R2R : ไปเกิดที่สูติ1 แล้ว


ขอแว๊บ!!! จากการปั่นงาน...มาเขียนเรื่องดีดีสักเรื่อง...เพราะอดทนเก็บไว้ไม่ไหว...กับอาการพองโดแห่งหัวใจ...เมื่อวานได้รับโทรศัพท์จากพี่ละมุน...หัวหน้าตึกสูติกรรม1 ว่า "พี่อยากทำวิจัยแบบ R2R เขาทำอย่างไรเหรอ...อยากให้มาเล่าให้พี่ฟังได้ไหม..." ดิฉันก็ตอบไปว่าได้คะ...แต่เป็นวันนี้คงไม่ได้ เพราะกะปุ๋มมีประชุมทั้งวันเลยคะ" (หมายถึงเมื่อวานนะคะ)...ว่าแล้วก็เลยนัดหมายพี่ละมุนเป็นวันนี้ ประมาณ 9 โมง แต่พอใกล้เวลา...มีเรียกตามตัวประชุมด่วนในกลุ่มงานฯ จึงได้โทรไปขอเลื่อนพี่ละมุน...แล้วถึงได้มทราบว่าวันนี้เป็นวันหยุดของพี่เขา...แต่มาเพราะนัดหมายกับดิฉันไว้...จึงรู้สึกเกรงใจอย่างยิ่ง...

จึงบอกว่า.."ถ้างั้นกะปุ๋มประชุมเสร็จไม่น่าจะนาน จะรีบไปหาพี่ที่ตึกเลยนะคะ"...การประชุมเราเริ่มตั้งแต่แปดโมงกว่าๆ...เสร็จโดยประมาณสิบเอ็ดโมงดิฉันเห็นว่าไม่มีประเด็นอะไรแล้วจึงรีบขอตัวไปที่ตึกสูติกรรมตามที่นัดหมายกับพี่ละมุมไว้...พบว่าพี่และบุคลากรในตึกต่างรออยู่พร้อมข้อมูลที่มีอยู่อย่างเยอะเลยคะ...พี่ละมุนก็เล่าให้ฟังว่า "พี่เริ่มเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับบริการมาเยอะมาก...แล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ และปรับกิจกรรมการบริการ จากนั้นก็ประเมินผลลัพธ์จากการบริการอีกครั้ง...แล้วก็มีการปรึกษาหารือกันในตึกว่า...มีอะไรที่ควรให้ในกิจกรรมการบริการนั้นอีก...จากนั้นระยะเวลาผ่านไปสักพัก...ก็เก็บข้อมูลประเมินผลอีก..." และนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน..แล้วพี่ละมุนก็ถามต่อไปอีกว่า..."อย่างนี้เรามาศึกษาเป็นกระบวนการวิจัยตามแบบที่เรียกว่า R2R ได้ไหม..."

เท่านั้นและคะ...ดิฉันรู้สึกดีใจอย่างยิ่ง เพราะนักปฏิบัติเริ่มมีใจอยากจะทำ และร้องเรียกที่อยากจะลุกขึ้นมาทำ...ดิฉันรีบตอบรับไปว่า "ใช่เลย"...ทำเลย...แล้วจากนั้นพี่ละมุนกับคนอื่นๆ ก็รีบนำข้อมูลที่ตนเองแก้ไขในการทำงานประจำ..มาให้ดูและเล่าให้ฟัง พร้อมกับเล่าเรื่องที่จะทำและกำลังทำอยู่ในตอนนี้ให้ฟัง พร้อมกับว่าอย่างนี้ก็ทำได้ใช่ไหม...

ดิฉันสังเกตกระบวนการทำงานของพี่ละมุนและทีม ว่ามักจะเริ่มจากการสังเกตและสงสัยว่า เอ๊ะ! ทำไมคนไข้เป็นอย่างนั้นทำไมเป็นอย่างนี้...จากนั้นก็ศึกษาจากข้อมูลทั้งชาร์ท ประวัติ การรักษาของแพทย์ และลองปรับกระบวนการพยาบาล พบว่า ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่ดีขึ้นหลายอย่าง ดิฉันก็เล่าสะท้อนให้พี่ละมุมและทีมฟังว่า จริงๆ แล้วท่านทำวิจัยอยู่ทุกวันแต่ไม่รู้ตัว..พี่ละมุมก็กังวลต่อไปอีกว่าวิจัยนั้นเป็นเรื่องยากพี่ไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหน...ดิฉันเลยสะท้อนไปว่า "พี่น่ะเริ่มต้นไปแล้ว...ด้วยปัญหาและข้อสงสัย จากนั้นพี่และทีมก็ช่วยกันพยายามหาคำตอบมาตอบสิ่งที่สงสัยหรือเป็นปัญหานั้น...แล้วได้ข้อสรุปสำหรับครั้งนั้น..แต่พอพี่สงสัยขึ้นมาอีก...พี่ก็จะแสวงหาคำตอบนั้นอีก...ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์...จนช่วยเหลือผู้ป่วยได้ตั้งหลายรายให้มีอาการดีขึ้น...และฟื้นตัวเร็วร่วมกับการรักษาของแพทย"...

ดิฉันเสริมแรงไปอีกว่าให้ลงมือเขียนรายงานวิจัยได้ตั้งหลายเรื่องแล้วนะ...ให้เขียนเลย...และความถูกต้องจากการเขียนนั้นเราค่อยมาช่วยกันปรับแก้ไข...จากการประเมินส่วนตน ทั้งการสังเกตและการพูดคุยนั้น ดิฉันมองว่าความกังวลเกี่ยวกับการวิจัยนั้นลดลง และดูมีความสุขมากขึ้นจากการที่มีความหวังว่าตนเองน่าจะทำอะไรได้หลายอย่าง...และตอนท้ายดิฉันเน้นไปอีกว่า อย่าไปแยกส่วนจากการทำ HA ทำเป็นเรื่องเดียวกัน...และหลอมรวมเป็นเนื้องานเดียวกันไปเลย...

ตอนนี้ R2R เริ่มแตกหน่อขึ้นเรื่อยๆ แล้วคะ...พรุ่งนี้ดิฉันจะต้องไปเล่าให้ตึกพิเศษกังดาลฟังในการประชุมของตึก ตามคำเชิญของพี่งอ...มีความสุขคะ...แม้งานจะหลั่งไหลเข้ามาแต่นั่นช่างมาเติมพลังให้เกิดความสุขใจยิ่งนัก...

 

หมายเลขบันทึก: 51178เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2006 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

เหมือนที่ อจ วิจารณและ อจ ประเวศ ์ชอบพูดเกี่ยวกับเรื่อง การจัดการความรู้ คือพวกเราสูญเสียความมั่นใจ ว่าพวกเราก็มีความรู้ ต้องไปคอยหาความรู้จากตำรา แทนที่จะมองหาจากตัวเอง

เรื่องวิจัยก็เหมือนกัน พวกเราวิจัยกันเป็นทุกคน แต่มัวแต่กลัวจะทำไม่ถูกวิธี เลยไม่ทำ

ทุกงานวิจัย เริ่มต้นที่การตั้งคำถามการวิจัย คนมีคำถามดีๆ เป็นนักวิจัยที่ดีได้ทุกคน

ขอให้ชาว รพ ยโสธร มีความเชื่อมั่น และขยายการทำวิจัยในงานประจำให้มากขึ้น ภายใต้เจ๊ดัน กะปุ๋มผู้มาคอยให้ความมั่นใจ

ขอบคุณ ดร.จันทวรรณคะ...ที่แวะมาทักทาย..

^__^.

กะปุ๋ม

อ.หมอสมศักดิ์

กะปุ๋มมองว่า...ช่วงแรกหากเหนื่อยหน่อย...แต่สามารถเกิดผลยั่งยืน...ในระยะยาวก็น่าจะคุ้มกับการทุ่มเท...อย่างน้อยกะปุ๋มก็หวังว่า...บุคลากรของเราจะมีทัศนคติที่ดี...และรักการทำการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย...มากขึ้นคะ...

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

    เห็นด้วยกับกะปุ๋มนะคะว่าอย่าไปแยกส่วนจาก HA    ปัจจุบันบุคลากรทางสาธารณสุขเริ่มคุ้นเคยกับ HA แล้ว    ถ้ามาบอกให้ไปทำวิจัยเหมือนมีภาระใหม่ขึ้นมาก็จะรู้สึกกังวลไม่น้อย    แต่ถ้าเราไปบอกว่าพวกเขาเก็บข้อมูลอยู่ทุกวันหรือเป็นช่วงๆอยู่แล้ว   และนำผลมาพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยอยู่แล้ว  เพียงแต่เอากระบวนการวิจัยเข้าจับอีกหน่อย   ก็เป็นงานวิจัยได้สบายๆ  และหายกังวลว่าจะทำให้เป็นภาระหนัก  หน้าที่อย่างเราจึงต้องไปช่วยให้กำลังใจให้เขามั่นใจมากขึ้น  และช่วยเหลือแก้ไขข้อขัดข้องทั้งหลายให้ค่ะ

     ลัดดา

    

R2R รพ.ยโสธร ไปโลดแน่ๆ เพราะ การแตกหน่อนั้น เกิดจากความอยากของผู้ปฏิบัติงานเอง

ยินดีด้วยค่ะ 

ท่าน Panda คะ...กะปุ๋มขอ e-mail address ท่านใหม่หน่อยคะ จะ attrach file ไปให้คะ...

*^__^*

ขอบพระคุณคะ

กะปุ๋ม

อ.หมอลัดดา...

ช่วงนี้กะปุ๋มตามหารอยท่านไม่ค่อยเจอเลยคะ...แต่คาดว่าท่านกำลังเฝ้ามองเราอยู่ (ยิ้มๆๆ)...แต่กะปุ๋มก็ยังอยากอ่านกระบวนการทำ R2R ของสถาบันเด็ก และแห่งอื่นๆ...นะคะ...ส่งเมล์ไปให้หลายๆ..ท่านก็เงียบคะ...แต่คิดว่า..ท่านๆ คงมีภาระมาก...แต่น่าเสียดายหากจะไม่มีการบันทึกไว้...พอเวลาผ่านนานไปเราก็จะลืม...

ขอบพระคุณนะคะ...สำหรับกำลังใจและการต่อยอดความรู้ให้กะปุ๋มคะ...

*^__^*

กะปุ๋ม

อ.หมอปารมี..

ตอนนี้กะปุ๋มคลอดแผน R2R สำหรับปีงบประมาณหน้า(ปี 2550) เสร็จเรียบร้อยแล้วคะ...น่าจะเกิดผลลัพธ์เชิงปฏิบัติที่ดียิ่งๆขึ้น...คือ ความคาดหวัง...คะ..

ขอบพระคุณนะคะ..สำหรับการแวะมาเยี่ยม..เสมือนน้ำหยดหนึ่งแห่งกำลังใจเลยคะ...

*^__^*

กะปุ๋ม

ยินดีและดีใจกับความสำเร็จด้วยคนค่ะ ตอนนี้ตัวเองกำลังมองหา Idea อยู่เลย  

คุณศิริคะ

ขอบคุณนะคะ...สำหรับการทักทาย...ถือว่าเป็นกำลังใจอย่างยิ่งเลยคะ...ช่วงนี้กะปุ๋มไม่ได้ทิ้งรอยทักทายคุณศิริเลยคะ...

ขอเป็นกำลังใจให้...ทุกๆ เรื่องนะคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

พี่กะปุ๋มคะ ฝนเริ่มกลับมาเขียน blog อีกรอบแล้วค่ะ อิอิ

คุณแมวหมี...

ดีดีมากเลยคะ...น้องฝนพี่กะปุ๋มจะคอยติดตามนะคะ...ชักชวนท่านอื่นๆ..ด้วยสิจ้ะ...ตอนนี้พี่เบิร์ดนักจิตหน้าเด็กของเราก็เปิด blog แล้ว...น๊า!!!!...ยังงัยๆ ก็จะได้แลกเปลี่ยนกันนะคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

  • ช่วงนี้ r2r ของคุณ ka-poom ดูซบเซาไปนะครับ
  • เจ้าของ blog คงยุ่งอยู่กับการเรียนหรือเปล่า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท