วิกฤตของการพัฒนาหรือภาพลวงตาแห่งยุคสมัย และเราจะเดินต่อกันอย่างไร?


ในกระบวนการพัฒนาเรามีอะไรผิดพลาดหรือไม่ ??? และหากผิดพลาดเราจะทำอย่างไร มีกระบวนการอย่างไรต่อจากนี้??

ผมมองดูกาน้ำที่ตั้งบนเตาอั้งโล่ ที่พ่นไอน้ำสีขาวออกมาอย่างมีชีวิตชีวา  น้ำเดือด น้ำร้อนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ของคนเรา โดยใช้ความร้อนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเพิ่มองศาของสิ่งหนึ่ง ทำให้ผมคิดถึงการพัฒนาชุมชนที่เราทำกันอยู่ วันนี้เหมือนกับว่าการพัฒนาที่เราเรียกกันนั้นในระดับชุมชนแทบไม่มีพลังในการขับเคลื่อนสิ่งใดเลย ดูนิ่งไปหมด หรือเป็นความรู้สึกส่วนตัวก็ไม่ทราบได้

ในกระบวนการพัฒนาเรามีอะไรผิดพลาดหรือไม่ ??? และหากผิดพลาดเราจะทำอย่างไร มีกระบวนการอย่างไรต่อจากนี้??

ผมขอมองจากชุมชนเล็กๆของผม เพื่อที่จะเชื่อมโยงกับภาพใหญ่ๆของการพัฒนาระดับประเทศ และส่วนตัวคิดว่ามีปัญหาที่คล้ายกัน การพัฒนาที่ทำกันมโหฬาร ใช้งบประมาณ ใช้ทุนกันมากมาย ส่วนผลที่ได้ถึงเป้าหมายคุ้มกันหรือไม่ หรือ กลุ่มเป้าหมายได้รับผลนั้นอย่างไร เปลี่ยนแปลงอย่างไร หากมองในมุมหนึ่งที่ไม่ติดกับคำว่า คุ้ม หรือ ไม่คุ้ม นะครับ

เรามองเข้าไปในโรงเรียนของหมู่บ้านดูไม่ครึกครื้น ดูไม่มีชีวิตชีวา เด็กๆก็เดินเข้าไปในโรงงานเพื่อรับความรู้ แต่การสร้างความรู้ไม่เกิด   มองเข้าไปใน อบต.ซึ่งเป็นส่วนของรัฐที่ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับชุมชนที่สวยงามด้วยสิ่งก่อสร้างที่แปลกแยกชุมชน ยิ่งไม่เห็นพลังในการขับเคลื่อนงานพัฒนาเลย  ทำงานกันไปเหมือนองค์กรภาครัฐที่เป็นภาพเดิมๆ วัดก็ห่างจากชุมชนไปมากขึ้น ชาวบ้านก็ตั้งหน้าตั้งตาหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้องกันแบบไม่ลืมตาอ้าปาก โลกเราก็ร้อนขึ้นเรื่อยๆ

ถามว่าเราขาดอะไร? <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">เรากำลังเดินไปสู่เป้าหมายใด?</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ฤาว่า วาทกรรมของการพัฒนาเป็นเพียงนิยายประโลมโลก เสร็จแล้วเราก็ค่อยค้นหาความจริงกันใหม่ เริ่มต้นใหม่กันทุกครั้งใช่หรือไม่ </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">นาฬิกาของโลกาภิวัฒน์หมุนเร็วกว่านาฬิกาปกติกว่าหนึ่งเท่าตัว และนับวันจะหมุนเร็วมากขึ้นทวีคูณ หากเราไม่ปรับตัว เปลี่ยนวิธีคิดกันใหม่ เหมือนจะสาย แต่ก็คิดว่าไม่ทันแน่ในการวิ่งฝ่าไป ขอเพียงแต่รู้ให้ทันก็พอ</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">อารัมภบทมายาวสำหรับการเปลี่ยนแปลงเชิงนามธรรม รูปธรรมที่ผมเห็น เพียงแต่อยากเชื่อมให้เห็นว่าเรามีปัญหาอะไรกันบ้าง?</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p>ประเด็นคิดในการพัฒนาระดับชุมชน ผมขอยกมา ๓ ประเด็นที่เป็นพื้นฐานดังนี้ครับ  <ul>

  • คิดจากชุมชน เติมเต็มด้วยทุนที่มีอยู่ เพิ่มความเข้มแข็งด้วยศาสตร์ปัจจุบัน
  • การบูรณาการ  บูรณาการทั้งคน ความคิด ทั้งใจ และงบประมาณ เอาง่ายๆว่าทุกอย่างที่เป็นทุนไปด้วย          
  • คิดและทำให้เชื่อมโยง ทั้งในระดับไมโครจนถึงระดับโลก จักรวาล
  • </ul>   <p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">๓ ประเด็นนี้เป็นหลักคิดกว้างๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน  ส่วนในรายละเอียดทั้งสามประเด็นนั้น  มีกระบวนการที่หลากหลายที่ต้องคิดให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ท่านผู้อ่านมีความคิดต่อประเด็นเหล่านี้อย่างไรบ้างครับ?? </p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal">ขอเชิญปราชญ์ gotoknow ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้</p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0in 0in 0pt" class="MsoNormal"></p>          

    หมายเลขบันทึก: 151219เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2007 08:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (42)

    สวัสดีครับ.....คุณจตุพร ครับ  ผมนาน ๆ ได้แวะมาลปรร. ครับ ประเด็นของคุณจตุพร น่าสนใจ เพราะผมทำงานในแวดวงพัฒนาชนบทเหมือนกันครับ

    ถ้าเป็นคำคิดคำนึงว่า " ขณะนี้การพัฒนาบ้านเรา ถึงวิกฤตของการพัฒนา หรือภาพลวงตาแห่งยุคสมัยหรืออย่างไร?"  เอาเพียงนี้ ใช่เป็นคำคิดคำนึงได้ครับ และเป็นคำถามไปในตัว เพราะถ้าถามว่า โลกยุคนี้เป็นยุคอะไร ก็จะตอบได้ว่า เป็น "กลียุค" ครับ

    การเป็นกลียุค จึงเป็นความหมายว่า ทุกอย่างเดินทางมาจนเกือบสุดทางแล้วครับ เจริญก็เจริญแบบสุด ๆ ของยุคนั้น เสื่อมก็เสื่อมแบบสุด ๆ ของยุคนั้น คนที่เคยสุข แบบสุด ๆ ก็จะทุกข์แบบสุด ๆ ครับ

    แล้วรูปธรรม และนามธรรม ที่คุณจตุพรฯ เห็น ก็คือความจริงครับ ถ้าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไม่มีอะไรใหม่กว่านี้ หรือคิดสร้างสรรค์กว่านี้ ครับ คงจะไปบูรณาการต่อไม่ได้ครับ  เพราะคำบูรณาการต่อเป็นการไปเติมเต็มครับ (การเติมเต็มต้องเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์และก้าวหน้าครับ)  ถ้าไปเติมเต็มในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ อย่างเช่น การศึกษาที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เดินไปเพื่ออะไรครับ ถ้าเดินผิดทางแล้ว จะคิดไปเติมเต็มคงไม่ได้ครับ ต้องกำหนดทิศทางให้ถูกต้องเสียก่อนครับ เป็นต้น

    สิ่งที่เป็นข้อสรุป คือ เราต้องคิดใหม่ครับ  ถ้าเป็น(การคิด แนวคิด แนวปฏิบัติ) แบบเก่า ๆ บอกได้ว่าความจริงที่เห็นคือสิ่งที่ต้องทำใจครับ

    เรียนคุณจตุพร

             สิ่งแรกที่อยากบอกคือ ชอบใจในความเป็นจริงที่คุณพูด การพัฒนาที่ไม่เกิดจาก ระเบิดออกมาจากภายใน ก็จะมีสภาพเหมือนกับสิ่งที่คุณอธิบายมาทั้งหมด  ยิ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐแล้ว นวตกรรมใหม่ ๆ พวกเราไม่มีโอกาสได้เห็นอย่างแน่นอน เพราะกิจกรรมหลักของการทำงาน คือ การปักป้ายถ่ายรูป ผมไม่ได้ว่าใครนะ แต่สภาพมันเป็นอย่างนี้จริง ๆ

             เมื่อวานนี้ อดีตท่านผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู ท่านมาเก็บข้อมูล เกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอกของท่าน ท่านสัมภาษณ์ ข้าราชการหลายคน ผมเป็นหนึ่งในนั้น ประเด็นของการพัฒนาชุมชน ท่านก็ถามผม ผมอธิบายท่านว่า ผมมีความเชื่อพื้นฐานอยู่ 2 ประการ ในเรื่องของการพัฒนาชุมชน คือ

             1. ผมเชื่อว่าทุกชุมชนค่อนข้างมีความต้องการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ

             2. ผมเชื่อว่าวิธีการหรือรูปแบบของการพัฒนา ชุมชนสามารถลอกเลียนกันได้

              เมื่อผมมีความเชื่อในลักษณะเช่นนี้  วิธีการที่ผมเสนอจึงเป็นไปในลักษณะ  เล็กแต่ลึก สามารถเป็นแบบอย่างให้ชุมชนอื่น ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้  ส่วนวิธีการเป็นอย่างไร รายละเอียดมีแค่ใหน หลักการคล้าย ๆ กับที่คุณยกมาเป็นประเด็น  แต่เพิ่มความเข้มในส่วนของภาครัฐให้มากกว่าปกติ 

              ดีใจครับที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับคนที่คิดคล้าย ๆ กับผม  วันหนึ่งในอนาคตสังคมจะมองและยอมรับว่า  วิธีคิดเพื่อให้ชาวบ้าน ประสบความสำเร็จและมีความมั่นคง  เขาคิดกันอย่างไร เป็นกำลังใจให้คุณจตุพร ครับ

    สวัสดีเจ้า อ้ายเอก

    การพัฒนาที่ไม่ระเบิดจากข้างใน ไม่ให้ความสำคัญกับทุนชุมชน แต่กลับให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดที่ถูกกำหนดตามกรอบงบประมาณ คนเอามาใช้ก็ทำตามพิมพ์เขียว ไม่ยืดหยุ่น หรือเชื่อมโยงอย่างเหมาะสม ซ้ำร้ายบางแห่ง(เช่นที่บ้านน้องพิมพ์เอง) ไม่ให้เกียรติความคิดของชุมชน ชาวบ้านทำไม่ได้ต้องฉันทำเอง แม้กระทั่งแผนชุมชน...ฉันก็จะทำเอง

    เห็นทีคงไม่ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ออกแนวพ่นลมบ่นรัฐ...มากกว่าซะแล้ว

    ---^.^---

     

    • สวัสดีครับน้องจตุพร
    • อ่านแล้วก็เข้าใจว่าน้องจตุพรต้องการจะสื่ออะไร.
    • ผมมีบางประเด็นที่อยากจะนำมาแลกเปลี่ยนหรือให้หลายท่านได้ช่วยกันคิดต่อดังนี้ครับ
    • การพัฒนาที่นักพัฒนาว่านั้น  สุดท้ายใครเป็นคนพัฒนาใครกันแน่ ผมว่าชาวบ้านไม่ได้ถูกพัฒนาสักเท่าไร เพียงแต่ได้ทำ-ร่วมโครงการของคนนอกเท่านั้นเอง เพราะชาวบ้านไม่ได้ร่วมคิด  แต่คนนอกกลับอยู่อย่างสุขสบาย (ได้รับการพัฒนา) แม้ผลของสิ่งที่เรียกว่าการพัฒนาจะเป็นผลด้านลบกับชาวบ้าน ก็ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร(ทองไม่รู้ร้อน-เพราะทำโครงการจบแล้ว)
    • ตัวชี้วัดบางตัวคนนอกเป็นคนบอก(กำหนด) บางครั้งก็เป็นตัวกระตุ้นกิเลสให้กับคนที่พอเพียง - สันโดษอยู่แล้ว เป็นเหตุให้ต้องดิ้นรนเพื่อตามกระแส สุดท้ายก็ไปไม่รอด
    • ผมอยากเรียกการพัฒนาว่า....การปรับตัวครับ จะทำให้สื่อได้ชัดว่าแท้จริงแล้วเราต้องร่วมมือกันทำอะไรต่อเพื่อความอยู่รอดอย่างเหมาะสม ไม่เบียดเบียนตน-เบียดเบียนท่าน-เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม
    • เราใช้เงินทองเป็นตัวตั้ง วัดกันที่เงิน  รายได้ อย่างอื่นจะเป็นอย่างไรช่างมัน   ไม่มุ่งเน้นการสร้างปัญญา เหมือนที่ อ.เสรี พงศ์พิศ เน้นอยู่เสมอว่าเป็นการพัฒนาแบบ "เงินนำหน้า  ปัญญาตามหลัง" 
    • มองข้ามมิติทางวัฒนธรรม ทำลายวิถีชุมชน   เพราะเมื่อมองแต่เงิน  รายได้ ผลตอบแทน  นักพัฒนาทั้งหลายก็จะมองข้ามทุนที่ไม่สามารถวัดได้เป็นตัวเงินเหล่านี้ ที่เราเรียกว่าทุนทางสังคม  สิ่งเหล่านี้ก็จะสูญหายไปจากสังคม เหลือเพียงวัฒนธรรมเดียวที่ไม่ต่างกันคือบริโภคนิยม - วัตถุนิยม - แข่งขันเพื่อเอาตัวรอด  
    • มิติของการพัฒนาควรเลิกระบบรวมศูนย์ คิดมาจากส่วนกลาง  เลิกการคิดวิธีการที่สำเร็จรูปแล้วใช้แบบเดียวกันทั่วประเทศ สุดท้ายก็ใช้ได้ผลเพียงไม่กี่ที่ เพราะบริบทต่างกัน ต้องใช้รูปแบบและวิธีการที่หลากกลาย
    • คนนอกไม่คิดแทนชาวบ้าน  ปล่อยให้ชาวข้าน-ชุมชนได้คิดเอง ทำเอง พัฒนาเอง โดยรัฐ หรือส่วนอื่นๆ ช่วยเอื้ออำนวย  เสริมหนุน และ เปิดโอกาสให้อย่างแท้จริง  เน้นว่าอย่างแท้จริงนะครับ ทุกวันนี้ที่ว่าเปิดโอกาสนั้น ก็ยังไม่ต่างไปจากเมื่อ 40 ปีก่อนเท่าใดนัก
    • ฯลฯ ขอกลับไปคิดต่อ...อิอิ
    • ลปรร.ครับ ขอเป็นกำลังใจให้น้องจตุพร และทุกๆ ท่าน มีพลังที่จะทำงานเพื่อสังคมอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไปครับ
    • ขอบคุณมากครับ

    ความต้องการในการพัฒนาเป็นของใครครับ?

    แล้วชุมชนหรือชาวบ้านตาดำ ต้องการคำว่า "พัฒนา" หรือเปล่า?

    วันหนึ่งเราเดินเข้าไปในชุมชนหนึ่ง เราบอกเขาว่า โอ้ บ้านของคุณด้อยพัฒนาจริงๆ? ชาวบ้านก็ตอบเรากลับมาว่า ก้อพวกฉันอยู่ของพวกฉันอย่างนี้นะดีแล้ว ไม่ได้จะเป็นจะตายตรงไหน ทำไมต้องพัฒนาด้วยล่ะ ฮาฮาฮา

    คนในชุมชนมองเรื่องการพัฒนาอย่างไร ใช่เรื่องที่คนของรัฐมาทำให้บ้านเขามีเรื่องต้องให้ทำให้ยุ่งให้ยากหรือเปล่า

    สิ่งที่เราจะเริ่มให้ชุมชนเกิดการพัฒนา เริ่มที่ไหนก่อน คนไม่หิว คนไม่อยากกิน จะไปง้างปากให้กลืนอาหารไปก็ไม่อร่อยครับ

    สร้างให้ชุมชนหิวการพัฒนาก่อนดีมัยครับ (ดูเหมือนพูดง่ายแต่ทำยาก และใช้เวลานาน) ปีที่แล้ว ผมไปนั่งคุยกับผู้อาวุโสในชุมชนกลุ่มหนึ่ง คุยกันไปเรื่อยครับ คุยไปหัวเราะไป กินไป สุดท้ายหนึ่งในผู้อาวุโส พูดขึ้นว่า โอ้ถ้าอาจารย์ไม่เชิญมาคุยวันนี้ พวกเราคงลืมคำศัพท์ที่ใช้เรียกสิ่งของในสมัยปู่ย่าตายายของเราไปแล้ว แอ๊ะ ทำไงไม่ให้เราและลูกหลานของเราลืมของพวกนี้ดีละอาจารย์

    สวัสดีครับน้องเอกที่แสนขยัน

    ประเด็นน่าสนครับ  การเคลื่อนไหวในสังคมต้องมีการสรุปบทเรียนครับ

    วันนี้มาทิ้งร่อยรอยหน่อย แล้วจะกลับมาใหม่จ๊ะ

    สวัสดีค่ะน้องเอก

     พี่ก็รู้สึกคล้ายๆกัน การพัฒนาชุมชน ยังเป็นช่องทางในการใช้งบประมาณที่สำคัญ เขียนโครงการ ดำเนินโครงการ สรุปโครงการ หมดงบประมาณ ต้องไปแล้ว จบแล้ว ลอยแพ......

      จิตสำนึกของนักพัฒนาเท่านั้น ที่จะต่อสายป่านต่อไป โดยไม่ต้องอาศัย กรอบ งบประมาณ คำสั่ง

     ดีใจที่ได้แลกเปลี่ยนกันในแวคิดนี้ อาจทำให้หลายคนไม่รู้สึก เปล่าเปลี่ยวใจเกินไป

    สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

    แวะมาชื่นชมการทำงาน ขอตั้งประเด็นนะค่ะ

    เราทำเพื่อใคร

    ส่วนร่วมคือใคร

    ที่เราทำเราทำเพื่อใคร เขาคิดจะทำไหม

    เหมือนหลักการคิดที่ว่า 3H head,hands,heart

    หากเขาไม่ได้คิดอยากจะทำ หรือ ไม่ใส่ทำ ย่อมไม่ส่งผลต่อการทำงานของเขา เพราะไม่ใช่เรื่องของเขา ไม่ใช่ประเด็นของเขา ย่อมไม่เกิดการทำงานต่อไป

    ทุกวันนี้ สังคมส่วนมากต้องดิ้นรนต่อสู้ กับสภาพปัญหาเศรษฐกิจ ทุกคนต้องหาเช้ากินค่ำ แค่เรื่องปากท้องก็ยุ่งทีเดียว เพราะหากเราแก้ปัญหาตรงนี้ไม่สำเร็จ เขาคงไม่จิตใจไปทำอย่างอื่น หรือเปล่าค่ะ

    • น้องเอกที่ฮัก

    เห็นด้วยกับคุณสิงห์ป่าสักนะค่ะ อย่าว่าแต่ชุมชนเลยแม้สถานการศึกษาก็ผจญวิกฤตของการพัฒนาเช่นกัน

    สวัสดีครับ พี่สมพงศ์ ตันติวงศ์ไพศาล

    ต้องขอบคุณมากครับ มาช่วยเติมต่อประเด็นของผม และทราบว่าพี่ไพศาลทำงานในแวดวงพัฒนาชุมชนด้วย

    พี่เปิดประเด็นได้น่าสนใจมากครับ กับคำว่า "กลียุค" ทำให้เห็นภาพของสถานการณ์ที่เป็นไปได้ ทุกอย่างกลับตาลปัตรกันหมด

    มีคำว่า"การศึกษา"  นี่เป็นเงื่อนไขที่ทำให้ระบบการพัฒนาของเรามีปัญหาและไปต่อไม่ได้ เท่ากับว่า วนอยู่ในอ่าง ปัญญาไม่เกิด

    ประเด็นการศึกษาจึงเป็นวาทกรรมที่ไม่ทันต่อยุคสมัยทีเปลี่ยนผ่านไปอย่างรวดเร็ว

    และเราก็ไม่หวัง

    การสร้างความรู้ในระดับชุมชนต่างหากที่นักพัฒนาควรมองเห็นและสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิด แต่ก็ยาก เพราะปัจจัยที่เข้ามามีเงื่อนไขมากมาย

    งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่สร้างชาวบ้านนักวิจัย นี่เป็นทางเลือกเลยครับ ที่ อ.เสรี บอกว่า "ประชาพิจัย" ถือว่าเป็นการพัฒนาศักยภาพคนให้เกิดปัญญาในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนของตนเอง ในระดับปัจเจกด้วย ชุมชน สังคมด้วย แต่กระบวนการแบบนี้ใช้เวลามาก

    ปัญหาที่พี่สมพงศ์ บอกว่า การบูรณาการไม่เกิดนั้น ผมเห็นด้วยครับ เพราะตามวิถีที่เห็นนับวันก็ยิ่งห่างกันมากขึ้น แบบต่างคนต่างทำให้เสร็จๆไป ขยะของการพัฒนามีมากขึ้น

    การคิดใหม่ เป็นทางรอด หากเราคิดใหม่ รื้อระบบคิดเดิมเปิดรับความรู้ที่หลากหลาย สร้างปัญญาจากการปฏิบัติ ทบทวน เรียนรู้ ถอดบทเรียนไปด้วย ผมคิดว่าแนวทางนี้เป็นแนวทางที่ดี และยั่งยืน คำถามก็อยู่ที่ว่า เราจะสร้างกระบวนการแบบนี้ให้กับชุมชนได้อย่างไร มีวิธีการไหนบ้าง

    ท่าน ทพ.อุทัยวรรณ กาญจนกามล ท่านเคยโทรศัพท์มาคุยเรื่องนี้กับผมที่ปาย ว่าแนวทางในการพัฒนาแบบ "คิดใหม่" นั้น เราควรจะมีแนวทางใด  คำตอบก็คือ การเรียนรู้ตัวเอง และบูรณาการศาสตร์ในระดับตัวเอง กับสังคม พัฒนาในระดับปัจเจกให้เข้มแข็ง สร้างวิทยากรชุมชนเพื่อไปต่อยอด...

    แนวทางนี้ หากทำได้ เป็นเรื่องที่ดีมาก จะทดลองที่ อ.ปาย เป็นพื้นที่ศึกษา วิจัยครับ

     

    ขอบคุณพี่ สมพงศ์ ตันติวงศ์ไพศาล  มากครับ กับมุมคิดที่สะท้อนให้เห็นภาพชัดเจน

    สวัสดีครับท่าน ผอ.สมนึก โทณผลิน

     P

    ประเด็นนี้สนุกครับ มีผู้รู้มาให้ข้อคิดเห็นที่หลากหลาย

    หากเรามองในส่วนของรัฐเองก็จะเป็นแบบที่ท่าน ผอ.เขียนมาครับ ว่า "การพัฒนาที่ไม่เกิดจาก ระเบิดออกมาจากภายใน ก็จะมีสภาพเหมือนกับสิ่งที่คุณอธิบายมาทั้งหมด  ยิ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐแล้ว นวตกรรมใหม่ ๆ พวกเราไม่มีโอกาสได้เห็นอย่างแน่นอน เพราะกิจกรรมหลักของการทำงาน คือ การปักป้ายถ่ายรูป"

    อาจด้วยเรื่องข้อจำกัดหลายเรื่อง

    • งบประมาณ
    • กำลังคน
    • กำลังสติปัญญา
    • รวมถึงจิตสำนึกของ คนของรัฐ 
    • อื่น ฯลฯ

    หากจะโทษที "ระบบ" ก็เป็นจำเลยอีก  "การศึกษา"เป็นจำเลยที่สอง

    เพราะเหตุนี้ครับการพัฒนาโดยรัฐจึงไม่ประสบความสำเร็จที่ถึงระดับต่อยอดได้

    ผมเคยทำงานกับนายทหารท่านหนึ่ง  ทำงานวิจัยด้วยกัน ท่านยกปรัชญาของในหลวงมาใช้เป็นหลักคิด

    "เข้าใจ  เข้าถึง พัฒนา"

    หากไม่เข้าใจ  แล้วไม่สามารถเข้าถึงชุมชนได้ และไม่เข้าใจไม่เข้าถึงจะพัฒนาชุมชนได้อย่างไร

    ที่สำคัญ "จริงใจ" หรือไม่  อันนี้เป็นคำถามนักพัฒนาที่ฉาบฉวย

    ในฐานะคนทำงานกับชุมชนผมขอมองต่อยอดท่านดังนี้ครับ

    1. ผมเชื่อว่าทุกชุมชนค่อนข้างมีความต้องการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ

    ชุมชนทุกชุมชนต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐแน่นอนครับ เพียงแต่ว่าจะอยู่ในระดับใด แม้แต่ชุมชนที่เข้มแข็งก็ยังต้องการพึ่งพารัฐในบางเรื่อง

       2. ผมเชื่อว่าวิธีการหรือรูปแบบของการพัฒนา ชุมชนสามารถลอกเลียนกันได้

    วิธีการพัฒนาสามารถเรียนรู้จากที่หนึ่ง ไปใช้อีกที่หนึ่งได้ และเป็นเรื่องที่ดี ถือว่าเป็นการเรียนรู้ในระดับต่อยอด เพียงแต่ว่า ต้องให้สอดคล้องกับศักยภาพ และบริบทของพื้นที่

     

    และสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นไปได้ และเราทำในหลายๆพื้นที่วิจัยก็คือ การสร้างโมเดล เล็กๆ และเรียนรู้ ขยายผล ที่ท่านบอกว่า "เล็กและลึก" นั่นหละครับ

    ส่วนมากเราถนัดทำใหญ่ มันเป็นภาพ ที่ไม่ค่อยยั่งยืน การคิดใหญ่ดี แต่การทำอาจต้องทำเล็กๆให้เหมาะสม เมื่อถอดบทเรียน แล้ว ค่อยขยายผลไปแบบนี้เป็นแนวทางที่น่าจะเป็นคำตอบได้ของการพัฒนาแบบยั่งยืนระดับชุมชนครับ

    ขอบคุณท่านผอ.มากครับ ที่ช่วยเติมบันทึกให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

    สวัสดีครับ น้องพิมพ์P พิมพ์ดีด

    "...การพัฒนาที่ไม่ระเบิดจากข้างใน ไม่ให้ความสำคัญกับทุนชุมชน แต่กลับให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดที่ถูกกำหนดตามกรอบงบประมาณ คนเอามาใช้ก็ทำตามพิมพ์เขียว ไม่ยืดหยุ่น หรือเชื่อมโยงอย่างเหมาะสม ซ้ำร้ายบางแห่ง(เช่นที่บ้านน้องพิมพ์เอง) ไม่ให้เกียรติความคิดของชุมชน ชาวบ้านทำไม่ได้ต้องฉันทำเอง แม้กระทั่งแผนชุมชน...ฉันก็จะทำเอง"

     

    ที่เขียนมาเป็นปัญหาที่พบเห็นได้ทั่วไป เป็นปัญหาสามัญของการพัฒนาไปด้วยแล้ว

    คำตอบที่พี่ตอบ อ.สมพงศ์ และ อ.สมนึกด้านบนนั้น น่าจะเป็นทางออกได้ดีครับ

    ขอบคุณมากครับ หากมีประเด็นเพิ่มเติมมาต่ออีกนะครับ

     

    สวัสดีครับ P สิงห์ป่าสัก

    ถูกใจมากครับสำหรับ การสะท้อนมุมมองตรงไปตรงมาสไตล์พี่สิงห์

    ผมว่านักพัฒนาระดับชุมชนที่คลุกคลีก็จะมองภาพออกมาคล้ายกันเหมือนเช่นพี่สิงห์มอง

    ผมเห็นด้วยตามประเด็นที่พี่เขียนมาทั้งหมด และเน้นย้ำตรง    มองข้ามมิติทางวัฒนธรรม ทำลายวิถีชุมชน เรื่องวัฒนธรรมเป็นเรื่องละเอียดอ่อน การพัฒนาควรเคารพและใช้วัฒนธรรมเป็นฐานในการพัฒนา หากการพัฒนาใดละเลยวัฒนธรรมชุมชน งานพัฒนานั้นทำลายวิถีชุมชนครับ

    ปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับชุมชน  ตามที่ ท่าน ผอ.สมนึก ได้เขียนมาก็ตรงเผงครับ

    ผมชอบใจที่พี่เขียนว่า การพัฒนา คือ "การปรับตัว"

    ในมุมคิดของผม นี่ใช่เลยครับ การพัฒนาไม่ใช่การทำให้ดีขึ้นถ่ายเดียว หากแต่หมายถึงการปรับตัวเพื่อการรอรับสิ่งใหม่ที่เป็นปัจจัยภายนอก"อย่างรู้เท่าทัน"

    การพัฒนาจึงเป็นการสร้างปัญญาให้เกิดพร้อมกันได้ด้วย

     

    ขอบคุณมากๆครับผม

    สวัสดีครับอาจารย์จารุวัจน์

    ผมคิดว่าเรามีปัญหาเรื่องการ สื่อความหมายเกี่ยวกับการพัฒนา เลยทำให้การพัฒนาที่จะช่วยให้วิถีชีวิตเดิมให้ดีขึ้น เรียกว่าเกิด "สุขภาวะ" นั้น กลายเป็น การพัฒนาที่สร้างความห่างให้กับชุมชน เป็นเรื่องที่แปลกแยก เป็นขยะของความคิดที่ไร้ปัญญา

    ผมคิดว่า หากมองในนิยามแรกนั้นเป็นกระบวนการที่เป็นการพัฒนาเพื่อคุณภาพชีวิตจริงๆ

    การกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนานั้นทำได้ครับ ผมเคยทำลักษณะนี้โดยการโยนคำถามให้กับชาวบ้านให้ช่วยกันคิด และในที่สุดก็ได้ประเด็นที่เราจะทำร่วมกัน นั่นคือ หมายความว่า เราจะพัฒนาตนเอง ครอบครัวและชุมชน โดยนักพัฒนาเป็นผู้อำนวยความสะดวก

    ในกรณีของอาจารย์เช่นเดียวกัน  เห็นว่ากำลังทำประเด็นงานวิจัยทางใต้ นำมาแลกเปลี่ยนกันบ้างนะครับผม

    ขอบคุณครับ

     

    สวัสดีครับ พี่  P สิทธิรักษ์

    ปราชญ์ทั้งหลายเคยกล่าวไว้ทำนองเดียวกันว่า ผลงานที่สุดยอดของศิลปินนั้นกลั้นมาจากความยาก ลำบาก ลำเค็ญแทบสิ้นใจ

    และนักเขียนนามอุโฆษทั้งหลายก็กล่าวทำนองเดียวกันนี้ หรือแม้แต่มูซาซิก็เรียนรู้จากการเป็นทหารเลวของตน

    ความสำเร็จของงานพัฒนา ก็เกิดจากความยากลำบาก เกิดจากการทุมเทแรงใจ แรงกาย รักบ้านเมืองอย่างยิ่งยวด เหมือนสิ่งที่กลุ่มรักษ์เชียงแสนทำกันอยู่

    ผมคิดเสมอว่าจะทำอย่างไรให้คนบ้านผม เข้มแข็งเหมือนคนที่นั่น

    แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ

    ขอบคุณครับ

    สวัสดีครับ พี่บุญรุ่ง P

    หากเป็นการพัฒนาโดยรัฐ เราจะหวังอะไรได้มากครับ ผมคิดว่า ชุมชนต้องพึงตัวเองอย่างที่สุด และรู้เท่าทันไม่ว่ากระแสทุน กระแสอื่นๆทีพุ่งมาหา สิ่งหนึ่งที่ต้องเท่าทันคือ การเข้ามาพัฒนาโดยรัฐ

    ยิ่งพัฒนายิ่งอ่อนแอ

    ยิ่งพัฒนายิ่งทำลายความเป็นชุมชน

    บางทีก็พร่ำบอกว่า "จะก้าวหน้าไปถึงไหนกัน"

    เหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเชิงลบกับการพัฒนาที่ผ่านมา จริงๆแล้วผลบวกก็มีเยอะครับ 

    ในระดับสถานีอนามัย

    พี่รุ่งคิดเหมือนผมมั้ยว่า การสร้างคนผ่านกระบวนการอาสาสมัครนั้น (อสม.) เป็นการพัฒนาที่มาถูกทางมากๆ เน้นให้ชาวบ้านดูแลสุขภาพกันเอง แต่กระบวนการที่ออกมากระท่อนกระแท่นทำให้เสียรูปพัฒนา  คุณหมอที่อนามัยต้องหากระบวนการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครเหล่านี้ด้วยความทุ่มเทในปัจจัยที่ถูกจำกัดอย่างที่สุด

    อสม. ถือ ว่าเป็น นวัตกรรมที่ดีเด่นของกระทรวงสาธารณสุขครับ

    ให้กำลังใจในการทำงานครับ

    สวัสดีครับ คุณเพชรน้อย

     P

    ผมขอบคุณมากครับ กับข้อคิดเห็นนี้

    ผมชอบหลักการคิดที่ว่า ใช้ ๓ H   

    head  กำลังสติปัญญา ความคิด วิธีคิด

    hands การปฏิบัติ การมีส่วนร่วม พลังของการปฏิบัติ

    heart  หัวใจ  ตรงนี้ สำคัญมากๆ

     

    ปัญหาเรื่องปากท้องเป็นปัญหาพื้นฐาน แต่ว่าเชื่อมโยงกันไปหมดหากเราตั้งประเด็นลองเชื่อมโยงกับพี่น้องชาวบ้าน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาปากท้อง ต้องทำไปพร้อมๆกับการแก้ไขปัญหาอื่นๆด้วย

    ให้กำลังใจในการพัฒนาครับ

     

    ขอบคุณมากครับ

    พีหมูครับP  อ.หมู

    มีเรื่องที่เราต้องเรียนรู้ และปฏิบัติเพื่อให้รู้อีกมากในกระบวนการพัฒนา ด้วยความเป็นพลวัตของการพัฒนาครับ

    ไม่ว่าในองค์กร ใดก็หนีไม่พ้นการปรับเปลี่ยนที่เรียกว่าการพัฒนา ย่อมส่งผลต่อสมาชิกในองค์กรแน่ หากการเปลี่ยนแปลงนั้นไปสั่นคลอนความมั่นคงของใครต่อใคร

    ลองดูประเด็น การออกนอกระบบ ของมหาวิทยาลัยที่เป็นประเด็นร้อนช่วงนี้สิครับ

    ขอบคุณครับพี่หมูที่มาแลกเปลี่ยนในประเด็นนี้

    -----

    สบายดีนะครับผม คิดฮอดคือกันครับผม

    สวัสดีครับ

    ประเด็นนี้ทำให้ผมนึกถึงเรือป๊อกแป๊กตอนเด็กๆ เป็นเรือสังกะสี ใช้เทียนจุดไฟไว้ใต้หลังคาตรงกลางลำ เรือก็จะแล่นไปได้ดังป๊อกแป๊กๆ อาจมีลมพัดทำให้ไฟดับ และเรือแล่นไม่ตรงทางบ้าง แต่ถ้าจะให้เรือแล่นไปอย่างต่อเนื่อง ผมมองว่าเด็กๆที่มาเฝ้าดูเรือป๊อกแป๊กสำคัญไม่แพ้คนจุดเทียน เพราะมีหลายตาช่วยกันมองไม่ให้เทียนดับ

    ทำยังไงจะชวนเขามาเล่นเรือกับเรา ทำยังไงจะให้เขาสนุกกับการเล่นเรือ ทำยังไงให้เขาสนุกกับการเฝ้ามอง

    คนจุดเทียนที่ดับลงชั่วขณะให้เรือป๊อกแป๊กก็คงคล้ายๆ management team ซึ่งคงใช้ไม่กี่คน แต่เรือจะแล่นไม่หยุด ผมให้ความสำคัญกับคนเชียร์ที่เราชวนไปด้วย 

    ขอบคุณสำหรับประเด็นดีๆที่ให้ผมพัฒนาสมองซีกขวา อิอิ

    สวัสดีครับเอก สบายดีนะครับ

    เมื่อหันหน้าไปทางซ้าย แล้วลืมตาขึ้นมา ภาพที่กระทบในสมอง ใจที่กระทบภาพจากที่สมองโดนหลอกหรือคิดไปล่วงหน้าก่อนหน้านั้น ส่งผลกลับมาสู่การคิดทบรอบ

    การให้และการรับ จึงเกิดขึ้นเมื่อสิ่งที่คิด คิดว่าสิ่งนั้นเพียงพอ เกินพอ หรือว่าขาดแคลน จึงเป็นจุดเริ่มจุดหนึ่งของคำว่าเปลี่ยนแปลง

    การเปลี่ยนแปลง คือการพัฒนาหรือ?

    การพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นหรือ?

    พัฒนาจากมุมมองและสมองของใคร?

    การให้และรับอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดใด?

    การให้ในหลายๆ ครั้งจะหมดค่าทันทีเมื่อผู้รับมองไม่เห็นว่าสิ่งนั้นคืออะไร ใช้ทำอะไร นำไปสู่อะไร และอื่นๆ

    การรับในหลายๆ ครั้ง มันจะเปล่าประโยชน์ทันทีเมื่อผู้รับกับผู้ให้มองยอดภูเขากันคนละลูกเห็นสิ่งต่างๆ คนละก้อน

    ปัญหามักเกิดเพราะสมองของคนให้และคนรับฝันถึงหนังคนละม้วนกัน

    ปัญหาจะประท้วงออกมาจากผลจากต้นน้ำทางความคิด หากการและและการรับเกิดจากคนละสเปซกัน

    คนกลางระหว่างคนให้และคนรับจึงมีความสำคัญในทุกๆ ด้าน....

    โชคดีในการทำงานเพื่อชุมชนครับ 

    สวัสดีครับ คุณกบ

    P

    ผมพยายามคิดภาพเรือป๊อกแป๊ก ก็ยังคิดไม่ออก แต่รับทราบจากที่เล่าเป็นการละเล่นชนิดหนึ่งใช่มั้ยครับ

    คุณกบกำลังชี้ให้เห็น

    • การมีส่วนร่วม
    • บทบาท ภาระ หน้าที่

    หากเป็นงานพัฒนาเป็นสิ่งที่สำคัญมากครับ

    การมีส่วนร่วม ถือว่าเป็นทั้งวิธีการและเป้าหมาย  หัวใจของการพัฒนาระดับชุมชน หรือองค์กรก็ต้องใช้การมีส่วนร่วม แต่ว่าจะระดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับกระบวนการและเนื้อหาอีกที

    บทบาท หน้าที่ ที่หลากหลายในงานพัฒนาหนึ่งก็เป็นเรื่องสำคัญ หากเป็นการทำงานที่เหมาะสมกับหน้าที่ นโยบาย บทบาทของหน่วยงาน งานพัฒนานั้นก็จะเอื้อให้เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วม ขยับขับเคลื่อนไปทุกส่วนอย่างมีพลัง

     

    ขอบคุณมากครับ

    สวัสดีครับ เม้งP

    ผมสบายดีครับ อากาศที่บ้านหนาวมากหน่อย แต่ก็พอทนได้

    ---------------------------

    อ่านจากข้อเติมเต็มของเม้งแล้ว เป็นประเด็นนิยามของการพัฒนา การเชื่อมระหว่างนักพัฒนากับชุมชน ที่ยังห่างกันด้วยนิยามที่ต่างกัน

    ทำให้การทำงานอาจมีการ"ร่วมแรง" แต่ขาดการ "ร่วมใจ"  ส่งผลให้การพัฒนาแบบนี้ไม่ยั่งยืน

    การพัฒนาตามความเคยชิน การพัฒนาที่ไม่ได้สอบถามความต้องการ และศักยภาพของชุมชน ทำร้ายชุมชนทั้งนั้นครับอย่างที่ผมเขียนในข้อเสนอแนะพี่สิงห์ป่าสักว่าการพัฒนาที่ละเลยฐานทางวัฒนธรรม-วิถีชีวิต นั้นส่งผลเสียกับชุมชนมาก

    ภาพของการพัฒนาที่เปลี่ยนระบบคิด ที่เรากำลังทำตอนนี้ เริ่มต้นจากการร่วมคิด ร่วมคลิ้ก ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ ให้เจ้าของปัญหามาแก้ไขปัญหาเอง โดยนักพัฒนาเป็นผู้สนับสนุน เชื่อมประสาน

    หลักการนี้เรียกว่าการสร้างนักวิจัยชาวบ้าน

    วิจัย วิจัย วิจัย

    บางครั้งคำนี้ก็เป็นคำที่ขลังดี ทำให้ชาวบ้านคิดไปว่าเป็นคำที่นักวิชาการ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยใช้กัน ชาวบ้านจะทำวิจัย...คิดยังไง จะทำยังไงนะนี่??

    เราอาจหลีกเลี่ยงคำนี้ ทั้งๆที่การพัฒนาแบบชาวบ้าน โดยเนื้อหาเป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีการลองผิด ลองถูก ปรับกันไป จนกว่าจะตอบคำถามหรือปัญหาที่เขามีได้

    ตั้งคำถาม เป็นปัญหาที่เราพบ ปัญหานั้นคืออะไร เราจะแก้ไขปัญหา หรือทำให้มันดีขึ้นอย่างไร มีกระบวนการอย่างไร  การคิดแบบเป็นระบบของชาวบ้านเป็นวิถีแห่งปัญญาโดยแท้ นี่คือการวิจัยของชาวบ้าน

    ในวิถีมีการจัดการความรู้ธรรมชาติแทรกอยู่ทั้งในระดับปัจเจกและระดับชุมชน ที่เรียกกันว่า "ภูมิปัญญา"  และเรามีปัญหาว่าเราจะดึงภูมิปัญญานั้นมาใช้ประโยชน์อย่างไร ให้เป็นความรู้ที่ตอบสนองปัญหาปัจจุบันได้ นี่เป็นโจทย์ใหญ่ของนักจัดการความรู้

    ผมพาเดินทางออกมาไกลเลยครับ

    ทั้งหมดเป็นงานวิจัยและพัฒนา สองคำจะเชื่อมโยงกัน และการมีส่วนร่วมเป็นวิธีการ-เป้าหมายที่สำคัญ ในการทำความเข้าใจ และเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างนักพัฒนาและชุมชน

    หากเรามาเริ่มต้นคิดด้วยกัน ตั้งคำถามด้วยกัน ปฏิบัติการพัฒนาด้วยกัน(แก้ไขปัญหา) ถอดบทเรียน(ประเมินผล)ร่วมกัน ภาพของการพัฒนาที่แปลกแยกก็จะหมดไป

    ถึงแม้ผลการพัฒนานั้นไม่สำเร็จตามเป้าหมาย การใช้"ปัญญา" ระดมความคิดใหม่ หาวิธีการใหม่ๆ นั่นเองเป็นวิถีของความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นแบบมีส่วนร่วมครับ

     

     

    ขอบคุณครับผม

    เมื่อเราตัดสินใจนำประเทศไปสู่ระบบทุนนิยมก็คงหลีกหนีปัญหานี้ไม่พ้น

    แนวคิดทุนนิยมคือการทำให้สังคมเหมือนกัน  ระบบทั้งหมดแบบเดียวกัน  เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือความเหมือน

    ระบบทุนนิยมจะวัดที่ตัวเงินมากกว่าวัดที่ความพออกพอใจของชุมชุน  เช่นวัดความยากจนก็เอามาตราฐานเดียวคือรายได้ต่ำกว่า 15,000 เปรียบกระดุมเม็ดแรกผิด  เม็ดทุกเม็ดก็พลอผิดไปหมด

    การบริหารทุกอย่างยังมาจากส่วนกลาง  ที่ยังคงมุ่งเงินนำปัญญาตาม  ทำแต่โครงการแบบต้นไม้มีแต่ใบขาดลำต้นกิ่งก้านสาขา

    ชาวบ้านมารู้ก็เมื่อโครงการมาแล้ว  หัวใจก็แป้วไปหมด  เราคงไปตำหนิใครมิได้ดอก  เพราะตัวชี้วัดมันบอกต้องทำอย่างนั้นครับ

    สิ่งที่เราทำได้คือสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนก่อนจะสาย  คือให้ทุนทางปัญญา  ที่จะสามารถรักษาท้องถิ่น  เอาสิ่งดีๆที่มีคุณค่าให้คงไว้  เพื่อไม่ให้หลงไหลไปตามกระแสร์ 

    อย่าไปคิดหรือฝืนต่อต้านระบบทุนนิยม  ยังไงทั้งโลกก็มาด้านนี้  อันที่จริงในหลวงท่านก็แนะนำให้เดินสายกลางอยู่แล้ว  แต่เราก็ยังไปในแนวสุดกู่อยู่อีก

    เริ่มสร้างปัญญา  อย่าท้อถอย  ไม่ต้องรอ  ไม่ต้องพร้อม  ทำจากเล็กไปใหญ่แบบค่อยเป็นค่อยไป  ในสังคมไทยยังมีของดีอีกเยอะ  น้องเอกที่รัก

    สวัสดีครับน้องเอก

    สมัยหนึ่งเราเป็นพวกเถรตรง ฃาวบ้านบอกกกว่าวิถีฃาวบ้านต้องกินหอย เอ้าก็พาเจ้าหน้าที่กินหอยเพราะไปยึดติกกับคำว่าเอาชาวบ้านเป็นหลัก  ผลที่สุดชาวบ้านทำอาหารด้วยหอยน้ำจืด  เจ้าหน้าที่ก็กินกันไป  ต่อมารู้ว่าหอยน้ำจืดคือสัตว์ที่สะสมพยาธิ เมื่อคนอีสานกินเข้าไปก็เป็นโรคต่างๆโดยเฉพาะมะเร็งในตับ  นี่ระดับหัวหน้าภาควิชานะครับยังเสียชีวิตด้วยหญ้าปากคอก

    คอมที่ร้านไม่ดีเลยอยากเขียนต่อแต่มันขึ้นภาษาญี่ปุ่นมาให้ อิอิ  เออาเป็นว่าการเอาฃาวบ้านเป็นตัวตั้งนั้นเป็นหลักการที่ดี แต่การปฏิบัติจริงเราต้องเป็นผู้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแล้งให้ชาวบ้านเป็นผู้ตัดสินใจ  เช่น เมื่อกินหอยน้ำจืดมีโอกกาศเเส่ยงเกิดโรคมเร็งตับสูง เอาข้อมูล  รายละเอียดมาให้ชาวบ้านแล้วให้ชาวบ้านตัดสินใจ  มิใช่ไม่ได้ให้ข้อมูล หรือข้อมูลไม่มีแล้วเราก้ยังยึดเอาชาวบ้านเป็นตัวตั้งตามหลักการ มันก็เสี่ยง ดังนั้นจึงต้องผสมผสานกันระหว่างคนในที่รู้เรื่องดีที่สุดกับคนนอกที่รู้เรื่องดีที่สุด

    :-กำลังคิดในประเด็นต่อเนื่องจากกิจการของที่บ้าน เคยเสวนาร่วมกับ นายก อบต.แม่นาเติง และพ่อหลวงบ้านม่วงสร้อย มาร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์(ทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรม) ระหว่างบ้านสวนณัฐวลีกับแม่นาเติง โดยใช้บ้านสวนณัฐวลีเป็นศูนย์กลาง หรือที่ทำการ นายกระท้อนขอเพียงแค่อยู่ได้ก็พอ

    :-เอกลองแนะนำหน่อยสิว่า???

     

    สวัสดีครับพี่เอก

    หารูปเรือป๊อกแป๊กมาให้ แต่ที่ไม่อยากเปิดเผยข้อมูลก็ตรงนี้แหละ...สุดยอดของเล่นโบราณ
    เรือป๊อกแป๊ก สังกะสีโบราณ เทคโนโลยี กลจักรความร้อน!!!
    สุดยอดเทคโนโลยีของเล่นเมื่อสมัย เกือบ 30 ปีที่แล้ว
    การเล่น เห็นท่อ 2 ท่อเล็กมั๊ยครับ กรอกน้ำเข้า ในท่อให้เต็ม กรอกเข้าทางท้ายเรือ แล้วจุดเทียน แล้วนำไปไว้ในตัวเรือ จะหั่นเทียนแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆก็ได้
    ความร้อนจากเทียนที่จุด จะทำให้เกิดแรงดันไอน้ำ ขับเคลื่อนให้เรือแล่นได้
    ขณะแล่น จะได้ยินเสียง ป๊อกแป๊ก วิ่งได้จนกว่าเทียนจะดับเลยล่ะครับ
    เด็ดมากๆๆๆ
    http://www.makemoney-school.com/ship.html

    Ship003%5b1%5d

  • แวะมาอวยพรวันเกิดน้องเอกค่ะ
  • ขอให้อายุมั่นขวัญยืน
  • ได้ทำงานที่ตนเองรัก และผลักดันแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนให้ยั่งยืนต่อไป
  • ฝากภาพนี้ให้แทนคำขอบคุณ น้องเอก และชาว G2K ด้วยบันทึกนี้ค่ะ
  • Mr. Postman: ความรักที่มาทางไปรษณีย์
  • Kru09
    • ขอให้สิ่ง  ศักดิ์สิทธิ์  ประสิทธิ์ประสาท
    • พรพิลาศ  สม่ำเสมอ  เสนอสนอง
    • พระไตรรัตน์  ดลสุข  ทุกครรลอง
    • คุ้มชีพทอง  ครองชีพชื่น  ยั่งยืนเทอญฯ

    หมายเหตุ
    1) สุขสันต์วันเกิดค่ะ
    2) ทราบจากบันทึกมิสเตอร์ช่วย
    3) เป็นกลอนเก่าและขลังค่ะ

     

    สุขสันต์วันเกิดค่ะคุณอาเอก

    วันนี้เป็นวันพิเศษ  ก็จะขอให้ของขวัญชิ้นพิเศษ  เป็นไม้วิเศษ  อยากเสกอะไรก็ได้ตามใจ......

     สุขสันต์วันเกิดค่ะ

    PRAK-NA

     

    • สวัสดีค่ะ คุณเอก
    • สุขสันต์วันเกิดนะคะ
    • คุณพระคุ้มครองค่ะ

    สวัสดีครับ พี่เอก Pที่เคารพ

     

    หลังจากที่เที่ยวไปตามใจของผม สักสี่ห้าวันวันนี้ก็กลับมานั่งหน้าคอมเหมือนเดิม...

    ได้ไปเห็นการพัฒนาของพื้นที่จริง ตามสถานที่ไปเที่ยว ก็มีทั้งข้อดีและข้อที่น่าเป็นห่วง

    สภาพที่เรามองกันลบๆ ก็แทบไม่ต่างกัน ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับวิธีคิดของนักปกครองในระดับที่คลุกกับพื้นถิ่นโดยแท้ เป็นเรื่องน่าเสร้าว่า การพัฒนาที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นอยู่เดิมมาก การรับเอาวิธีการข้างนอกมาใช้โดยขาดการไตร่ตรอง ประยุกต์กับพื้นที่ บริบทของตัวเอง ส่งผลร้ายให้กับชุมชนอย่างไม่น่าให้อภัย

    สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ เงินมา ปัญญาตาม

    วิกฤตเหล่านี้ยังครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่

    ผมชอบใจมากที่ พี่เอกเคยบอกผมครั้งหนึ่งที่ปายเรื่อง การใช้วิกฤติให้เป็นโอกาส ให้ภาระให้เป็นพลัง โดยใช้กลยุทธ์ป่าล้อมเมือง ทำดีแล้วขยายต่อ สร้างพันธมิตรใหม่ๆ

    คิดแล้วเล่นเอาเหนื่อยเหมือนกันครับ เพราะโจทย์เหล่านี้ยากๆทั้งนั้น

    แต่ก็มีกำลังใจครับ ...

    ขอบคุณพี่เอกมากๆครับ

    ตามมาอวยพรวันเกิดค่ะ  ให้ได้ทุกอย่างใจคิด happy / successful / growing / rich

    (เพราะเชื่อว่าอย่างอ้ายเอกน่ะ...คิดหวังแต่สิ่งดีงามค่ะ)

     

    สวัสดีครับคุณเอก

               ขอให้มีความสุขในวันครบรอบวันเกิดนะครับ

               เรื่องการพัฒนา...........

               หากมองเรื่องปริมาณ และเป้าหมายทางวัตถุ ผมว่าประเทศเราก็ได้มามากจนเกินไปแล้วมั้งครับ

               แต่ปัญหามันคือปัญหาใหม่จากการพัฒนาสิ่งเหล่านั้นครับ

               เช่นปัญหาโรคไข้เลือดออกระบาด  ไม่ใช่ความรู้ ทัศนคติ  การปฏิบัติ  หรือ  ปัจจัยภายนอก ภายใน ปัจจัยเอื้อ เสริม นำตามอะไรนั่นเท่าไรหรอกครับ

              แต่มันคือผลพวกจากที่เราพัฒนาในเรื่องน้ำดื่มน้ำใช้ ในยุคหนึ่งที่ความมั่นคงเรื่องอาหารและน้ำเรามีปัญหา  พอเราแก้เรื่องนี้ได้ อีกเรื่องก็โผล่มา ตอนนี้บ้านเรือนมีภาชนะเก็บน้ำมากมาย มีห้องน้ำห้องส้วม มีอ่างไว้แก้ผ้าอาบน้ำในห้องน้ำ แทนที่จะอาบจากตุ่มน้ำนอกบ้านต้องใส่ผ้าขาวม้าผ้าถุง   เรามีขยะที่กองมากขึ้นในหมู่บ้าน เพราะสินค้ามากมายมาในหีบห่อที่สวยงาม   สรุปว่าเรามีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงมากเกินไปประกอบกับวินัยเรื่องการดูแลความสะอาดของบ้านไทยยังคงเดิมและลดลงด้วยซ้ำ อย่างเมื่อก่อนตักน้ำใส่ตุ่มพอน้ำใกล้หมดต้องตักใส่ใหม่ก็เลย ต้องขัดล้างเป็นประจำเพื่อรอรับน้ำชุดใหม่  แต่ปัจจุบันไม่ต้องตักให้ยาก  เปิดจากก๊อก  ก็เลยไม่ได้คิดจะถ่ายโอ่ง เพราะน้ำมันเต็มทุกวัน  นี่ก็คือสิ่งที่เป็นผลพวงของการพัฒนา

              เช่นเราทำเมืองให้ใหญ่เป็นศูนย์กลางค้าขาย  เราก็เจอปัญหาผู้คนอพยบ  ปัญหาจราจร อุบัติเหตุ เพศสัมพันธ์  อาชญากรรม

             ทั้งนี้ เรามุ่งตอบสนองร่างกายเป็นหลัก  เราก็พัฒนาอะไรทั้งหมดที่ตอบสนองความสบายของร่างกาย  อาหารที่อร่อย  อารมณ์ที่หรรษา  อากาศเย็นสบายที่ 25 องศา  อาชีพที่สบาย ๆ ไม่ออกแรง

               อารมณ์ของคุณเอกก็คล้าย ๆ ผมนั่นล่ะครับ มันเงียบเหงาและคล้ายกับสิ้นหวังในบางมุมคิด

              แต่ความหวังก็ยังพอมีครับ  มีอีกหลายคนที่พร้อมเก็บกู้ความดีงาม ความรักสามัคคีในพื้นที่กลับมา  ยอมรับว่าบางที  พวกเรานักพัฒนากับชาวบ้านก็พูดกันแค่เรื่องการเพิ่ม  การส่งเสริม  เงิน รายได้ เทคโนฯ   แต่พอพูดเรื่อง  การเสียสละ  การลดรายจ่าย การประหยัด  การออม  การพอเพียง  หลายคนส่ายหน้าหรืออาจมีบางคนเดินจากวงสนทนาไปเลยก็มี

             อย่างที่บอกครับมีหวังเหมือนกัน  หวังหนึ่งก็อย่างคุณเอกที่กลับไปสู้กับกระแสใหญ่ที่กำลังโหมเข้าสู่ปายนั่นล่ะครับ

             ขอให้มีกำลังใจที่ดีสู้ต่อไปครับ

    สวัสดีครับพี่บางทรายP  บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

    อ่านความเห็นของพี่บางทรายแล้ว ผมขอคิดต่อดังนี้ครับ 

    • คิดจากชุมชน
    • บูรณาการ
    • คิดและทำให้เชื่อมโยง

    และ....

    ผมมองไปถึงการเข้าใจความเป็นมนุษย์ และ การมองในมุมของชาวบ้าน ที่ถูกรุกรานสิทธิ์ โดยดุษฎีจากอำนาจการปกครอง และความรู้สมัยใหม่ที่เบ่งทับความรู้ของท้องถิ่น นี่เป็นประเด็นสำคัญของผู้ที่มีอำนาจในสังคมปัจจุบัน

    อันดับที่สองคือปัญญาของผู้ปฏิบัติ  ที่มีน้อย หรืออาจไม่มีเลยก็ได้ ทำให้กระบวนการพัฒนาต้องเสียเวลาไม่คืบหน้าไปไหน ยกตัวอย่างหน่วยราชการที่ทำงานด้านข้อมูลในพื้นที่ ต้องเก็บข้อมูลแบบใหม่ทุกครั้งหลังจากที่เก็บมาไม่นานจากหน่วยงานอื่น หรือแม้กระทั่งหน่วยงานเดียวกัน คิดกันคนละครั้ง ทำกันคนละที ก็เลยเป็นงานวิจัยที่ย่ำอยู่กับที่ หาทางเลือกอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้วิธีการที่เหมาะสมที่แท้จริง

    ส่วนประเด็นสุดท้าย ที่สอดคล้องกับบันทึกผม คือ การบูรณาการ เรื่องนี้เป็นเรื่องยาก อาจคิดง่ายในวิธีคิด แต่ลงปฏิบัติแล้วยากมาก ไม่มีการบูรณาการเพื่อผลประโยชน์ของชุมชนอย่างแท้จริง  เพราะชุมชนไม่ได้เป้าหมายในความคิดของคนพัฒนา นอกจากผลประโยชน์ของงาน ของหน่วยงาน และเสร็จตามกรอบปีงบประมาณ

    ตรงนี้เองทำให้เราช้ามาก ในการเคลื่อนการพัฒนาระดับท้องถิ่น

    หากถามถึงทางเลือกการพัฒนา ก็ควรสร้างจิตสำนึกใหม่ให้รัฐ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานพัฒนา ก็ยากอีกแล้ว ว่าจะสร้างกันยังไง?...ยาก จังครับ โจทย์แบบนี้

    เป็นเรื่องของระบบด้วย เหมือนๆเราบ่นเรื่อง ระบบการศึกษา คล้ายกันครับ ไปไม่ถึง ติดขัดไปหมด

    คิดว่าทางออกพอมีแต่ต้องใช้เวลาและเปลี่ยนวิธีคิดคนทำงานแบบตรงกันข้าม ภาวะปัจจุบัน

    คิดว่า พอมีทาง...

    แต่ผมยังคิดไม่ออก..ครับ

    สวัสดีครับพี่กระท้อนP

    เป็นเรื่องที่ดีมากครับ หากเชื่อมกันได้

    ประเด็นแบบนี้ เป็นประเด็นที่ผมสนใจ และเป็นงานศึกษษวิจัยของผมด้วย

    มีอะไรให้ได้ช่วยแลกเปลี่ยนยินดีมากๆนะครับ

    สวัสดีครับ คุณกบP

    ได้เห็นรูปเรือป๊อกแป๊กสมใจ ด้วยความที่เป็นเด็กดอย ของเล่นประเภทที่อยู่กับน้ำไม่ค่อยได้เห็นกับเขาหรอกครับ มีก็แต่รถเอาไม้ประกอบเอง วิ่งตามไหล่เขา...ขึ้นลง

    ต้องขอบคุณมากๆครับสำหรับข้อมูลพร้อมรูปภาพ

    สวัสดีครับ P

    ขอบคุณพี่นารีมากๆครับ สำหรับคำอวยพร ขอให้คำอวยพรนั้นกลับคืนมายังพี่นารีด้วยเช่นกันครับ

    สวัสดีครับ ครูรัตน์Gutjang

    ขอบคุณครูมากๆครับที่ระลึกผมเสมอๆ พร้อมกับอวยพรวันเกิดด้วยกลอนเก่าและขลัง ชอบมากครับ ขอให้พรนั้นกลับคืนไปยังครูด้วยนะครับ

    สวัสดีครับ คุณอาP

    ขอบคุณคุณอามากๆเลยครับ คุณอาเปลี่ยนรูปใหม่แล้ว แต่ยังต้องเพ่งดูให้ชัดๆ

    อยากได้ไม้วิเศษจริงๆเลยครับ ผมอยากจะขอ...

    ๑......

    ๒....

    ๓....

    ขอสักสามข้อเท่านั้นครับ

     

    สวัสดีครับครูรักษ์

    PRAK-NA

     

    ขอให้ครูมีความสุขมากๆเช่นกันครับ ขอบคุณสำหรับความรู้สึกดีๆกับวันที่ดีของผมครับ

     

     

    สวัสดีครับP น้องสาวlittle cat ที่น่ารัก

    ขอบคุณมากมายครับสำหรับคำอวยพรที่น่าประทับใจ ขอให้สิ่งดีๆที่มากับคำอวยพรนั้นกลับคืนสู่น้องlittle cat ด้วยครับ

    ขอบคุณมากครับผม

    สวัสดีครับ P  mr. สุมิตรชัย คำเขาแดง

    ปัญหาที่บอกมาเป็นปัญหาที่คลาสสิคดีนะครับ...จริงแล้ว ปัญหาหนึ่งมาจากเงื่อนไขที่ซับซ้อน การแก้ปัญหาจึงไม่สามารถใช้วิธีการเดียวได้ หรือแก้ไขเฉพาะจุดได้ อาจต้องดูทั้งระบบของเส้นทางปัญหา...แค่คิดแบบนี้ก็ดูยุ่งยากแล้ว

    ผมเข้าใจว่าเรามีทุนในการคิดที่จะพัฒนาแต่เราไม่ต่อเนื่องครับ ความต่อเนื่องสำคัญมากเพราะปัญหาต้องใช้เวลาในการแก้ไข หากจำกัดกรอบในเรื่องงบประมาณ ปีงบประมาณ การคิดแผนจากบนลงล่าง เหมือนที่เราทำอยู่ ก็มีปัญหาให้แก้กันร่ำไป

    ปัญหาที่เป็นปัญหาของเรา เราต้องช่วยกันแก้ไข ช่วยกันระดมความคิดในการพัฒนา หากเราสามารถทำให้ปัญหานั้นเป็นประเด็นสาธารณะได้ แล้วระดมพลังจากสาธารณะนั้นได้ดี ผมคิดว่าสำเร็จและมีพลัง

    งานภาคประชาสังคมที่ปายก็เช่นกัน เรากำลังทำประเด็นเชื่อมใจคนท้องถิ่น เป็นการระดมพลังทางสังคม ที่ผมยังไม่รู้ว่าจะเป็นไปตามแนวทางไหน-----

    ขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นที่เป็นตัวตนของสุมิตรชัยที่ผมเคยรู้จัก พูดคุย ครับ

    ขอบคุณครับ

     

    สวัสดีครับ หมอเอก...
           แวะมาทักทายกันนะครับ  รู้สึกว่าหมอจริงจังมากจังช่วงนี้ ..... แค่อ่านบันทึกหมอ รู้สึกเหมือนกับถูกนะจังงังเลยนะครัฐ
            บางครั้งผมก็สับสนเหมือนกันนะครับว่า ตัวของเราเองยืนอยู่จุดไหนในสังคมกันแน่  บางครั้งคำว่าการพัฒนามันก็อยู่ที่เวลาที่คนในสังคมให้กับมันด้วยนะครับ บางครั้งเวลาที่เราทุ่มเทให้มันไม่มี หรือมีเรื่องอื่น ๆ เข้ามาแทรก จนเรื่องหลักที่ทำอยู่มันก็ด้อยลง ๆ   ..........
            บางทีตัวเองก็คิดออกมาว่า โรงเรียนนี้ไม่ใช่ของฉันคนเดียวนะ(ว้อย)  
            ว่าง ๆ จะมาเยี่ยมหมออีกนะครับ

    • สวัสดีครับอาจารย์เอก
    • ผมมีข้อสังเกตนึง สังเกตมาตั้งนานแล้วครับเรื่องการบริหารจัดการของ อบต. ผมไม่รู้ว่าเนื่องจากความไม่รู้หรือด้วยเหตุผลใดนะครับ ผมมักเจอแต่กิจกรรมหรือการใช้จ่ายงบประมาณแบบเดิมๆ เหมือนๆกัน ไม่มีอะไรแปลกใหม่ สอบถามดูมักจะเจอกับคำว่ากลัวผิด หรือไม่ก็ไปดู อบต.อื่นมาบ้าง การพัฒนายังอยู่ในกรอบของกระทรวงการคลังเป็นที่ตั้ง ไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ตัวแปรสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาอยู่ที่กฎระเบียบ บางที่นายกกับปลัดไปด้วยกันไม่ได้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาสะดุด
    • ประชาชนต้องการอะไรหลายอย่างที่อยู่นอกเหนือกฏเกณฑ์หรือหลักเกณฑ์ของภาคราชการ ความต้องการที่นอกกรอบ แต่พัฒนาได้จริง การมีกฏเกณฑ์ที่ยุ่งยากและซับซ้อนทำให้ชาวบ้านโดนปิดกั้นจินตนาการแห่งการพัฒนา
    • ผมมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่าการแก้ปัญหาของประชาชน นโยบายสาธารณะของรัฐที่ปฏิบัติแบบ บนลงล่าง กี่ชาติก็แก้ปัญหาของประชาชนไม่ได้ ปัญหาต้องแก้โดยชุมชน โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งในเรื่องการเอื้อให้เกิดการปฏิบัติได้ง่าย การสนับสนุนงบประมาณตามสมควร
    • ขอบคุณครับ

    สวัสดีครับครูสุP

    ผมไม่ได้เคร่งเครียด จริงจังหรอกครับ ก็เป็นเช่นนี้เสมอ ช่วงนี้ไม่ได้สะท้อนความคิดออกมาแบบตรงไปตรงมา บันทึกนี้จึงได้โอกาสนั่งคิดทบทวนการทำงานดู

    เพราะเราอยู่ในแวดวงพัฒนาครับ  เกิดการกระแทกต่อสิ่งรอบข้างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำมาเสนอให้ผู้มีประสบการณ์เข้ามาแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องที่ดี

    เช่นครูสุเช่นกัน ก็อยู่ในแวดวงพัฒนาการศึกษา ซึ่งก็กำลังวิ่งไปข้างหน้าเช่นกัน อยู่ที่ว่าเราจะปรับตัวอย่างไร และเราจะพัฒนาอย่างไรในระดับชั้นเรียนเพื่อให้เด็กเรา เก่ง ดี มีสุข

    ไม่แปลกที่ครูมองไปรอบๆตัว แทบไม่มีสิ่งไหนเอื้อต่อการทำงานของครู ก็เพราะระบบการศึกษาเรากำลังสับสน จับต้นชนปลายไม่ถูก เรียกว่าไม่ทันต่อการเปลี่ยนของกระแสโลกด้วยซ้ำ และที่เลวร้ายไปมากกว่าคือ การลดทอนศักยภาพผู้เรียนอย่างไม่น่าให้อภัย นี่คือระบบการศึกษาที่เป็นอยู่

    ขอให้ครูทำงานด้วยความสุขนะครับ ...หากทำมหภาคลำบาก เราทำระดับเล็กๆของเรานั้นให้ดี ให้งาม จะมีความสุข

    เริ่มจากเล็กๆ เล็กนั้นงามครับ

     

    เชื่อมั้นและศรัทธาเสมอครับ

     

    ให้กำลังใจคุณครูครับผม

     

     สวัสดีครับ คุณประดิษฐ์P

    ด้วยเหตุที่ ต้องมีการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อันได้แก่ คนในท้องถิ่นได้มีโอกาสพัฒนาชุมชนของตนเอง ได้ตรงกับความต้องการของคนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง การให้เป็นโรงเรียนประชาธิปไตยแก่คนในท้องถิ่น แหล่งสร้างผู้นำทางการเมือง และการบริหารของประเทศไทยในอนาคต

    อบต.จึงเป็น "ความหวังใหม่" ของคนท้องถิ่นในการที่จะอยู่ดีกินดี และเดินได้ตามครรลองระบอบประชาธิปไตย ที่ทำให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง

    ที่ผมเกริ่นมาข้างต้น เป็นวาทกรรมการพัฒนาการปกครองที่ลงสู่ท้องถิ่น เป็นวิธีคิดที่สวยงามหากเป็นจริงได้นะครับ

    แต่....

    ส่วนใหญ่ที่พบเห็นไม่ต่างจากคุณประดิษฐ์เห็นหรอกครับ ทุกอย่างกลับตาลปัตร

    เกิดคอรัปชั่นระดับท้องถิ่นกันอย่างทั่วหน้า เลียนแบบระบบใหญ่ๆจากประเทศลงสู่ชุมชนถ้วนหน้ากัน

    โครงสร้างพื้นฐานนั้นได้เงินเยอะ (เปอร์เซนต์)  สร้างกันเข้าไปจนเกินความต้องการ สร้างแม้กระทั่ง ถนนควายเดินก็ยังมี

    เราจะไปหวังอะไรได้กับ การบริหารท้องถิ่นที่มียังมีวังวนการบริหารงานแบบนี้

    ปัจจุบันดีขึ้นมาบ้าง เหตุเพราะมีผู้ที่มีศักยภาพมากขึ้นทั้งความรู้ ความสามารถ และส่วนหนึ่ง โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานไม่มีเเล้ว งบประมาณเน้นมาพัฒนาเชิงสังคมมากขึ้น แต่ก็ยังติดกรอบมากมาย เดินทางไปยากครับ

    ผมคิดว่า ต้องพัฒนาอีกไกลเลยทีเดียว...นานเลยครับ

    เห็นตึก อบต.ที่แปลกแยกกับชุมชนนั่นหรือเปล่า...

    เริ่มต้นก็แปลกแยกกับชุมชนขนาดนี้ จะเชื่อมชุมชนอย่างไรติดเล่าครับ

    จริงๆเรื่องดีๆของ อบต.ก็มีส่วนหนึ่งครับ ในชุดโครงการ อบต.แนวใหม่ ใช้วิจัยนำการพัฒนา ของ สกว.ภาคที่เป็นงานวิจัย แต่นั่นเป็นเพียงเสี้ยวของความสวยงามของการพัฒนาปัญญา เป็นจุดเริ่มเล็กๆ เป็นหิ่งห้อยในคืนเดือนดับ

    แต่ก็น่าดีใจครับ ที่เราได้เห็นเเสงนั้น

     

    ให้กำลังใจคุณประดิษฐ์ด้วยครับ

     

    ขอบคุณมากนะครับที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นหนักๆแบบนี้

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท