เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์เฮได้ปรับเป็นนักรังสีการแพทย์


ก.พ. ได้อนุมัติให้กำหนดตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ 3-5 หรือ 6ว หรือ 7วช. เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องจำนวน 1 คนต่อ 1 เครื่อง เครื่องตรวจด้วยสนามแม่เหล็กแรงสูงและเครื่องเร่งอนุภาคที่ผลิตเฉพาะโฟตอนพลังงานจำนวน 2 คนต่อ 1 เครื่อง และเครื่องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงจำนวน 2 เครื่องต่อ 1 คน

จาก RT News ปีที่ 8 ฉบับที่ 21 ประจำเดือน กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2550

     เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ 2-4 หรือ 5 หรือ 6 เฮเมื่อเป็นที่ชัดเจนว่า จะได้ปรับตำแหน่งเป็นนักรังสีการแพทย์ 3-5 หรือ 6ว หรือ 7วช. ทั้งนี้สืบเนื่องจากการที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ว่าขอทบทวนมติการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์เป็นตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ โดยให้กระทำได้เมื่อเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขารังสีเทคนิค ภายใต้กรอบที่ไม่ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลเพิ่มขึ้น รายละเอียดปรากฏในหนังสือสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สธ 0201.032/ว.30 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เรื่อง ขอทบทวนมติการปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์เป็นตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ และเรื่องนี้สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทยโดยนายสละ อุบลฉาย นายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย ได้ประกาศให้ทราบแล้ว
สืบเนื่องจากการที่ได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545 มาตรา 3 และการที่สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคซึ่งมี รศ.จิตต์ชัย สุริยะไชยากร เป็นประธาน ได้นำเสนอข้อมูลสนับสนุนไปยังกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งข้อมูลดังกล่าว ได้จากการที่สมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทยสนับสนุนเงินทุนให้มีการสำรวจข้อมูลทั่วประเทศ ทั้งด้านกำลังคนและเครื่องมือ ดังรายละเอียดปรากฏใน RT News ที่ได้เสนอไปแล้ว (RT News ฉบับที่ 18, RT News ฉบับที่ 19) สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขจึงได้ขอให้ ก.พ. พิจารณาทบทวนมติให้กำหนดตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ 3-5 หรือ 6ว หรือ 7วช. ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน ตามเครื่องมือและอุปกรณ์ทางรังสีวิทยาที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการกำหนดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางรังสีวิทยา พ.ศ. 2549 ซึ่ง ก.พ. ได้อนุมัติแล้ว โดยทาง ก.พ. ได้อนุมัติให้กำหนดตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ 3-5 หรือ 6ว หรือ 7วช. เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องจำนวน 1 คนต่อ 1 เครื่อง เครื่องตรวจด้วยสนามแม่เหล็กแรงสูงและเครื่องเร่งอนุภาคที่ผลิตเฉพาะโฟตอนพลังงานจำนวน 2 คนต่อ 1 เครื่อง และเครื่องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงจำนวน 2 เครื่องต่อ 1 คน ทั้งนี้ไม่ก่อนวันที่ 24 สิงหาคม 2549
หากจังหวัดใดจะขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น สามารถกระทำได้เลย โดยส่งเรื่องพร้อมนำตำแหน่งว่างที่มีเงินของแต่ละส่วนราชการมายุบรวม และแสดงจำนวนเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางรังสีวิทยาตามรายการที่ระบุในประกาศกระทรวงสาธารณสุข
หมายเลขบันทึก: 78240เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2007 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

แล้วลูกจ้างชั่วคราวตัวเล็กๆ ที่อยากเป็นข้าราชการมีใครพอช่วยได้บ้าง เฮฮฮอ

ตอนนี้ข้าราชการคงไม่มีแล้วจะมีแต่พนักงานราชการมีสิทธิเท่าข้าราชการแต่มีบางอย่างที่ไมได้ศึกษาได้ที่ กพ.

แต่จะบอกว่ามีตำแหน่งพนักงานราชการที่สามารถไปสมัครได้ตอนนี้หลายแห่งไม่ทราบว่าปิดไปหรือยัง เช่น รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร รองไปติดต่อนะคะ

และอีหลายแห่งต้องติดตามข่าว ได้บรรจุเลยถ้าจบ ป.ตรี เงินเดือน 9060 บาท OT ต่างหาก

"พร้อมนำตำแหน่งว่างที่มีเงินของแต่ละส่วนราชการมายุบรวม" ถ้าตัดคำนี้ออกจะพอมีทางไม่ครับตอนนี้ที่ปรับไม่ได้ก็เพราะคำนี้แหละครับ ขอสมาคมช่วยหน่อยนะครับคือให้เอาเฉพาะตำแหน่งตัวเองมาปรับจะได้หรือเปล่า
อยากแจ้งให้ชาวรังสีทราบว่าถ้าใครคิดจะย้ายหรือมาสมัครงานที่จังหวัดเชียงรายโดยเฉพาะ ร.พ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย กรุณาตรวจสอบระบบการทำงานก่อนนะ เพราะที่นี่ให้เจ้าหน้าที่รังสีไปทำบัตร และเข็นเปลคนไข้ด้วย

ถ้ารอให้มีตำแหน่งยุบรวม  เจ้าหน้าที่รังสีตามร.พ.ชุมชนในจ.จันทบุรีคงไม่มีโอกาสได้ปรับเป็นนักรังสี ถ้ามีตำแหน่งอยากให้แจ้งในแต่ละจังหวัดว่าให้ตำแหน่งตามลำดับการสอบใบประกอบโรคศิลปะคือใครจบก่อนได้ก่อนตามลำดับมิฉะนั้นอาจเกิดความไม่ยุติธรรมได้ ทุกวันนี้เจ้าหน้าที่รังสีก็ไม่ได้รับความเอาใจใส่อยู่แล้วเนื่องจากไม่มีหน่วยงานเกี่ยวกับรังสีภายในสสจ.

ถ้ารอให้มีตำแหน่งมายุบรวม เจ้าหน้าที่รังสีในร.พ.ชุมชนจ.จันทบุรีคงไม่มีโอกาสปรับเป็นนักรังสี อยากให้มีการกำหนดตำแหน่งเรียงลำดับตามการสอบใบประกอบโรคศิลปะถ้าใครได้ใบประกอบก่อนก็ให้ตำแหน่งก่อนมิฉะนั้นอาจเกิดความไม่ยุติธรรมได้

ทำอย่างไรถึงจะได้เป็นนักรังสีการแพทย์ มีม.ในที่เปิดบ้างค่ะ และใช้การสอบตรงหรือเปล่าค่ะ

ผมเองทำงานค้านรังสีการแพทย์มาพอสมควร รู้็แต่ไม่มีใบไม่ได้จบไม่ได้เรียนทางนี้มาแต่ทำเป็นพนงการแพทย์และรังสีเทคนิคทำได้อยู่เวรได้แต่ได้เงินเดือนน้อยความเสี่ยงสูงโดนน้ำยาล้างฟิมล์เข้าไปได้ค่าตอบแทนเท่ากับคนอื่น ๆๆ  ก็เท่านั้น ทีต้องนี้นะคนงานที่ทำห้องบัตรเปลี่ยนตำแหน่งเป็น จพง.สถิติกันหมดแล้วทั้ ๆ ไม่ได้เรียนมาค่าตอบแทนเยอะค่า ot เยอะทั้งๆ ที่ทำงานไม่ต่างกันเลย เคยสอบถามไปบอกว่ามีตำแหน่งมาตอนนีี้นะพวกที่ทำงานเป็นผู้ช่วยรังสีนะได้เงินเดือนทั่วไปแต่พห้องบัตรได้เงินเท่ากับพวกที่มีวิชาชีพเลย...เศร้าใจ ....ลูกจ้างน้อยใจ (พอกิน)...งั็นๆๆ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท