จิตกับกาย...(Mind and Physical)


กลไกทางสมองเหล่านี้เกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไขเดียว..คือ.."ความเป็นมนุษย์"...จะมากหรือน้อย..ก็แตกต่างกันออกไปตามความเป็น "ปัจเจคบุคคล"...เราอาจมองเห็นความงดงามที่ได้งอกงาม..ออกมาเป็น "ความคิด"..ที่บ่งบอกถึงความมี "ปัญญา"..ของคน

           เมื่อยุคสมัย..ที่มีการคิดจากฐานพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)..ที่มองมนุษย์เพียงแค่  "สิ่งเร้า"<--------> "การตอบสนอง"...พบเกิด..ช่องว่าง..ระหว่างสองสิ่งที่คนเชื่อฐานคิดนี้..ยากที่จะหาคำตอบอธิบายปรากฏการณ์ระหว่างช่องว่างนี้ได้...ว่าสิ่งที่เร้าที่เข้าไป..ทำไมตอบสนองออกมาเช่นนี้...หรือ "สมองมนุษย์"..มีเพียงเท่า "หนู"..หรือ.."สุนัข"..ที่นำมาทดลองเพื่อหาคำตอบของ "สิ่งเร้าและการตอบสนอง"..แค่นั้นเองหรือ..

          ฐานคิดทางจิตวิทยาการเรียนรู้ในอีกกลุ่มที่ไม่ได้เกิดมาใหม่หากอาจมารุ่งโรจน์ในช่วงภายหลัง คือ "พุทธิปัญญานิยม" (Cognitive Theory)..ต่างแสวงให้ได้มาที่คำตอบ..ของช่องว่าง"สิ่งเร้า"<--------> "การตอบสนอง" ทำให้พบความงดงาม "ทางปัญญา"..ที่เกิดมากกว่าจะมองเพียงเนื้อเยื่อหรือเซลล์สมอง..แต่หากมองลึกลงไปใน จิต = Mind ที่เชื่อมโยงมาสู่ ทางกาย = Physical พบกลไกที่มากมายที่ "สมองของมนุษย์"....ทำงาน..มากกว่าปล่อยสารเคมีและกระแสพลังงานเท่านั้น..หากสิ่งสำคัญที่เกิดคือ "กระบวนการเรียนรู้"..ที่ "มนุษย์"..รับรู้ผ่านสื่อสัมผัสทางธรรมชาติในร่างกายและเกิดการไปประมวลผล..ที่ซับซ้อยมากมายหลายกลไก อาทิเช่น เกิด Cognitive load(ง่ายๆ ขอใช้แทนคำว่า "นึก-คิด"และดึงออกมา) การ Encoding หรือใส่รหัสเข้าไปในสมองอาจเป็นทั้งภาพ เสียง หรือคำพูด  Imagery หรือภาพความนึกคิด  และมีอีกมากมายกลไกที่น่าทึ่ง..และมหัศจรรย์...แล้วค่อย Representation ออกมา..ที่บ่งบอกว่า "เรารับรู้ต่อ...นั้นอย่างไร" (Cognitive Process)

   cogpic คำถาม..มีอยู่ว่ากลไกเหล่านั้นเกิดได้กับทุกคน..ทุกเพศ ..ทุกวัยหรือไม่..อย่างไร?...

"แน่นอนคะ"..เพราะไม่ว่าจะเป็นอะไร..ยังงัย..กลไกทางสมองเหล่านี้เกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไขเดียว..คือ.."ความเป็นมนุษย์"...จะมากหรือน้อย..ก็แตกต่างกันออกไปตามความเป็น "ปัจเจคบุคคล"...เราอาจมองเห็นความงดงามที่ได้งอกงาม..ออกมาเป็น "ความคิด"..ที่บ่งบอกถึงความมี "ปัญญา"..ของคนคนนั้นและสิ่งเหล่านี้...ไม่จำเป็นต้องผ่านการรับรองด้วย "ใบปริญญา"..ใดใดไม่...

 

          ดังนั้น..มนุษย์..หากดูแลเฉพาะที่กาย..หากไม่ดูแลที่ใจ..ก็ยากที่จะฟื้น..สภาพ..ได้อย่างรวดเร็วและเต็มเปี่ยมด้วยพลัง..แห่งชีวิต

 

............................

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 18540เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2006 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ปกติเป็นคนไม่ชอบอะไรที่เป็นปรัชญาคะ  แต่คุณ

Dr.Ka-Poom  สามารถสื่อสารเรื่องที่ยากจะเข้าใจสำหรับชาวบ้านธรรมดา  ทำให้เข้าใจได้ง่ายๆ ขอบคุณนะคะ

 
กลไกทางสมองเหล่านี้เกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไขเดียว..คือ.."ความเป็นมนุษย์"...จะมากหรือน้อย..ก็แตกต่างกันออกไปตามความเป็น "ปัจเจคบุคคล"...เราอาจมองเห็นความงดงามที่ได้งอกงาม..ออกมาเป็น "ความคิด"..ที่บ่งบอกถึงความมี "ปัญญา"..ของคนคนนั้นและสิ่งเหล่านี้...ไม่จำเป็นต้องผ่านการรับรองด้วย "ใบปริญญา"..ใดใดไม่...

“จิต” กับ “กาย” ในความเป็นมนุษย์

     “ความเป็นมนุษย์” เพียงอย่างเดียวไม่น่าจะใช่ “ที่มีกระบวนการทางปัญญา” ขอตั้งข้อสังเกต และจะบอก...ผมเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตก็น่าจะมีเช่นกัน เป็นการมีอย่างไร้ระบบ ไร้ระเบียบ ในสรรพสิ่งทั้งมวลนี้ จึงอยู่กันได้อย่างสมดุล การเสียสมดุลตรงนี้ (ที่เราอ้างอิงในปัจจุบัน) ก็เพียงเพื่อรักษาสมดุลของสรรพสิ่งในภาพรวม แต่เราอ้างอิงไปไม่ถึง เพราะแท้จริงคือยังไม่รู้ (แต่อวดว่ารู้ เพราะรู้ไม่หมด) การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ ก็อธิบายได้ในลักษณะเช่นนี้ว่า...เป็นไปเพื่อรักษา “สมดุล” ของสรรพสิ่งในภาพรวมไว้ เป็นตัวอย่าง มาเอ่ยอีกสีกเล็กน้อย “มวล” เพียงน้อยนิด นับเป็นความสำคัญของ “สมดุล” ความฉลาด (โดยไม่เฉลียว หรือเฉลียวแล้วแต่ กิเลส ที่ต้องการชื่อเสียง ทำให้เลือกผิดโดยไม่สนใจ) ของมนุษย์กำลังนำมวลไปทิ้งนอกโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ สรรพสิ่งจะปรับเพื่อความสมดุล โลกจึงจึงเปลี่ยนไปเร็ว และเรา “มนุษย์” จะปรับไม่ทัน เพื่ออยู่ในสมดุลใหม่ ให้ระวัง...โปรดพิจารณา เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่เชื่อว่าเรารับรู้ร่วมกันอยู่ เช่น แผ่นดินไหว ภัยพิบัติ ฯลฯ และขอพักไว้ก่อน เพราะยังไม่ถึงเวลา...ดังที่เพื่อนที่รักคนดีคนหนึ่ง (เจ้าของบันทึกนี้) ได้เตือนสติผมไว้เสมอ ๆ

     กล่าวเฉพาะในความเป็นมนุษย์ในระดับปัจเจกบุคคล “จิต” กับ “กาย” ก็ต้องสมดุล กาย (ป่วย) <---> จิต (ป่วย), กาย (สบาย) <---> จิต (สบาย) ฉะนั้น กาย (ดูแล) <---> จิต (ดูแล) แล้วจึง วิญญาณ (ความสุข)
สมดุลจึงเป็นดังนี้
                   กาย  <--->  วิญญาณ  <--->  จิต
                    V                    ^                 V
                        --> กระบวนการเรียนรู้ <--

     ในมุมมองผมจึงมองเห็นความเป็นมนุษย์ในระดับสังคมว่า เราจะยกระดับวิญญาณของมนุษย์ได้อย่างสมดุลร่วมกัน ด้วยการสัมผัสกัน (คล้าย ๆ ปฏิสัมพันธ์ แต่ลึกล้ำกว่า) ด้วยกาย จิต และวิญญาณ ก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ระดับสังคม) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ หลังจากที่ได้เรียนรู้มาแล้วด้วยตนเอง (ระดับปัจเจกบุคคล) ฉะนั้นใน Model ที่ผมคิดนึกและไตร่ตรองอยู่นี้ จึงไม่มี และไม่เห็นความสำคัญของการรับรองวิทยฐานะ “แต่อย่างไร” กลับเห็นความสำคัญของการสัมผัสกัน ด้วยกาย จิต และวิญญาณ อย่างจริงใจมากกว่าครับ

เขาว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว บางครั้ง กายบางส่วนควบคุมไม่ได้ เช่น ปากไว กว่าจิต ชีวิตจึงลำบาก ครับ

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอ JJ ที่มา ลปรร.นะคะ

"ปากไวกว่าจิต นั่นเพราะจิตใต้สำนึก (Unconscious) ทำงานมากไปไหมคะท่านอาจารย์"..(แซวนิดๆ จิตแจ่มใสค่ะ)

ปล. ..."การพูด"...จะพูดไวพูดช้าหรือพูดก่อนคิด..หรือคิดแล้วพูด..น่าจะไม่ใช่การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัตินะคะ...ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของจิต..แต่หากเพียงว่า "คำพูด" นั้นออกมาจากจิตในระดับไหนมากกว่านะคะ (ยิ้ม)...หรือว่าอย่างไรคะ...

เคยอ่านเจอว่าก่อนที่มนุษย์จะมีภาษาพูด  มนุษย์ในยุคแรกๆสื่อสารกันด้วย " จิต " โดยใช้ " จิต " ต่อ " จิต " แต่เมื่อมนุษย์มีวิวัฒนาการมากขึ้นจึงเกิดภาษาพูดและภาษาเขียน ..และเมื่อมีผู้ที่สงสัยในการเกิดพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ก็ได้มีการพยายามพิสูจน์โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้กลไกการแสดงออกของมนุษย์ถูกเปิดเผยแต่ก็เปิดเผยได้เพียงแค่สิ่งที่สามารถวัด หรือกำหนดได้เท่านั้น สิ่งที่มากกว่านั้นเช่น " จิต "  " วิญญาณ " หรือ" ปัญญา " วิทยาศาสตร์ยังคิดหาวิธีพิสูจน์ไม่ได้ แต่พระพุทธเจ้าท่านได้ชี้แนะวิธีที่จะสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเองอย่างชัดแจ้ง เพียงผิว์ผู้ใดต้องการพิสูจน์บ้าง?  

ความสมดุลใน "จิต" กับ "กาย"

"มนุษย์" เราลืมที่จะคำนึงถึงความสมดุล...ที่เกิดขึ้นในชีวิต
จึงเห็นได้ว่า..เราทุกวันนี้ "ป่วย"..
กายป่วยนิดเดียว..แต่จิตนั้นป่วยยิ่งกว่า
หรือ..เพียงแค่จิตเริ่มป่วย..กายก็ไม่สบายแล้ว
...
เพียงแค่เรา..รักษาสมดุล..
กาย..จิต...วิญญาณ..."มีสุข"

(สอดคล้องกับทุกความเห็นนะคะ)

     ขอเชื่อมโยงไปไว้กับชื่อ "ชายขอบ" หน่อย เพราะบันทึกนี้หาตั้งนาน ไม่เจอ จนต้องไปตั้งเป็นคำถาม

ทฤษฎีแรงจูงใจ

    - กลุ่มพฤติกรรมนิยม

    - กลุ่มพุทธิปัญญานิยม***

    - กลุ่มมนุษยนิยม

และเราจะนำทฤษฎีของกลุ่มพุทธิปัญญานิยม

ไปประยุกต์ใช้ ได้อย่างไรบ้างคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท