"พาราดาม" วิถีคิดแห่งการวิจัย


โล่งใจจากการสอบปกป้องโครงร่างวิทยานิพนธ์(Defend Proposal) ผ่านมาได้อย่างเข้มข้น หลายคนมักจะหวาดกลัวกับการ defend proposal แต่ความจริงแล้วเป็นวิถีแห่งการพัฒนาความคิดของผู้วิจัยให้ชัดเจน ลุ่มลึกและสามารถอธิบายสิ่งที่ตนเองกำลังกระทำอยู่ได้ การ มีคำแนะนำของท่านอาจารย์ว่าเราต้องมี พาราดาม เกี่ยวกับเรื่องที่เราสนใจจะศึกษา ตอนฟังก็สงสัยว่าพาราดามคืออะไรก็เดาเอาว่าคงเกี่ยวกับแนวคิด จึงได้ลองค้นหาความรู้เพิ่มเติม เห็นว่าน่าสนใจจึงได้รวบรวมเรียบเรียงองค์ความรู้มาเผยแพร่ และอยากให้ช่วยกันวิพากย์วิจารณ์ตามประสบการณ์และพาราดามของแต่ละคน
โล่งใจจากการสอบปกป้องโครงร่างวิทยานิพนธ์(Defend Proposal) ผ่านมาได้อย่างเข้มข้น  หลายคนมักจะหวาดกลัวกับการ defend proposal แต่ความจริงแล้วเป็นวิถีแห่งการพัฒนาความคิดของผู้วิจัยให้ชัดเจน  ลุ่มลึกและสามารถอธิบายสิ่งที่ตนเองกำลังกระทำอยู่ได้  การ  มีคำแนะนำของท่านอาจารย์ว่าเราต้องมี  พาราดาม  เกี่ยวกับเรื่องที่เราสนใจจะศึกษา  ตอนฟังก็สงสัยว่าพาราดามคืออะไรก็เดาเอาว่าคงเกี่ยวกับแนวคิด  จึงได้ลองค้นหาความรู้เพิ่มเติม  เห็นว่าน่าสนใจจึงได้รวบรวมเรียบเรียงองค์ความรู้มาเผยแพร่  และอยากให้ช่วยกันวิพากย์วิจารณ์ตามประสบการณ์และพาราดามของแต่ละคนพาราดาม หรือกระบวนทัศน์ หรือบางครั้งเราเรียกว่ากรอบความคิด มาจากคำว่า Paradigm ซึ่งมาจากภาษากรีก โดย para แปลว่า beside ส่วน digm แปลว่า ทฤษฎี คือ ชุดแนวความคิด หรือมโนทัศน์ (Concepts) ค่านิยม (Values) ความเข้าใจรับรู้ (Perceptions) และการปฏิบัติ (Practice)  ความหมายโดยกว้างๆ ของกระบวนทัศน์(Paradigm)  คือ  กรอบความคิดหรือแนวทางทั่วไปที่ใช้ในการมองโลก  เป็นกระบวนคิดวิเคราะห์ วิธีคิด วิธีปฏิบัติ แนวการดำเนินชีวิต มาทบทวนใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับยุค และสถานการณ์ ที่กำลังเกิดขึ้น และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ความเชื่อพื้นฐานที่มีในจิตใจของมนุษย์ทุกคน  แตกต่างกันตามเพศ  ตามวัย  ตามสิ่งแวดล้อม  ตามการศึกษาอบรมและตามการตัดสินใจเลือกของแต่ละบุคคล  ความเชื่อพื้นฐานนี้แหละเป็นตัวกำหนด  ให้แต่ละคนชอบอะไรและไม่ชอบอะไร  พอใจแค่ไหนและอย่างไร  เป็นตัวนำร่องการตัดสินใจ  ด้วยความเข้าใจและเหตุผลในตัวบุคคลคนเดียวกัน  อาจจะเปลี่ยนแปลงได้  หากรู้สึกว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะเปลี่ยนแต่จะไม่เปลี่ยนด้วยอารมณ์ ก่อนเปลี่ยนจะต้องมีความเข้าใจ กระบวนทัศน์เก่าที่มีอยู่และ กระบวนทัศน์ที่จะรับเข้ามาแทน มีการชั่งใจจนเป็นที่พอใจ มิฉะนั้นจะไม่ยอมเปลี่ยน เพราะอย่างไรเสียตราบใดที่มีสภาพเป็น คนเต็มเปี่ยมจะต้อง มีกระบวนทัศน์ใด กระบวนทัศน์หนึ่งเป็น ตัวตัดสินใจเลือกว่า จะเอาหรือจะปฏิเสธ ไม่มีไม่ได้ ถ้าไม่มีจะไม่รู้จักเลือกและตัดสินใจไม่เป็นกระบวนทัศน์(Paradigm) อาจหมายถึง  แบบแผน (Pattern) หรือตัวอย่าง (Example) หรือ ตัวแบบ (Model) หรือกรอบความคิดซึ่งเป็นที่คุ้นเคยโดยคนส่วนใหญ่ในชุมชน สำหรับใช้อธิบายหรือใช้มองปัญหาทั่วไป มีผู้กล่าวว่า กรอบความคิด มีอิทธิพลต่อมนุษย์มาก เพราะกรอบความคิดจะสร้างเลนซ์ที่ครอบงำตาของมนุษย์สำหรับใช้มองโลกภายนอกการเห็น โลกภายนอกลักษณะอย่างไรจึงขึ้นอยู่กับกรอบความคิดของผู้นั้นที่มีอยู่อย่างเคยชิน ฉะนั้นบางเรื่องมีปัญหาแต่เรากลับมองไม่เห็นปัญหา ทั้งนี้เพราะความเคยชิน ถึงกลับเคยมีผู้กล่าวว่า วิธีการมองปัญหาของเรานั่นแหละ บางครั้ง คือ ปัญหา” (The way we see The problem is problem ) ฉะนั้นหากเราสามารถเปลี่ยนกรอบความคิดได้ จะทำให้เราสามารถมองสิ่งต่าง ๆ ในมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิม ดังนั้น การเคลื่อนย้ายกรอบความคิดจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ทรงพลัง เพราะกรอบความคิดของเราจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม และทัศนคติของเรา รวมทั้งวิธีการที่เราแสดงออกต่อคนอื่นกระบวนทัศน์(Paradigm) เป็นวิธีการหรือมุมมองต่อปรากฏการณ ์ที่แสดงความสัมพันธ์ ซึ่งนำไปสู่การวิจัยและการปฏิบัติ ช่วยให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ ประเด็นปัญหา แนวทางแก้ไข และเกณฑ์ ในการพิสูจน์ข้อสันนิษฐาน paradigm ประกอบด้วยทฤษฎีและวิธีการกระบวนทัศน์ไม่ใช่สมรรถนะตัดสินใจ สมรรถนะตัดสินใจ(faculty of decision) คือ เจตจำนง(The will) กระบวนทัศน์เป็นสมรรถนะเข้าใจ(understanding) และเชิญชวนให้เจตจำนงตัดสินใจ
กระบวนทัศน์แม้จะมีมากมาย กล่าวได้ว่าไม่มีคน 2 คนที่มีกระบวนทัศน์เหมือนกันราวกับแกะ
กระบวนทัศน์การวิจัย (Research Paradigm) เป็นกระบวนการทางความคิดและปฏิบัติการเกี่ยวกับการวิจัยที่มีการเชื่อมโยงระหว่างโลกทัศน์ (worldview) และมโนทัศน์ (concept) ต่อความเป็นจริง หรือปรากฏการณ์ในโลกอันเป็นพื้นฐาน ในการสร้างและทำความเข้าใจรับรู้ (perception) ต่อความเป็นจริง หรือปรากฏการณ์นั้นๆ เพื่อพัฒนาไปสู่การสร้างแนวปฏิบัติ (practice) รวมทั้งหาวิธีการจัดการ (management) ร่วมกัน โดยมีเป้าหมาย ในการสร้างแบบแผน (pattern) แบบจำลอง (model) รวมทั้ง ค่านิยม (value) ที่เป็นพื้นฐาน การจัดการตนเอง ของชุมชนหนึ่งๆในปัจจุบัน ด้วยวิกฤตในแทบทุกๆ ด้าน กลายเป็นวิกฤตการณ์ที่มีคุณค่าและความหมายในแง่ของการสื่อให้มนุษย์เริ่มรู้ตัว มนุษย์แทบทุกคนต่างรู้แล้วว่าเราต้องเปลี่ยนแปลง ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดที่เป็นรากฐานของระบบทุกระบบของสังคม จึงต้องเปลี่ยนแปลงใหม่ไปด้วยกัน ทั้งกรุเพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนทัศน์ใหม่ของสังคมด้วยเช่นกันกระบวนทัศน์ของคนที่มีอาชีพต่างๆ กัน ก็มีกระบวนการต่างกันไป  ในการประพฤติปฏิบัติและประสบความสำเร็จ มีความแตกต่างบางประการระหว่างกระบวนทัศน์วิทยาศาสตร์และกระบวนทัศน์อื่นๆ คือ กระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ถ้าเราทำการทดลองสำเร็จเรื่องใดก็ตาม เมื่อคนอื่นทำตามด้วยเครื่องมือแบบเดียวกันและขั้นตอนเหมือนกันจะประสบความสำเร็จเหมือนกัน แต่กระบวนทัศน์อื่นๆ เช่น ด้านการศึกษา  จะแตกต่างกันที่เราใช้วิธีการสอนกับนักเรียนกลุ่มหนึ่งได้ดี  แต่อาจจะไม่เหมาะกับนักเรียนอีกกลุ่มหนึ่งก็ได้ 
หมายเลขบันทึก: 75333เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2007 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ตกลงน้องเก่ง สอบผ่านไปแล้วนะครับ ตอนนี้น้องที่ ส่งเสริม ก็กำลังเครียดครับ

ผมมองว่ามีจุดอ่อนอยู่หลายๆประการ ตามที่ผมเคยเขียนในบันทึกครับ

เมื่อวานพาน้องๆปริญญาโท ไปที่ลำพูน เพื่อไปศึกษาสถานการณ์ของพื้นที่และนำมาพัฒนาเป็นหัวข้อ

มี นศ.สองกลุ่ม คือ กลุ่มปกติ และ ไม่ปกติ(ภาคพิเศษ)

ภาคพิเศษไม่น่าห่วงเพราะมีประสบการณ์ค่อนข้างมาก แต่ภาคปกติ ส่วนใหญ่เป็นเด็กจบใหม่และเรียนต่อปริญญาโทเลย หากเป็นงานที่ต้องทำงานกับชุมชน เป็นกระบวนการ ยังต้องหาประสบการณ์อีกเยอะ ...ต่อไม่ค่อยติดครับ

ว่างๆคงต้องเชิญน้องปริวัตรมาทานข้าวกับน้อง ภาคส่งเสริมฯ และนั่งคุยกันครับ

สอบผ่านในที่ประชุมใหญ่แล้วครับ  ตอนนี้ก็แก้ไขโครงร่างให้อาจารย์ที่ปรึกษาพิจารณา  ได้ อ.บุบผาเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาครับ  มุมมองของอาจารย์เป็นแนวเชิงคุณภาพจึงเน้นถึงการให้ความหมายของสิ่งที่เราทำเราต้องตอบหรืออธิบายให้ได้ว่าอะไรคือประเด็นของงานวิจัยที่เราทำ  ผมปราถนาว่างานวิจัยของผมจะมีประโยชน์ต่อการศึกษามากกว่าที่จะแค่สำเร็จการศึกษา 

ผมคิดว่าเด็กๆที่จบใหม่(สาขาส่งเสริมฯ) มีอุดมการณ์แรงกล้าอยู่หากได้ชี้แนะอย่างถูกจุดแล้วน่าจะทำให้เขาได้ทำในสิ่งที่เกิดประโยชน์และมีคุณค่านะครับ

อย่างที่พี่ว่าสมัยมีเราควรจะเชื่อมโยงความคิดกันให้มากขึ้นศาสตร์ด้านเดียวกันแต่ต่างแขนงหากได้บูรณาการในระดับล่างแล้วผมว่าจะช่วยส่งเสริมความคิดและต่อกันติดนะครับ...หากมีโอกาสจะไปเยี่ยมสาขาส่งเสริมฯ นะครับ

ดีครับอ่านแล้วเข้าใจขึ้นเยอะเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท