231 ความเก่งของเด็กไทย 3 เหรียญทอง 1 เหรียญเงินชีววิทยาโอลิมปิค


เก่ง

ตามที่เคยบันทึกเรื่องได้ต้อนรับคณะผู้แทนไทยที่ไปแข่งชีววิทยาโอลิมปิคที่อินเดีย

ปรากฏว่าเด็กไทยทั้ง 4 คนที่ไปแข่งขันนั้นสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยได้อย่างน่าชื่นชม โดยได้ 3 เหรียญทองและ 1 เหรียญเงิน จากผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 55 ประเทศ เรียกว่าประสบความสำเร็จจริงๆ

เท่าที่ผมได้สัมผัสเด็กๆ เหล่านี้ เป็นเด็กที่เรียบร้อย ใฝ่เรียนและกล้าคิดกล้าถาม ซึ่งถือเป็นแบบอย่างที่ดี

ก็ขอชื่นชมเด็กทั้ง 4 คนด้วยครับ

สำหรับ

3 เหรียญทอง ประกอบด้วย นายธนา ทองศรีคำ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นางสาวอติพร เทอดโยธิน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และนายเชาว์ เจริญกิจขจร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ส่วน 1 เหรียญเงินจากนายภควัต จงสถิตเกียรติ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

ชื่นชมครับ ใครเป็นพ่อแม่คงหายเหนื่อย

หมายเลขบันทึก: 195266เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2008 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ยินดีด้วยนะครับ...

ถ้าเด็กเก่ง...ครูเก่ง...ผู้บริหารเก่ง...ทุกๆคนเก่ง

แวดวงการศึกษาเราคงมีความสุขนะครับ

ขอแสดงความยินดีและชื่นชมกับเด็กๆ และครอบครัวทุกคนค่ะ

ขอบคุณที่นำมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

อ.นิรุตต์ เข็มเงิน ครับ

จริงครับ เด็กเก่งสะท้อนอะไรหลายอย่างที่เชื่อมโยงกัน

ปัญหาบ้านเมืองในปัจจุบันก็คงสะท้อนเหมือนกันนะครับ

อาจารย์ที่เป็นพี่เลี้ยงเด็กเก่งทั้ง 4 คนพูดถึงเรื่องนโยบายส่งเสริมการศึกษาของประเทศ ที่ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยและทันกับประเทศต่างๆ

ขอบคุณครับที่เข้ามาทักทายและแสดงความยินดีกับเด็กไทยทั้ง 4 คน

 

อ.กมลวัลย์ครับ

ครอบครัวสำคัญมากจริงๆ ครับ

เด็กๆบอกผมว่าครอบครัวมีส่วนอย่างมากในการส่งเสริมให้ชอบอ่านหนังสือและหาความรู้

แสดงด้วยว่าเป็นครอบครัวที่มีความสุข

น่าจะมีการตั้งกระทรวงส่งเสริมครอบครัวมีความสุขนะครับเพราะเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคมทีเดียว

ขอบคุณครับที่เข้ามาร่วมแสดงความยินดีกับเด็กเก่ง

สวัสดีค่ะ

ขอแสดงความชื่นชม ยินดี กับนักเรียนไทย ครูอาจารย์ พ่อแม่ และสถานทูตไทย ที่ให้กำลังใจ และแสดงความสามารถ จนได้รับชัยชนะ

ปลื้มค่ะ

โยคีน้อย

เด็กไทยรุ่นใหม่ต้องยอมรับว่าเก่งจริงๆ

เก่งและดี เป็นตัวอย่างที่ดีว่าจะต้องเลี้ยงลูกให้ดีและเก่งแบบนี้บ้าง

กราบสวัสดีครับท่านพลเดช

    ผมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับท่านอาจารย์ที่ท่านพยายามนำเสนอและทุ่มเทกับโครงการในการแข่งขันโอลิมปิค น่าชื่นชมมากๆ เลยครัีบ และผมชื่นชมประทับใจตลอดเลยครับ ในความสามารถของเด็กไทยครัีบ

    แต่ในซีกหนึ่งของความรู้สึกของผม ทำให้ผมนึกถึงเด็กจำนวนหนึ่งด้วยครับและเป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นในบันทึกเก่านี้ครัีบ

เด็กสองแสนคนหายไปไหน ใครตอบได้ช่วยบอกทีครับ (การศึกษา)

    ในขณะที่น้องๆ ส่วนหนึ่งเก่งมากๆ และมีโอกาสดีในการทำชื่อเสียงให้กับสังคม และในอีกซีกหนึ่งก็แทบจะไม่มีโอกาสในการได้ศึกษาครับ ทำให้ผมเห็นว่า แท้จริงแล้วสังคมเรามีความแตกต่างกันมากๆ เรื่องโอกาสโดยเฉพาะเด็กต่างจังหวัดในชนบท หรือบนดอยยอดเขาไกลปืนเที่ยงครับ เราจะปรับลดช่องว่างเหล่านี้ได้อย่างไรบ้างครับ ผ่านระบบการเมือง การศึกษาที่ใส่ใจทุกครัวเรือน ทุกๆ หน่อจินตนาการ อนาคตของชาติ

    กราบขอบพระคุณมากครับ และมาชื่นชมน้องๆ ทั้งสี่ท่าน ตลอดจนทุกๆ ท่านที่ได้มีโอกาสไปแข่งขันด้วยนะครับ ตลอดจนศูนย์ต่างๆ ที่ช่วยกันฝึกคัดเด็กๆ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปเรื่อยๆ ด้วยนะครัีบผม ชื่นชมเบื้องหลังความสำเร็จของน้องๆ ทุกคนด้วยนะครัีบ

 

   

  • ขอบพระคุณมากค่ะ
  • ที่นำเรื่องที่น่าชื่นใจเป็นที่สุดมาให้รับฟัง
  • ในขณะที่สถานการณ์บ้านเมือง้ป็นอย่างที่เห็นทุกวัน
  • พอยังเห็นแสงไรๆที่ปลายอุโมงค์ค่ะ
  • http://lanpanya.net/linhui08/

คุณ เม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ครับ

เป็นคำถามที่ผมเองและทุกคนก็คงเคยถามในใจกัน

น่าถามครับ

อย่างไรก็ดี เท่าที่ทราบจากอาจารย์ เด็กๆ กว่าที่จะผ่านด่านและมาเป็นตัวแทนประเทศได้ ก็ต้องผ่านการคัดเลือก แข่งขันทั่วประเทศครับ จากเด็กจำนวนเป็นหมื่นๆ คนทั่วประเทศ

ดังนั้นในเรื่องโอกาส คงต้องบอกว่ามีโอกาสแต่อาจไม่ครบถ้วน แต่ก็ถือว่ามาตรฐาน

ในอินเดีย ที่มีเด็กๆ หลายร้อยล้านคน อยู่ในรัฐที่มีความแตกต่างกันมาก แต่ปรากฏว่าเด็กที่สอบติดอันดับหนึ่งของทางการกลับเป็นเด็กที่มาจากรัฐที่ยากจน แม้ไฟฟ้าก็ไม่มี

สำหรับกรณีของอินเดีย เขาถือว่าครูเป้นผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดครับ ที่จะสร้างเด็กให้เก่ง

ผมเคยเรียนเอาไว้ว่า ครูอินเดียที่เป็นดาวเด่นในถิ่นธุรกันดารในขณะนี้ มีคติว่า "ไม่ได้สอนให้เด็กตอบคำถามที่ถูก แต่สอนให้เด็กรู้จักตั้งคำถามที่ดี"

เป็นเรื่องที่น่าทึ่งมากว่าในอินเดีย ความเจริญทางวัตถุนิยมไม่ได้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้เลย...น่าคิดครับ

ขอบคุณครับ

 

 

คุณ Lin Hui ครับ

ถือเป็นข่าวดีครับ รวมทั้งเรื่องที่เด็กไทยไปชนะการแข่งขันหุ่นยนต์ด้วย

ในขณะที่สถานการณ์บ้านเมือง ผู้บริหารและผู้ต่อสู้ยังมีความขัดแย้งระหว่างกันสูง

...

ขอบคุณครับ

 

 

กราบขอบพระุคุณมากครับ

    ใช่ครับ โอกาสในการเข้าสู่การแข่งขันมีนะครับ เพียงแต่ผมสนใจโอกาสในการจะศึกษานะครับ  จริงๆ การศึกษาจะมีในระบบ นอกระบบและอัธยาศัย ที่เค้าแบ่งๆ กันไว้ใช่ไหมครับ

    เพียงแต่โอกาสของเด็กตามหลักกฏหมายก็ีมีโอกาสทุกคนนะครับ เพียงแต่ในทางปฏิบัตินั้น การจะไปเรียนได้นั้นมิใช่แค่การไม่ต้องจ่ายค่าลงทะเบียนครับ มีปัจจัยอื่นประกอบร่วม ภายในครอบครัว

    เด็กๆ จะไม่สนใจการศึกษา คนไทยจะไม่สนใจการศึกษา หากปากยังไม่อิ่ม เพราะปัญหาปากท้องมาก่อน นั่งเรียนนั่งอบรมกันอยู่อย่างไร เพราะมื้อเย็นยังไม่รู้ว่าจะมีอะไรกิน  คนที่ยากจนก็ยากจนจริงๆ นะครับ

    การแข่งขันโอลิมปิค ประเทศไทยจะยังได้เหรียญอยู่แบบนี้ครับ อาจารย์ศักดา ศิริพันธุ์ ท่านเคยนำเสนอวิธีการนี้ให้กับ โปรเฟสเซอร์ผมในเยอรมัน เพือจะฝึกเ็ด็กเยอรมันด้วยครัีบ แต่ทาง กระทรวงศึกษาของเยอรมันเองไม่ได้เห็นประเด็นนี้สำคัญมาก เรืองเลยเงียบไป เพราะแนวทางการคัดเด็ก และมีศูนย์ในภูมิภาคในการสอนเด็ก ฝึกเด็กนั้นน่าสนใจมากๆครัีบ

    ผมมีหนังสือการเรียนของเด็ก มัธยมชุดหนึ่งในแต่ละิวิชา โดยเฉพาะชีววิทยา นี่เนื้อหาแ่น่นมากครับ มีผลงานวิจัย ทำให้เด็กได้คิด แล้วเนื้อหาส่งมาถึง ระดับปริญญาเลยครับ นับว่าเข้มข้นมากๆ เลยครัีบ

    ครูมีส่วนมากๆ ครับ ผู้ปกครองครับ  และแวดล้อมในการจุดประกายทางความคิด ผมฟังที่ท่านพลเดชเล่าให้ปลื้มครูอินเดียนะครับ ครูไทยก็เก่งๆ เยอะนะครับ เพียงแต่ระบบการบริหารจัดการเรา อาจจะมีอะไรบกพร่องบางอย่างหรือเปล่าไ่ม่ทราบครับ

กราบขอบพระคุณมากครับ

 คุณเม้ง สมพร ช่วยอารีย์ครับ

เห็นด้วยครับว่าถ้าคนเราท้องไม่อิ่ม คงไม่มีจิตใจอยากจะเรียน

ผมกำลังคิดสวนกระแสว่าความจริงแล้วถ้าเราปล่อยให้การเรียนรู้เป็นหน้าที่ของครูอย่างเดียว ก็จะทำให้ครูไม่พอกับจำนวนนักเรียน

แต่ถ้าทุกคนจะอาสาที่จะเป็นครู ไม่ว่าจะในครอบครัว ในชุมชน ผมว่าจะขจัดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ว่ามานะครับ

เพียงแต่เปลี่ยนทัศนะคติว่าเราทุกคนสามารถเป็นผู้ให้ความรู้ผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ครูก็จะเหลือเฟือครับ

ผมคิดว่าถ้ามีความรู้ แล้วก็จะแก้ไขปัญหาปากท้องที่ไม่อิ่มได้ครับ

ลองแลกเปลี่ยนความเห็นกันนะครับ

ขอแสดงความชื่นชมกับเด็กไทยที่ไปสร้างชื่อเสียงค่ะ ปลื้มๆๆ ค่ะ

เมื่อครั้งยังเด็กๆ และจนกระทั่งบัดนี้ มักได้อ่าน หรือฟังมาว่ามีคนไทยเก่งๆ หลายๆท่านบางท่านไปเรียนต่างประเทศก็เรียนได้อันดับหนึ่ง บางท่านก็ไปเรียนในสถาบันที่เป็นอันดับต้นๆของโลก ... เพียงเกิดคำถามค่ะว่า ท่านเหล่านั้นอยู่ในกลุ่มคนที่กำลังบริหารและนำพาประเทศอยู่ในขณะนี้หรือไม่?  ......?

แล้วเด็กๆ ที่เก่งๆ เหล่านี้ จะได้มีโอกาสในการนำพาประเทศบ้างรึปล่าวค่ะ

ขอบคุณค่ะ

กราบขอบพระุคุณมากครับ

    ใช่ครับ หากทำให้ ครอบครัว ชุมชน วัด โรงเรียน เป็นครูเด็กได้ ก็จะดีมากๆ ครับ แล้วเด็กๆ ก็จะเป็นนักเรียนและเป็นครูในตัวเองครับ คือเรียนรู้ให้รู้ แล้วรู้ก็สอนต่อ รุ่นพี่สอนรุ่นน้อง เปิดโอกาสให้เด็กฝึกเป็นยุวครู ก็จะดีมากๆ เลยครับ เพราะเป็นการฝึกเด็กเก่งให้เป็นผู้ให้ด้วยครับ กิจกรรมการเรียนรู้ระหว่างเด็กกับชุมชน เด็กกับธรรมชาติครับ ปราชญ์ชุมชนสอนเด็กได้ หมอในชุมชน หมอดิน หมอน้ำ อื่นๆ ครับ

    การเรียนรู้ผ่านระบบไอซีทีชุมชนด้วยครับ จะเปิดโลกอีกทางให้กับเด็กๆ ครับ

    ครับเห็นด้วยครัีบ

ผมคิดว่าถ้ามีความรู้ แล้วก็จะแก้ไขปัญหาปากท้องที่ไม่อิ่มได้ครับ

กราบขอบพระุคุณมากครับ

อ. paew ครับ

เป็นคำถามที่น่าสนใจมากครับ

คนเก่งบางครั้งก็ไม่ได้อยากจะเข้ามายุ่งกับการเมืองครับ

หรือหลายคนอาจจะไม่ชอบการเป็นผู้นำ

อีกทั้งการเมืองไทย ก็ถือว่ายังไม่พัฒนาทำให้มีภาพพจน์ที่ไม่ค่อยดี

คนไทยหลายคนที่อยู่ในต่างประเทศ มีหลายคนมีบทบาทในการเป็นผู้นำชุมชนไทย สังคมและก็เล่นการเมืองในประเทศนั้นก็มี

ก็น่าเสียดายจริงๆ ครับที่คนเก่งและคนดียังไม่เข้ามาเล่นการเมืองมากนัก

การเปลี่ยนแปลงในอนาคต หากจะมีคงต้องให้การเมืองและนักการเมืองพัฒนาให้ดีกว่านี้ครับ

ขอบคุณครับ

 

คุณ เม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ครับ

ดูเหมือนว่าประเทศเรา คงอยู่กันสบายไปนะครับ

บางครั้งก็ไม่มีสถานการณ์ที่บังคับให้คนต้องเอาศักยภาพที่มีอยู่ในตัวออกมาใช้

เด็กไทยจึงไม่ได้รับการผลักดันเท่าที่ควรและอย่างทั่วถึง

พูดไปก็เหมือนว่าประเทศตัวเองว่าความตั้งใจที่จะพัฒนาประเทศไม่เข้มข้นพอ ไม่เหมือนประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ลำบากกว่าเรามาก แต่ด้วยความตั้งใจจริงที่สูงและเข้มข้นมาก

ทำให้ ณ วันนี้ เขารุกได้อย่างน่าทึ่งครับ

อาจกล่าวได้ว่าเขาทุกข์กันมามาก จึงทำให้เข้มแข็ง...มากกว่าเรา

ขอบคุณครับ

 

ท่านพลเดชครับ

    ใช่เลยครับ เราคงรักการใช้ชีวิตแบบ ทางลัดมากขึ้นครับ ลัดไปในทุกๆ เรื่อง พร้อมเป็นโรค คอม คือ comfort เอาให้ง่ายๆ สบายๆ ไว้ก่อน ทางไหนที่ลำบาก มันยากไป ใจไม่เอาครัีบ

    นี่หากประเทศไทยต้องขาดน้ำเราจะรู้สึกกันครัีบ แต่นี่ที่ตั้งเหมือนจะดีครัีบ แต่ทางอีสานก็ประสบกับบางอย่าง ไม่ว่าจะดินเค็ม หรือแ้ห้งแล้ง หรือน้ำท่วม  ฝนตกปั๊บ น้ำหายหมด

    ยิ่งเค้าบอกว่า ต่อไป บ้านเราน้ำฝนจะมากกว่าปกติครัีบ เราจะบริหารจัดการกันอย่างไร

    ผมว่าการบริหารจัดการนี่สำคัญมากๆ เลยครัีบ เราเน้นการรวมศูนย์เป็นส่วนใหญ่ เมืองไทยจริงๆ มีงบประมาณเยอะครัีบ เพียงแต่เราจะบริหารการใช้งบประมาณให้ถูกจุดได้อย่างไร

    การศึกษาจึงเป็นคำตอบหนึ่งที่จะยกระดับคนได้ อย่างน้อยๆก็ฐานคิดในการใช้ชีวิต ไปตกระกำที่ไหนก็มีต้นทุนพื้นฐานคือความรู้ให้พัฒนาได้ แม้ว่าการศึกษาจะไ่ม่สอดคล้องว่า  การศึกษาสูงจะไม่ทำใ้้ห้คนทุกคนเป็นคนดีได้ก็ตาม แต่ประชาชนก็คาดหวังว่าคนมีการศึกษาจะเป็นคนดีด้วยเก่งด้วยในตัว

    ผมยังเคยคิดน้อยใจการเมือง ถึงขั้นว่า ควรจะแยกการศึกษาออกมาให้บริหารอย่างมีแนวทางโดยไม่กระทบกับการเมืองด้วยซ้ำครัีบ  ดูซิครับ ตอนนี้เป็นไง อยู่ในช่องแช่แข็งเลยครับ แต่ก็ใ้ห้กำลังใจนะครับ ว่าจะไปไ้ด้ และผ่านพ้นไปได้ หากนักวิ่งวิ่งไปท้องไส้ปั่นป่วนไปด้วย การวิ่งนั้นก็คงไม่มีประสิทธิภาพเต็มที่ครับ เหมือนกับประเทศก็คงเช่นกันหรือเปล่าครับ?

ขอบพระคุณมากๆ นะครับ  นี่จากชื่นชมๆ น้องๆ โอลิมปิค ผมพาออกไปสู่ปัญหาประเทศเสียแล้วครัีบ

คุณเม้งครับ

เชื่อมโยงกันได้ดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท