ความรู้สึกกับสมอง


ความรู้สึกเกิดจากกิจกรรมของสมอง

      เมื่อเราหลับเราจะไม่มีความรู้สึก  เมื่อตื่นจึงจะมีความรู้สึก  ทุกคนมีประสบการเกี่ยวกับความรู้สึก  เพราะว่าเราสัมผัสความรู้สึกอยู่ทุกวัน นับแต่วันแรกที่เราเกิดมา   และคนทั่วไปรู้ว่า  ความรู้สึกไม่ใช่วัตถุ

       แต่สมองเป็นวัตถุ มีตัวตน  มันต้องการที่ว่าง  และเราสามารถบอกได้ว่า  ขณะนี้มันอยู่ตรงไหน

       ดังนั้น  ความรู้สึกกับสมองจึงไม่ใช่สิ่เดียวกัน  สันนิษฐานว่า  ความรู้สึกเกิดจากกิจกรรมของสมอง

       ความรู้สึกและสมองจึงอยู่ในกระโหลกศีรษะ  ถูกห่อหุ้มด้วยกระโหลกศีรษะ  เหมือนกับอยู่ในห้องมืด  ไม่ได้สัมผัสกับโลกภายนอกกระโหลกศีรษะเลย  นอกจากจะสัมผัสผ่านอวัยวะรับสัมผัสเท่านั้น  คือ ผ่าน  ตา  หู  จมูก  สิ้น  ผิวหนัง   กล่าวคือ  อวัยวะรับสัมผัสเหล่านี้จะถูกเชื่อมต่อกันกับสมองด้วยระบบของเส้นประสาท  โดยมีปลายเส้นประสาทด้านหนึ่งเชื่อมต่อกับอวัยวะรับสัมผัส  และปลายประสาทอีกด้านหนึ่งเชื่อมต่อกับสมอง  สมองจะรับรู้โลกภายนอกจากข้อมูลที่ปลายประสาทด้านที่เชื่อมต่อกับสมองดังกล่าว    ดังนั้น  สารจากโลกภายนอกที่เข้าทางตา จะไปถึงสมองที่ปลายประสาทที่เชื่อมต่อกับคอร์เท็กกซ์บริเวณแดนการรู้สึกเห็น  คือที่บริเวณท้ายทอย  และสมองจะรับรู้ข่าวสารจากโลกภายนอกเฉพาะที่ปลายประสาทนั้นเท่านั้น  เมื่อรับรู้แล้ว  ขั้นต่อไปจะเป็นเรื่องของสมองเองที่จะคิดต่อไปเกี่ยวกับสารนั้นภายในห้องมืดของกระโหลกศีรษะนั้น  ถ้าคนนั้นตาบอดสี  สารที่เข้ามาก็จะไม่ครบถ้วน  สิ่งที่สมองได้รับและรับรู้จึงไม่เหมือนกับสิ่งจริงในโลกภายนอกสมองนั้น  การรับรู้ก็จะถูกบิดเบือนไปจากโลกจริง  การอธิบายนี้เป็นการอธิบายอย่างหยาบๆ   อธิบายเชิงสันนิษฐาน  และเชิงเหตุผล   ไม่ใช่เชิงข้อเท็จจริง   การศึกษาข้อเท็จจริงว่ากระบวนการดังกล่าวที่เกิดขึ้นจริงในระบบประสาทว่าเป็นอย่างไร  เป็นงานของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มประสาทวิทยาหรือ Neurologists   ส่วนการศึกษาเรื่องของความรู้สึกเป็นงานของนักจิตวิทยากลุ่ม Cognitivists

       เกี่ยวกับอวัยวะรับสัมผัสอื่นๆ ก็สามารถอธิบายได้ในทำนองเดียวกัน

       เรื่องที่กล่าวมานี้มีความสำคัญอย่างยิ่งกับศาสตร์ทางพฤติกรรมศาสตร์ทุกสาขา  โดยเฉพาะ  อาชญวิทยา,  เกี่ยวกับการพิพากษาคดี และการจดบันทึกข้อมูลเพื่อการวิจัย  หรือเพื่อการลงความเห็นใดๆ 

คำสำคัญ (Tags): #ความรู้สึก
หมายเลขบันทึก: 34672เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2006 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ความรู้สึก...เบื้องต้น..นั้นอาจมาจากประสาทสัมผัส...

  • รู้สึกร้อน...เพราะผิวหนังไปสัมผัสกับความร้อน
  • รู้สึกเจ็บ...เพราะไปสัมผัสกับความเจ็บ...
  • รู้สึก...

หากแต่เมื่อเป็นความรู้สึกที่ลึกลงไป...เช่น รู้สึกดีใจ เสียใจ โกรธ...ฯลฯ...นั้นน่าจะมาจากเมื่อเราได้รับสาร..ผ่านโสตประสาทสัมผัส...แล้วสาร(ข้อมูล-Data)นั้นนำเข้าไปประมวลผลอยู่ภายใน...แล้วแสดงออกมาตามสิ่งที่เรารับรู้...

แล้วความรู้สึก...กับอารมณ..ที่แสดงออกมานั้น..เป็นอย่างไร...อีกทั้งพฤติกรรมอีก...ทุกอย่างล้วนแล้วมีความเชื่อมโยง...กันและกัน...

มาอ่านบันทึกอาจารย์แล้ว...ก่อเกิดความเสียสมดุลทางปัญญา...ต้องกลับไป Review..ใหม่อีกครั้ง...เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่...เข้าใจยิ่งขึ้นคะ

       รู้สึกดีใจจริงๆ ที่ได้สนทนากับ Dr.Ka-poom  ครับ  ผมเคยแอบอ่านบล็อกของอาจารย์มาแล้ว(ผมขอเรียกว่า อาจารย์ นะครับ)บางเรื่องครับ

       เป๊นข้อคิดเห็นที่ลึกซึ้งมาก  แต่นอกจากข้อคิดเห็นแล้ว อาจารย์ยังมีนัยที่ถามด้วย  ผมจึงขอร่วมคุยดังนี้ครับ

       ๑. เรื่อง Human Mind  ที่เขียนมาแล้วนั้น มีแต่เรื่องด้าน Cognition  ครับ  ไม่ได้กล่าวถึงด้าน Affection  ซึ่งเป็นเรื่องในอาณาจักรของอารมณ์หรือ Emotion  ผมคิดว่าจะเขียนด้วย  แต่ให้หมดเรื่องของ Cognition ก่อน  

       ๒. ลึกลงไปภายใต้บรรทัดของ  Cognitive Psychology คือสมองที่ส่วนใหญ่เป็นบริเวณ Cerebral Cortex ซึ่งเป็นเรื่องของวัตถุ  นักจิตวิทยาสนใจเรื่องของ Cognitive  ส่วนการศึกษาเซเรบรัล คอร์เท็กซ์เป็นงานของ Neurologists  หรือ Physiologists

        ๓. อารมณ์เป็นคุณภาพหรือลักษณะของ Mind โดยรวม  แต่วัตถุที่เป็นฐานอยู่ใต้บรรทัดของอารมณ์ก็คือ  บริเวณแถวๆ Limbic system และ Hypothalamus  จึงมีส่วนสัมพันธ์กับ Cerebral Cortex ที่เป็นฐานทางวัตถุของ Cognitive Area ด้วย

        ๔. Freud และ Maslow สนใจบริเวณของอารมณ์มาก  และมองว่ามันเป็นแรงผลักร่วมกันของคนและสัตว์  คือทั้งสัตว์และคนจะถูกผลัก(Motivation) ด้วยอารมณ์นี้  แต่ Cognition จะผลักเฉพาะคน  เพราะสัตว์ไม่ค่อมีเซเรบรัลคอร์เท็กซ์  หรือมีบ้างนิดหน่อยยังไม่พัฒนา   ดังนั้นถ้าใครปล่อยให้อารมณ์เป็นแรงผลัก ๑๐๐ % แล้วละก้อ  เขาก็เท่ากับสัตว์เท่านั้นเอง  และในปัจจุบันนี้  ได้มีการนำเอาเรื่องการยั่วยุอารมณ์มาเป็นแรงผลักโฆษณาสินค้ากันครื้นเครง  คือใช้แรงผลัก.... นะครับ 

        มันน่ากลัวเหลือเกิน !!

       

สุนทรียสนทนา...ได้ความรู้...ที่บางครั้งเราลืมหันกลับมามอง...และเป็นความรู้ที่ต่อยอด...น่าทึ่งมากคะ..อย่างที่อาจารย์ว่านะคะ...ทุกวันนี้คนเรามักใช้"อารมณ์"เป็นแรงผลัก...ในการนำชีวิต...จึงมักทำให้เราเพลี้ยงพล้ำต่อชีวิต...เสมอ

ผมเห็นว่าอาจารย์สนใจเรื่องจิตเวช   จึงได้เอ่ยถึง ฟรอยด์  และ มาสโลว์ มานิดหน่อยครับ  เมื่อวันก่อน  เกี่ยวกับแรงจูงใจ  ซึ่งผมชอบใช้คำแรงผลัก

จริงเหมือนอาจารย์ว่าแหละครับ   จากความรู้ทางสรีระวิทยาที่ผมมีอยู่น้อยนิด  ผมได้ข้อสรุปว่า  มนุษย์เรามีเซเรบรัลคอร์เท็กซ์มีปริมาณมาก + Hypothalamus & Limbic System ที่เป็นแหล่งของอารมณ์ ก็มีปริมาณไม่เบา   แต่สัตว์ทั่วไปมีปริมาณของเซเรบรัลคอร์น้อยถึงน้อยมาก จนกระทั่งไม่มีเลย + แหล่งของอารมณ์ที่มีปริมาณมากกว่า  จึงทำให้พฤติกรรมของสัตว์ถูกควบคุมด้วยแหล่งอารมณ์  คือมีอารมณ์เป็นตัวผลักพฤติกรรม   ซึ่งคนควรจะถูกผลักด้วย Cognition มากกว่า  แต่เมื่อเห็นจอทีวีเต็มไปด้วยการอวดร่างกายเปลือยเปล่า   นักร้องที่แต่งกายวาบหวิว  ภาพยนต์ที่มีบทเซ็กส์  หนังสือพิมพ์ที่มีภาพคล้ายเปลือย ฯลฯ นัยว่าถ้าไม่ทำเช่นนั้นแล้วจะขายไม่ออกอะไรทำนองนั้น  จึงทำให้สรุปว่า  เราไม่ได้ถูกควบคุมด้วย Cognition !!

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท