สถาบันการศึกษาคิดไม่ทันชุมชนหรือเพิกเฉย


ช่วงนี้ผมได้รับการติดต่อจากนักท่องเที่ยวเพื่อเดินทางเข้ามาเที่ยวที่ปายและแม่ฮ่องสอน กระหน่ำราวเป็นศูนย์ข้อมูลของจังหวัด แต่ก็ดีใจครับ ว่าส่วนหนึ่งเป็นนักท่องเที่ยวที่สนใจการท่องเที่ยวทางเลือก การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

ผมได้มิตรใหม่ผ่านการสื่อสารทางนี้เยอะมากครับ หลายท่านSearch  สถานที่ท่องเที่ยว ความรู้วิชาการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ก็มักเจอผม

ปัญหาและความต้องในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในจังหวัด อำเภอที่มีการขยายตัวของการท่องเที่ยวสูง กำลังทำลายชุมชนอย่างหนัก ...เราขาดนักพัฒนา และนักจัดการท่องเที่ยวที่เข้าใจ ปล่อยให้ผลประโยชน์ครอบงำนักธุรกิจ  บางครั้งคนพื้นที่ก็อยากร้องขอเหลือเกิน ว่า "เงินนั้นอยากได้ แต่อย่าทำลายชุมชน"

แปลกใจครับที่เมืองไทย หลักสูตรการเรียนการสอนด้านการท่องเที่ยวเตาะแตะ ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก ที่มีอยู่ก็เหมือนๆกันคือแตะงาน Ecotourism เพียงเสี้ยว นี่เป็นเรื่องน่าแปลกมากครับ

หลักสูตรปริญญาตรี ส่วนใหญ่ก็เป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สร้างนักศึกษาเพื่อรับใช้การท่องเที่ยวกระแสหลัก ผลิตบุคลากรให้กับโรงแรม รีสอร์ท เห็นว่าหลักสูตรนี้ขายดี เปิดรับสมัครนักศึกษากันไม่หวาดไม่ไหว ผมทราบมาว่าบางมหาวิทยาลัย มี นักศึกษาปีหนึ่งเฉพาะสาขานี้เกือบพันคนเลยทีเดียว เป็นการผลิตที่ได้ปริมาณมากจริงๆ รายได้จากการผลิตนักศึกษาก็ดีไปด้วย

หลักสูตรปริญญาโททาง alternative tourism  ก็ไม่ค่อยเห็นครับ  จะมีก็เป็นเพียงส่วนเล็กๆ หรือเป็นหน่วยกระบวนวิชาในสาขาการท่องเที่ยว ซึ่งก็ไม่ค่อยตอบสนองความต้องการของประเทศเราเท่าไหร่

หลักสูตรปริญญาเอก มีน้อยครับ ที่ผมสนใจเป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเล็กๆทางอีสานแห่งหนึ่งมีการเปิดการเรียนการสอนก็น่าสนใจครับ อาจเป็นการเริ่มต้น ผมเห็นคำว่าการท่องเที่ยวทางเลือกในกระบวนวิชาหลักสูตรด้วย

ผมมองว่า การท่องเที่ยวทางเลือก เป็นแนวโน้มที่น่าสนใจ มีนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ๆมาเอเซียมากขึ้น ส่วนคนไทยกลุ่มคนทำงานเองก็สนใจการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้มากขึ้น

ความต้องการเกิด แต่สถาบันการศึกษาผลิตออกมาไม่ได้ แต่สาขาใหม่ๆเปิดกันมากมาย.. สาขาการท่องเที่ยวกลับนิ่งๆ เพื่อนผมที่รู้จักหลายท่านที่สนใจเนื้อหาการท่องเที่ยวทางเลือก ก็ออกไปเรียนต่างประเทศกันทั้งหมด...ผมคิดว่าเรียนการจัดการท่องเที่ยวเราน่าจะเรียนที่บ้านเราดีกว่า เรียนไปเรียนรู้กับพื้นที่จริงไปดีกว่ากันเยอะเลย

ส่วนใหญ่ผู้ที่แลกเปลี่ยนประเด็นการท่องเที่ยวกับผมเชิงวิชาการก็เป็น นักศึกษาในประเทศที่ไม่รู้จะไปหาข้อมูลที่ไหน และส่วนหนึ่งเป็นนักศึกษาต่างประเทศที่สนใจประเด็นนี้ นับวันจะมีมากขึ้นทุกวัน

โดยเฉพาะที่ภาคเหนือ สถาบันการศึกษาที่มีอยู่ ไม่ได้ตอบสนองต่อ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เท่าไหร่เลย ทั้งๆที่ภาคเหนือเป็นภาคที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวมาก และการท่องเที่ยวแบบนี้เองเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน เพื่อการอนุรักษ์ได้อย่างแยบยล...

ไม่รู้มหาวิทยาลัยกำลังคิดอะไรอยู่!!

ที่แน่ๆเราขาดอาจารย์ทางด้านการจัดการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการจัดการท่องเที่ยวทางเลือกแบบนี้...แต่ก็ไม่แน่ครับ เราจัดเวทีการแลกเปลี่ยนการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ภาคเหนือบ่อยครั้ง ไม่ค่อยเห็นสถาบันการศึกษาสนใจเข้ามาร่วมเรียนรู้...

อาจารย์ขาดแคลน หรือ ไม่สนใจเรียนรู้ ประเด็นนี้สำคัญที่ชวนคิด...

ผมอยู่ในแวดวงการท่องเที่ยวโดยชุมชนมาระยะหนึ่งครับ...และได้คลุกคลีตีโมงกับชุมชนที่จัดการท่องเที่ยวมาโดยตลอด สามปีที่ผ่านมา เราจัดเวทีในภาคเหนือบ่อยครั้ง ก็สะท้อนปัญหาเรื่องสถาบันการศึกษาบ่อยๆ

น่าเสียดายครับ โอกาสในการสร้างคนเพื่อไปรับใช้ท้องถิ่น สถาบันน่าจะมองเห็นผลประโยชน์เพื่อชุมชนประเด็นดังกล่าว

เรื่องนี้ ต้องให้เครดิตชุมชนครับ....หลายๆชุมชนเป็นที่ศึกษาดูงานของต่างประเทศ เป็นที่ฝึกงานของนักศึกษา การก้าวของหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนด้านการท่องเที่ยว อาจไม่ยึดติดกับสถาบันการศึกษาที่เป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏ หรือ มหาวิทยาลัยแล้ว

เรากำลังขับเคลื่อน สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT.I ) ซึ่งสถาบันดังกล่าวกำลังก่อตั้ง มียุทธศาสตร์และการทำงานที่ชัดเจน มีการจัดการความรู้ที่มาจากผู้ปฏิบัติอย่างแท้จริง ฐานความรู้ส่วนหนึ่งมาจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และฐานการปฏิบัติมาจาก REST - โครงการฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ ที่มีประสบการณ์การจัดการชุมชนด้วยประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชนมายาวนาน

น่าจับตามองครับ....กับการรุกของการจัดการเรียนรู้ด้วยชุมชน เช่น CBT . I

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 141610เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 07:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

พี่ขอร่วมด้วยเป็นคนแรก  อยากขายความคิดนี้อย่างยิ่ง  อย่าไปหวังพึ่งพิงสถาบันการศึกษาอื่นๆ  งานนี้จะเกิดได้  ต้องเอาคุณค่านำ  มูลค่าจะตามมาเอง  และสร้างทัวร์ทางปัญญา  มากกว่าทัวร์กายภาพที่สร้างด้วยเงินตรา  ชาวจีนบอกกิน บ่ เซี้ยง

ใช้บ้านเอก เป็นศูนย์เรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญา  คงมีเฮฮาศาสตร์มาช่วยกันเยอะ  สามารถเล่าเรื่องราวประสบการณ์ชีวิตที่มีความสุขได้

  • คงไม่มีใครถามว่า เอกเป็นใครอีกแล้วมั๊ง ?

สวัสดีครับ พี่เอกครับ

P
พี่ เอก

 

ผมได้ไอเดียบางอย่างแล้วครับ...

หลังจากที่ผมกลับจาก หลวงพระบางคราวนั้น ผมคิดอะไรมากมายเลยครับกับประเด็นที่จะนำมาพัฒนาบ้านเราต่อ

ผมเห็นสิ่งดีๆที่นั่นหลายเรื่อง

ช่วงหลัง กระแสการท่องเที่ยวมันแรงมากขึ้น จนชุมชนรับไม่ไหว ก็ส่งผลกระทบอย่างมากกับชุมชน แต่สถาบันที่อยู่ใกล้กลับไม่ได้ตอบสนองปัญหานี้ต่อชุมชนแต่อย่างใด

จริงๆผมเองก็เข้าใจว่า สถาบันการศึกษาก็ดิ้นรนเอาตัวรอด ใบปริญญาแทบจะถ่ายเอกสารแจกกันได้แล้วครับ

บางอำเภอมีสถาบันสองสถาบันแย่งกันเปิดหลักสูตร รปศ. กลุ่มเป้าหมายก็ที่มีอยู่ ...ขายดีจริงๆครับ คนเรียนมากมาย ผมก็มองว่าดีครับ หากกระบวนการเรียนการสอนนั้น ตอบสนองผลิตบัณฑิตที่มารับใช้ชุมชน มีจิตสำนึกที่ดี...แต่ที่ผ่านมาไม่ได้คุณภาพ ความคาดหวังตรงนี้เลย..สถาบันก็คงเอาแต่กำไรเป็นที่ตั้ง น่าสงสารชาวบ้านจริงๆ

ผมเห็นด้วยว่าเราพึ่งพิงสถาบันไม่ได้เลย วิกฤติศรัทธากํนไปหมด ...อันนี้เราก็รับทราบระบบแย่ๆแบบนี้กันดี

พึ่งตนเอง...อาจต้องเพิ่มด้วยเครือข่าย "เฮฮาศาสตร์" ไปด้วย เพราะศักยภาพกลุ่มนี้มีล้นเหลือ

ขอบคุณครับพี่เอกครับ ที่มาเปิดประเด็นระอุในเช้าวันนี้

สวัสดีครับ อาจารย์หมอสุธี

อ.ดร.แสวง มาปายสองวัน เพื่อมาตามดูว่า "ผมเป็นใคร" และผมเองก็คาดว่าท่านได้คำตอบแล้ว

หากท่านไหนสงสัยว่าผมเป็นใคร เชิญมา แลกหมัดแบบตัวต่อตัว ที่เมืองปายครับ อิอิ

 

  • บ่นมากเกินไปแล้วโยม
  • ค่อยคิดค่อยทำ ดีแล้ว
  • อย่ายกก้นเฮฮาศาสตร์ เดี๋ยวหมั่นใส้
  • อิอิ

 

สวัสดีครับพ่อครับ

P

ก็รู้สึกตัวเองว่าบ่นมากไปครับ อิอิ

ค่อยคิดค่อยทำนะครับผม

 

  • สวัสดีครับอาจารย์เอก
  • มาดูบรรยากาศเมืองปายครับ
  • ผมคิดว่ากลุ่มผู้ที่จะเข้ามารับช่วงในการจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวหากเป็นลุกหลานของคนในท้องถิ่นน่าจะดีครับ อย่างน้อยวัฒนธรรม ความเชื่อ ธรรมเนียมประเพณีต่างๆ จะไม่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
  • ผมได้มีโอกาสเฝ้าดูการจัดการท่องเที่ยวของชาวบ้านที่มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมาสอนแล้วก็เกิดความคิด 2 ด้านในใจครับ คือ
  • ด้านที่ 1 ผมมองว่าบางครั้งมีการเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากขึ้น จนขาดลักษณะการดำรงค์ชีวิตของชุมชนที่เป็นจุดขายไป
  • ด้านที่ 2 ผมมองว่าชาวบ้านควรได้รับการพัฒนาให้มีความเข้าใจด้านคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยว ไม่ควรเพิกเฉยหรือเป็นไปตามยถากรรม
  • จุดที่สำคัญผมคิดว่าการพัฒนาคนในท้องถิ่นให้มาจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวของท้องถิ่นเองจะช่วยให้การพัฒนาเป็นไปได้อย่างยั่งยืน
  • ผมคิดว่าวิทยาลัยชุมชนตามจังหวัดต่างๆ สามารถดำเนินการให้เกิดหลักสูตรการจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวได้ อย่างน้อยก็มีวุฒิการศึกษารับรองได้ แต่การกำหนดหลักสูตรควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมด้วย หากหวังแต่ระดับมหาวิทยาลัยว่าจะจัดการหลักสูตรให้ผมว่าคงจะช้าไปครับ
  • ติดตามผลงานครับ

ต่างคนต่างคิดมากกว่าครับ

  • สวัสดีครับน้องจตุพร
  • ทุกส่วนฯ..ล้วนเอาตัวเองเป็นตัวตั้ง  อยู่ในที่ตั้ง ทำงานเชิงรับมากกว่ารุก (หากรุก ก็เป็นรุกที่เปลี่ยน ร-เรือ เป็นล-ลิง อิอิ..)
  • เอกก็คงจะมีประสบการณ์เช่นเดียวกับที่ผมได้เรียนรู้มาครับ
  • ดังนั้นตนคือที่พึ่งแห่งตน เพราะปัญญาหากเกิดขึ้น  อีกนานกว่าจะลามมากระทบถึงคนที่มีหน้าที่ฯ เพราะเขาคือคนนอก  แต่ชุมชนไม่เป็นเช่นนั้นมันลามมาถึงเร็วมาก หรือเกิดผลกระทบโดยทันทีเพราะเราคือคนใน
  • ชุมชนน่าจะเป็นเป็นคนให้คำตอบ นั่นเป็นสิ่งที่ควรเป็น และก็เป็นอยู่บ้างแล้ว  ผมเชื่อว่าเราสามารถสร้างความรู้และจัดการด้วยตัวเราเองได้..
  • คำตอบอยู่ที่ชุมชนครับ  ซึ่งชุมชนอาจหมายถึงภาคี เครือข่าย ทั้งภายใน-นอก ต้องออกมาจัดการร่วมกัน ไม่เช่นนั้นอาจจะสายเกินไป
  • ขอบคุณมาก และขอให้กำลังใจครับ
  • ผมไม่คิดว่าสถาบันการศึกษาคิดไม่ทันชุมชนครับ แต่ความที่สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานราชการ ซึ่งหมายถึง ไม่ทำก็มีกิน ไม่อดตาย จะดิ้นรนทำให้เหนื่อย หรือจะอยู่เฉยๆ ก็ไม่แตกต่าง หน่วยงานของรัฐส่วนใหญ่จึงมักจะทำงานเชิงรับครับ เพราะง่ายกว่ากันเยอะ
  • มหาวิทยาลัย มีโครงสร้างใหญ่โตครับ การเคลื่อนไหวแต่ละอย่างค่อนข้างอุ้ยอ้ายจากตัวระบบราชการ ทำอะไรไม่สะดวกหรอกครับ ครั้นจะพึ่งบุคลากรภายใน ให้ก้าวนำพันธกิจขององค์กร ก็กลายเป็นว่า มีบุคลากรน้อยมากที่สนใจในเรื่องนี้....เพราะฉะนั้น อย่าคาดหวังการมีส่วนร่วมแบบเชิงรุกจากหน่วยงานวิชาการ ของมหาวิทยาลัยเลยครับ....เสียเวลาปล่าว.....แถมเสียอารมณ์อีกด้วย
  • ชุมชนที่มีคนพร้อม มีใจพร้อม กลับมีศักยภาพมากกว่าองค์กรใดๆครับ เพราะไม่มีใครจะลุกขี้นมาปกป้องผลประโยชน์ของชุมชน ได้ดีเท่าคนในชุมชนเองครับ การทำให้คนในชุมชน ตระหนักถึงความเจริญก้าวหน้าด้านการท่องเที่ยว และผลเชิงลบที่อาจตามมาจากการท่องเที่ยวและหาทางป้องกันไว้ เป็นสิ่งที่คนในชุมชนทำได้เอง และทำได้ดีที่สุดด้วยครับ
  • การสร้างเครือข่ายร่วมกันระหว่างชุมชน เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนอีกวิธีหนึ่ง และยังเป็นพี่เลี้ยง คอยสนับสนุนและเป็นต้นแบบให้อีกหลายชุมชนลุกขึ้นมา ทำสิ่งที่เหมาะสมเพื่อแผ่นดินที่ปู่ยาตายายช่วยกันดูแลมาครับ
  • ความเจริญมักเข้ามาพร้อมกับธุรกิจ ที่ใช้เงินนำทาง และซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้า....ซึ่งค่อนข้างน่ากลัวครับ การท่องเที่ยวหลายแห่งกำลังประสบปัญหาความพร้อมในการให้บริการ และความมักง่ายของคนที่มาใช้บริการ ตลอดจนความไม่ใส่ใจดูแลสภาพแวดล้อมอย่างจริงจัง การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กำลังเป็นจุดเริ่มที่หลายคนให้ความสนใจ แต่จะอยู่อย่างยั่งยืนได้นานเพียงใด ขึ้นกับจิตสำนึกของความร่วมแรงร่วมใจในชุมชน ในการรักษาจุดขายของชุมชนไว้ให้ได้
  • มหาวิทยาลัยเป็นได้ก็เพียงหน่วยงานสนับสนุนครับ ซึ่งจะสนับสนุนก็เมื่อมีคนในมหาวิทยาลัยนั้นสนใจในเรื่องเหล่านี้ หรือไม่ก็เป็นนโยบายมาจากเบื้องบน.....ดังนั้น....ป่วยการรอและป่วยการเรียกร้องครับ

มั่นใจในพลังชุมชน ...

เชื่อมั่นในพลังสาวหนุ่ม ...

ศรัทธาในปราชญ์ชาวบ้าน...

เป็น กำลังใจให้ด้วยค่ะ

... 

 

 

เรียนอาจารย์เอก

หากสถาบันการศึกษามีหลักสูตรที่มีเป้าหมายแท้จริงเชิงธุรกิจเท่านั้นก็เป็นเรื่องน่าเศร้านะ สร้างสรรค์หรือทำลาย

แรงขับเคลื่อน สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นทางออกที่สุดยอด แต่ก็มีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องมากมายนอกเหนือจากความสนใจของชุมเอง ซึ่งก็มีแรงขับเพียงน้อยนิดเท่านั้น

ผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารชุมชน จะคิดเหมือนเรา หรือคิดเหมือนกันทุกยุคทุกสมัยหรือไม่

สวัสดีเจ้า อ้ายเอก

เห็นด้วยกับความคิดเห็นของP อย่างสุดตัว โดยเฉพาะประเด็นการเป็นหน่วยงานราชการของมหาวิทยาลัย ไม่ทำก็มีกิน ไม่อดตาย จะดิ้นรนทำให้เหนื่อยไปทำไม...ด้วยโครงสร้างที่ใหญ่ คนมีใจ แต่ไม่มีกำลังและแรงสนับสนุนพอ ก็คงหมดแรงไปตามๆ กัน เพราะกว่าจะเปิดหลักสูตรได้แต่ละครั้งช่างเป็นเรื่องใหญ่และงานช้างเหลือเกิน ต้องอาศัยแรงหนุนใหญ่ๆๆๆ กันเลยที่เดียว แล้วยิ่งถ้าได้พลพรรคที่ขาดความเข้าใจและตีโจทย์ของหลักสูตรผิดเพี้ยนไป ที่นี่แหละปัญหาใหญ่จะตามมาแบบแก้กันไม่หวาดไม่ไหว...เฮ้อ!

ด้วยพลังแห่งศรัทธาและมวลชน

ขอเอาใจช่วยอ้ายเอก และ CBT.I

---^.^---

เรียน  Dr.Wipa

กระผมต้องขอขอบคุณมากครับที่ ได้แสดงความคิดเห็นเป็นห่วง ในการนำเสนอ ที่เจาะจงเกินไปและอาจเป็นต้นเหตุของเรื่องยุ่งยากในอนาคตได้

ผมได้แก้ไขข้อความที่พาดพิงดังกล่าวแล้วครับ

ขอขอบคุณ Dr.Wipa มากๆมา ณ โอกาสนี้ครับ

---------------------------------------

ผมขออนุญาตแก้ไขข้อความในส่วนที่ไม่เหมาะสมออกไปครับ

สวัสดีครับ ทุกท่านที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นในบันทีกนี้ครับ

ผมต้องขออภัย มา ณ โอกาสนี้

ผมได้ปิดบันทึกนี้ไปเมื่อวานนี้ครับ และครุ่นคิด ๑ วัน ก็เปิดบันทึกอีกครั้ง

หลายท่านได้อีเมลล์มาพูดคุย ประเด็นการเขียน ซึ่งทุกท่านอยากให้เปิดบันทึกเพื่อการแลกเปลี่ยนอีกครั้ง

ยอมรับว่าในครั้งแรก อาจได้ไปพาดพิงเรื่องจริงโดยไม่ตั้งใจ สุ่มเสี่ยงต่อเรื่องยุ่งยากในอนาคต ผมจึงขอแก้ไขในบันทึกบางส่วน

วันนี้ผมได้เข้าร่วม งานมหกรรมวิจัยเพื่อท้องถิ่น สิ่งที่ย้ำนักย้ำหนา ก้คือ วิกฤตทางการศึกษา...

ผมก็เห็นได้ชัด เราป่วย แต่เราบอกตัวเองไม่ป่วย จะรู้อีกทีก็เมื่อเห็นโลงนั่นหละครับ

เรื่องราวงานมหกรรมวิจัยเพื่อท้องถิ่น ทั้งสองวันที่เชียงใหม่น่าสนใจมากครับ...ผมจะได้ถอดบทเรียนการเข้าไปร่วมเรียนรู้มาเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนในโอกาสต่อไป

ภาพที่เห็นในสองวันคือ ชุมชนลุกขึ้นมาจัดการตนเอง...ไม่รอใคร เพราะไม่รู้จะพึ่งใคร รอใคร การพึ่งตนเองของชาวบ้าน เกิดจากพลัง ผะหญา ...

เห็นแล้ว สัมผัสแล้วชื่นใจท่ามกลางวิกฤติครับ

-----------------

แต่อย่างไรก็ตามเนื้อหาในบันทึกเดิมก่อนแก้ไข ผมมีความเห็นอย่างไร...ผมก็ยืนยันตามเดิม และตอกย้ำมากกว่าเดิม หลังจากสิ้นสุดงานมหกรรมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคเหนือครั้งนี้

ทางเลือกทางรอดของชุมชนไทยในภาวะวิกฤติ คือ พึ่งตัวเองครับ

 

  • สวัสดีครับอาจารย์เอก
  • อาจารย์เอกปิดบันทึกนี่เอง เมื่อเช้าจะตามเข้ามาอ่านเห็นหายไป เลยฝากคำถามไว้ที่ สอบถาม จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร เป็นบันทึกที่ดีมากครับ แสดงความคิดเห็นเพื่อก่อไม่ใช่ทำลายครับ
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ คุณP

ที่สอบถามผ่านมาให้ผมได้หยุดคิดอีกครั้ง ยอมรับว่า เวลานันขอปิดก่อนเพราะก็เกรงๆ แต่พินิจพิเคราะห์แล้ว เป็นบันทึกที่เป็นความเห็นตรงไปตรงมา..ความจริงที่เกิดขึ้น

แต่ก็ได้ปรับสำนวนแล้วครับ

ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ครับ สำหรับหลายท่านที่ติดตามบันทึกนี้

เอก  น้องเป็นใคร 

( 555  อยากไปเที่ยวปาย  แต่ไม่แลกหมัดนะน้องชาย )

ดีแล้วค่ะ ที่คุณตัดสินใจลบ  ท่อนบทความ  ที่พาดพิง ต่อชื่อเสียง ของมหาวิทยาลัยรัฐ ที่เปิดสอนปริญญาเอกการท่องเที่ยว  ที่กล่าวหาว่า "ร่อแร่" แต่ อย่างไรก็ตาม  คนเราก็ต้องรับผิดชอบกับ ตัวหนังสือ  ที่กลั่นกรองออกมา  และต้องคิดให้มาก  ก่อนจะวิพากษ์วิจารณ์ สถาบันการศึกษาในทางเสียหาย  เพราะเขาใช้เวลากว่า 80 ปี ในการฟูมฟัก ความเป็น สถาบัน  และหากถูกบั่นทอนด้วย ถ้อยความที่ไม่เป็นอันสมควร ก็อาจจะส่งผลในระยะยาว  คุณยังเป็นคนมีอนาคต  ดิฉันอยากให้คุณก้าวต่อไปได้อย่างสง่างามค่ะ

 

สวัสดีครับคุณสุดทางบูรพา P

ขอตอบข้อเสนอแนะ บนสุดก่อนนะครับ

โดยที่ผมเขียนไปว่า มหาวิทยาลัย น่าจะสนองตอบปัญหานี้กับชุมชน และ ทางคุณสุดทางฯ บอกว่า "ช้าไป" ผมเห็นด้วย

เพราะมหาวิทยาลัย หรือสถาบัน ไม่เคยมองชุมชนเลย หากมองตอนนี้เราก็เห็นภาพความชุลมุนของการแย่งเข้าไปพื้นที่ของสถาบันเพื่อไปเปิดหลักสูตรขายดี หาคนเรียนเยอะๆ น่าอดสูมั้ย

เราคนท้องถิ่น เราเป็นชุมชน เราเห็นแบบนี้เราถูกรังแกมาก แต่เราโทษไม่ได้ครับ เพราะตอนนี้เป็น "วิกฤติการศึกษา"

สถาบันมองเรื่อง "การอยู่รอด" เป็นประเด็นหลัก แทบจะเรียกได้ว่ากระเสือกกระสนเลยทีเดียว

ชุมชนเขามองเห็นเรื่อง "ความล้มเหลวของการเรียนในระบบ" เป็นหลัก

มองคนละประเด็น

ถึคงได้มี การศึกษาทางเลือกไงครับ เพราะเราพึ่งใครได้ แตะไม่ได้ วิจารณ์ไม่ได้ ยอมรับไม่เป็น อัตตาสูง นี่เองเป็นสาเหตุที่ ระบบการศึกษาเราป่วยเรื้อรังรอวันตาย

เมืองท่องเที่ยวเรามีปัญหาสะสมก็มากครับ เราค่อยๆคิดแก้ไข โดยศักยภาพของพวกเราเอง แต่ตอนนี้ก็มีทางมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็เข้ามาช่วยเรื่องกระบวนการบ้างแล้ว น่าดีใจครับ  ...

ที่คุณสุดทางบูรพาเขียนว่า... 

"จุดที่สำคัญผมคิดว่าการพัฒนาคนในท้องถิ่นให้มาจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวของท้องถิ่นเองจะช่วยให้การพัฒนาเป็นไปได้อย่างยั่งยืน"

ข้อเสนอแนะนี้ใช่เลยครับ

ขอบคุณคุณสุดทางบูรพามากๆครับ

 

 


คุณวิชิตครับ

ต่างคนต่างคิดนั้น เป็นปรากฏการณ์ที่ถูกต้องเลยครับ เรา (ชุมชน - ระบบการศึกษาในระบบ) เป็นเส้นขนานในระบบการคิดเพื่อพัฒนา

ตลอดเวลากี่ปีก็ตามที่ระบบการศึกษา แม้แต่สถาบันจะเริ่มต้นเป็นสถาบันอย่างไร จะเริ่มมากี่ปีกี่ชาติ  ฐานคิดการศึกษามันมีปัญหาหรือไม่?? เริ่มมานานก็โง่มานาน เริ่มช้าก็โง่ช้าๆ พราะยิ่งผลิตคนมากขึ้นเท่าไหร่ คนถูกล้างสมอง  ด้อยประสิทธิภาพลงเท่านั้น ไม่ได้เป็นคำตอบให้กับการพัฒนา "ระบบปัญญา" ของสังคมเราเลย

ตรงนี้เอง ต่างคนต่างคิด ผมถือได้ในความหมายนี้

หากจุดมุ่งหมายของการศึกษาไม่ใช่การพัฒนาประเทศ ผมจะไม่ว่าสักคำนะครับ แต่โรงเรียน และ โรงเลียน ทั้งหลายเหล่านี้มีผลโดยตรงกับวิถีประเทศ

ทำดีก็ดี ทำไม่ดีก็เจ๊ง ครับ ...สรุปแล้ว วันนี้ก็เจ๊ง ตายไม่ฟื้น

 

สวัสดีครับพี่สิทธิรักษ์P

ต้องขอบคุณครับที่นำบันทึกนี้ เข้าสู่ตะกอนความรู้ ถือว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งครับ

สวัสดีครับ อ.ภูคาP

ขอบคุณอาจารย์ที่มาเยี่ยมครับ

ที่เขียนตรงๆแบบนี้ หวังเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับรู้ข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนากระบวนการเรียนการสอน สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน- - -หากเปิดใจกว้างนะครับ

อนาคตการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่กำลังขับเคลื่อนส่วนใหญ่ตอนนี้ ชุมชนเป็นแกนนำการขับเคลื่อนส่วนใหญ่ครับ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นแบบของเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็น CoPs ที่นำองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน  ตอนนี้เรามีเครือข่ายลักษณะเดียวกันนี้ทั้ง ๔ ภาค

ทั้งหมดเป็นการรุกโดยภาคประชาสังคมโดยแท้

 

 

 

สวัสดีครับP

พี่วีรยุทธ

บันทึกนี้ น่าจะเป็นการทำความเข้าใจร่วมกัน(Clear understanding) และจะเกิดประโยชน์มากหากเปิดใจให้กว้าง

ผมเคยอยู่ในภาคส่วนของราชการ และเอกชน รวมถึงได้เรียนรู้ระบบการทำงานของมหาวิทยาลัยบ้าง ถึงแม้ไม่มากนักก็เห็นรูปแบบการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการรุกเข้าไปเพื่อพัฒนาชุมชนอยู่แล้ว

ไม่แปลกครับ ที่สถาบันหลายๆสถาบันไม่ทันชุมชน ในความเป็นจริงนั้นเราแยกกันโดยตลอด

แยกอย่างไร???

  • การศึกษาแยกคนให้ห่างจากชุมชน
  • ระบบการเรียนการสอนไม่สอดคล้องกับปัญยหาท้องถิ่น อีกทั้งไม่เอื้อต่อการพัฒนาคนที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
  • การบริหารการศึกษาเชิงพาณิชย์ที่คนจน คนชายขอบเข้าถึงลำบาก

ทั้งหมดนี้ที่ผมยกอาจเป็นเพียงบางส่วนที่นึกได้ และเป็นความจริงที่เจ็บปวดของคนท้องถิ่น ทุกวันนี้การศึกษาก็ตั้งหน้าตั้งตาทำการตลาดเพื่อการอยู่รอดเต็มที่ ช่องว่างที่ห่างอยู่แล้ว ขาดสะบั้นมากขึ้น

จากความเห็นของพี่วีรยุทธ

  • ชุมชนน่าจะเป็นเป็นคนให้คำตอบ นั่นเป็นสิ่งที่ควรเป็น และก็เป็นอยู่บ้างแล้ว  ผมเชื่อว่าเราสามารถสร้างความรู้และจัดการด้วยตัวเราเองได้..
  • คำตอบอยู่ที่ชุมชนครับ  ซึ่งชุมชนอาจหมายถึงภาคี เครือข่าย ทั้งภายใน-นอก ต้องออกมาจัดการร่วมกัน ไม่เช่นนั้นอาจจะสายเกินไป
  • ผมเห็นด้วยครับ เราต้อง "พึ่งตนเอง" เป็น คำตอบสุดท้ายครับ

    สวัสดีครับ พี่ P

    ผมเข้ามายิ้มๆ กับความเห็นของพี่Mitochondria  ครับ 

    ข้อเสนอแนะนี้ทำให้เห็นรูปแบบการบริหารจัดการของสถาบันการศึกษาชัดเจนเลยทีเดียว

    ไม่ผิดเลยที่ผมเคยเขียนเรื่อง การอยู่รอดของสถาบัน ที่ต้องพึ่งพาตนเอง จนไม่ได้คิดเรื่องการพัฒนา หรือคิดก็อาจน้อยจนไม่เกิดแรงผลัก

    การประกาศตัวว่าของสถาบันว่าเป็นแหล่งสมอง  คลังปัญญาและ รับใช้ชุมชนนั้น ก็เป็นเพียงแค่คำโฆษณาที่ไม่เป็นจริง หรือจริงบ้างก็เบาบาง

    ขอบคุณมากครับ ที่มาย้ำเตือน ว่า ทางรอดของชุมชนในยุควิกฤตการศึกษา วิกฤติศรัทธาต่อสถาบันนั้น ชุมชนต้อง "พึ่งตนเอง" อย่างเดียวเท่านั้น

     

    เห็นภาพครับ เห็นภาพ!!!

    สวัสดีครับ คุณ P

     poo

    ทักทายมาจากลาว...ต้องขอบคุณมากครับ

    สปป.ลาว เป็นประเทศที่ส่งเสริมเรื่อง eco tourism แบบชัดเจนและผลักดันโดยรัฐเต็มที่ ดังนั้นลาวจึงพัฒนา CBT. กันยกใหญ่ช่วง สิบปีให้หลัง

    ผมไปดูงานที่ เมืองหลวงพระบางก็เห็นภาพการอนุรักษ์เมืองมรดกโลกเป็นอย่างดี เข้าไปนอนพักแบบโฮมสเตย์ในหมู่บ้านเล็กๆริมแม่น้ำคาน ก็เห็นการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนที่ น่าประทับใจมาก

    คุณปูมีโอกาสได้ไปเที่ยวเมืองหลวงพระบาง หรือไม่ก็ที่คุณทำงานอยู่ นำมาแลกเปลี่ยนกันบ้างนะครับ

    สวัสดีครับพี่กระท้อนP

    "ปาย" น่าจะเป็นพื้นที่กรณีศึกษาที่น่าสนใจครับ เป้นเมืองเล็กที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก แน่นอนว่าเมืองเล็กๆอย่างปายจะรองรับได้แค่ไหน จะแก้ไขปัญหาอันเกิดจากผลกระทบของการท่องเที่ยวได้อย่างไร

    สังเกตบ้างมั้ยครับว่า เราต้องเผชิญชะตากรรมกับปัญหามาโดยที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนที้งวิชาการและงบประมาณ ไปไม่ถึง

    และที่ไปถึงก็ซ้ำเติมมากกว่า

    สถาบันที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน(วชช.แม่ฮ่องสอน) ด้านการท่องเที่ยวเองก็พยายามทำ ข้อเสนอความต้องการด้านการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน แต่ก็กำลังดำเนินการครับ...

    เราคงต้องระดมความคิดกันครั้งใหญ่โดยภาคประชาสังคม ...เพราะเราคงต้องเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตนเองกันอย่างจริงจัง

    ช่วยตัวเอง พึ่งตัวเอง น่าจะเป็นทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นครับ

    สวัสดีครับ น้องพิมP

    อ้ายเอกก็ชอบความเห็นของพี่ไมโตครับ เพราะชำแหละให้เห็นภาพที่ชัดเเจ้งแดงแจ๋

    "...ทำก็มีกิน ไม่อดตาย จะดิ้นรนทำให้เหนื่อยไปทำไม...ด้วยโครงสร้างที่ใหญ่ คนมีใจ แต่ไม่มีกำลังและแรงสนับสนุนพอ ก็คงหมดแรงไปตามๆ กัน เพราะกว่าจะเปิดหลักสูตรได้แต่ละครั้งช่างเป็นเรื่องใหญ่และงานช้างเหลือเกิน ต้องอาศัยแรงหนุนใหญ่ๆๆๆ กันเลยที่เดียว แล้วยิ่งถ้าได้พลพรรคที่ขาดความเข้าใจและตีโจทย์ของหลักสูตรผิดเพี้ยนไป ที่นี่แหละปัญหาใหญ่จะตามมาแบบแก้กันไม่หวาดไม่ไหว...เฮ้อ!..."

    ยกความเห็นเพิ่มเติมของน้องพิมลงมาให้ย้ำอีกครั้ง ดังนั้นของการเคลื่อน CBT. I  ก็คงต้องหนักแน่นและมั่นคงมากขึ้น

    สวัสดีครับ พี่หนิงP

    หากมาปาย มีเวลาก็ขอเรียนเชิญครับ ช่วงนี้อากาศหนาวเย็น เหมาะแก่การมาเยือนมากครับ

     

     

    อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท