30 บาทรักษาทุกโรค ยาขมของโรงพยาบาล


นี่แค่เป็น 1 ใน …. ปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้น ยังมีปัญหาอีกร้อยแปดพันเก้า ซึ่งมีผลกระทบกับทุกฝ่าย

30 บาทรักษาทุกโรค ดูจะเป็นโครงการที่คนไทยผู้ใช้บริการติดอกติดใจมากที่สุดของรัฐบาลก่อน แต่ดูเหมือนจะเป็นยาขมสำหรับผู้ให้บริการ  ผลกระทบจากโครงการนี้ โดยเฉพาะกับโรงเรียนแพทย์ อย่าง มอ. เรา ก็เป็นประเด็นที่ทำให้ได้ต้องพูดคุยกันอยู่เสมอๆ ในการประชุม

เมื่อวานก็การพาดพิงเรื่องนี้เล็กๆ ในการประชุมกรรมการชุดหนึ่ง

อาจารย์ท่านหนึ่ง บอกว่า ตอนนี้ มอ.ตั้งรับอย่างเดียว  คนไข้ไหลเข้ามาเยอะมาก  (เห็นด้วยค่ะ เห็นคนไข้และญาติที่ OPD แต่ละวันโดยเฉพาะวันจันทร์ มหาศาลจริงๆ  ทำเอาห้องแล็บพยาธิเองก็ต้องทำงานตัวเป็นเกลียวดังที่คุณโอ๋เล่า (หรือบ่นนะ?) ให้ฟังบ่อยๆ)

อาจารย์ท่านนั้น บอกต่อว่า ตอนนี้สัดส่วนคนไข้ refer เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะโรคมะเร็ง จากเดิมประมาณ 60% เป็น 80-90%

และ ที่จริงคนไข้จำนวนไม่น้อย สามารถให้การดูแลได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เช่นผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย ที่ต้องการการรักษาแบบประคับประคอง  ไม่ต้องการการผ่าตัดใหญ่ หรือ ยาเคมีบำบัดแพงๆ แล้ว ผู้ป่วยน่าจะได้รักการดูแลใกล้บ้าน ไม่ต้องหอบอีรุงตุงนัง ทั้งคนไข้และญาติ    มอ.น่าจะช่วยสร้างเสริมศักยภาพเหล่านี้ให้โรงพยาบาลในภาคใต้ และ ทำให้เขาเป็นเครือข่าย ช่วยกันดูแลคนไข้ที่สมควรได้รับการรักษาใกล้บ้าน

แต่ผู้บริหารประธานในที่ประชุมท่านก็บอกว่า เรื่องการสร้างเครือข่ายเป็นเรื่องยาก  ได้พยาบามแล้วระดับหนึ่ง ได้จัดอบรมให้ผู้ปฏิบัติงานในรพ.อื่นๆ สามารถดูแลในบางโรคไปบ้างแล้ว  แต่ เขาก็ยังส่งมา เพราะมีสาเหตุหลายอย่างเช่น  ผู้บริหารบอกให้ส่งต่อ  เพราะในโรคซับซ้อน โรงพยาบาลมักขาดทุก (ได้เงินจากรัฐมากกว่าที่จ่าย) รักษาไปก็เข้าตัว ส่งต่อดีกว่า   

คำตอบทำเอาบรรยากาศในที่ประชุมตึงเครียดไปเลยค่ะ 

นี่แค่เป็น 1 ใน …. ปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้น  ยังมีปัญหาอีกร้อยแปดพันเก้า ซึ่งมีผลกระทบกับทุกฝ่าย

ไม่แน่ใจว่า เขียนบันทึกนี้เพื่ออะไร  แต่ได้ยินเรื่องทำนองนี้บ่อยๆ ไม่รู้จะช่วยอะไรได้

แล้วก็ไม่รู้จะฝากเรื่องนี้กับใครดี    อ้อ..นึกออกแล้ว ฝากอาจารย์หมอเต็มศักดิ์ หรือ อาจารย์หมอสมบูรณ์ ช่วยคิดและทำต่อแล้วกันนะคะ

หมายเลขบันทึก: 76069เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2007 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

กราบเรียน อาจารย์ หมอปารมี

 พอจำความได้ ตอนที่ท่านรองปิยะ เป็น คณบดีที่ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ความคิดเรื่อง ๓๐ บาท เป็นอย่างหนึ่ง ตอนนี้ท่านเป็น รอง สปสช ท่านคิดนอกกรอบอีกแนวหนึ่ง

 รร.แพทย์ หลายแห่งต้อง คิดนอกกรอบ อย่างที่ท่านอาจารย์ ปารมี เสนอครับ

 ต้องออกไปเน้น ส่งเสริม ฟื้นฟู ป้องกัน จึงขจัดโรคร้ายที่จะไหลมาเทมาสู่โรงพยาบาลได้ครับ

เพิ่งทราบว่า อ.หมอสกล สิงหะ  หัวหน้าหน่วย palliative care  สมัครเข้า gotoknow  ขอฝากเรื่องนี้ให้ อ.สกล อีกคนแล้วกันค่ะ

การประกันมาตรฐานเบื้องต้นในการได้รับการดูแลสุขภาพเป็นเรื่องจำเป็นยิ่งยวดที่สุด โดยหลักการแล้วไม่เป็นที่น่าสงสัยว่าควรหรือไม่ควรมี ปัญหา (ทั่วโลก) ในเรื่องนี้อยู่ที่ implementation มากกว่า

ประเทศแรกที่มีระบบ health insurance มาใช้คือพรรค labor ประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นก็มีการพัฒนามาโดยตลอด จนภายหลังภาพชัดเจนขึ้นว่าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้สูงมาก ภาษีจำนวนมากถูกเรียกเก็บและ shunt มาให้ตะกร้าใบนี้ซึ่งดูเหมือนจะถมไม่มีวันเต็ม แถมยังใบใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งปัจจุบันอังกฤษที่มีสภาพเศรษฐกิจดีมากก็ยังไม่สามารถจะการันตี Same standard for All ได้อีกต่อไป สิ่งที่ประกันคือ "มาตรฐานเบื้องต้น" ขนาดแค่นี้ก็ยังหืดขึ้นคอ (และเขาเก็บภาษีสูงมาก เฉลี่ยเกือบ 25% และ VAT 17.5% เพื่อถม social spending)

คำถามพี่ปารมีนั้น ผมขอตอบเป็นนามธรรม เพราะไม่มีข้อมูล concrete ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้เพียงพอที่จะ make intellectual comment ได้ นั่นคือ การปรับมุมมอง แนวคิดใหม่ ของทั้งผู้ให้ และผู้รับบริการ

Health Promotion จะต้องนำมาใช้อย่าง serious และให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆของระบบสาธารณสุข และคนจะต้องไดรับการปลูกฝังว่า Health นั้น ไม่ได้เกี่ยวกับหมอ กับพยาบาลแค่นั้น  "Health is holistic" และจะสะท้อนจากการดำเนินชีวิต การคิด การตั้งคุณค่าของชีวิต ค่านิยมของสังคม สื่อ ความปลอดภัย ทุกๆมิติรวมกัน การคิดแบ่งแยกเป็นระบบกระทรวง ทบวง กรม ที่ไม่ก้าวก่ายไม่บูรณาการนั้นเป็นการ waste resources มากเกินไป

 โรงเรียน โรงพยาบาล และสถาบันศาสนา ต้องมีการบูรณาการกัน ที่พูดมาก็คือกระทรวงศึกษา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงวัฒนธรรม ต้องทำงานออกเป็น same breath, same idea, towards the same goals

Attitude, Values ของประชาชน และของบุคลากรบริการสุขภาพต้องมีการปรับปรุงใหม่ ระบบ business model ที่ใช้การตรวจสอบ คุกคาม โดยที่คำ "คุณภาพ" มีความหมายต่อคนแค่บางกลุ่มนั้น ไม่ใช่ระบบที่ยั่งยืนเลย จะมีประโยชน์อะไรที่ถ้า รพ. หรือ องค์กร non-profit ประกาศชัยชนะทางเศรษฐกิจ แต่คนที่เรา supposed to serve ไม่ได้ share หรือรู้สึกว่าสามารถจะร่วมใน "ชัยชนะ" นี้ได้?

ถามว่าจะทำอย่างไร ผมคิดว่าคงจะต้องยกตัวอย่างเป็นเรื่องๆกระมังครับ เอา stakeholders ที่เกี่ยวข้องมาคุยกันตัวต่อตัว อย่าคุยกันแบบแยกส่วน แยกเขา แยกเรา เพราะเราจะไม่สามารถ

ได้ยินเหตุผลมุมมองของคนอื่น คนอื่นไม่สามารถได้ยินความลำบาก ข้อจำกัดของเรา

สังคมปัจจุบันเราต้องการการ "เข้าใจตรงกัน" มากกว่าตอนไหนๆในอดีตทั้งสิ้นเพราะสังคมที่ "แยกส่วน" เรากำลังมองเห็น tertiary hospital รู้สึกเป็นคนละฝ่ายกับ primary hospital เป็นคนละพวกกับ customer (หรือผมชอบคำ client มากกว่า มันมี sharing attitude ระหว่างผู้บริการและผู้รับสูงกว่า) เกือบๆจะเป็นคนละกลุ่มกับ funders หรือรับบาลซะด้วยซ้ำ แล้วสภาพเช่นน้เราจะเห็นนโยบายหรือวิธีอะไรที่เป็นองค์รวมได้

คุณ Phoenix

  • ถามนิดเดียว ตอบได้ยาว...มาก
  • ที่จริงไม่เชิงถามหลอกค่ะ เพียงแต่เห็นด้วยกับความเห็นเรื่อง การสร้างความเข้มแข็งและการสร้างเครือข่าย ที่มีการเสนอในที่ประชุม ไม่รู้จะนำความเห็นไปบอกใคร เลยฝากให้ผู้เกี่ยวข้องที่รู้จักได้รับทราบ
  • ขอบคุณอาจารย์มากที่เข้ามาแลกเปลี่ยน อาจารย์เข้ามา คงสร้างสีสันให้ planet psublog ได้ไม่น้อย
  • เอ อย่างงี้ระบบประกันสังคมจะมีคุณภาพดีกว่าหรือไม่ครับ?
  • มาให้กำลังใจคุณหมอครับ

ระบบประกันสังคม มีความแตกต่างที่เด่นชัดกับระบบ 30 บาทอย่างน้อยก็ 2 ประการ (เท่าที่มีความรู้นะคะ)คือ ผู้รับบริการมีส่วนร่วมจ่าย และ ผู้ประกันตนเป็นกลุ่มคนทำงาน ที่สุขภาพโดยทั่วไปแข็งแรง ดังนั้นการเงินในระบบนี้ คล่องตัวกว่า 30 บาทมาก

ขอบคุณ Aj Kae สำหรับกำลังใจ ขอกำลังใจนี้ไปยังผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทุกคน 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท