"เคยรักกันแล้วก็รักกันอีก"...บันทึกรักจาก note taker ตาโกโก R2R ฉากที่ ๒


ต่อจากตอนที่แล้วในฉากที่ ๑...

ต่อไป อ.กะปุ๋มก็เริ่มเข้าเรื่องนำสนทนาเกี่ยวกับ theme ในการเสวนาวันนี้ที่ว่า ‘รักเหนือรัก’ นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง โดยมีหมออ้อเป็นผู้ไขปริศนานี้

            หุ หุๆ...เสียงหัวเราะบางเบาแบบอ่อนโยนบนใบหน้าระบายยิ้มของหมออ้อนำหน้ามาก่อน แล้วตามด้วยคำถามผู้ฟังว่า “ตื่นหรือยังคะ ดูเงียบๆไป...นอกจากตื่นแล้วเราต้องตื่นรู้ด้วย...” เธอกล่าวเสียงแผ่วเบาด้วยความนิ่งสงบเพื่อนำผู้ฟังว่า การเริ่มต้นที่ดีนั้น เราน่าจะได้หันกลับมามองตัวเอง จะมีสักกี่นาทีที่เรามองย้อนกลับมาภายในด้วยการนั่งนิ่งๆ ทำใจให้ว่าง ยิ้มน้อยๆในใจ วันนี้เป็นวันดีนึกย้อนว่าเราได้ทำอะไรดีๆให้กับตัวเองและผู้อื่นบ้าง เมื่อเราหลับตาลง ไฟก็จะดับไม่ต้องกังวล

            ในจังหวะที่หมออ้อกล่าวนำเกือบจะสิ้นสุดลงนั้น เพลง ‘ณ ตรงนี้ ที่ใจฉันสุข’ บทเพลงจากต้นพลัม...ณ ตรงนี้ ที่ใจฉันสุข สุขเมื่อปล่อยวางความกังวล...ไม่ไปที่ไหน ไม่ทำเรื่องใด เราจึงไม่ต้องรีบเร่ง...เสียงเพลงหวานค่อยๆดังขึ้นอย่างแผ่วเบา บรรยากาศในห้องนิ่งสงบเย็น ทุกคนหลับตาพริ้มมีรอยยิ้มที่มุมปากเล็กๆประมาณ สองนาทีเศษ เสียงหมออ้อค่อยๆกล่าวช้าๆแผ่วเบา “หลังจากที่ได้พิจารณาแล้ว ค่อยๆลืมตาขึ้นมา แล้วยิ้มให้คนที่อยู่ตรงหน้า เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ดี...แล้วให้เวลากับตัวเองสักนิดก่อนที่จะให้คนอื่น ต้องมองย้อนมาดูตัวเองก่อนว่าพร้อมหรือยัง...” จากนั้นทุกคนในห้องก็ลืมตาขึ้นสู่สภาวะปกติ

            หมออ้อบอกว่า การที่เราจะเริ่มต้นทำในสิ่งที่ดี จิตใจเราต้องเบิกบาน มีความสุข ณ ปัจจุบันแล้วใจจะมีพลังเหมือนกับที่เราทำ R2R ต้องมีความสุขในการทำ มีความสุขในการเป็นผู้ให้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ความรักที่เราให้ผู้อื่นนั้น “ถ้าไม่ใช่รักเหนือรัก ให้แล้วก็หมดไป มันไม่ยั่งยืน"

            นอกจากนี้หมออ้อเล่าถึงเส้นทางการทำงานของตนว่า ในส่วนที่ทำงานร่วมกันกับ อ.กะปุ๋มนั้น อ.กะปุ๋มมีส่วนช่วยเหลือให้ตนออกจากช่องปากและได้มาดูโลกกว้าง แล้วทำให้รู้สึกมีความสุข “พอออกมาทำงานข้างนอก...ภาพการทำฟันมันลดลง...” เป็นความสุขอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้ทำงานเพื่อสังคม อีกอย่างบทบาทในโรงพยาบาลที่ท่านเป็นประธานคณะกรรมการ HRD ท่านก็อยากให้บุคลากรมีความสุข ซึ่ง อ.กะปุ๋มได้จุดประกายให้บุคลากรในโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้วได้รับสิ่งดีๆ จากการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ซึ่งแม้จะเป็นโรงพยาบาลเล็กๆ ก็สามารถทำได้ ส่วนการทำงานประจำวันถ้าเราเอาใจเราใส่ไปในงานแล้วจะรู้ว่างานที่เราคิดว่ามันซ้ำซากจำเจนั้น ได้เปลี่ยนไปทุกนาที ถ้าเรามองอะไรให้มีความสุข มันก็จะมีความสุข แค่เราเปลี่ยนความคิดไปในแง่บวก การทำ R2R ก็คิดให้เป็นเรื่องบวกและพัฒนางานไปเรื่อยๆ

            ท่านต่อไปเป็นพี่คำผิวเล่าเรื่องประสบการณ์ในการทำ R2R ที่โรงพยาบาลป่าติ้ว ซึ่งพี่คำผิวบอกว่า “ผมอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก...แต่ก็ช่วยเหลือหัวหน้าได้ในเวลาที่คับขัน...ทำไปเรื่อยๆ ผมเป็นพนักงานเปล...เจอปัญหาหลายอย่าง...” เมื่อเจอปัญหาเกี่ยวกับการเข็นรถนำส่งคนไข้ที่จะเข้าไปพักรักษาที่หอผู้ป่วย แต่ต้องเสียเวลาย้อนกลับมา x-ray ก่อน พี่คำผิวจึงได้คิดวิธีการแก้ไขปัญหา โดยชวนทีมงานเล็กๆมานั่งคุยกันและฝึกอ่านคำสั่งแพทย์เพื่อป้องกันและแก้ไขการเข็นคนไข้ย้อนกลับ โดยการดูคำสั่งแพทย์ทันทีที่คนไข้ออกจากห้องตรวจและส่งทำหัตถการที่สำคัญก่อนนำผู้ป่วยส่งเข้า admit ซึ่งใช้การจดจำจากตัวอักษรขึ้นต้นของคำสั่งแพทย์โดยมีพยาบาลเป็นผู้ชี้แนะให้คำปรึกษา จากนั้นก็เก็บข้อมูลไปและแก้ปัญหาไปควบคู่กัน เก็บข้อมูลช่วงเวลาประมาณ 2-3 เดือน ไม่พบอุบัติการณ์เข็นคนไข้ย้อนกลับ แต่อีก 1-2 วันก่อนสรุปผลกลับพบอุบัติการณ์ 1 ราย [โอหนอๆ เก็บมาตั้งนานไม่พบ...มาพบวันจะสรุปซะได้...ทำให้ผู้ฟังฮากันตรึม...]           

            พี่คำผิวมีคำคมว่า “การที่ได้สัมผัสผู้ที่มีปัญญาเพียงเสี้ยวเวลาแค่งูแลบลิ้น ก็ทำให้คนด้อยปัญญาเกิดปัญญา"

            อ.กะปุ๋มเสริมด้วยความมีอารมณ์ขันว่า “อาจารย์กะปุ๋มจึงแลบลิ้นแปล๊บๆๆ...ฮะๆ ทันใดนั้นเองเสียงฮาของผู้ฟังทั้งห้องก็ดังขึ้นตามเสียงหัวเราะของ อ.กะปุ๋มซึ่งนำหน้ามาก่อนแล้ว...ฮะๆๆ...ฮากันอยู่สักพัก อ.กะปุ๋มก็เสริมการเก็บข้อมูลของพี่คำผิวในการพัฒนางานด้วยแนวคิดการทำ R2R เล็กๆว่า มีการเก็บข้อมูลในสมุดจดบันทึกประจำตัวของพี่คำผิวเอง

พี่คำผิวกล่าวต่อถึงประสบการณ์การทำงานในแต่ละวันด้วยการเป็นลูกน้องมา 8 ปี เช้ามาก็ถูห้อง ขัดห้อง ช่วย x-ray เย็นก็กลับ “เอ๊ะวันๆเราจะทำแค่นี้หรือ” อยู่ไปอยู่มาพี่คำผิวจึงลาออก และในที่สุดก็ได้กลับเข้ามาทำงานในโรงพยาบาลนี้อีกครั้ง  “หลังจากเข้ามาเรียนกับอาจารย์นี่แหละครับ มีความคิดที่เปลี่ยนไปโดยเปลี่ยนความคิดของตัวเอง    เมื่อก่อนนั่นการจัดท่า x-ray ในท่า Chest Lateral  decubitus จะต้องนอนตะแคง เดิมนั้นจะใช้หมอนสามใบเรียงต่อกันหรือผ้าพับเพื่อรองตัวผู้ป่วยให้สูงขึ้นประมาณ 2 นิ้ว เพื่อไม่ให้ภาพที่ได้หลุดจากกรอบแผ่นฟิล์ม พอคนไข้นอน บางครั้งหมอนก็หลุดทำให้ใช้เวลานานมากต้องช่วยกันจัดท่า 3- 4 คน กว่าจะได้ภาพ x-ray  ซึ่งเป็นการจัดท่าที่ยุ่งยาก ที่บ้านผมทำหมอนขิดจึงให้ภรรยาเย็บแม่ยายเป็นคนยัด ทำเป็นเบาะรองนอนยาวเท่าตัวของเรา ผมก็นำมาใช้กับคนไข้  ได้ผล ถามหัวหน้าว่าชอบมั๊ย หัวหน้าก็ตอบว่าชอบ นำมาใช้ หัวหน้าก็ใช้ด้วย” 

             อ. กะปุ๋มเสริมว่า พี่คำผิวมีการเก็บข้อมูลต่อเนื่องพบว่ามีการลดอัตราการถ่ายภาพ x-ray ซ้ำ นอกจากนั้นยังชักชวนให้คนอื่นๆมาทำ R2R อีกด้วย จากนั้นก็ส่งไมค์ให้คุณเสาว์เล่าถึงเส้นทาง R2R ต่อไป “เอ๊าเสาว์เสาว์บางขันพูดก่อน  เป็นงัยเส้นทาง R2R เรา”

 คุณเสาว์กล่าวถึง เส้นทาง R2R  ของตนเองว่ามาจากใจ  ต้องมีใจในการทำงานต้องรักในเนื้องานที่ทำ เพราะว่าคนเราทุกคนมีต้องบทบาท  คือบทบาทเป็นบทบาทสมมุติทั้งนั้น ไม่ว่าบทบาทพ่อ บทบาทแม่  คนเราต้องทำตามบทสมมุติที่ถูกกำหนดมาให้ดีที่สุดเท่าที่มีชีวิตที่เหลืออยู่  ต้องตอบแทนองค์กรที่เราอยู่ให้มากที่สุด เพื่อผู้รับบริการ เพราะว่าเราโชคดีที่อยู่ในวงการสาธารณสุข  หาโอกาสได้ทำบุญมากกว่างานอื่นๆ  ซึ่งตัวเองจะสะสมบุญไปเรื่อยๆ  ทุกอย่างอยู่ที่เจตนา  เส้นทาง R2R ของตัวเองไม่ทราบว่าจะเป็น R2R ได้อย่างไร  แต่จากที่ตนทำงานนี่ต้องขอบคุณทุกปัญหา เพราะปัญหาทำให้เราเกิดปัญญา  แต่คนส่วนใหญ่ไม่ชอบให้เกิดปัญหาจะได้ทำงานไปวันๆ  ส่วนตัวแล้วชอบคิดนอกกรอบแล้วฝึกให้น้องๆในที่ทำงานได้รู้จักคิดแก้ปัญหาในงานเหมือนที่อาจารย์บอกให้กระตุกต่อมเอ๊ะ  เอ๊ะ ทำไม  ทำไม 

เลยมีคำถามกับตัวเองขณะปฏิบัติงานเกิดขึ้นมากมาย แม้กระทั่งการใช้ชุดอุปกรณ์ปราศจากเชื้อตั้งแต่เริ่มทำงาน เอ๊ะ!อ๊ะสงสัย ทำไม set ชุดเครื่องมือนี้มีแมลง ทำไมมีเส้นผม ทำไม setเปียก  เอ๊ะ  ทำไม  ทำไม  ชอบตั้งคำถามกับตนเองเรื่อยๆ และอีกมากมาย แต่ก็ไม่มีเมื่อมองย้อนหลัง  คนเบื้องหลังเค๊าอยู่กับใคร ยังงัย  อยู่คนเดียว  แล้วมีอะไรบ้างหล่ะที่จะประกอบให้เค๊าทำงานได้  เค๊ามีความรู้มั๊ย  มีคนควบคุมกำกับดูแลมั๊ย  ดูแล้วไม่มีน่ะค่ะ  ยังมีหลายโรงพยาบาลเอาคน Expire  คุณเธอมองว่า  ตนเองอยู่งานซักฟอก – จ่ายกลางเป็นงานเบื้องหลังหลังเขาจริงๆ  ตอนนี้ยังมีหลายโรงพยาบาลยังมองอย่างนั้นอยู่ 

เมื่อได้ลงไปอยู่ที่นั้นแล้ว  เพราะมองว่ามันสำคัญจึงขอหัวหน้าลงไปอยู่ ขอให้ตนเองไปควบคุมกำกับ ในงานนี้ได้หรือเปล่า   ด้วยสมัครใจ  เป็นงานที่ฆ่าผู้ป่วยทางอ้อมโดยที่ไม่มีใครรู้ว่า  หากคนที่ทำงานตรงนั้นไม่มีความซื่อสัตย์นิดเดียว  ไม่รู้หรอกคนอาจจะตายทางอ้อมได้จริงๆ  เค๊าอาจจะนึ่งแค่ Autoclave เท่านั้นก็ได้ใครจะไปรู้ จึงไปนั่งทบทวนตลอด ไปเอ๊ะๆๆตลอด และนำไปแก้ปัญหางาน แต่ไม่ได้เก็บข้อมูลเจอปัญหาก็แก้ไปเรื่อยๆ เจอปัญหาชอบคิดชอบแก้ไม่รู้ว่าเป็นขบวนการ R2R จนถึงบัดนี้ 

จากนั้นมามองอีกแล้วสถานีอนามัยล่ะ ทำไมเวลาไปสถานีอนามัยได้รับบริการอย่างหนึ่ง  แต่พอมาโรงพยาบาลได้ใช้ของ ไฮโซ  แล้วสถานีอนามัย  ล่ะ เวลาไปสถานีอนามัยเหมือนไปโรงพยาบาลรัฐบาล  แต่เวลามาโรงพยาบาลทำไมมีของไฮโซเหมือนมาโรงพยาบาลเอกชน  แล้วมีใครไปดูแลบ้าง  ประชาชนต้องไปรับบริการเช่นเดียวกันตามรัฐธรรมนูญมาตรา 52 ประชาชนได้รับความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ก็เลยมีแนวคิดอย่างไรให้มีการสร้างมาตรฐานและทุกคนที่มารับบริการต้องได้รับความปลอดภัยที่จะในการรับการรักษาพยาบาล ฉะนั้นเราต้องให้ประชาชนได้รับสิทธิเท่าเทียมกันในทุกสถานบริการในอำเภอให้ได้ และดิฉันดำเนินการทำโครงการพัฒนางานจ่ายกลางสู่สถานีอนามัยทุกแห่ง จัดเป็นเครือข่ายโดยที่โรงพยาบาลจะเป็นศูนย์กลางในการทำให้ปราศจากเชื้อทุกสถานีอนามัย  เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับชุดอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อมาตรฐานเดียวกันในโรงพยาบาลและสถานีอนามัย 

พอทำงานต้องมีต้นทุน  ต้นทุนนี่สำคัญทำให้ผู้บริหารดู  ทำอย่างไร ต้องเอางานมาแลก  งานจ่ายกลางพอไปทบทวนดูแล้วมันมีต้นทุนเยอะมาก   เสาว์เองต้องไปลดต้นทุนในการสร้างระบบแล้วให้เกิดเครือข่ายขึ้นมาโดยที่เราต้องมองไม่ให้เกิดปัญหา   เมื่อมีปัญหาต้องเดินเข้าหาปัญหา  เราเกิดการแก้  เกิดการเรียนรู้ ทำให้เกิดปัญญา  มันท้าทายแล้วเราก็จะสนุก   ที่สำคัญทำด้วยใจรักจริงๆ   ตนเองไม่เคยคิดว่าการทำงานเพื่อหวังผลรางวัลอะไร  ทำงานเพื่อให้ใจ  มีความสุข  ให้ทุกคนมีความสุขในช่วงที่เรามีชีวิตอยู่  เพราะเราไม่รู้ว่าวินาทีข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น  แล้วก็ฝากวิดิทัศน์ที่ทำด้วยใจจากการร่วมแรงร่วงใจของเครือข่ายจ่ายกลางนครศรีธรรมราชพร้อมทั้งฝากบทกลอนที่น้องในเครือข่ายแต่งให้เมื่อคืนนี้ 

ขณะนั้นเอง อ.กะปุ๋มกล่าวแทรก  “เอ๊า...นึกว่าได้จากพี่คำผิว” เรียกเสียงฮาได้ระหว่างนั้น จากนั้นคุณเสาว์ก็ร่ายกลอน

“  คือบทบาท คือหน้าที่ คือชีวิต                         จึงได้คิดวางระบบประสบผล 

พัฒนางานค้นคว้าพัฒนาคน                 แน่วแน่บนความเหมาะสมอุดมการณ์ 

งานซักฟอก จ่ายกลางสร้างคุณค่า                      บ่งชี้ว่าเครื่องมือสะอาดมีมาตรฐาน 

ความสำเร็จความภูมิใจในผลงาน                        ขอบอกผ่านเรื่องเก่าๆเล่าให้ฟัง”....

จบการร่ายกลอนเรียกเสียงปรบมือเกรียวกราว...แล้วตามด้วยการนำเสนอวิดิทัศน์ แบบทำมือของคนในเครือข่ายทำเองเป็นเส้นทางเดินของเครือข่าย ของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช  

เส้นทางฝันคนเบื้องหลังสร้างพลัง…สร้างความหวัง…เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ในงานจ่ายกลาง – ซักฟอก จ.นครศรีธรรมราช

รับชมวิดิทัศน์ราว 13 นาทีเศษ  เนื้อหานำเสนอสภาพที่เป็นจริงจากการไปนิเทศ   จากการทบทวนเห็นปัญหามากมาย  ที่เกิดขึ้นจริงในสภาพที่เป็นจริงในหน่วยงาน  จึงเกิดจากคำถามในการทำงาน  ซึ่งงานจ่ายกลางซักฟอกต้องมีมาตรฐานในทุกๆอย่าง  พร้อมบทสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฉวางกล่าวถึงความสำคัญและที่มาในการจัดตั้งเครือข่ายในงานซักฟอก จ่ายกลาง   จะพัฒนางานให้งานจ่ายกลางได้มาตรฐานได้อย่างไร  ตามที่ได้ศึกษาและกล่าวถึงรัฐธรรมนูญมาตราอ52 ประชาชนได้รับความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในการรับการรักษาพยาบาล ฉะนั้นเราต้องให้ประชาชนได้รับสิทธิเท่าเทียมกันในทุกสถานบริการ เธอจึงได้ดำเนินการทำโครงการ พัฒนางานจ่ายกลางสู่สถานีอนามัยทุกแห่งในอำเภอบางขัน โดยที่โรงพยาบาลจะเป็นศูนย์กลางในการทำให้ปราศจากเชื้อทุก สอ. เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับชุดอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อมาตรฐานเดียวกันในทุกสถานบริการ ใน อ.บางขัน โดยสำรวจรวบรวมเครื่องมือ สอ. ทุกแห่ง  ดำเนินการเป็น เพื่อบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ ปราศจากเชื้อมาตรฐานเดียวกันทุกแห่งในอำเภอบางขัน การก้าวเดินด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจอย่างมีเป้าหมาย  ทำให้ผู้บริหารเห็นถึงความเปลี่ยนแปลง  และพลิกโฉมงานจ่ายกลาง สร้างคุณค่าในวิชาชีพของตัวเองอย่างไม่ย่อท้อ และได้กระตุ้นให้ภาคีเครือข่ายต่างๆ ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการชมรมจ่ายกลาง

ในปี 2550 ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องงานจ่ายกลาง เมื่อมีโอกาสพบปะกันกับโรงพยาบาลอื่นๆพบหลายแห่งมีปัญหาต่างๆมากมาย เช่น ด้านโครงสร้าง ความไม่พร้อมใช้เครื่องมือ ครุภัณฑ์ บุคลากร เราจะทำอย่างไรดีให้เกิดการพัฒนาจุดนี้ให้ได้มาตรฐานมากที่สุดทุกโรงพยาบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช ความมุ่งมั่นตั้งใจของเราเริ่มเป็นจริงขึ้นมาเมื่อเดือน ส.ค. 2550 มีการเยี่ยมสำรวจภายในระหว่าง รพ.ชุมชน ได้มีรพ.ถ้ำพรรณรา  โดยนพ.วิรุฬธ์  ลิ้มสวาท   ผอ.โรงพยาบาล มาเยี่ยมที่หน่วยจ่ายกลาง รพ.บางขัน และได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องการจัดการสายออกซิเจน  เป็นจุดเริ่มต้นในการจัดตั้งเครือข่าย 

ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบงานจ่ายกลาง ซักฟอกในโรงพยาบาลจังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นเดือนพฤศจิกายน 2550   โดยร่วมกับทีมงานยุทธศาสตร์ของ สสจ.  และดำเนินการประชุมติดตามการวางแผนการทำงานในทีมคณะกรรมการทุกเดือน และจากการทบทวนกันในทีมพบว่าปัญหาความรู้ หลังปฏิบัติที่เจ้าหน้าที่จ่ายกลางต้องรู้และตระหนักมากเพราะว่าผลต่อคุณภาพการ  ต่างจังหวัดใกล้เคียงร่วมประชุมด้วย  ภารกิจเครือข่ายทีมงานจังหวัดไม่หยุดนิ่งในการพัฒนา  เพื่อให้ได้มาตรฐานงานจ่ายกลาง-ซักฟอกโรงพยาบาลในจังหวัด การลงประเมินนิเทศจ่ายกลาง-ซักฟอกของโรงพยาบาลได้มีการการประเมิน จะดำเนินการนิเทศทุกโรงพยาบาล การขับเคลื่อนของพวกเขาทุกคนรวมทั้ง สสจ. ได้เข้ามาร่วม อย่างเป็นรูปธรรมในการทำงานของพวกเขามีความมุ่งมั่นตั้งใจ  จนได้รับการชื่นชม เพื่อเป็นพลังในการก้าวเดินต่อไปเรื่อยๆไม่หยุดยั้งการให้ความสำคัญการให้ความรู้กับระดับผู้ปฏิบัติ  ขวัญกำลังใจต่างๆสำคัญและต่อเนื่องเช่นกัน คือ จากการจัดประชุมวิชาการประจำปี  จัดจะปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมตามปัญหาที่เกิดและพัฒนาต่อยอด   เป็นเครือข่ายที่คนทำงานมารวมตัวกันเอง  ปราศจากการสั่งการ แล้วนำผลงานเสนอผู้บริหาร   นอกจากนั้นได้เชิญโรงพยาบาลในจังหวัดใกล้เคียง กระบี่ ตรัง พัทลุง สงขลา สุราษฎร์ฯ เข้ามาร่วมด้วย ผู้เข้าร่วมประชุมเกินความคาดหมายที่วางไว้ พลังบุญกุศลที่พวกเราทำได้ส่งผลดีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

การพัฒนาบุคคลในหน่วยงานสนับสนุนจ่ายกลาง-ซักฟอกในโรงพยาบาลจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยการพัฒนาปัญหางานประจำสู่งานวิจัยในงานจ่ายกลาง-ซักฟอกทุกแห่งและโชคดีที่ได้ท่านวิทยากร R2R ดร.กระปุ๋ม จากรพ.ยโสธร และคุณสมหญิง รพ.ป่าติ้ว ที่แสนน่ารัก และถ่ายทอดวิชาได้อย่างน่าทึ่ง มาพลิกประวัติกาล ให้งานเบื้องหลัง อย่างจ่ายกลาง ทำ R2R ได้ตามเป้าหมาย กระตุ้นเป็นกำลังใจต่อยอดให้จังหวัดใกล้เคียงดำเนินการสร้างเครือข่ายในแต่ละจังหวัด ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดโดยไม่หวังผลตอบแทนเพียงแต่ตั้งเป้าหมายความปลอดภัยกับผู้ป่วยเป็นหัวใจสำคัญ   ซึ่งได้ขอบคุณปัญหาที่ท้าทายทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญการคิดพัฒนาต่อยอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบ่งกันทำงานโดยใช้ระบบเครือข่าย ทุกคนทำงานด้วยใจรักจริงๆโดยไม่ยึดติดกับรูปแบบต่างๆเพียงแต่หวังผลให้เกิดงานที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ไม่เครียดมีความสุขและสนุกกับการทำงานโดยเดินเข้าหาปัญหาและไขว้คว้าหาประสบการณ์ที่หลากหลายให้กับชีวิตภายใต้แนวคิดที่ว่า  “ทำชีวิตที่เหลืออยู่ให้มีคุณค่ามากที่สุดตอบแทนบุญคุณทุกอย่างที่ทำให้เราเกิดมาจนปัจจุบันนี้ด้วยความดี ทำดี จะได้ดี จะพบแต่สิ่งดี  ทำให้ชีวีมีสุขสนุกอย่างมีสาระชีวิตนี้จะมีค่า”       

            เมื่อคุณเสาว์เล่าจบ อ.กะปุ๋มก็กล่าวสรุปอีกครั้งว่า คุณเสาว์เป็นอีกหนึ่งต้นแบบของคนตัวเล็กๆ ที่ทำ R2R ด้วยหัวใจและแนะนำน้องวรรณคนทำงานในหน่วยจ่ายกลาง ที่เป็นตากล้องร่วมทำวิดิทัศน์ในครั้งนี้ รวมทั้งหันไปทักทายพี่กาย สาวเชียร์ R2R อีกคนซึ่งนั่งอยู่ท่ามกลางผู้ฟังในห้องที่เดินทางมาร่วมงานนี้โดยออกค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง อย่างคุ้นเคยสนิทสนมกัน ในขณะที่ถึงช่วงเวลาพักเบรกพอดี

             ระหว่างช่วงเวลาพักในห้องประชุมก็ได้เปิดเพลง ‘ณ ตรงนี้ ที่ใจฉันสุข’ และเพลงอื่นๆในอัลบั้มบทเพลงจากต้นพลัม เสียงเพลงเบาๆ ระหว่างรอ...เป็นเวลาประมาณ 10 นาที  

โปรดติดตามตอนต่อไปใน ฉากที่ ๓...



หมายเลขบันทึก: 451255เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2011 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท