ขังกายแต่ไม่ขังใจ


ขังกายแต่ไม่ขังใจกับแนวคิดวิถีพุทธ

                                                 

.

การมองโลกแบบไม่ขาวก็ดำหมายความว่า จะมีการคิดแบ่งเป็น  สองขั้ว เช่น ถ้าไม่แพ้ก็ชนะ ไม่ดีก็ชั่ว ไม่สำเร็จก็ล้มเหลว ซึ่งเป็นการมองโลกแบบเด็กๆ ที่มีแต่ความถูกกับความผิด ความดีกับความชั่ว พระเอกกับผู้ร้าย ซึ่งในชีวิตจริงๆ แล้วไม่ง่ายเช่นนั้นเพราะคนทุกคน มีทั้งความดีและความชั่วปะปนกันอยู่ในตนเอง เราคงจะหาคนดีบริสุทธิ์ หรือเลวบริสุทธิ์ได้ยากโปรดอย่าลงโทษตัวเองและคนที่เรารู้จักหรือที่เรารัก โดยการมองโลกแบบสองขั้ว เพราะมันเป็นการสร้างเงื่อนไขแห่งความผิดหวังให้แก่ตัวคุณเอง


               ที่มา:ส่วนหนึ่งของงานเขียนของ นวลศิริ เปาโรหิตย์

  • ศีลธรรม คือ สิ่งที่ทรงตัว อยู่โดยปรกติ ที่เป็นตามธรรมชาติ เป็นปกติจิตที่อยู่อย่างปราศจากโทษ ที่มุ่งหมายความสงบในทุกระดับของความหมาย       
  • คุณธรรม คือ สภาวะแห่งคุณงามความดีทางความพฤติและจิตใจ  เป็นวิจารณญาณและสามัญสำนึกของบุคคล ในตัดสินใจกระทำ "ธรรม"ที่เกิดคุณ    
  • จริยธรรม คือ ธรรมที่พึงประพฤติปฏิบัติตน เพื่อการบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่าพึงประสงค์ และเป็นที่ยอมรับของสังคม
  • กฏหมาย คือ ข้อกำหนดของคนส่วนใหญ่ในสังคม เป็นสิ่งที่เขียนขึ้น กำหนดขึ้น ให้คนในสังคมปฏิบัติตามเพื่อให้สังคมนั้นๆ อยู่ได้ด้วยความสงบเรียบร้อย เป็นปกติสุข ใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาความผิด-ถูก ดี-ขั่ว ความชอบธรรม-ไม่ชอบธรรม ในการพิจารณาพฤติกรรมที่บุคคลได้กระทำลงไป

   ทั้งหมดเป็น"นามธรรม" ที่ดีหรือชั่วก็เป็นสิ่งสมมุติ เป็นสมมุติบัญญัติ ที่สมมุติกันเพื่อให้คนแยกว่าสิ่งไหนควรกระทำหรือไม่กระทำ หากขอบของความชั่วยกระดับขึ้น ซึ่งผกผันกับจิตใจคน จนคนส่วนใหญ่เริ่มแยกไม่ออกว่าควรกระทำหรือไม่กระทำหรืออาจจะกระทำด้วยเหตุผลเพียงว่า ใครๆเขาก็ทำกัน เมื่อนั้นแหละสังคมจะถึงขั้นวิกฤติ 

 

   ดังนั้นหน้าที่ของพวกเราก็คือ พยายามยับยั้งไม่ให้ขอบของความชั่วยกระดับสูงขึ้นด้วยการหมุนกงจักรแห่งความจริงของธรรมชาติ โดยไม่แบ่งแยกดีชั่ว แบ่งแยกเชื้อชาติหรือศาสนา และต้องไม่คิดว่าคนที่กระทำความผิดทุกคนเป็นคนชั่ว แม้กระทั่งคนที่ต้องคุกติดตาราง เพราะพวกเขาเหล่านั้น เพียงได้แต่หลงผิดเพราะไม่เห็นความจริงตามธรรมชาติ

    หากพวกเราสามารถทำให้พวกเขาเหล่านี้ มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อความจริงของธรรมชาติแล้ว พวกเขาเหล่านี้จะกลายเป็นขุมพลังที่ยิ่งใหญ่ของคนดี ซึ่งจะมีพลังแห่งความดี ที่มีมากกว่าคนดีที่ไม่เคยกระทำผิดอย่างประมาณไม่ได้

  
ในทางตรงกันข้ามกันหากสังคมส่วนใหญ่ไม่ได้ช่วยทำให้ทัศนะคติของบุคคลเหล่านี้เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น พวกเขาก็จะหลงผิดอย่างสุดโต่ง และเป็นอันตรายอย่างยิ่ง  เช่นโจรผู้ร้ายที่กระทำความผิดจนต้องเข้าคุกเข้าตะรางแบบซ้ำซาก และทุกครั้งที่ออกมาใหม่ก็จะก่อความผิดร้ายแรงกว่าเดิมอีกด้วย  

วิวัฒนาการของการสังหารผู้ต้องโทษ ขั้นสูงสุดอาจไม่ใช่การประหารโดยนักโทษไม่เจ็บปวด แต่เป็นการสังหารมาร สังหารความไม่รู้ในจิตใจของเขาเหล่านั้นต่างหาก ประเทศที่สามารถทำแบบนี้ได้จึงควรถือว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่าไปพัฒนาแบบลงแหวตามฝรั่งเขาเลย 

จากปัญหาดังกล่าว จึงเป็นที่มาของแนวความคิดโครงการ "เรือนจำเรือนธรรม" และ "ราชทัณฑ์ ราชธรรม"  

โครงการนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา และแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง มีทัศนคติที่ดีในหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา มีทักษะ ประสบการณ์ และแนวการปฏิบัติธรรม ตามหลักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อการดำเนินชีวิตให้เป็นสุข เป็นประชาชนที่ดีของสังคมและประเทศชาติ เป้าหมายคือเจ้าหน้าที่ ๑๑,๐๐๐ คน และผู้ต้องขัง ๑๖๐,๐๐๐ คน ทั้งในส่วนกลาง เรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศ

 

   หากเรานำแนวความคิดโรงเรียนวิถีพุทธ มาประยุกต์ใช้กับ งานราชทัณฑ์ โดยจัดให้ผู้ต้องขังได้มีโอกาสทำวัตรเช้าเย็น และนั่งสมาธิในระยะเวลาสั้นๆโดยปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวันแล้ว แม้กายของพวกเขาจะต้องถูกกักขัง แต่ใจจะไม่โดนกักขังไปด้วยแน่นอน

    การให้เครื่องมือป้องกันความหลงผิดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือ การให้ธรรมมะที่แปลว่าการให้ สภาวะความจริงตามธรรมชาติซึ่งจะทำให้ "ผู้หลงผิด" สามารถกลับตัวกลับใจ มาเป็นคนดีของสังคมได้อย่างแท้จริง 

   ผิดกับพวกเราที่กายไม่ได้โดนกักขัง แต่เรากลับขังกิเลสไว้ในใจอย่างมากมาย รอวันที่"กิเลส"จะแหกกรงขังออกมาทำร้าย "กาย"ทำร้าย "ใจ" ของผู้อื่นและตัวเราเอง

    แนวความคิดโรงเรียนวิถีพุทธนี้ หากนำไปต่อยอดความคิด เราก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ โรงเรียนนายร้อยตำรวจและโรงเรียนเตรียมทหารได้ ซึ่งอนาคตของพวกเขาเหล่านี้จะต้องกลายเป็นผู้นำที่ดีของบ้านเมืองเราอย่างแน่นอน

   ข้าพเจ้าขอสัญญาว่า ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ จะผลักดันแนวความคิดวิถีพุทธนี้ให้สำเร็จให้จงได้ แม้จะเป็นได้เพียงแรงผลักดันแรงเล็กๆก็ตาม    

 

โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน  บางท่านอาจสงสัยเรื่องความหมายของคำต่างๆเช่นคำว่า คุณธรรม ศีลธรรมและจริยธรรม  หากอยากจะรู้ "สมมุติับัญญัติ"ของคำศัพท์ที่แท้จริง ให้เปิดตำราของผู้รู้อ่านนะคับ

 

ธัมมิกสังคมนิยมของพุทธทาสภิกขุ 

หมายเลขบันทึก: 94416เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2007 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ที่คุมขัง...ที่ทุกข์ทรมาณมาก...สำหรับมนุษย์ก็คือ...

"ในใจ"...อันมืดมัวและหมองหม่นแห่งสืบผลมาจากการกระทำ...

เรามักนำเอาตัวเราเข้าไปสู่ที่คุมขังนี้อย่างไม่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา...

......

เราพาเราเข้าไปสู่ที่แห่งนี้ทุกวินาทีแต่เราไม่รู้ตัว...แต่กลับพยายามไปวิ่งจับเอาความชั่วของคนอื่น...มาคุมขังแทน...

ขอบคุณมากนะคะสำหรับ...บันทึกเรื่องนี้

(^____^)

กะปุ๋ม

ผมยิ้มกว้างกว่า........... แข่งกันยิ้ม

ตอนนี้ก็ได้แต่คิดครับ ยังไม่มีปัญญาที่จะลงมือทำ....... เฮ้อ

สวัสดีคะ

ตามมาอ่าน และทำความรู้จัก คะ

อ่านแล้วถูกใจมากเลย สร้างสรรค์ชะมัด

โครงการ "เรือนจำเรือนธรรม" และ "ราชทัณฑ์ ราชธรรม"

"วิวัฒนาการของการสังหารผู้ต้องโทษ ขั้นสูงสุดอาจไม่ใช่การประหารโดยนักโทษไม่เจ็บปวด แต่เป็นการสังหารมาร สังหารความไม่รู้ในจิตใจของเขาเหล่านั้นต่างหาก "

คมมากๆ !

แม้แต่คนนอกเรือนจำอย่างเราๆก็เหอะ

บางที ใจ โดนกักขัง

หากใจโดนกักขังด้วยกิเลสก็ไม่ต่างอะไร เหมือนถูกจองจำ

สวัสดีครับคุณผึ้ง

ทุกคนสามารถคิดสร้างสรรค์เช่นนี้ได้ครับ

ยิ้มและเปิดใจเป็นผู้ให้

'(^-------------------^)'

มีตัวอย่างของสถานพินิจ ที่"ขังกายแต่ไม่ขังใจ"และน่าสนใจมากก็คือ

"บ้านกาญจนาภิเษก" ที่เริ่มต้นจากครูผู้หญิงท่านหนึ่งที่ต้องการดูแลและเยียวยาเด็กๆด้วยใจ

สาธุ

ขอสมัครเป็นเพื่อนทางlink ด้วยคะ

จะตามอ่านไปเรื่อยๆนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท