ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน


นอกจากช่วยให้เกิดความหลากหลายยิ่งขึ้นขององค์กรผู้ให้ความช่วยเหลือแล้ว ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนก็จะได้รับผลประโยชน์โดยตรง โดยเฉพาะประชาชนที่มีฐานะยากจน ที่ไม่มีเงินพอที่จะจ้างทนาย หรือใช้จ่ายในกระบวนการยุติธรรม

เมื่อวาน ได้มีโอกาสไปร่วมการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อ "ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วย การช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน พ.ศ...." ซึ่งจัดโดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม

บอกตรงๆ ว่าตอนแรกไม่ค่อยสนใจเท่าไร แต่ไปเพราะเกรงใจ รศ.ณรงค์ ใจหาญ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ

แต่เมื่อไปร่วมแล้ว กลับรู้สึกคิดถึงองค์กรชาวบ้านอีกหลายๆ แห่ง ที่รู้จัก ซึ่งกำลังต่อสู้เรื่องสิทธิมนุษยชนในชุมชนตัวเอง แต่ไม่ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมรับรู้หรือให้ความเห็นต่อร่าง พรบ.ฉบับนี้ ที่เกี่ยวข้องกับพวกเขาโดยตรง

เพราะนอกเหนือจากการช่วยสนับสนุนภาครัฐส่วนต่างๆ ที่กำลังทำงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนแล้ว ร่าง พรบ.ฉบับนี้จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อองค์กรชุมชนที่ทำงานนี้อยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือลำบากยากเย็นในการประสานงาน เพราะหากเป็นองค์กรชุมชน มูลนิธิ ที่มีประสบการณ์การทำงานและมีผลงานเป็นที่ยอมรับ ก็อาจขอรับการขึ้นทะเบียน ตามที่ พรบ.นี้กำหนดได้ ซึ่งจะช่วยยกฐานะให้เป็นองค์กรให้บริการ ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงยุติธรรม โดยผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จะถือเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอาญา

นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงงบประมาณที่องค์กรให้บริการเหล่านี้จะได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากรัฐอีกด้วย

นอกจากช่วยให้เกิดความหลากหลายยิ่งขึ้นขององค์กรผู้ให้ความช่วยเหลือแล้ว ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนก็จะได้รับผลประโยชน์โดยตรง โดยเฉพาะประชาชนที่มีฐานะยากจน ที่ไม่มีเงินพอที่จะจ้างทนาย หรือใช้จ่ายในกระบวนการยุติธรรม 

นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการสร้างความยุติธรรมและสันติในสังคมไทย

น่าจะช่วยกันสนับสนุนร่าง พรบ.นี้กันด้วยนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 103908เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2007 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 08:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ

  • ชุมชน ควรได้รับเวทีที่เสมอภาคทางความคิดเพื่อการหยัดยืนอย่างมีตัวตน
  • ...
  • นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการสร้างความยุติธรรมและสันติในสังคมไทย
  • .....
  • เห็นด้วยกับแนวคิดของคุณมาก..สนับสนุนครับ

สังเกตนะเธอ วันนี้ ทิศทางการทำงานเพื่อสังคม มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้รากหญ้า

เราชัดในหัวแล้วล่ะว่า การช่วยชาวบ้านที่ดีที่สุด มิใช่การทำแทนชาวบ้าน แม้แต่ในเรื่องการได้มาซึ่งความยุติธรรม กรณีชาวบ้านแม่อายเป็นกรณีศึกษาที่ดีของเรื่องนี้ งานที่ณรงค์ผลักดันครั้งนี้ ก็คือ การให้ "วัคซีน" ที่ดีที่สุดสำหรับชาวบ้าน หวังว่าจะสำเร็จ

สวัสดีครับPpilgrim

ขออนุญาตินำไปรวมในรวมตะกอนครับ  ขอบคุณครับ http://gotoknow.org/blog/mrschuai/102160

ขบวนการพัฒนากฏหมายที่เอื้อต่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในชาติเป็นสิ่งที่ต้อง "ร่วมด้วยช่วยกัน" ค่ะ

ขอบคุณคุณ Pilgrim ที่นำเรื่องราวดี ๆมาเล่านะคะ หลายภาคส่วนกำลังขับเคลื่อนเรื่องความเข้มแข็งของชุมชนทั้งที่เป็นชุมชนชนบทและชุมชนเมือง...มีโอกาสพวกเราน่าจะจัดเวทีเพื่อการเรียนรู้ "ข้ามวง" กันบ้างนะคะ

ขอบคุณทุกท่านค่ะ

เห็นด้วยกับ อ.ทิพวัลย์ นะคะ ที่น่าจะมีการ "ข้ามวง" เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กัน เพราะการทำงานชุมชนกับชาวบ้านมันครอบคลุมทุกมิติ

เคยมีประสบการณ์ช่วยให้ชาวบ้านได้สิทธิในสัญชาติไทย แต่ดูเหมือนเป็นการสนับสนุนให้เขาทิ้งชุมชนเข้าเมืองหรือไปต่างประเทศเร็วขึ้น ไม่นับรวมปัญหายาเสพติด หรือปัญหาสังคมอื่นๆ 

คงต้องขอประสบการณ์จากหลายๆ ท่าน "ร่วมด้วยช่วยกัน" ด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท