เสียงคำรณแห่งการตื่นรู้


เสียงคำรณแห่งการตื่นรู้

Roar of Awakening

บทนำจากหนังสือ The Philosophy of India by Heinrich Zimmer เล่าซ้ำในบทแรกของหนังสือ Embracing Our Selves: The Voice Dialogue Manual by Hal & Sidra Stone

มีนางเสือท้องแก่อาศัยในป่า ใกล้จะคลอดเต็มที่ แต่ด้วยความหิว ก็ยังเดินทางหาอาหารจนในที่สุดก็เจอฝูงแพะหากินอยู่กลางทุ่งหญ้า นางเสือก็ออกไล่ล่า ฝูงแพะก็แตกกระเจิง วิ่งหนีเพื่อเอาชีวิตรอด แต่ในที่สุด แม้สภาพร่างกายไม่เหมือนปกติ นางเสือก็ตะปบฆ่าได้หนึ่งตัวแต่ด้วยความอ่อนเพลียและการออกกำลัง นางเสือก็คลอดลูกเสือออกมาแล้วนางก็เสียชีวิตอยู่ ณ ที่นั้น

ฝูงแพะเดินเข้ามา ดูลูกเสือที่พึ่งคลอด และแล้วก็รับลูกเสืออยู่ในฝูง

วันเวลาผ่านไป ลูกเลือเติบโตเป็นเสือหนุ่ม แต่นอกเหนือจากรูปร่างที่เป็นเสือวัยรุ่นโตเต็มที่แล้ว กลิ่น นิสัย การกิน แม้กะทั่งการร้อง ก็เป็นแพะ เสือหนุ่มพยายามจะ แบ๊ แบ๊ เท่าที่จะเลียนได้ เดินรวมฝูงกับแพะที่เหลืออย่างเป็นปกติ

อยู่มาวันหนึ่งมีเสือใหญ่หลงถิ่นมาเจอฝูงแพะ ก็ดีใจ วิ่งเข้าใส่ ไล่ล่าเป็นพัลวัน จนฆ่าแพะได้หนึ่งตัว เสือหนุ่มไม่ได้หนีไปไหน ยืนมองอยู่อย่างฉงนฉงาย ท่ามกลางความแปลกใจของเสือใหญ่พลัดถิ่น เมือ่เห็นเสือกระทงแต่เต็มไปด้วยกลิ่นสาบแพะ ไม่คำรามแต่ร้องเสียงแปลกประหลาด ด้วยความประหลาดใจและไม่พอใจ เสือใหญ่ลากถูลู่ถูกังเสือกระทงไปที่ริมน้ำ ให้ดูเงาของตนว่าตนเองเป็นใคร มิใยที่เห็นเงาของเสือด้วยตาตนเอง เสือหนุ่มก็ยังไม่รู้เห็น เสือใหญ่ยิ่งโกรธมากขึ้น

เสือใหญ่ฉีกกระชากซากแพะ เอาเนื้อสดเปื้อนเลือดออกมาชิ้นหนึ่ง แล้วปลุกปล้ำเสือหน่มยัดเยียดเอาเนื้อแพะนั้นเข้าปากไป เสือหน่มพยายามจะคายออกด้วยความขยะแขยง แต่ก็ไม่สำเร็จ เสือใหญ่รอจนมั่นใจว่าเสือหน่มได้ขยอกกลืนเนื้อแพะเข้าไปจนได้

หลังจากชิ้นแรก เสือใหญ่ฉีกเนื้อแพะให้กินอีกชิ้นหนึ่ง คราวนี้เสือหนุ่มไม่ลังเลอีกต่อไป เขยือกขยอกกลืนเนื้อแพะเข้าท้อง ทั้งเนื้อทั้งเลือดอย่างกระหายเลือด ทันทีที่เคี้ยวกลืนเสร็จ เสือหนุ่มเหยียดตัวผงาด และเป็นครั้งแรกของชีวิต แทนที่จะร้องแบ๊ แบ๊ ไม่เป็นภาษาอะไร เสือหนุ่มก็เปล่งเสียงคำรณคำรามก้องไพร และในที่สุดเสือทั้งสองตัวก็คืนเข้าสู่ป่าลึกไปด้วยกัน

บางครั้งบางครา คนเราก็ถูกเลี้ยงให้เป็นแพะ ไม่ว่าแท้จริงเราเป็นอะไร สามารถทำอะไรได้บ้าง และอะไรคือ "ที่ทาง" ของเราเอง กฏ ระเบียบ วิธีคิด วิอยู่ กิน อาศัย ทำให้เราไม่เคยคิดว่าเราเป็นอะไรอย่างอื่นไปได้ ยกเว้นจากเป็นแพะ กรอบความคิดนี้เองที่ทำให้เราไม่เคยที่จะขวนขวาย แสวงหา ว่า แท้จริงเราเป็นใคร

เราจะพึงพอใจอยู่กับความจำเจ อยู่กับการเป็นแพะ เพราะการเลี้ยงดู เพราะสิ่งแวดล้อม เพราะอะไรก็แล้วแต่ที่เป็น ข้อจำกัด

จนกระทั่งสักวันหนึ่ง เราบางคนเท่านั้นที่อาจจะได้ คำรณคำรามแห่งการได้ตื่นรู้ เมื่อนั้น เราค้นพบที่ทางของเรา ค้นพบความสามารถของเราที่ถูกเก็บกักอยู่เป็นเวลานาน unlease พลังและตัวตนที่แท้จริง เพื่อคืนสู่พฤกษาไพร เผชิญความกว้างใหญ่ของความเป็นไปได้ ของศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง เสียงคำรณนี้เอง เป็น The Roar of Awakening

ระบบอะไรก็ตามที่เก็บกักความสามารถที่แท้จริง self ทีแท้ของมนุษย์แต่ละคน เป็นกรอบขวางกั้นความเข้าใจอย่างถ่องแท้ใน self ในตนเอง แต่ละปัจเจกอาจจะไม่เคยเห็นตนเองไปจนตาย จนกว่าปัจเจกนั้น โดยบังเอิญหรือสาเหตุใดก็ตาม ได้ถูกกระตุ้นจนเกิดการ ตื่นรู้ และเข้าใจตนเอง หรืออยู่ภายใต้ระบบใดก็ตาม ที่จะเกื้อหนุน ส่งเสริมให้ตื่นรู้และเข้าใจตนเอง ทลายกรอบแห่งการเป็นแพะไปตลอดชีวิตนั้นลงได้

แพะทั้งฝูงนั้น อาจจะมีทั้งเสือ ทั้งสิงโต แมวป่า สุนัขป่า อีกมากมายที่รอ awakening อยู่ ถ้าเพียงแต่ได้คำรณแห่งการตื่นรู้

ที่แท้เราเป็นแพะ หรือเราเป็นอะไร เราทราบแล้วหรือยัง?

หมายเลขบันทึก: 88378เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2007 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

เรื่องน่าคิดค่ะ

ขอคิดอีกมุมนะคะ

คิดว่า ....ในสภาพที่อ่อนแอ มีแต่ผู้ที่อ่อนแอกว่าและเคยถูกกดขี่ จึงจะเข้าใจความลำบากและจะยื่นมือมาเกื้อกูล เหมือนกลุ่มแพะที่เคยถูกเสื้อขย้ำแต่กลับยังคงความเมตตาแก่ลูกเสือ...

ผู้ที่เคยได้รับการเกื้อกูลจากผู้ยากไร้..เมื่อถึงคราวที่กล้าแข็ง...ทำไมจึงยังหันกลับไปเขมือบผู้ยากไร้เหล่านั้น เช่นเสือหนุ่มอร่อยกับเนื้อแพ.

  • ผู้ขาดเมตตาอย่างแท้จริง...ไม่มีวันรู้จักกับคำว่า กตัญญู...
  • โลกแห่งการแข่งขัน ทำให้ผู้แข็งแรงกว่า ใช้วาทกรรมสนับสนุนเหตุผลแห่งการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นเสมอ.....

อ.จันทรรัตน์ครับ

ตอนผมอ่านทีแรก ก็รู้สึกนิดๆว่าตัวอย่างนี้ค่อนข้างโหดเหมือนกัน

แต่คิดว่าคนเขียน (Heinrich Simmer) ไม่ได้ตั้งใจจะ endorse การที่เสือ "อกตัญญู" หรือเอารัดเอาเปรียบ" ว่าเป็นเรื่องที่ดี

เพราะบทความและหนังสือสองเล่มนี้ว่าด้วย "Self" หรือ "Inner-self" เป็นหลัก ครับ นิทานเรื่องนี้เป็น analogy เป็นอุปมาอุปมัย

ที่เสือหนุ่ม "อร่อย" กับเนื้อแพะนั้น เป็น natural feeling และเพียงแต่ "ซื่อสัตย์" ต่อตนเองว่า "รู้สึกอร่อย" เท่านั้นเอง แพะตัวนั้นเสือไม่ได้ฆ่า และการ "ฆ่า" ของสัตว์เพื่ออาหาร ก็ไม่ได้เกี่ยวกับ moral ด้วย (แต่สำหรับคนนั้นมีแน่นอน เห็นด้วย 100%)

เราจะ sympathy ผู้อ่อนแอ เพราะนั้นเป็น value ของเรา (มนุษย์) บ่อยครั้งที่เรา "เกลียด" ไม่ชอบเสือ หมาป่า ที่มากินวัว กินไก่ แต่ผมว่าตรงนั้นเรา sympathy โดยไม่ได้ empathy และเราใช้ human morality ไปครอบ animal behavior (เหมือนอย่างที่บางประเทศ "พยายาม" บอกประเทศอื่นๆว่าอะไรควร ไม่ควร ในขณะนี้) การพยายาม "ครอบ" value ข้ามเผ่าพันธุ์นั้น ผมว่ามีความเสี่ยงสูง แต่เรารู้สึกว่าถ้าเสืออดตาย หมาป่าอดอาหารตายนั้นถูกต้อง (รึเปล่า?)

เหมือนนิทานชาวนากับงูเห่านั้นแหละครับ อ่านปุ๊บเราก็รู้สึกว่างูเห่านี้มันเลวจริง เลวจัง อกตัญญู แต่งูกัดเพราะมันเป็น ธรรมชาติ ของงูรึเปล่า? ทำไมเราถึงคิดว่า งูควรจะคิดแบบคน

และการที่เราคิดได้แบบนี้ แปลว่า "คนเหนือกว่างู" หรือไม่? บางทีคำตอบนี้อาจจะสะท้อนความแบ่งแยกของมนุษย์บนโลกนี้ก็ได้ นั่นคือ โลกใบนี้มี morality อยู่ standard เดียวคือ "ของเรา"  ที่เหลือที่แตกต่างเป็นของงูเห่า

เรื่องที่เล่าไปจึงต้องการ "สื่อ" กับ innerself ของแต่ละคน เสือให้คิดแบบเสือ ค้นหาตัวเราเองอย่างซื่อตรง ผมอยู่ในค่าย Doctrine of Innate Purity ของรุสโซ ไม่ใช่ค่าย Doctrine of the Original Sin ของซิกมันด์ ฟรอยด์ เราค้นหาความเมตตากรุณาของมนุษย์เจอเสมอ แต่ value ภายนอกต่างหากที่ทำให้เราเป็นแค่ "แพะ" เช่น greedy, take side, criteria-based, money-oriented ซึ่งของเหล่านี่เป็นอะไรที่บางที่ บางสังคม กำลังสร้างกรอบให้เกิด

มนุษย์จริงๆดีกว่านั้นแน่นอน แต่เราถูก "ฝูงแพะกระหายเงิน" พยายาม manipulate อยู่หรือไม่?

เป็นไอเดียที่คมคายและน่าสนใจมากค่ะ

เสือถึงไม่ได้ฆ่าแพะด้วยตัวเอง แต่ก็ยินดีเขมือบเนื้อแพ ที่เคยอยู่ในกลุ่มให้การโอบอุ้มตัวเอง??? เพื่อนำวาทกรรมเสนอ การเข้าถึงการรู้จักตัวเอง และการบอกว่า ได้ตระหนักรู้ตัวตนที่แท้จริง ว่า เสือต้องกินเนื้อสัตว์...นั่นเป็นการนำเสนอที่เหมาะสมเมื่อเป็น "สัตว์" ใช่ไหมคะ

แต่ในความเป็นคนหากต้องการรู้จักตัวตนที่แท้จริง มีวิธีการอย่างอื่นอีกได้ไหม...หรือต้องหัดคิดในระดับเดียวกับสัตว์???

ฝูงแพะกระหายเงิน เพราะเราไปนิยาม ผู้ที่กระหายเงินนั้นว่า เป็น แพะ?? หรือว่า ไม่เคยมีฝูงเสือกระหายเลือด ที่พยายามกระตุ้นเกมส์ของการขยายอำนาจผ่านวาทกรรมอยู่ตลอดเวลา???

 

P

เข้ามาเยี่ยม....

อ่านไปอ่านมา ก็มาถึงคำถามว่า...

พื้นฐานของคนโหดร้ายหรือการุณ

อีกนัยหนึ่ง พื้นฐานของคนเสียสละหรือเห็นแก่ตัว

หรือ พื้นฐานของคนมิใช่โหดร้ายและเห็นแก่ตัว หรือมิใช่การุณและเสียสละ ...แต่สิ่งแวดล้อมต่างหากที่ปรุงแต่งคนให้เป็นไปอย่างนั้น ๆ 

เจริญพร

อ.จันทรรัตน์ครับ

เอ... แต่ตามเนื้อเรื่องเสือหนุ่มก็ไม่ได้ยินดีคิดอยากจะกินนะครับ แต่ถูกเสือใหญ่บังคับ นั่นคือ บริบท ของเสือหนุ่ม ส่วนความรู้สึก อร่อย ที่เกิดขึ้นมาภายหลัง ไม่ได้ใช้ความสัมพันธ์อะไร แต่เป็นแค่ ความรู้สึก เหมือนกับเวลาที่เราจะตัดกิเลสนั้น ผมคิดว่าไม่ได้แปลว่าเราไม่กล้าดูภาพโป๊ แต่เรา เท่าทัน ความรู้สึก ในขณะเดียวกันเราก็ยัง "สามารถ" มีความรู้สึก เพียงแต่เราไม่ต้องไปเป็นทาสของความรู้สึกนั้นๆอีกต่อไป

ผมคิดว่าเรายังคงมีความรู้สึกอยาก รู้สึกหิว รู้สึกโน่นนี่ แต่การที่เรา เท่าทัน ต่างหากที่ทำให้เราไม่ต้องเป็นทาสของมันเสมอไป ไม่ใช่การพยายามที่จะ ไม่รู้สึก

ผมคิดว่าไม่ได้ตั้งใจจะสื่อว่าคนต้องคิดแบบสัตว์ จึงจะเข้าถึงตนเองด้วย (สงสัยต้องพิจารณาตนเองครับ วันนี้ท่าทางจะลดความสามารถในการสื่อสารลงเยอะมาก)

คนเราก็คิดแบบคนนี่แหละ และเป็นแบบ innate purity คือคนนั้นดีมาแต่กำเนิด และมีความบริสุทธิ์มาก่อน เพราะถ้าคนคิดแบบแพะ คิดแบบเสือ เราก็จะไม่ค้นพบตัวเองใช่ไหมครับ บทความนี้เรามีวัตถุประสงค์ที่ รู้จัก self ไม่ใช่การอยากเป็นเสือหรือไม่ หรืออยากเป็นแพะหรือไม่ เราอยากจะรู้จัก self และเราเป็นคน

ที่เขียนว่าเราเป็นแพะ หรือเราเป็น "อะไร" นั้น ไม่ได้มี choices แค่ เราอยากเป็น สัตว์ ประเภทไหนหรอกครับ คำถามมีแค่นั้นจริงๆคือ เราเป็น อะไร? อะไรคือที่ทางของเราที่เกิดมา อะไรคือตัวเราจริงๆ ที่ไม่ใช่แค่ กรอบ ที่มีคนมาบอกว่าเราเป็น แต่เป็นที่ทางที่เกิดจากการใคร่ครวญไตร่ตรองอย่างลึกซึ้ง

เรื่องของฝูงแพะกระหายเงินนั้น ผมพยายามสื่อว่า สังคมสามารถจะ manipulate ได้แม้แต่เสือ (อุปมาอุปมัย) ให้คิดแบบสังคมนั้นๆ (ตามเรื่องคือแพะ อาจจะเปลี่ยนใหม่เป็นแมว ปลา แมวน้ำ หรือหนู ก็ได้) ให้คิดแบบแพะ มีกลิ่นแบบแพะ และส่งเสียงร้อง กินแบบแพะ ถ้าเป็นแพะกระหายเงิน ก็จะกลายเป็นเสือที่กระหายเงิน ก็ขึ้นอยู่กับสังคมที่เราจะนำไปเปรียบเทียบว่าเขาใช้อะไรเป็นตัวนำ

จะเปลี่ยนฝูงแพะธรรมะก็ได้นะครับ ถ้าไม่ชอบคำว่าฝูงแพะกระหายเลือด ก็จะเปลี่ยนเสือเป็นเสือธรรมะ ตามฝูงนั้นๆ

ประเด็นที่ต้องการจะสื่อไม่ได้อยู่ที่เปลี่ยนเป็นอะไรหรอกครับ ประเด็นอยู่ที่สังคม หรือกรอบ สามารถมีผลต่อคนในสังคมได้เยอะมาก จนเปลี่ยนเป็นบางสิ่งบางอย่างที่ ไม่ใช่เขาอย่างสิ้นเชิง (อาจจะเป็นฝูงลิงเปลียนเสือเป็นลิง เปลี่ยนคนเป็นลิง แบบฝูงหมาป่าเปลี่ยนเมาคลีไป แต่ก็เมาคลีก็ค้นพบตนเองทีหลังอยู่ดี ว่าตนเองไม่ใช่หมาป่า แต่เป็นคน)

กรอบสังคมในปัจจุบันนั้น โดยส่วนตัวคิดว่ายังห่างจากในอุดมคติอีกเยอะ และไม่ได้ "เอื้ออำนวย" ศักยภาพของปัจเจกบุคคลให้ ค้นหาตนเอง สักเท่าไร เพราะ so-called สังคม พร้อมที่จะ label แบบนั้น แบบนี้ว่าดี / ไม่ดี ตลอดเวลา ทั้งๆที่อาจจะเป็น เหมือน / ต่าง แค่นั้นเอง บางคนคิดว่าทำเสือให้คิดว่าตนเองเป็นแพะเป็นสิ่งที่ดี บางคนคิดว่าทำแพะให้คิดว่าตนเองเป็นลิงเป็นสิ่งที่ดี บางคนคิดว่าทำ ฯลฯ เป็นสิ่งที่ดี แบบนี้เราจะมีการ เคารพใน autonomy ของปัจเจกบุคคลน้อยลงๆ และข้อสำคัญก็คือ เราคิดว่า autonomy แบบอื่นที่เราไม่ approve นั้น คือสิงที่ไม่ดีเสมอไป

การที่เราไม่สามารถ "เข้าใจ" ในความ "ต่าง" ของคนได้ เราก็อาจจะ upset ได้ทั้งคนอื่นและตัวเราเอง เพราะ เราคิดว่าเรา หวังดี อยากจะให้เขาเป็นเสือที่น่ารัก กินมังสะวิรัติ ความหวังดีที่ไม่เห็น autonomy ของคนอื่นนั้น มันไม่ค่อย work สักเท่าไหร่นะครับ

นมัสการหลวงพี่มหาชัยวุธครับ

สิ่งแวดล้อม มีความสำคัญจริงๆอย่างที่หลวงพี่ว่าเลยครับ

รายการโทรทัศน์ปัจจุบัน มีเกมโชว์ มีการ vote คนที่เราชอบไม่ชอบ คุณค่าของคนกลายเป็นเรื่องของ "สังคม" pure ๆ ที่จะตัดสินว่าอะไรเรียกว่า ดี / ไม่ดี เป็นระบบความคิด materialistic ของ Sigmund Freud ที่ superego เท่านั้น จึงจะเท่าทันและควบคุม Id ที่เลวสุดๆ (Doctrine of the original sin) ได้

ลองอีกสักมุมค่ะ

แพะ(หรือหมา หรือหมี หรือไก่) ก็คงไม่ได้ตั้งใจไปเปลี่ยน ความเป็น เสือ(หรือควาย หรือวัว หรือคน??) แต่ด้วยสังคมของแพะนั้น ก็ต้องกินแบบแพะ ร้องแบะๆ และวิ่งหนีความโหดร้าย....เมื่อไปอยู่ในกลุ่มก็ต้องรับมาโดยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ...แต่เมื่อพลัดกลุ่มเข้าไป จะไปบอกว่า ที่ทำตัวอย่างนั้นเพราะยังไม่รู้จักตัวเอง??

แล้วหากมีคนมาชี้ว่า ตัวเองไม่ใช่แพะนะ เป็นเสือนะ (หรือควายฯลฯ) ...ก็ถอดคราบแพะออก แล้วบอกว่ารู้จักตัวตนแล้ว.....การรู้ตัวตนแบบนี้ น่าจะรู้ตัวตนในระดับรู้สายพันธุ์ แต่ไม่รู้สิ่งที่หล่อหลอมให้เกิดตัวตน หรือเปล่าคะ?? ..แม้คน หากไม่รู้องค์ประกอบที่ทำให้เกิดความเป็นตัวเอง ณ ปัจจุบันว่ามีความสัมพันธ์หล่อหลอม มีสังคมข้ามวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดความเป็น unique ของตนเอง...จะใช่การรู้จักตัวตนที่แท้จริงหรือเปล่าคะ??

 

เอาเป็นว่า ไหนๆ อาจารย์ก็กรุณาแก้ไขข้อข้องใจให้มาเปลาะหนึ่งแล้ว...อาจารย์ก็คงจะกรุณาไขประตูสู่ความสว่างให้ด้วยนะคะ...ขอบคุณค่ะ

.....แหม ขอแอบบอกตรงนี้เลยนะคะ ว่า เวลาที่อาจารย์เขียนความคิด อย่างต่อเนื่อง และพยายามให้เข้าใจโดยไม่มีคำอังกฤษกำกับมากนั้น บันทึกของอาจารย์ชวนอ่านมากเลย...

อ.จันทรรัตน์ครับ

ถ้าแพะเกิดจะ "ถอดคราบ" มาเป็นอะไรนั้น คำถามคงจะเป็น "แล้วจริงๆแล้ว เขาเป็นอะไรล่ะ?" ถ้าข้างในเขาเป็นเสือ เพีงแค่มีกลิ่นเหมือนแพะ พูดภาษาแพะ ไม่ได้ทำให้เขากลายเป็นแพะไปได้ ใช่หรือไม่?

ตัวตน นั้นเป็นสิ่งสำคัญ ผมเชื่อว่าคนเราทุกคนมี "ที่ทาง" เป็นของตนเอง และเป็นที่ทางที่มีเพื่อ 2 วัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อมีชีวิต และ 2.คือเพื่ออยู่ในสังคม ทั้งสองวัตถุประสงค์แปลงเป็นกิจกรรมต่างๆ ทุกกิจกรรม กิน นอน เรียน ทำงาน ฯลฯ

ยกตัวอย่าง เวลาเสือหยอกล้อกัน เล่นกันนั้น สัตว์ตามธรรมชาติเรียนรู้เพื่อจะอยู่รอดผ่านการเล่น ฉะนั้นก็จะมีการซ้อมต่อสู้ ปล้ำ ตะปบ ตามกำลังของเสือ ถ้าสมมติมีแพะไปเล่นด้วยแล้วถูกตะปบตายไป จะเป็นการโหดร้ายหรือไม่?

ผมไม่ได้พูดถึงตัวตนแบบสิ่งแวดล้อมนะครับ แต่เป็น ตัวตนจริงๆภายใน ของเขา ไม่ใช่คนไทยไปอยู่เมืองนอกแล้วมีวัฒนธรรมที่ต่างกันอะไรแบบนั้น (ซึ่งนั่นคือไม่ใช่ "ตัวตน" อยู่ดี)

ถ้าจะมีแพะที่ไม่รู้จักตนเอง ก็คือแพะที่เป็นแพะที่ไม่มีความสุข เพราะอยากเป็นเสือ เพราะอยากเป็นอะไรที่ไม่ใช่แพะมากกว่าครับ

ดึงมาเปรียบเทียบกับมนุษย์ จริงๆแล้วทางปรัชญานั้น ความดีสากล ที่ทุกชาติ ทุกภาษาใช้ร่วมกันนั้นเสมือนหนึ่งดั่ง Holy Grail (ขอปนอังกฤษหน่อยนะครับ ไม่งั้นไม่ตรงความหมาย) ของนักปรัชญามานานเท่านาน แต่ก็ยังหาได้ยากยิ่ง เพราะ คุณค่า ของอะไรในสังคม ขึ้นอยู่กับมุมมอง ความเชื่อ ความศรัทธา ขึ้นอยู่กับสังคม เยอะมาก แต่การที่คนเราเติบโตมาในสังคมหนึ่งแล้วมองคนสังคมอื่น ได้ยินความคิดที่แตกต่าง ถ้าหากไม่สามารถยอมรับว่า มีความต่าง ตรงนี้อยู่จะเป็นสาเหตุของทุกข์ได้อย่างง่ายดาย

เช่น มองเสือ หมาป่า สัตว์กินเนื้อ ว่าเป็นสัตว์ที่โหดร้าย เพราะไปเบียดเบียนสัตว์อื่น นั่นเป็นการ ครอบ คุณค่าของมนุษย์ไปให้เสือควรจะใช้ด้วย label สัตว์กินเนื้อว่าโหดร้าย label สัตว์กินหญ้าว่ารักสงบ แต่สัตว์ทั้งสองประเภทไม่ได้รู้ตัวเสียด้วยซ้ำว่าตัวไหนเป็นพระเอก ตัวไหนเป็นผู้ร้าย ที่มีบุคคลที่สามไปจัดกลุ่มไว้ให้

แล้วบางทีเราก็เอาเสือ เอาจระเข้ เอาหมีกริสลี มาเลี้ยงกับคนบ้าง กับหมา บ้าง บางตัวที่เติบโตมา ยังไม่มีอะไรไปกระตุ้นความเป็นตัวตนดั้งเดิม ก็ดูน่ารัก (เป็นคำ "น่ารัก" ที่ "เรา" เป็นคนเรียกเอง) แต่ถ้ามันเผลอเล่นแบบหมี แบบเสือ แบบจระเข้ กับลูกๆคนแล้วเรารู้สึกอย่างไร? เป็นความผิดของหมี เสือ จระเข้ ที่ไม่ยอมรับ "คุณค่าของคน" รึเปล่า?

การยอมรับข้ามสายพันธ์ของสิ่งต่างๆนั้น ขึ้นอยู่กับว่า ถูกจริต ของตัวตนจริง ของสิ่งมีชีวิตนั้นๆมากน้อยแค่ไหนด้วยไหมครับ เช่น เราจะสอนงูเหลือมให้เอ็นดูเด็ก เป็นพี่เลี้ยงเด็กได้ไหม ถ้าไม่ได้แปลว่างูเหลือมไม่ดีรึเปล่า? เราจะสอนเสือ สิงโต เป็นมิตรกับหมา เก้ง กวาง และวางใจ 100% ได้หรือไม่? เพราะ ความเคยชินที่อยู่ด้วยกันมานาน นั้นไม่ได้จะปฏิเสธ ตัวตนทีแท้จริง ของสัตว์เหล่านี้ได้เลย

Analogy ชุดนี้จะค่อนข้างฝืนความรู้สึก (ซึ่งเป็นการจงใจ) เพราะผมคิดว่าเรา "เผลอ" คิดแทนสัตว์ได้บ่อย และดูแปลกดี แต่ถ้านำมาสะท้อนว่าเรา "เผลอ" คิดแทนคนอื่นๆบ่อยกว่าแค่ไหนจะยิ่งตกใจกว่า เพราะเรามักจะ assume ว่าคนเหมือนกันบ่อยกว่าสัตว์เหมือนคนเสียด้วยซ้ำไป

สำหรับสัตว์ เพียงแค่เสือคำรามแบบเสือออกมา แพะก็คงจะแตกฝูงกระจายไปแล้ว เพราะ instinct ของบทบทา หน้าที่ ความสัมพันธ์นั้นชัดเจนมาหลายร้อย generations แล้ว แต่สำหรับคน เราได้มีบุคลิก ตัวตน ของเราที่เก็บซ่อนไว้มากมาย และเราเผลอคิดว่านั้นไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่เราทิ้งไปแล้ว เพราะเหตุการณ์ตอนเด็กๆ เราถูกสอนมาว่าเป็นเรื่องไม่ดี ขออนุญาตยกตัวอย่างนะครับ

เควิน เด็กน้อยอายุ 4 ปี วิ่งเข้าบ้านมา ร้องไห้หามารดา บอกว่าสตีเฟนเด็กข้างบ้าน รังแกเขาอีกแล้ว มารดาก็ปลอบบอกว่า "อืม... สตีเฟนเป็นเด็กไม่ดี เราอย่าไปเล่นกับเขาเลย ลูกเล่นในบ้านนี้ก็ได้ หรือไม่แม่จะหาของเล่นในบ้านมาแทน ไม่ต้องออกไปนอกบ้าน เควินก็สงบลง ตั้งแต่นั้นเควินก็เล่นของเล่นในบ้าน ไม่ต้องออกไปเผชิญเด็กดุร้ายนอกบ้าน ปรากฏว่า ตอนกลางคืนเควินก็ฝันร้าย ร้องไห้ มารดาก็เข้ามาปลุก ถามว่าเป็นอะไรไป เควินก็เล่าให้ฟัง "มีมังกรมาทำร้าย เดินอยู่รอบๆถ้ำที่เขาอยู่ ตอนแรกๆก็เข้าประตูไม่ได้ เพราะมีนางฟ้าเฝ้าอยู่ แล้วนางฟ้าบินหายไป มังกรก็จะพังประตูเข้ามาในถ้ำ" แม่ก็บอกว่า "เควิน ลูกฝันไป ไม่มีมังกรหรอก หนูจะเปิดไฟนอนก็ได้"

เควินเติบโตขึ้น กลายเป็นทนายความ แต่เขาจะมีความอึดอัดเสมอ เมื่อได้เผชิญกับทนายฝ่ายตรงกันข้ามที่บุคลิกดุดัน ก้าวร้าว ไม่ทราบว่าจะทำตัวอย่างไร

ตัวตน ของเควิน ที่จะเผชิญหน้ากับความก้าวร้าวได้ถูกปฏิเสธมาตั้งแต่เด็กๆ สำหรับเควิน ความก้าวร้าว คืออะไรที่ไม่ดี และวิธีแก้ไขคือ ปฏิเสธ หลบหลีก ความก้าวร้าวนี้เมื่อไม่ได้ถูกจัดการอย่างแท้จริงในชีวิตจริง ก็พยายามจะเข้ามาทางความฝัน แต่แม่ก็ทำให้เควินจัดการกับความก้าวร้าวนี้ไปว่า เรื่องนี้ไม่จริง เป็นแค่เพียงความฝัน พอเปิดไฟ ตื่นขึ้นมา มีแม่อยู่ (ก็คือนางฟ้าในฝัน) ก็หายไปหมด

สังคมที่ไม่ทำให้ "ตัวตน" ที่แท้จริงรับรู้ศักยภาพของมนุษย์ ที่ถูกออกแบบมาให้อยู่ในสังคม เราก็จะค่อยๆหมดความสามารถนั้นลงไปเรื่อยๆ ยึดถือเทปม้วนเก่าในการทำงาน ดังนั้นพอเควินต้องเผชิญหน้ากับความก้าวร้าวใหม่ในที่ทำงาน ก็จะรู้สึกอึดอัดมาก เพราะมักรตัวนี้ไม่สามารถจะเสแสร้งว่าไม่จริงอีกต่อไป นางฟ้าก็ตายไปแล้ว เขาต้องเผชิญหน้าแต่เพียงผู้เดียว อาจจะมีผลต่อการว่าความ ทำให้เขามีแนวโน้มยอมความ ประนีประนอมเมื่อไรก็ตามที่ถูกคุกคาม เพราะนั้นเป็นวิธีเดียวที่เขาทำมาตั้งแต่สี่ขวบ

จริงๆมนุษย์เรามีความหลากหลายในการปรับตัว ถ้าเราสามารถรักษาความหลากหลายนั้นได้ ก็น่าจะเพีมภูมิคุ้มกันต่อสถานการณ์ได้มากขึ้น แต่ในปัจจุบัน ความหลากหลาย ถูกแทนที่ด้วยการ ปฏิเสธ ว่า ความต่างคือความดีกับความเลว เมื่อเป็นเช่นนี้ เมื่อไรก็ตามที่มีการคิดที่แตกต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโดนกระทบต่อ core value ของความเชื่อของเรา เราก็จะเกิดปฏิกิริยา "จี๊ด" ขึ้นมาทันที เหมือนมนุษย์รู้สึกเมื่อเห็นเสือกินแพะนั่นแหละครับ เราก็จะอดรำพึงไม่ได้ว่าทำไมหนอ จึงอยู่ร่วมกันอย่างสันติไม่ได้

ต่ออีกหน่อยครับ

การรู้จักเท่าทัน ตัวตน ของตนเองนั้น สามารถเกิดได้ทั้งปัจจัยภายใน และจากปัจจัยภายนอก เอื้ออำนวยให้เกิดการหมายรู้เท่าทัน

ถ้าเรา ไม่ใช่ เสือ มีคนมาชี้ให้เราเป็นเสือแล้วเราก็เกิดคิดว่าเป็นเสือตามที่เขาชี้นำ อันนี้ไม่ใช่การเท่าทันตนเอง การที่เราเป็นแพะ และพยายามไปเปลี่ยนเสือให้เป็นแพะนั้น ก็ไม่ใช่เป็นการเท่าทันตนเอง และไม่เท่าทันใน identity หรืออัตลักษณ์ของคนอื่นด้วย

ตัวตน ของเรานั้น ไม่ใช่สิ่งที่เราจะกลบเกลือนได้ หรือทำเป็นลืม ในทางพุทธนั้น สิ่งที่ประกอบเป็นเรานั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมี กรรม มี วิบาก เป็นตัวประกอบ ผลักดัน และตามมาทันเมื่อวาระสุกงอมในที่สุดอยู่ดี การปฏิเสธตัวตนที่แท้จริง ก็เหมือนกับการพยายามหนีจากกรรม จากวิบากนั้นเอง

การเรียนรู้และการหล่อหลอมที่จะ ไร้ตะเข็บ นั้น แสดงว่าไม่มีรอยต่อระหว่างอัตลักษณ์กับสิ่งที่จะเพิ่มเข้ามา ก่อนที่เราจะบอกว่า ไร้ตะเข็บ เราคงจะต้องพิจารณาด้วยใจที่เป็นกลาง ใคร่ครวญว่าเป็นไร้ตะเข็บ หรือมีตะเข็บแต่เรามองไม่เห็น หรือจงใจไม่มองมากกว่า? อัตลักษณ์เป็นของของเราก็จะรอเวลาที่จะแสดงออกมา ตอนที่เราหมดซึ่งพลังที่จะกด จะเก็บตัวตน เช่น ตอนกำลังใกล้จะเสียชีวิต สิ่งที่เราอยากจะลืมว่าเป็น อยากจะลืมว่าเคยทำ อยากจะลืมว่าเราไม่ใช่ นั้น จะย้อนออกมา พรั่งพรูออกมา

 

อ่านแล้วได้แง่คิดมากมาย อย่างน้อยสิ่งที่เราต้องรู้จักคืนตนเอง ขอบคุณมากค่ะที่นำเรื่องดี ๆ มาเล่าให้ฟัง

"โลกแห่งการแข่งขัน ทำให้ผู้แข็งแรงกว่า ใช้วาทกรรมสนับสนุนเหตุผลแห่งการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นเสมอ....."

รู้สึกคุ้นมากว่าเคยอ่านเจอจากที่ไหนสักแห่ง จำที่มาไม่ได้ แต่ที่คุ้นมากเพราะเคยใช้ .... เขียนบันทึก.... อุทิศให้ "ชีวิต" ตลอด 4 ปี ที่เรียนปริญญาตรี...ใบแรก

นิทานของอาจารย์ขาดเรื่องเล่าที่เป็นบริบทการเลี้ยงดูนะคะ

คำบอกเล่าที่ว่า ฝูงแพะได้ "รับลูกเสืออยู่ในฝูง" ไม่สามารถ assume บริบทพัฒนาการหรือการเจริญเติบโตใดๆ ได้เลยนอกจากตอนจบที่ว่า

"ในที่สุดเสือทั้งสองตัวก็คืนเข้าสู่ป่าลึกไปด้วยกัน"

ซึ่งสะท้อนการ "เลือก" ของเสือหนุ่ม โดย cognitive process ที่เราก็รู้ว่ามันมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยว และอธิบายได้ด้วย social learning theory ของ Albert Bandura

ขาดอะไรไปช่วยโปรดกรุณาสั่งสอนด้วยครับ

My pleasure, with perspective on “Doctrine of original sin”. ว่าด้วยนิเวศวิทยาของสังคมสิ่งมีชีวิตแล้ว เสือกับแพะมีความสัมพันธ์ในลักษณะของการล่า (predation) คือฝ่าย predator ได้ประโยชน์และ prey เสียประโยชน์ ซึ่งมีระดับความรุนแรงที่สุดคือ เสียชีวิตในกรณีที่มีการล่า   ในสภาพธรรมชาติเสือ หรือ carnivores จะมีความสำคัญในฐานะการของการเป็นผู้บริโภคลำดับสุดท้ายของวัฏจักรการถ่ายทอดพลังงาน  ในขณะที่แพะหรือ herbivores จะเป็นผู้บริโภคในลำดับถัดลงมา  ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบในระบบนิเวศนี้เกี่ยวโยงถึงกันด้วยการถ่ายทอดพลังงานและหมุนเวียนแร่ธาตุผ่านห่วงโซ่อาหาร ในทุกๆขั้นตอนของการถ่ายทอดพลังงานซึ่งเป็นไปตาม the law of  conservation of energy และ the entropy law (กฎข้อที่ 1และ2 ของ Thermodynamic)  และการหมุนเวียนแร่ธาตุสารอาหารจะเกิดเป็นวัฏจักร โดยผู้ผลิตเป็นผู้เริ่มนำแร่ธาตุสารอาหารเข้ามาใช้ในระบบเพื่อสร้างเนื้อ เยื่อและหมุนเวียนผ่านห่วงโซ่อาหารไปยังผู้บริโภคในระดับต่างๆ ในที่สุด   Oh!! Poor boy ไม่น่าสงสัยเลยสักนิดถ้าเสือจะตะกรุมตะกรามกินแพะทั้งฝูงทันทีที่รู้ว่า สามารถ กินได้

น่าอิจฉา extern สมัยนี้นะครับ มีเวลาเล่น internet ด้วย

ผมคิดว่านั่นอาจจะไม่ใช่วิธี approach เรื่องอุปมาอุปมัย แบบที่ผมตั้งใจ เพราะเรื่องนี้เป็นทาง psycho-philosophy มากกว่า sciences ผมคิดว่า (และได้แนะนำ) หมอ ลองเปิด blog ของตัวเองและถ่ายทอดความเป็นตัวตนของหมอเอง จะน่าสนใจมากครับ และผมสนับสนุนนโยบาย gotoknow ที่จะ encourage การใช้ identity จริงบน blog ด้วย เราไม่ได้อยู่บน messge board

มาลงชื่ออ่านก่อนค่ะ ขอไปย่อยความคิดแล้วจะมาใหม่ค่ะ

 

ปกติเสือหรือสัตว์ทั่วๆไปกินเท่าที่พอมีชีวิตอยู่ครับ มนุษย์ต่างหากที่บางคนทำอะไรเพียงเพราะ "ทำได้" ดังนั้นเราไม่ควรจะ "คิดแทน" กันไงครับ

อาจารย์ Phoenix ที่รัก

ถ้าคำว่า philosophy ด้วยตัวของมันเองแปลว่า ผู้ที่รักในปัญญา (Philos: lover, sophia:wisdom)  และ the word "scince" simply meant "knowledge" แล้ว ก็ไม่เห็นว่า เราจะปฏิเสธว่า "มันไม่ได้มีความ -เกี่ยวเนื่อง- กันอย่างสิ้นเชิง" ไปเพื่ออะไร ในเมื่อที่สุดของความ "รู้" ที่เราต่างแสวงหาล้วนเพื่อปลดปล่อย "ชีวิต" ให้เป็นอิสระ จากความไม่รู้ ทั้งสิ้น จะด้วย natural philosophy what is now called natural science, especially Physics หรือ philosophy แขนงอื่นๆ even modern sciences  ต่างก็แตกยอดออกมาจาก ต้น "สัจจธรรม"  ด้วยกัน ก่อนที่ modern sciences จะถูกพัฒนาขึ้นด้วยการจัดระเบียบวิธิการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ปราชญ์ในอดีต ต่างแสวงหา วิธีการเพื่ออธิบาย "ธรรมชาติ"  ดังนี้แล้วไม่ว่าจะ approach ด้วย ศาสตร์แขนงใดที่สุดก็จะนำเราไปสู่ปลายทางเดียวกัน คือ ...ความเป็นจริงของธรรมชาติ...ที่พุทธปรัชญาเรียกว่า "สัจจธรรม

  ถึงแม้ว่าผู้ที่มีความรู้อาจไม่ได้เป็นผู้ที่มีปัญญา แต่ ผู้ที่มีปัญญาจะตื่นรู้โดยปราศจากความรู้ เป็นไปได้อย่างไร

Extern สมัยนี้ก็ไม่ได้มีเวลาว่างมากนักหรอกค่ะ ขนาดเดินเข้าไปในห้องเย็นๆ ที่อยู่ดีไฟก็ดับไปเฉยๆ ยังไม่รู้สึกรู้สาอะไร นี่ก็สติเกือบจะหลุดเต็มที  ตั้งใจอยู่ว่าจะเจียดเวลาที่ควรจะพักผ่อนให้เพียงพอ มาเล่าเรื่องความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์ หรือ วิชาหมอๆ กับสังคมศาสตร์ ใน blog เปิดใหม่ ให้ น้องเบิร์ด อ่านก็ไม่รู้จะได้สักกี่เรื่อง

 

ผมคิดว่า "ความรู้" กับ "ปัญญา" นั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิงครับ

ความรู้เป็น object แต่ปัญญานั้นเป็นของคน เป็น value ใครที่คิดว่ามีความรู้แล้วได้เกิดปัญญาเรียบร้อยแล้วนั้น ก็จะ "หยุด" ก่อนที่ควรจะหยุด

เราไม่ได้เรียนเพื่อ cleverness หรือเพื่อ "รู้" หรือ cognitive-oriented เฉยๆ แต่เพื่อ wisdom เพือ "ปัญญา" และ awakening ของที่ "แตกย่อยออกมา" นั้น เป็นแค่หนทางที่จะเดิน ไม่ใช่เป้าหมายแต่อย่างใด การที่เรา "อ่าน" แล้วก็ quote นั้นอาจจะทำให้เราเข้าใจผิดว่าเราเข้าใจแล้วได้โดยง่าย

ที่ผมแนะนำให้เปิด blog ใหม่ เพราะว่า หมอมีแนวโน้มเขียนห่างออกจาก topic ตลอดเวลา เป็นการเขียน style message board ทำให้คนอ่าน blog จะสับสนได้ ถ้าเนื้อความมัน random ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับต้นเรื่อง

Blog นั้นไม่เชิง full public แบบกระดานข่าวครับ เพราะเสมือนเป็น "ชานเรือน" ของเจ้าของ blog ดังนั้นเขาถึงให้สิทธิ์ในการลบเป็นของเจ้าของ blog ทุกคน โดย ettiquette ของคนมาเยี่ยม จึงไม่ควรถือวิสาสะเปลี่ยนประเด็นตามใจชอบ ยกเว้นเป็นคนที่ได้มี "วิสาสะ" มาก่อนจริงๆ ผมเห็นหมอมีความสามารถในการนำเสนอเรื่องราวของตนเอง จึงแนะนำด้วยกัลยาณมิตรให้ จะรับหรือไม่รับก็แล้วแต่จริตก็แล้วกันครับ

การ ปลดสลักกลอน ออกจากล็อคเดิมของเรา อาจจะทำให้เราเป็นคนที่เต็มศักยภาพยิ่งขึ้น

กรอบเดิมที่เราเติบโตมา และในภายหลังที่เราหลุดจากกรอบนั้นมาแล้วก็ตาม แต่ตราบใดที่กรอบในใจยังไม่ได้ถูกปลดไปด้วย กรอบนี้ก็จะคงอยู่ operating sefl ยังใช้เทปม้วนเก่าในการคิด ในการกระทำ ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆเหมือนเดิม

มีคำกล่าวเปรียบเทียบไว้ว่า "แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน" หมายถึงคนที่ไมได้เรียนรู้อะไรจากประสบการณ์เลย แสดงถึงความถาวรของกรอบที่ได้อบรมเลี้ยงด฿มาตั้งแต่สมัยก่อน และคงอยู่เป็นเงาอยู่เบื้องหลังตลอดไป ซึ่งเป็นเรื่องที่น่สเสียดาย เพราะประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคน มีความ unique สูงมาก และน่าจะนำมาใช้ต่อยอดออกไปเรื่อยๆ จึงจะเป็นปะโยชน์สูงสุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท