อุ่นเครื่อง สำนักงานปราชญ์แห่งชาติ ตอนที่ 1 แนวคิดพื้นฐาน


สวัสดีครับทุกท่าน

          สบายดีกันไหมครับ...เคยนำเสนอแนวคิดไปกับท่าน อ.แสวง รวยสูงเนิน ไปหลายครั้งนะครับ ซึ่งเป็นการพูดคุยเพื่อขายแนวคิดในเรื่องการหาทางออกให้กับชุมชน ให้มีการสั่งสมฐานความรู้ปัญญาของชุมชน และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศเพื่อเป็นเครือข่ายสำนักงานปราชญ์ชุมชน ให้เป็นเครือข่ายปราชญ์แห่งชาติ ใช้คำว่าปราชญ์ อาจจะสูงส่ง แต่ผมเชื่อว่าผู้เป็นปราชญ์แท้ๆ ในเมืองไทยยังมีอยู่เยอะครับ แล้วให้ทรัพยากรบุคคลเหล่านี้ ในการถ่ายทอดความรู้ แนวคิด จิตวิญญาณ สู่ชุมชน

มีบทความที่ อ.แสวง ได้นำเสนอไปแล้วนะครับ ได้แก่

           ปราชญ์ในชุมชนนั้นเป็นผู้ที่มีความสำคัญมากๆ ในการศึกษาและอยู่กับชุมชน มาเป็นเวลานาน ซึมซับกลิ่นไอของชุมชนมาเป็นเวลายาวนาน สร้างบทเรียนให้กับตัวเอง แล้วเผยแพร่ให้กับคนรอบข้างเพื่อนำไปสู่แนวคิดทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืน และอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเข้าใจ กลายเป็นการอยู่แบบชุมชนพึ่งพา เกื้อกูลธรรมชาติ

          ได้ถกกับ ท่านอาจารย์แสวง ในเรื่องนี้ เพื่อหาทางออกหลายๆ ปัญหา และที่สำคัญปราชญ์ชุมชนนั้น ต้องอยู่ในชุมชน มีิอิสระมากพอที่จะทำงานอย่างอิสระในชุมชน แต่ปัญหาที่เกิดในแต่ละชุมชนย่อมมีทั้งเหมือนและแตกต่างกัน ดังนั้นที่ทำได้ก็คือ ควรจะมีโมเด็ม (ใครจะเป็น โมเด็ม ระหว่างรัฐกับชุมชน ชุมชนกับชุมชน) ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงชุมชนเข้ากับชุมชน และชุมชนเข้ากับรัฐให้ได้ แนวทางหนึ่งก็คือ การมีสำนักงานปราชญ์ชุมชนขึ้น

         ถามว่าเราจะจัดการอย่างไร ใครจะเป็นเจ้าภาพในเรื่องนี้

         เป็นโอกาสดีมากๆ ครับ ที่ในทุกๆ จังหวัด เมื่อก่อนจะมีสถาบันราชภัฏอยู่กระจายออกไปทั่วประเทศ และกลายมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งแต่ละที่นั้นก็จะมีฝ่ายห้องสมุด สำนักวิทยาบริการ ห้องสมุด ซึ่งจะมีฝ่ายโสตและฝ่ายไอที ในการที่จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากันสู่ระบบเครือข่ายได้ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นหากได้ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่เข้าร่วม ตลอดจนหอสมุดประชาชนร่วมกันเป็นเครือข่าย และองค์กรอื่นๆ ที่ี่สนใจ ในการเผยแพร่ภูมิปัญญาเข้าสู่ฐานข้อมูลภูิมิปัญญาของชุมชน ภายใต้สำนักงานปราชญ์แห่งชาติร่วมกัน  เช่นหากชุมชนหนึ่งในภาคอีสาน มีแนวทางในการกำจัดหอยเชอรี่ในนาข้าว เราอาจจะเจอปัญหานี้ ทั่วประเทศไทย แต่จะมีวิธีการต่างๆ ในการจัดการหรือการหาทางออก หากกระบวนการเหล่านี้ เชื่อมโยงเข้ากัน คนก็จะเข้าถึง หากชุมชนไหนไม่รู้วิธีการแก้ไข ก็อาจจะเข้าไปใช้บริการในระบบฐานข้อมูลปราชญ์แห่งชาติ ก็จะได้ข้อมูล จากนั้น ตัวแทนในแต่ละชุมชน ก็อาจจะมีการนัดประชุมรายเดือนกันทุกๆ เดือน แล้วนำมาเสนอ และต่อยอดความรู้กันได้ และเข้าสู่การปฏิบัติจริงครับ หากเอาไปทำแล้วไม่ได้ผล อาจจะแจ้งต่อไปผ่านตัวแทนชุมชนหรือโมเด็ม (ใครจะเป็น โมเด็ม ระหว่างรัฐกับชุมชน ชุมชนกับชุมชน) ของชุมชน เพื่อส่งไปยังระเบียนของข้อมูลนี้ ว่านำไปใช้แล้วไม่ได้ผล จากที่ไหน พร้อมข้อเสนอแนะต่างๆ ก็จะได้การนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ชัดเจนขึ้น

          ตัวสำนักงานปราชญ์แห่งชาตินั้น อาจจะเป็นองค์กรหนึ่งที่ตั้งขึ้นมาเพื่อจัดการบริหารการนำภูมิปัญญาชุมชนไปใช้และให้บริการอย่างอิสระและทุกชุมชนเข้าถึงฐานข้อมูลอย่างอิสระ ไม่มีผลประโยชน์ทางการค้าใดๆ ทั้งสิ้น โดยจะต้องสร้างแรงศรัทธาให้เกิดกับประชาชนในประเทศได้ในทุกระดับ และทุกภาคส่วน

         สำนักงานปราชญ์แห่งชาติ จะต้องดูแลปราชญ์ชาวบ้าน ในเรื่องของสวัสดิการทั่วไป เช่นด้านสุขภาพ ด้านปัญหา หรือการส่งเสริมเื้อื้ออำนวยความสะดวกให้กับปราชญ์ชาวบ้าน ในการทำงานอย่างมีิอิสระ เพื่อต่อยอดความรู้ของชุมชนให้เข้าสู่ความยั่งยืนมากขึ้น ตลอดจนเชื่อมโยงเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านทั่วประเทศเข้าด้วยกันครับ 

         ผมเกริ่นแค่นี้ก่อนนะครับ ไว้จะมาฝันละเมอไว้ต่อนะครับ ก่อนจะจาก ฝากภาพแผนที่ประเทศไทย ไทรงาม สำนักงานปราชญ์ชุมชนเอาไว้ดูเล่นๆ นะครับ

 
Philosopher-trai

ขอบคุณมากนะครับ มีอะไรฝากไว้ได้นะครับ จะมีตอนต่อๆ ไป มาเล่ากันต่อไปนะครับ เป็นตอนๆ ไปนะครับ โดยผมจะมุ่งเน้นไปที่ฐานข้อมูลภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นสำคัญ ตลอดจนแนวทางในการจัดตั้งองค์กรอิสระ และความยั่งยืนขององค์กร ภายใต้ไทยช่วยไทย....

การสมอง (การบ้าน) สำหรับตอนต่อไป นะครับ ลองไปคิดก่อนนอนนะครับ คืนละ 5-10 นาที หากเป็นไปได้นะครับ คิดดูว่าในชุมชนที่เราอยู่มีอะไรบ้างที่เราควรจะเก็บเข้าู่สู่ระบบฐานข้อมูล เพื่อเอาไว้ให้ลูกหลานและคนที่อยู่ในชุมชนไกลๆ นำไปประยุกต์ใช้ ทั้งนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และความรู้ใหม่ที่เกิดในชุมชน และสิ่งอื่นๆ นะครับ ย้ำนะครับ ไ่ม่ได้จะเก็บไว้เป็นพิพิธภัณฑ์นะครับ แต่เก็บเพื่อเผยแพร่และพร้อมจะให้ชุมชนอื่นต่อยอดทางความคิดและำนำไปใช้นะครับ

กระผมขอยกคำกล่าวของพระราชบิดา..มาอีกครั้งนะครับ (ขอบคุณคุณเบิร์ด สำหรับการบอกกล่าวนะครับ)

True success is not in the learning, but in its application to the benefit of mankind.

ขออนุญาตแปลแบบบ้านๆ นะครับ (หากแปลผิดหรือมีคำอื่นที่ดีกว่า รบกวนท่านผู้รู้ชี้แนะด้วยครับ เพราะผมได้รับมาเป็นภาษาอังกฤษนะครับ)

ความสำเร็จที่แท้จริงนั้นหาได้อยู่ที่การเรียนสำเร็จไม่ แต่อยู่ที่การประยุกต์ใช้ความรู้นั้นให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติเป็นสำคัญ 

แถมอีกประโยคหนึ่งนะครับ ไปค้นมาเจอครับ

I don't want you to be only a doctor but I also want you to be a man. 

ปล. หากโครงการนี้เดินไปด้วยความศรัทธาที่พวกเราพอจะมีร่วมกันได้ และวันหนึ่งหากคุณศรัทธาในสิ่งเหล่านี้ ผมจะขอรับบริจาคจากคุณ ปีละ 12 บาทนะครับ แต่เส้นทางนี้ยังอีกยาวไกลครับ ทุกท่านคือพลังที่สำคัญครับ 

ด้วยมิตรภาพและขอให้ธรรมชาติคุ้มครอง

เม้ง 

หมายเลขบันทึก: 131739เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2007 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

มีความคิดดี สร้างสรรค์   จัดตกแต่งบล็อกได้สวยงามดีมาก

lวัสดีค่ะ

 กำลังศึกษาตามคุณอยู่ แนวคิดนี้ดีมาก การจะค้นหาใครสักคน เพื่อมายกย่องเชิดชู นับเป็นกุศลจิต ที่จะก่อให้เกิดความเจริญแก่ผู้คิด ริเริ่มค่ะ ทำให้เป็นจริงให้ได้ ยินดีสนับสนุน ให้ความร่วมมือค่ะ

P
1. sirinunlux

 

สวัสดีครับคุณครู

  • ยินดีต้อนรับนะครับ สำหรับสมาชิกใหม่ และขอบคุณมากๆ นะครับ ที่แวะมาเยี่ยมครับผม
  • คงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับผมในชุมชนอุดมปัญญาแห่งนี้นะครับ
  • มีความสุขในการทำงานนะครับ
P
2. ตันติราพันธ์

 

สวัสดีครับคุณครู

  • ขอบคุณคุณครูมากๆ นะครับ ที่ติดตามมาตลอดนะครับ แต่อย่าเพิ่งคาดหวังมากนะครับ ติดตามไปก่อนนะครับ เพราะผมยังด้อยประสบการณ์นะครับ ต้องขอความเห็นและข้อเสนอจากหลายๆ ท่านมาร่วมด้วยนะครับ
  • หากวันหนึ่งเดินได้มั่นคงทุกคนจะเชื่อมโยงถึงกัน จะไม่ต้องหนักใครคนใดคนหนึ่ง ชุมชนสังคมเราก็จะถึงกันได้ครับ
  • G2K ก็เป็นต้นแบบให้เราเชื่อมมิตรภาพเข้าถึงกันแล้วนะครับ คงเป็นฐานในการต่อยอดอะไรดีๆ ให้กับสังคมได้นะครับ
  • ขอบคุณคุณครูมากๆ เลยนะครับ
  • เห็นด้วยกับคุณเม้ง ครับ เป็นโครงการที่ดี ที่น่าสนับสนุนจริง
  • ปราชญ์บ้านเรามีอยู่เยอะครับ แต่เป็นปัจเจกอยู่ในชุมชน การสร้างเครือข่าย ช่วยให้ความรู้เหล่านี้ มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกันได้มากขึ้น
  • ไม่มีใครเก่งในทุกเรื่อง เรามักมีความรู้เด่นกว่าคนอื่นในบางเรื่อง หากมีช่องทางที่เราสามารถหาความรู้ได้จากคนที่เก่งกว่า....นับเป็นอานิสงค์ของประเทศนี้ครับ

 

“I don't want you to be only a doctor, but I also want you to be a man”

  • โรงเรียนเป็นสถานบ่มเพาะความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
  • ไม่ได้เป็นเพียงสถานที่เรียน ท่อง สอบผ่านตามเกรด/เกณฑ์ที่ตั้ง+จ่ายตังค์ครบก็จบได้

เป็นแรงใจในการเริ่มต้นในสิ่งดีอีกแรงค่ะ

P
5. Mitochondria

 

สวัสดีครับพี่ไมโต

  • สบายดีไหมครับพี่ชาย
  • ขอบคุณมากๆ นะครับผม สำหรับความเห็นดีๆ และมีแนวทางที่อาจจะเกิดขึ้นได้จริง หากหลายๆ คนร่วมมือกันทั้งในระดับการปฏิบัติ และระดับแนวคิด
  • ผมเชื่อว่าต้นไม้แต่ละต้นในพื้นแผ่นดินนี้ สั่งสมบารมีให้กับตัวเองทุกต้น และแต่ละต้นก็ผลิตผลเพื่อสังคมเพื่อให้ชุมชนนั้นร่วมเย็น และปราชญ์ หรือคนทุกๆ ในสังคมก็เช่นเดียวกัน
  • ผมดีใจมากวันก่อนที่แม่เล่าให้ฟังว่า ในชุมชนที่บ้าน มีหมอดิน สามารถเอาดินไปตรวจแล้วจะทราบว่าดินบ้านเราขาดอะไรบ้าง ดินป่วยหรือเปล่า เพราะว่าดินสำคัญมากๆครับ หากดินป่วยเสียแล้วก็เจอปัญหาเลยครับ สำหรับการจะทำมาหากิน  แล้วหากน้ำป่วยตามมาด้วยแล้ว ยิ่งหนักใหญ่ครับ
  • ขอบคุณพี่มากนะครับ

ดีจ้า น้องเม้ง

แวะมาเติมเชื้อไฟค่ะ

อิอิ  เห็นว่ากำลังอุ่นเครื่อง ไง

P
6. Gutjang

 

สวัสดีครับคุณครู

สวัสดีครับเพิ่มเติมนะครับ

จาก

  • “I don't want you to be only a doctor, but I also want you to be a man”

ทำให้ผมนึกถึงคำพูดของโปรเฟสเซอร์

  • "Meng, I am not a professor here, I am your friend, I am a professor only in the university".
  • ขอบคุณมากครับผม 

 

P
8. DSS "work with disability" ( หนิง )

 

สวัสดีครับพี่หนิง

  • สบายดีไหมครับผม เหนื่อยไหมครับทำงาน น้องๆ สบายดีกันทุกคนนะครับ
  • ขอบคุณมากครับสำหรับเชื้อเพลิง อุ้ยเชื้อไฟครับ
  • จะได้อุ่นๆ ทั่วถึงกันครับผม มีโอกาสจะเข้ามาอุ่นไว้อีกนะครับ
  • รักษาสุขภาพนะครับ

การอุ่นเครื่องตั้งต้นก็คือ

 การวัดใจพันธมิตรอิงระบบเพื่อ KM ธรรมชาติ

ว่าใครจะพร้อมเข้ามาในตอนนี้

และใครคิดว่าเราจะปรับแผนรายละเอียดอย่างไร

ใครจะมาเพิ่มได้บ้าง

ใครจะตัวประสานในเบื้องตัน ระยะกลาง ระยะยาว

ในเรื่องอะไร

การวางแผนที่ดีสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่งครับ

 

นี่คือการอุ่นเครื่องในความรู้สึกของผมครับ

สวัสดีค่ะน้องเม้ง

ประทับใจพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชบิดาที่เบิร์ดนำมาฝากมากเลยค่ะ   เม้งแปลไว้ดีนะคะ  ทำให้ได้ตระหนักว่า ไม่ว่า"การได้มา" จะมีคุณค่าเพียงไหน ก็เทียบไม่ได้กับคุณค่าของการ "ให้"   

แนวคิดเรื่องสำนักงานปราชญ์แห่งชาตินี้น่าสนใจมากค่ะ   และพี่แอมป์ชอบแนวคิดเรื่องฐานข้อมูลภูมิปัญญาชาวบ้านมากๆด้วย   โดยเฉพาะความเป็นฐานข้อมูลแบบเปิดเพื่อให้ต่อยอด เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมได้ 

เห็นด้วยที่มหาวิทยาลัยในท้องถิ่น(รวมถึงราชภัฏ)ควรมีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายนะคะ  ถ้ามี "โมเด็ม" ดีๆ ที่เล็งเห็นประโยชน์ส่วนรวมของชาติเป็นสำคัญ ก็น่าจะเชื่อมโยงฐานข้อมูลกันได้โดยไม่ยากนัก  เพราะราชภัฏส่วนมากก็มีระบบฐานข้อมูลชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่แล้ว   

ส่วนในเชิงเทคนิคการจัดการ ก็คงต้องร่วมคิดร่วมคุย ร่วมลุยเป็นเครือข่าย  ซึ่งพี่ก็ยังเชื่อว่าผู้มีจิตสาธารณะจะมีอยู่ในทุกที่  

แล้วก็ทำให้นึกไปถึงระบบ GIS ด้วยนะคะ   (ไม่ทราบว่าจะใช้ระบบนี้กับงานฐานข้อมูลลักษณะที่เม้งเล่าให้ฟังได้ด้วยหรือไม่)  ตอนนี้ก็ทราบว่ามีการสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น เช่น  อบต. ศึกษาเพื่อการนำไปใช้จริง  ราวเดือนมกราคมปีหน้าหากพี่มีโอกาสได้เข้าร่วมงานแถวบ้าน จะมาเล่าให้ฟังอีกทีนะคะ   

พี่แอมป์แวะมาร่วมด้วยช่วยกัน  เข้ามาร่วมฝัน(แบบไม่ทันละเมอ)ด้วยคนอะค่ะ    : )  

ขอให้เม้งลุยงานเสร็จไวๆนะคะ  : )

  • มาร่วมสนับสนุนคะ G2K ก็เป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างเด่นชัดว่าผู้คนอันแตกต่างหลากหลายสามารถอยู่ร่วมกันได้...
  • แถมมีการต่อยอดความรู้แต่ละแขนงออกไปอย่างมากมาย...ดีกว่าเก็บความรู้ไว้เฉพาะหมู่กลุ่มตัวเองนะคะ
  • บ้านเมืองเรามีคนดี..คนเก่งเยอะคะ..หากมีสำนักงานปราชญ์แห่งชาติขึ้นมาได้บ้านเราคงดีกว่านี้แน่คะ....

สวัสดีครับทุกท่าน

พอดีย้ายหอพักครับ หายไปย้ายของ ขนของ ทำให้รู้ว่าการโยกย้ายประสบการณ์และสมบัติและการจัดการเพื่อให้ลงตัวนี่ไม่ใ่ช่เรื่องง่าย และไม่ใช่เรื่องยากเช่นกันนะครับ

ขอบคุณสำหรับความเห็นดีๆ มากๆ เลยนะครับผม

คิดถึงทุกท่านครับผม 

P
12. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

 

สวัสดีครับท่านอาจารย์แสวง

  •  สบายดีไหมครับผม เข้ามาตอบช้าคงไม่ว่ากันนะครับผม ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ ที่เข้ามาช่วยกันเติมเต็ม เติมปัญญา เติมแรงใจครับผม จะได้รู้สึกอบอุ่นอยู่ตลอดเวลาครับผม
  • หากมีอะไรเสริมเพิ่มเติมก็เต็มที่นะครับผม ผมก็ยังมีประสบการณ์ไม่มากเหมือนอาจารย์นะครับ ประสบการณ์ในชุมชนยังน้อยนิดครับผม
  • รักษาสุขภาพนะครับ
P
13. ดอกไม้ทะเล

 

สวัสดีครับพี่แอมป์ พี่สาวคนดี

  • สบายดีไหมครับ ขอบคุณมากๆ นะครับแนวทางนี้ คงต้องร่วมด้วยช่วยกันจากหลายๆ ท่านนะครับ ช่วยกันเติมเต็มประสบการณ์นะครับ
  • เดี๋ยววันนี้จะบรรเลง เอาไว้ตอนต่อไปเรื่องฐานข้อมูลภูมิปัญญานะครับ แล้วจะได้ร่วมกันต่อยอดร่วมกันนะครับ ว่าชุมชนมีอะไรบ้าง ต้องการอะไรบ้าง ขาดอะไรอยู่อีกบ้าง จะเติมเต็มอย่างไร อยากรู้อะไรจากชุมชนเพิ่มเติม
  • การได้มีส่วนร่วมจากองค์กรต่างๆในชุมชนนับเป็นสิ่งที่ประเิสริฐเลยหล่ะครับ แล้วหากได้มีแนวคิดการบูรณาการกันอยู่ภายในด้วยแล้วทุกอย่างจะกลมกลืนเข้ากันได้ยิ่งขึ้น
  • ขั้นแรกเราต้องเริ่มบูรณาการที่ตัวเราให้รวมหลายๆ เรื่องในสมองเราให้เข้ากัน และเปิดใจพร้อมจะบูรณาการร่วมกันคนอื่นๆ ด้วยครับ
  • หากเรามีฐานข้อมูลภูมิปัญญาชุมชนที่มีอยู่แล้ว โยงรวมไปยังแผนภาพ GIS ได้ก็จะเกิดอะไรที่เชื่อมโยงเป็นภาพเดียวกันได้ดีครับ ผมเห็นในแนวทางของโปรแกรม PointAsiaที่มีการนำเสนอหลายๆ อย่างน่าสนใจมากครับ ผ่านระบบแผนที่ครับ คงต้องร่วมๆ ช่วยกันคิดต่อยอด และที่สำคัญคือ พลังแห่งน้ำใจเพื่อสร้างสิ่งดีๆ และฟรีให้กับสังคม การคืนกลับให้สังคมเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนพึงกระทำตามแรงที่จะช่วยได้
  • ขอบคุณพี่แอมป์มากๆ เลยครับ คงต้องให้พี่แอมป์เข้ามาช่วยเติมเต็มกันต่อไปนะครับ
  • ขอบคุณพี่มากๆ เลยครับผม ขอบคุณมากๆ ครับ
P
14. naree suwan

 

สวัสดีครับคุณนารี

  • สบายดีไหมครับผม ขอบคุณมากๆ เลยครับผมสำหรับการมายืนยันการร่วมกันต่อยอด ผ่านระบบพื้นฐานที่เรามีอยู่แล้ว
  • มาร่วมกันสร้างด้วยกันนะครับ เป็นเครือข่าย เครื่อข่ายคนดี คนเพื่อสังคม คนเก่ง รวมบูรณาการคนและความคิดแบบองค์รวม เราก็จะได้ภูมิปัญญาแบบองค์รวมเช่นกันครับ
  • ขอบคุณมากๆนะครับ
ศุภัทร์ลาภ ทาสะโก

ผมศุภัทร์ลาภ  ทาสะโก ขอแสดงความคิดเห็นทั่วไปที่เกี่ยวกับปราชญ์ ปัญญาถิ่นและปัญญาสากลนะครับ

ถ้าเราจะช่วยกันควานหาปราชญ์ชุมชนหรือปราชญ์ท้องถิ่นคงพอหาได้ แต่ถ้าเนินนานไปกว่านี้อาจสูญหายกลายพันธุ์ไปก่อนนะครับ

แต่ถ้าไม่อยากให้เป็นเช่นนั้นต้อง(อย่างเร่งด่วน)

ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศแก้ไขคำสอนและเนื้อหาการสอนในวิชาที่ว่าด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาสากลก่อนครับ เพราะหากไม่แก้จุดนี้ความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนนี้จะถูกสอนและแพร่กระจายไปด้วยบัณฑิตราชภัฏ ประชาชน เยาวชนก็จะรับและซึมซับเอาความที่กำลังจะบอกนี้อย่างลึกซึ้งและแก้ไม่ได้

ตำราราชภัฏบอกว่า"ภูมิปัญญาสากล คือภูมิปัญญาตะวันตกและคือภูมิปัญญาสมัยใหม่"

อันนี้ผิดแบบมหันตภัยเลยนะครับ เพราะจะทำให้ภูมิปัญญาถิ่นด้อยค่าและอ่อนลงทันที่ ทั้งในความรู้สึกหรืออยากแสดงออก รวมทั้งความภาคภูมิใจไม่มีเลย ถึงมีก็รู้สึกว่าด้อยกว่าฝรั่งชาติตะวันตก

ต้องแต่งตำราและสอนกันใหม่พร้อมทั้งประกาศให้บัณฑิตที่จบไปแล้วถ่ายทอดไปแล้วด้วยว่า สอนผิดไปและส่งบทแก้ความหมายคำว่าภูมิปัญญาสากลให้ไปศึกษาใหม่ถ้วนหน้าด้วย

คำว่า หรือความหมายว่า หรือภาษาที่สื่อทั่วโลกกันว่า สากลนั้น หมายถึง "ที่ใดก็แล้วแต่ในโลกเหมือนกันหมด" หรืออาจรวมถึงในยุค หรือกาลเวลา ที่พร้อมๆกันด้วย

ภูมิปัญญาสากลมันไม่ใช่ของฝรั่งแต่พวกเดียว ภูมิปัญญาสมัยใหม่ก็ไม่ได้อุบัติขึ้นแต่เฉพาะถิ่นตะวันตกเท่านั้น มันเกิดขึ้นได้จากทุกอารยธรรม วัฒนธรรม เกิดขึ้นได้จากทุกซอกหลืบของโลกใบนี้ จากการคิด สังเกตุ ปฏิบัติ เรียนรู้ หยั่งรู้ พัฒนา ได้จากมนุษย์ทุกสายพันธุ์ ม่ใช่เฉพาะพวก คอเคเซียน พวกเดียวนะครับ

เช่น ทำไมมนุษย์ทุกพวกทุกหมู่เหล่าทุกสังคมทุกซอกหลืบในโลกนี้ ถึงทำถ้วยชามจานออกมามีขนาดเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน

คำตอบ เพราะมนุษย์ทั้งหมดมีกระเพาะอาหารขนาดเท่าหรือใกล้เคียงกัน ถ้วยชามจาน จึงถูกสร้างขึ้นมามีขนาดเท่าหรือใกล้เคียงกัน  อันนี้แหละที่เรียกว่า"สากล" แม้นว่าเราจะเร่มต้นที่ถ้วยชามทำมาจากดินก็ตาม

หรืออย่างไม้จิ้มฟัน มนุษย์ก็ผลิตไม้จิ้มฟันได้ทั่วโลกเหมือนกัน นี้ก็สากล

พิณ ซอ เครื่องสายต่าง มีน้อต 7 ตัว มีบันไดเสียง 7 ขั้นเหมือนกัน น่าประหลาด อัศจรรย์ ไหมหละครับ นี้ก็สากลเหมือน แต่ราชภัฎบอกว่าต้องเครื่องใช้ไฟฟ้าถึงจะเป็นปัญญาสากล งั้นต้องกีตาร์ไฟฟ้าเท่านั้นสิถึงจะเป็นปัญญสากล ต้องแก้ไหมหรัยอย่างนี้

อย่างกระสวยทอผ้าของบ้านเรา หรือฟืมทอเสื่อ ทอผ้าก็เป็นปัญญาสากลนะครับ ฝรั่งเรียนแบบเอเซีย แต่ก่อนฝรั่งนุ่งห่มด้วยหนังสัตว์นะจะบอให้ เรานี้แหละคือเผ่าพันธุ์สากล

ตัวอย่างกระสวย คุณเคยคิดไหม่ว่าทำไมเจ่งกิสข่านถึงบุกอังกฤษไม่ได้ ก็เพราะชาวมองโกลไม่เคยทอผ้า เคยถักสานเท่านั้น เมื่อไม่รู้จักกระสวยปัญญาไม่พัฒนาจึงมองไม่เห็นเรือพาย และดินแดนมองโกลก็ไม่ต้องใช้เรือด้วย ขี้แต่ม้า พอบุกไปถึงยุโรปก็ได้แต่แปกเพราะบุกอังกฤษไม่ได้ ถ้าว่ายน้ำขนบกก็จะโดนทหารอังกฤษฟันคอขาด จึงได้ถ่อยทัพกลับ  อังกฤษเองก็อยู่แต่บนเกาะขี้ม้าก็ไม่เก่ง เก่งแต่ทางเรือ ก็พายเรือไล่ล่าหามองโกลมานับร้อยปี ไม่เห็นมองโกล ไปเจอแต่เกาะฮ่องกง แล้วก็เฝ้ารอมองโกลอีกตั้ง 99 ปี ก็ถอยกลับ  นี่ก็อาจจะเป็นแนวความคิดของการสร้างเกมส์หมากรุกยุคใหม่ก็ได้นะครับ เพราะเรือกับม้าไล่กันยังไงก็ไม่จน(จลย์)มีแต่อับ  ผมเล่านิทานประกอบเรื่องปัญญาสากลให้ฟังเล่นๆนะครับ อาจจะจริงอย่างผมว่าก็ได้  นี่แหละเรื่องปัญญาถิ่นมันเป็นสากลอยู่ในตัวและบางครั้งปัญญาถิ่นอาจมีคุณค่ากว่าบางอย่างที่สากลก็ได้

ท่านทั้งหลายเห็นรึยังว่าปัญญาถิ่น หรือปัญญาของเราบางอย่างมันเป็นสากลอยู่ในตัวและจะพัฒนาไปได้ทั้งในทางสูงและทางกว้างแบบชาวโลกอายเลยหรือด้อยกว่าเราชนิดก้มหน้าคลานเข้ามาถามเลยก็ได้

ฝากบอกทางราชภัฏด้วยอย่าสอนให้คนไทยดูถูก ตีค่าตนเองต่ำต้อยอีกต่อไป อาจารณ์ผู้สอนและแต่ตำราของรา๙ภัฏที่ถ่ายทอดเรียนรู้กันมาอย่างสิ้นคิด ควรแก้ไขได้แล้วบ้านเมืองจะได้พัฒนา

ผมไม่ได้ด่านะ แต่ผมบอกอย่างนั้นจริงๆ

วันนี้เพียงแค่นี้ก่อน จะเพิ่มเติมใหม่ในเรื่องนี้โอกาสหน้า

ศุภัทร์ลาภ ทาสะโก

ขอแก้ไขเพิ่มเติม

ความหมายของคำว่าสากล หมายถึง "สิ่งใด ขบวนการทำใด การดำเนินวิถีใด ที่เหมือนกันทั่วทั้งโลกหรือเป็นไปส่วนมาก อาจจะเกิดขึ้ยุคเดียวกันหรือไม่ก็ได้ แม้ต่างภูมิลักษณะถิ่นที่ตั้งของชุมชนก็ตาม"

ตำราที่ราชภัฏนำมาสอนที่พูดถึงนั้นอยู่ในวิชา "วิถีไทย" สอนในชั้นปีที่หนึ่ง เทอมหนึ่ง

หมายเหตุ นักศึกษาทุกคนต้องเชื่อมและฝังอยู่ในความทรงจำ เพราะไม่เชื่อตามนั้นก็ต้องเสียคะแน หรือสอบตก อาจตกได้จริงๆเพราะคำถามทดสอบข้อสอบย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นกลุ่มคำถามคล้อยตามกันหลายข้อ

สวัสดีครับคุณศุภัทร์ลาภ ทาสะโก

  • ก่อนอื่นต้องขอบพระคุณมากๆ เลยนะครับ สำหรับข้อมูลที่น่าสนใจในเรื่องนี้ ที่ยกบทเรียนพื้นฐานที่นับว่าเป็นวิชาสำคัญ
  • แนวทางของ สำนักงานปราชญ์ ที่ได้นำเสนอนี้ ออกในรูปแบบลักษณะการเือื้ออำนวย ปราชญ์ชุมชนเป็นสำคัญ โดยที่ไม่เป็นการพยายามทำให้เกิดจำนวนปราชญ์มากมาย แต่พยายามสนับสนุนให้ปราชญ์ที่เป็นปราชญ์อยู่แล้ว ทำงานมีอิสระในชุมชน และสำนักงานปราชญ์นีจะทำหน้าที่ในการเผยแพร่ความรู้ให้กับคนในชุมชนและชุมชนอื่นๆ เป็นแนวทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ด้วยเนื้อหาจากพื้นฐานของชุมชนครับ
  • สำหรับแนวทางของราชภัฏนั้นน่าสนใจนะครับ โดยส่วนตัวแล้วนั้นผมไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ครับ และผมเชื่อว่า เราควรจะยึดแนวทางที่ดีของชุมชนท้องถิ่นของเราเป็นหลัก ที่นำไปสู่การใช้ชีวิตที่ยั่งยืนในทางที่ดีนะครับ รากเหง้าอะไรที่ส่งผลเสียก็ต้องพิจารณาปรับปรุง ส่วนใดที่ำนำไปสู่ความดีงามของชุมชนก็ต้องเก็บไว้และสืบทอด
  • การรับแนวทางของชาติอื่นมา ก็รับมาได้ในแนวหลักการ แต่ไม่ใช่เอามาใช้เลย ต้องดูว่าเหมาะสมกับชุมชนนั้นๆ แค่ไหนด้วยครับ ไ่ม่งั้นชุมชนก็จะโดนไวรัสทำให้เกิดภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ครับ
  • คงต้องร่วมมือช่วยกันนำเสนอนะครับ ดีใจมากๆนะครับที่คุณศุภัทร์ลาภ ได้มานำเสนอในมุมมองต่างๆ
  • ความเป็นสากลนั้น ก็ต้องมีการปรับใช้ให้เข้ากับชุมชนเช่นกันครับ ไม้จิ้มฟันแต่ละชุมชนอาจจะแตกต่างกัน หรือทำจากวัสดุต่างๆ กัน แต่เป้าหมายก็เพื่อเป้าเดียวกัน ส่วนวัสดุ อยู่ที่ชุมชนว่ามีอะไรพร้อม เพราะชุมชนหนึ่งจะใช้ก้านมะพร้าว เพราะมีสวนมะพร้าวเยอะ อีกชุมชนหนึ่งอาจจะใช้ไม้ไผ่ เพราะมีเยอะในชุมชน
  • ดังนั้น นี่คือการปรับใช้จากสากล ไม่อย่างนั้นแล้วเราก็นำเข้าอยู่ตลอดเวลาครับ
  • ขอบคุณมากๆ  นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท