นิทานประกอบภาพ "ลิ้นจี่....ทำดีมากจ๊ะ" (บทที่ 3)


บทที่ 3 ทำดีมากจ๊ะ

 

บ่ายวันรุ่งขึ้น ลิ้นจี่ไปหาคุณนายเตาะแตะที่โพรง ตั้งใจจะไปแสดงความชื่นชมสวนสวยของคุณนายที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของกุ๊งกิ๊ง

ตอนที่ลิ้นจี่ไปถึง คุณนายเตาะแตะกำลังทำความสะอาดขนของตัวเองอยู่ พอเห็นลิ้นจี่เท่านั้น คุณนายก็รีบเร่งมาหา

“ขอบใจลิ้นจี่มากจ๊ะ ที่ออกแบบสวนสวยๆให้ อ้าว แล้วทำไมไม่มาพร้อมกุ๊งกิ๊งกับว่องไวล่ะ”

 

คุณนายทักทายและไต่ถาม เลยได้ความว่าวันนี้คุณนายจะทำอาหารเลี้ยงเราทั้งสาม คุณนายขอให้กุ๊งกิ๊งกับว่องไวช่วยไปตามลิ้นจี่ แต่พวกเราคงสวนทางกัน

“ไม่เป็นไรจ๊ะ เดี๋ยวถ้าไม่เจอลิ้นจี่ที่โพรง พวกเขาก็คงกลับมาที่นี่เอง”

ลิ้นจี่บอก

แล้วก็เป็นอย่างที่ลิ้นจี่พูดจริงๆ

สักพัก เพื่อนของลิ้นจี่ทั้งสองตัวก็มาสมทบ เมื่อมากันครบแล้ว เราจึงช่วยกันลำเลียงอาหารออกมาตั้งที่ท่อนไม้ใหญ่หน้าโพรงไม้

เราทานอาหารกันไป คุยกันไป จนแม้จะทานอาหารเสร็จแล้ว เราก็ยังคุยกันต่อ คุณนายมีเรื่องสนุกๆมาเล่าให้เราหัวร่อกันงอหาย กุ๊งกิ๊งดูเหมือนจะถูกใจกว่าเพื่อน เพราะหัวเราะขำอยู่ตลอดเวลา

ลิ้นจี่จึงได้รู้ว่าน้องชายของคุณนายลิ้นจี่ชอบดอกทานตะวัน คุณนายจึงขอให้กุ๊งกิ๊งช่วยปลูกต้นทานตะวันแทนฮอลลี่ฮ็อคตามแบบที่ลิ้นจี่วาดไว้เดิม

“ธรรมชาติของทานตะวันก็ย่อมหันเข้าหาแสงตะวัน เราบังคับให้เค้าหันดอกไปทางอื่นไม่ได้ ก็เหมือนกับเรื่องราวอะไรๆ ที่เราบังคับให้เป็นไปตามใจเราไม่ได้ ต้องยอมรับมันตามที่มันเป็นอยู่ในปัจจุบัน”

พอได้ยินอย่างนี้ ลิ้นจี่รู้เลยว่าคุณนายหายเศร้า หายทุกข์ใจเพราะการย้ายไปของน้องชายแล้ว

แล้วคุณนายขอบใจเราทั้งสามใหญ่โตสำหรับสิ่งต่างๆที่ทำให้คุณนาย ลิ้นจี่เลยรู้ว่า ว่องไว นอกจากจะวิ่งวุ่นของพรรณไม้จัดสวนของตัวเองแล้ว ยังแวะเวียนมาเยี่ยม มาคุยกับคุณนายเตาะแตะ เพื่อให้คุณนายสบายใจขึ้นด้วย ลิ้นจี่จึงคิดได้ ลิ้นจี่มักคิดว่าตนเองสร้างประโยชน์ให้ผู้อื่นมากมาย จริงๆแล้ว ยังมีผู้ที่ทำสิ่งดีๆเพื่อผู้อื่นมากกว่าที่ลิ้นจี่ทำมากนัก เพราะฉะนั้น ลิ้นจี่จึงไม่ควรคุยโตเกินไป

แล้วลิ้นจี่ก็มีความสุข อบอุ่น ราวกับอยู่ในครอบครัวกับญาติผู้ใหญ่ จนอดรู้สึกผิดขึ้นมาไม่ได้ที่เอาใจใส่ผู้อยู่รอบข้างน้อยเกินไป รวมถึงการคิดไม่ดีกับกุ๊งกิ๊งด้วย จึงเงียบไปสักพัก

“มีอะไรเหรอลิ้นจี่”

ว่องไวว่องไวเสมอไม่ว่าจะเรื่องไหน จึงรู้สึกถึงความผิดปกติได้ก่อนใคร

“คือ”

ลิ้นจี่อึกอัก

“ลิ้นจี่อยากขอโทษกุ๊งกิ๊งน่ะ เมื่อวานนี้ลิ้นจี่โกรธกุ๊งกิ๊งมาก ที่เปลี่ยนแปลงแบบที่ลิ้นจี่วาด แถมพี่น้องอ้วนผอมยังชมแต่กุ๊งกิ๊ง ไม่ชมลิ้นจี่อีก แต่ตอนนี้ลิ้นจี่รู้แล้วว่าลิ้นจี่ไม่ควรคิดอย่างนั้น”

ลิ้นจี่บอกเพื่อนๆ

“ต่อไปลิ้นจี่จะไม่ตัดสินใจอะไร หรือโกรธใคร ง่ายๆอย่างนี้อีกแล้วจ๊ะ”

แต่ประโยคสุดท้าย ลิ้นจี่ตั้งใจบอกตัวเองมากกว่า

“ไม่ต้องกังวลหรอกลิ้นจี่ กุ๊งกิ๊งไม่โกรธลิ้นจี่เลย”

กุ๊งกิ๊งบอก

“จริงนะ”

ลิ้นจี่ยังสงสัย

“สบายใจได้น่า”

กุ๊งกิ๊งให้คำมั่น

“ดีจัง”

ลิ้นจี่จึงยิ้มได้

 “รู้มั๊ยลิ้นจี่ ในหนังสือที่ว่องไวอ่านอยู่น่ะเค้าเขียนไว้ว่า การที่ผู้ที่ทำผิดไปแล้ว พอรู้ว่าผิด ก็สารภาพ แล้วตั้งใจว่าจะไม่ทำอย่างนั้นอีกต่อไป เรียกว่าเป็นความเจริญในอริยวินัยนะ”

ว่องไวบอก

“ทำดีมากจ๊ะ ลิ้นจี่”

คุณนายเตาะแตะย้ำคำพูดของว่องไว

ความเจริญในอริยวินัยเหรอ

ลิ้นจี่ทวนคำนี้ในใจ

และแล้ว ... ดูเหมือนยิ้มลิ้นจี่จึงยิ่งกว้างขึ้นกว่าเดิม

ความเจริญในอริยวินัย ลิ้นจี่ชอบคำนี้แล้วซี

คราวนี้ลิ้นจี่ตั้งใจอย่างมุ่งมั่นแล้ว

ว่าจะคอยระวังไม่ให้มองใครอย่างหวาดระแวง จะได้ไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องโกรธกัน หรือถ้าเห็นว่าใครทำในสิ่งที่ดี ลิ้นจี่ก็จะชื่นชม และจะไม่อิจฉาเมื่อเขาได้รับคำชม จะได้ไม่เกิดเรื่องเหมือนเมื่อวานอีก

แล้ววงสนทนาก็เริ่มขึ้นใหม่ กุ๊งกิ๊งหัวเราะมากอย่างที่ลิ้นจี่ไม่เคยเห็นมาก่อนจริงๆ จนเมื่อเราทั้งสามลาคุณนายเตาะแตะแล้วพากันกระโดดกลับพร้อมกันนั่นแหละ กุ๊งกิ๊งจึงได้สารภาพ

“ขำตัวเองจังเลยละ ตอนหาตอไม้มาวางหน้าโพรงคุณนายน่ะ กุ๊งกิ๊งเอาตัวเองวัด เลยคิดว่าขนาดคงกำลังพอดี แต่พอคุณนายเตาะแตะมาใช้งาน คุณนายตัวเตี้ย เลยต้องยืนคุยกับพวกเราตลอดรายการเลย”

ตอนนี้ทั้งลิ้นจี่และว่องไวคงนึกภาพคุณนายยืนคุยกับพวกเราตั้งแต่บ่ายจนใกล้ค่ำขึ้นมาทั้งคู่ เราจึงได้หัวเราะออกมาพร้อมๆกัน

“ต่อไปกุ๊งกิ๊งจะไม่คิดว่าอะไรที่เหมาะกับเราก็ต้องเหมาะกับผู้อื่นด้วยอีกแล้ว จะคิดให้รอบคอบกว่านี้”

“เป็นความความเจริญในอริยวินัยจ๊ะ”

ลิ้นจี่เย้า

แล้วเราทั้งสามก็กระโดดไป หัวเราะไป อย่างมีความสุข

พรุ่งนี้ต้องไปดูสวนของว่องไวสักหน่อยแล้ว

ลิ้นจี่คิด หลังจากที่บอกลาเพื่อนๆ และกระโดดแยกทางไปยังโพรง

...............................................................................

อิงธรรมท้ายบท

การอยู่กับพื้นฐานของความเป็นจริงในปัจจุบัน หรือปัจจุบันธรรม นี้ ลิ้นจี่รู้มาว่ามักถูกเข้าใจผิด ว่าหมายถึงการคิดแต่เรื่องในปัจจุบัน ไม่คิดถึงอดีต หรืออนาคต แต่ที่จริงน่ะ ไม่ว่าจะอดีต หรืออนาคต เราก็คิดได้ เพียงไม่ใช่คิดถึงอดีตอย่างละห้อยหา หรือคิดถึงอนาคตอย่างฟุ้งซ่านไปตามความต้องการโดยที่ความคิดไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงในปัจจุบัน

แต่เป็นการคิดถึงอดีตเพื่อสืบสาวเหตุปัจจัยให้ส่งมาถึงปัจจุบัน หรือคิดถึงเป้าหมายหรือแผนการในอนาคต แล้ววางแผนสร้างเหตุปัจจัยในปัจจุบันให้เอื้อไปในทางที่เราวางแผน

จะพูดว่าเป็นการ "ไม่ประมาท" ก็น่าจะได้นะ

วันรุ่งขึ้น ลิ้นจี่หยิบหนังสือที่ว่องไวให้มาอ่านต่อ จึงรู้ว่า การที่ลิ้นจี่ตั้งใจอย่างแน่วแน่ หรือตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวว่าจะทำอะไรสักอย่างนั้น เรียก อธิษฐาน การตั้งจิตอธิษฐานมีผลดีคือเป็นการตั้งเป้าหมายอย่างมุ่งมั่น เมื่อเรามีเป้าหมายที่ไม่คลอนแคลนแล้ว เราก็จะมีความพยายามที่จะทำให้ได้ตามที่ตั้งใจ

อธิษฐาน ไม่ได้หมายถึงการคิดขออะไรจากใครๆอย่างที่ลิ้นจี่เคยเข้าใจสักหน่อย

เป็นเพราะว่องไว และกุ๊งกิ๊ง มิตรที่ดีของลิ้นจี่แท้ๆ เพราะลิ้นจี่เห็นสิ่งที่ทั้งสองทำให้ลิ้นจี่และทำให้ผู้อื่น  ลิ้นจี่ชื่นชม จึงอยากทำตาม จึงเกิดเรื่องดีๆสำหรับลิ้นจี่ตามมา

มิน่าล่ะ จึงได้มีคำพูดว่า การมีกัลยาณมิตร หรือเพื่อนที่ดี การได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีน่ะ สำคัญมาก 

“ทำดีมากจ๊ะ ลิ้นจี่”

คิดถึงคำที่คุณนายเตาะแตะพูดแล้ว

อือม์ ........

ลิ้นจี่รำพึง

อยากเปลี่ยนเป็นพูดคำนี้มากว่า

ลิ้นจี่ยิ้มให้กับตัวเอง

ทำดีมากจ๊ะ

ก่อนจะพูดออกมาดังๆ

“ทั้งกุ๊งกิ๊ง ทั้งว่องไว”

หมายเลขบันทึก: 431495เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2011 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2013 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

-สวัสดีครับ..

-แวะมาทักทาย/ขอบคุณที่ไปเยี่ยม เกษตรแนวศิลปะ..ครับ..

-ผมว่าเกษตรแนวนี้..น่าสนใจ..หากจะทำตามงานนี้ ครูเขาบอกว่าไม่สงวนลิขสิทธิ์ ครับ.....

-ขอบคุณครับ..

ขอบคุณค่ะ.. "ความเจริญในอริยวินัย" ...ต้องหมั่นเพียรฝึกไว้เสมอนะคะ..

ภาพจาก internet

สวัสดีค่ะคุณเพชรน้ำหนึ่ง

ปูเล่หรือเปล่าคะ

สวยจังค่ะ

สวัสดีค่ะพี่นงนาท

กระต่ายน่ารักจังค่ะ

ได้นางแบบอีกหนึ่งแล้ว

ขอบคุณดอกไม้จากพี่นงนาท คุณนีนาท และคุณเพชรน้ำหนึ่งมากนะคะ

สวัสดีค่ะคุณยาย

มาเยี่ยมแต่เช้า ขอบคุณค่ะ

อากาศเย็น รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

ตามมาอ่านลิ้นจี่อีกทีค่ะ

สวัสดีค่ะ...

  • แวะมาเยี่ยมค่ะ สบายดีนะค่ะ...

สวัสดีค่ะ ภาพกกระต่ายสวย น่ารัก จังค่ะ ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆค่ะ

*มาชวนให้ร่วมกิจกรรมกับน้องมะปรางในการถอดบทเรียนจากบันทึกของ ชาว G2K :

http://gotoknow.org/blog/pr4u/431557?page=1#2395060

*คุณแสงแห่งความดี ได้เสนอ blog "ดังลมหายใจ" ของ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ :

http://gotoknow.org/blog/wirat-kamsrichan

*พี่ชื่นชม blog นี้มาก เพราะสะท้อนสายสัมพันธ็อันอบอุ่นของครอบครัว ที่เป็นพื้นฐานของชีวิตที่มีความสุขอย่างยั่งยืนในสังคม

*หาก คุณณัฐรดา สนใจเข้าร่วมถอดบทเรียนนี้ โปรดแจ้งชื่อไปที่บันทึกของน้องมะปรางดังกล่าวด้วยนะคะ เพื่อเราจะได้ร่วมเป็นกลุ่มเดียวกัน

*ในการนี้ต้องเร่งดำเนินการแล้วนะคะ..เพราะน้องมะปรางกำหนด date line ให้บันทึกแล้วเสร็จภายใน วันศุกร์ที่ ๘ เมย.นี้ค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาอ่านเรื่องราวดี ๆ ของ "ลิ้นจี่" ค่ะ
  • อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ รักษาสุขภาพด้วยค่ะ
  • ขอบคุณข้อคิดดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ

                            

มาขอบคุณมากค่ะที่ไปร่วมวงถอดบทเรียน "ดังลมหายใจ" ด้วยกัน..ขณะนี้กลุ่มของเรารวบรวมได้ ๓ คน แล้วค่ะ..กลุ่มยังรอรับท่านอื่นๆที่สนใจอีกค่ะ

                                 * คุณแสงแห่งความดี

                                 * คุณณัฐรดา

                                 * พี่ใหญ่

                                     ฯลฯ

..จากที่น้องมะปราง กรุณาชี้แจงเพิ่มเติมให้สบายใจคลายความกังวลของกิจกรรมนี้..พี่ใหญ่จึงใคร่ขอเริ่มตั้งประเด็นเบื้องต้นไว้ให้สมาชิกท่านอื่นต่อเติม :

1.แก่นสาระหลัก (theme) ของบันทึก "ดังลมหายใจ"

2.บทเรียนที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจของสายสัมพันธ์ในครัวเรือนและชุมชน

3.ความคาดหวังต่อการรักษาและพัฒนาวัฒนธรรมของสถาบันครอบครัวสู่สังคม

.....................................ฯลฯ...........................................................

... ระหว่างนี้ จะลองร่างบันทึกตามประเด็นเหล่านี้ไปพลางๆก่อนและจะส่งให้คุณณัฐรดาและคุณแสงแห่งความดี ได้พิจารณาเพิ่มเติมนะคะ.. 

         

ในขณะนี้ มีสมาชิก คนร่วมกันถอดบทเรียน "ดังลมหายใจ" แล้วค่ะ :

                      * คุณแสงแห่งความดี

                      * คุณณัฐรดา

                      * อ.ณัฐพัชร์

                      * คุณครูอ้อยเล็ก

                      * พี่ใหญ่

  สำหรับประเด็นการถอดบทเรียนนี้ จนถึงวันนี้ คุณณัฐรดา และพี่ใหญ่ ได้ลองร่างมาเบื้องต้น เพื่อพิจารณาร่วมกัน ดังนี้ :

1.แก่นสาระหลัก (theme) ของบันทึก "ดังลมหายใจ" (พี่ใหญ่)

2.บทเรียนที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจของสายสัมพันธ์ในครัวเรือนและชุมชน(พี่ใหญ่)

3.การหล่อหลอมสังคมด้วยพุทธศาสนา (คูณณัฐรดา)

4.ความคาดหวังต่อการรักษาและพัฒนาวัฒนธรรมของสถาบันครอบครัวสู่สังคม(พี่ใหญ่)

.....................................ฯลฯ...........................................................

.. ชื่อในวงเล็บคือผู้เสนอประเด็น ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพ ร่างรายละเอียดขึ้นมาเสนอให้สมาชิกพิจารณาร่วมกันต่อไปนะคะ ..  

..น้องมะปรางเอื้อเฟื้อให้สื่อสารความคืบหน้าที่บันทึกนี้ได้ เพื่อการ ลปรร.ค่ะ  

... จากประเด็นเบื้องต้นที่ร่างมานี้ เราทุกคนสามารถช่วยกันใส่เนื้อหาได้ โดยอาจรอหรือไม่รอเจ้าของประเด็นเสนอมาก่อน..พี่ใหญ่รับเป็นผู้รวบรวมให้และดูความสอดคล้องในแต่ละประเด็น..

... บันทึกใน blog ดังลมหายใจ ของ ผศ.ดร.วิรัตน์ ทั้ง ๑๖ เรื่อง มีความต่อเนื่องกันบนฉากชีวิตที่หล่อหลอมเป็นหนึ่งแห่งครอบครัว "คำศรีจันทร์" อย่างแนบแน่นและแข็งแกร่งมีคุณค่า..

 .. พี่ใหญ่จึงมีความเห็นว่า พวกเราทุกคนควรได้มีโอกาสอ่านทั้งหมด และตกผลึกบทเรียนออกมาใส่เป็นเนื้อหาในแต่ละประเด็นตามที่เก็บได้ ซึ่งน่าจะเหมาะสมกว่าแบ่งกันอ่านนะคะ..นี่อาจเป็นการอ่านรอบที่สองของสมาชิกหลายท่านแล้ว

....เสียดายที่การถอดบทเรียนครั้งนี้ ทำแบบ on line ..หากอยู่ใกล้ๆกันน่าจะมีชีวิตชีวากว่านี้ จริงๆนะคะ..

 

  

Ico48

 

ประเด็นดีจังเลยครับพี่ใหญ่ครับ
เป็นการร่วมกันเขียนหนังสือไปในตัววิธีหนึ่งเลยนะครับ
ผมเองก็จะนำมาเขียนบทสังเคราะห์เชิงทฤษฎีเพิ่มเข้าไปอีกส่วนหนึ่งด้วยเช่นกันครับ
จะเพิ่มระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในแนว Autoethnography เข้าไปครับ
เชื่อว่าจะเป็นระเบียบวิธีที่เหมาะมากสำหรับวิธีทำประสบการณ์ชีวิตและประวัติศาสตร์สังคมที่สะท้อนอยู่ในเรื่องราวตัวบุคคลให้เป็นการสร้างความรู้และวิธีเรียนรู้ทางสังคม สำหรับสังคมที่มีพื้นฐานที่ดีมากมายแต่มีช่วงเวลาการพัฒนาสังคมแห่งความรู้ทีหลังประเทศที่พัฒนามาก่อนของโลกดังเช่นสังคมไทย

แต่ละท่านนี่สามารถเน้นบางด้านที่เป็นการสกัดประเด็นและสร้างความรู้ต่อยอดขึ้นจากกรณีตัวอย่างที่ใช้เป็นวัตถุดิบการถอดบทเรียนด้วยกัน ในแง่มุมที่แตกต่างหลายด้านเลยนะครับ

  • อย่างคุณแสงแห่งความดีก็น่าจะเชื่อมโยงไปยังการพัฒนาการเรียนรู้จากชีวิตชุมชน
  • คุณณัฐรดานี่ได้รอบด้านเลย โดยเฉพาะเรื่องระบบวิธีคิดทางพุทธธรรม ศิลปะ
  • อาจารย์ณัฐพัชร์น่าจะเชื่อมโยงไปที่เรื่องศิลปะและสื่อภาพกับการวิจัยชุมชน โดยเฉพาะวิธีทำให้การพรรณาและเรื่องเล่าเพื่อนำเสนอการวิจัยเชิงคุณภาพให้มีพลังต่อการแสดงสิ่งซึ่งมีความเป็นนามธรรมมากกว่าข้อมูลตัวหนังสือ
  • น้องคุณครูอ้อยเล็กนี่น่าจะโยงไปที่การพัฒนาการเรียนรู้จากการเล่นและกิจกรรมชีวิตชุมชน และการพัฒนาการเรียนรู้ศิลปะแบบบูรณาการ
  • ส่วนของพี่ใหญ่นี่ นอกจากโยงไปที่ประเด็น ๒, ๓, ๔ อย่างอยู่มือได้เป็นอย่างดีแน่นอนแล้ว เรื่องการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กๆ ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมในบ้าน ในชุมชน รวมทั้งจากแหล่งประสบการณ์ที่มีอยู่หลากหลายในสังคม เช่น กลุ่มเพื่อน หนังสือและการอ่าน ศิลปะวรรณกรรม เหล่านี้พี่ใหญ่ก็มองเชื่อมโยงได้ลึกซึ้งและกว้างขวางครับ

อย่างไรก็แล้วแต่ครับ วางอยู่บนฐานของการเห็นและรู้สึกได้ออกมาจากข้างในแล้วก็ว่าไปตามนั้นนี่ดีที่สุดครับ จะสบายและเป็นการได้ทำเพื่อเรียนรู้ตัวเอง เบาๆ และบอกเล่าสะท้อนความบันดาลใจได้ดีกว่าวิธีอื่นครับ

http://gotoknow.org/blog/nongbua-community/432524?refresh_cache=true

..........................................................................................................

พี่ใหญ่ขอนำความเห็นของ ผศ.ดร.วิรัตน์ มาประกอบการถอดบทเรียนของพวกเราทุกคนค่ะ..พี่เพิ่งเข้าไปสนทนาหารือกับท่านเมื่อเช้านี้เอง..

     พี่ใหญ่มาส่งร่าง แก่นสาระ(theme) ของบันทึก "ดังลมหายใจ" รวบรวมจากความเห็นของ ผศ.ดร.วิรัตน์ ใน blog ดังกล่าว..(โปรดเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควร)

 * สะท้อนเรื่องราวชีวิตในอดีตของครอบครัวชนบทในบ้านเกิด ท่ามกลางญาติพี่น้องที่มี “ แม่ ” เป็นศูนย์กลางและตัวหลักของเนื้อเรื่อง ที่แม้จะอยู่ห่างไกลความเจริญทางวัตถุ แต่มีจิตสำนึกอย่างชาวบ้าน ที่ผสมกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับวิถีชีวิต เปรียบเสมือน “ ดังลมหายใจเข้าออก ”

* เป็นการนำเสนอให้คนสัมผัสได้ดีขึ้น สามารถเรียนรู้เรื่องของตนเอง และเชื่อมโยงสู่โลกกว้าง คนภายนอกจะเห็นประเด็นที่ไม่ใช่เรื่องจำเพาะกรณี แต่เห็นภาพของสังคมทั่วไป ตามบริบทเหล่านี้ :

     ๑. กิจกรรมชุมชน และความเป็นชุมชนที่คลุกคลีและสัมผัสด้วยตนเองและจากการถ่ายทอดของ แม่ และกลุ่มผู้ใหญ่ในชุมชน

     ๒.เค้าโครงการผูกเรื่องนั้น เป็นการตกผลึกสิ่งที่ได้จากการวิจัย การทำงาน และการสรุปบทเรียนของชีวิตในปัจจุบัน ที่มุ่งเน้น ความมีจิตสาธารณะ ของปัจเจก และกลุ่มก้อนของคน ในบริบทของชุมชนและสังคมไทย ซึ่งเป็นประเด็นย่อย ของ Civil Society

     ๓.พยายามจูงมือผู้อ่าน ไปสัมผัสในแง่มุมต่างๆ ผ่านเรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิต มีเหตุการณ์และการแสดงออกในสถานะการณ์ต่างๆ การก่อเกิดจากครอบครัว สภาพแวดล้อมชุมชน การเล่นและกลุ่มเพื่อน การปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก การสนทนากับระบบคิด และหลักชีวิตที่มาในศาสนธรรม

     ๔.ใช้ศิลปะภาพเขียน เพื่อสื่อภาษาภาพและก่อเกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูงที่เรียกว่า Simplification Communication และ Interaction Learning Empowerment เพื่อมุ่งเน้นให้ชาวบ้านที่อ่านหรือเขียนหนังสือหรือแสดงความรู้ที่เป็นทางการกับคนภายนอกไม่ค่อยได้ ไม่เกิดความเคอะเขิน ซึ่งเป็นวิธีพัฒนาการเรียนรู้ของพลเมือง ทำให้เกิดชุมชนที่ใช้ความรู้และใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

คุณณัฐรดา ขอบคุณมากค่ะที่ทำการบ้านได้อย่างสมบูรณ์และรวดเร็วมาก..สะท้อนภาพของศาสนธรรมและศาสนพิธีต่างๆที่ผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกันกับวิถีชีวิตของปัจเจกและชุมชนประดุจ "ดังลมหายใจ" อย่างชัดเจน และได้เนื้อหาธรรมในเชิงลึกที่น่าสนใจมากค่ะ..

..พี่ขอนำบันทึกบทนี้ ไป post ที่บันทึกน้องมะปราง และกลุ่มสมาชิก เพื่อแสดงความเคลื่อนไหวของการถอดบทเรียนในกลุ่มของเรานะคะ..

เป็นการสร้างประวัติศาสตร์ของชาวโกทูโน ขอร่วมคิดร่วมเขียนด้วยคนครับ

วันนี้เพิ่งได้ดูรายการ "ขบวนการ fun น้ำนม" ทาง ไทย พีบีเอส

เลยเพิ่งทราบค่ะ ว่ากระต่ายตัวน้อยในรายการนี้ชื่อ "ว่องไว" เหมือนในนิทานเรื่องนี้เลย

คงเอาลักษณะเด่นของกระต่ายมาตั้งชื่อเหมือนกันน่ะค่ะ อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท