานอ่อน  โคนลิ้น  และลิ้นไก่  ซึ่งเมื่อไปอุดกั้นทางเดินอากาศจะทำให้การหายใจต้องใช้แรงเอาชนะมาก  เกิดเสียงดัง  และนำไปสู่การหยุดหายใจในที่สุด  ในบางรายภาวะนอนกรนยังทำให้เกิดโรคต่าง ๆ  อาทิ  โรคหลอดเลือดสมองหัวใจขาดเลือด ฯลฯ

            ผู้เชี่ยวชาญยังให้ความรู้ถึงสถานการณ์ผู้ประสบปัญหาการนอนกรนว่า  ปัจจุบันพบบ่อยขึ้น  ในต่างประเทศมีรายงานว่า ร้อยละ 5 - 10 ของประชากรทั่วไปมีปัญหาการนอนกรน  พบมากในอายุตั้งแต่ 30 - 35 ปี  โดยเพศชายสูงถึงร้อยละ 4  และเพศหญิงร้อยละ 2  สำหรับประเทศไทยแม้จะสามารถให้การวินิจฉัยผู้ป่วยได้มากขึ้น  แต่ก็ยังไม่มีตัวเลขความชัดที่แน่นอน  สำหรับอาการทั่วไป  ในผู้ที่ประสบปัญหานอนกรนทั่วไป  จะไม่แสดงอาการใด ๆ  แต่ในผู้ที่ประสบปัญหานอนกรนอันตราย  อาการทั่วไปจะง่วงมากผิดปกติในช่วงกลางวัน  อ่อนเพลีย  และสมรรถภาพทางเพศลดลง  กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังเป็นพิเศษ  คือ  คนที่มีน้ำหนักเกิน  เนื่องจากไขมันจะสะสมมากบริเวณรอบคำ  ทำให้หายใจลำบาก 

               สำหรับการรักษาในปัจจุบันมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละราย  อาทิ  หากอาการไม่มากแพทย์จะให้ทำการปรับปรุงพฤติกรรมเสี่ยง  ได้แก่  การลดน้ำหนักตัว  รวมถึงการออกกำลังกายที่เหมะสม  หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยานอนหลับก่อนเข้านอนรวมทั้งยาที่ทำให้มีอาการง่วง  พยายามนอนตะแคงหรือท่าที่ทำให้อาการลดลง  งดสูบบุหรี่  หากอาการไม่ดีขึ้น  แพทย์จะให้ใช้เครื่องช่วยสร้างแรงดันบวกในทางเดินอากาศ  และหากอาการยังไม่ดีก็ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

              ที่มา  :  หนังสือพิมพ์มติชน

คำสำคัญ (Tags): #สุขภาพน่ารู้
หมายเลขบันทึก: 146071เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2007 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท