เรียนโครงงานกับครูชำเลือง ตอนที่ 3


ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ ลงมือทำจริง

เรียนโครงงานกับครูชำเลือง 

ตอนที่ 3 (ลงมือปฏิบัติงาน)         

       ก่อนที่ผมจะเล่าถึง   การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานต่อไป ผมมิอาจที่จะรู้ได้ว่าข้อมูลที่เล่ามา  ในแต่ละตอน  ผู้อ่านจะเป็นใครมีสถานภาพการศึกษาระดับใด เป็นครู เป็นนักเรียนหรือบุคคลทั่วๆ ไป ผมจึงขอเล่าระดับกลาง ๆ โดยหยิบยกเอาประสบการณ์ในห้องสอนมากล่าวแต่อาจจะต้องใช้ความรู้มาเทียบเคียงบ้าง (คงจะไม่งั้น ๆ นะ) ครับ         

      สำหรับเมื่อตอนที่ 2 นักเรียนต้องใช้เวลา 3-6 ชั่วโมงเพื่อคิด วิเคราะห์ แต่ก็มีนักเรียนบางคนใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมง ก็สามารถวิเคราะห์จนได้หัวข้อโครงงานและวางแผนต่อไปได้ แต่นักเรียนบางคน (กลุ่มอ่อน) ต้องใช้เวลาถึง 9 ชั่วโมง จึงทำขั้นตอนนั้นผ่านมาได้ (เราต้องให้เวลานักเรียนได้คิด วิเคราะห์อย่างเต็มที่) เมื่อผ่านขั้นตอนการวางแผนจัดทำโครงงานมาแล้ว แนะนำให้นักเรียนตรวจสอบ ดูความสมบูรณ์ของปฏิทินปฏิบัติงานอีกครั้งโดยเฉพาะช่องรายการปฏิบัติจะต้องเขียนให้มองเห็นภาพการทำงาน เช่น เขียนว่า การปฏิบัติ ยืนถือบทและร้องเพลงอีแซวออกตัว 10 เที่ยว (มองเห็นภาพการปฏิบัติงานจริง) แต่ถ้าเขียนว่า รายการปฏิบัติว่า ร้องเพลงอีแซว 10 เที่ยว (อย่างนี้ไม่เห็นภาพ) นักเรียนจะต้องปรับรายการปฏิบัติในปฏิทินให้ชี้ชัดลงไปว่า มีรายละเอียดในการทำงานอย่างไร 

ผลการเรียนรู้ที่  4. การปฏิบัติงาน หรือลงมือทำงานด้วยตนเอง ตามที่ได้วางแผนเอาไว้        

     เมื่อถึงเวลาทีจะลงมือทำงานตามขั้นตอน นักเรียนจะต้องใช้ปฏิทินเป็นตัวกำกับการทำงานในแต่ละสัปดาห์ของการเรียน นักเรียนตรวจสอบตนเองในการปฏิบัติงานตามที่ปรากฏในปฏิทิน ทำงานให้ตรงตามที่ปรากฏในตารางปฏิทินทุกรายการโดยเริ่มต้นจากการเตรียมความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ ที่จำเป็น จัดหานำเอามาให้ครบ (นักเรียนในปัจจุบันสู้รุ่นก่อน ๆ ไม้ได้) ครูคงต้องเหนื่อยมากในการที่จะทำให้เขาเหล่านั้นเป็นคนที่มีคุณภาพปานกลาง  มีความรับผิดชอบ (มีคุณธรรม) และทำงานด้วยความรอบคอบ ประหยัด เกิดประโยชน์ มีการเชื่อมโยงกับสาระความรู้หลายด้าน (เศรษฐกิจพอเพียง) 

ตัวอย่าง  การปฏิบัติงานตามปฏิทิน  ชื่อโครงงานเพ้นท์บนผลิตภัณฑ์  20 ชิ้น ไม่ซ้ำแบบ       
วัน/เดือน/ปี                      รายการปฏิบัติ                                   สถานที่          ผู้รับผิดชอบ 
15 พฤษภาคม 2550   เลือกวิชาเพิ่มเติมโครงงาน       ห้อง 512    ด.ช.สมทรง
22 พฤษภาคม 2550 วิเคราะห์โครงงานและตนเองตามความสามารถ ห้อง 512  ด.ช.สมทรง
29 พฤษภาคม 2550   วางแผนจัดลำดับขั้นตอนการทำงาน   ห้อง 512 ด.ช.สมทรง 
 5   มิถุนายน 2550    วางแผนการทำงาน (ต่อ)               ห้อง 512 ด.ช.สมทรง 
12  มิถุนายน 2550 เขียนสีลงบนกระดาษโปสเตอร์แข็งด้วยกรวยบีบสี  ห้อง 512    ด.ช.สมทรง 
19  มิถุนายน 2550    เขียนสีลวดลายลงบนแผ่นวิซีดีด้วยกรวยบีบสี   ห้อง 512    ด.ช.สมทรง 
26  มิถุนายน 2550    เขียนสีลวดลายลงบนหม้อดินด้วยกรวยบีบสี  ห้อง 512   ด.ช.สมทรง 
3  กรกฎาคม 2550   เขียนสีลวดลายลงบนแจกันด้วยกรวยบีบสี  ห้อง 512   ด.ช.สมทรง
10  กรกฎาคม 2550   เขียนสีลวดลายลงบนแผ่นกระเบื้องด้วยพู่กันกลม     ห้อง 512 ด.ช.สมทรง
17  กรกฎาคม 2550 เขียนสีลวดลายลงบนแผ่นพลาสติกด้วยพู่กันกลม   ห้อง 512   ด.ช.สมทรง
24  กรกฎาคม 2550   เขียนสีลวดลายลงบนผ้ากำมะหยี่ด้วยพู่กันกลม  ห้อง 512    ด.ช.สมทรง
31  กรกฎาคม 2550   เขียนสีลวดลายลงบนแผ่นเสียงด้วยพู่กันกลม    ห้อง 512    ด.ช.สมทรง 
7  สิงหาคม   2550  เขียนสีลวดลายลงบนขวดกาแฟด้วยเกรียงปาดสี    ห้อง 512    ด.ช.สมทรง
14  สิงหาคม   2550   เขียนสีลวดลายลงบนกรอบรูปเกรียงปาดสี    ห้อง 512    ด.ช.สมทรง
21  สิงหาคม   2550   เขียนสีลวดลายลงบนขวดโหลด้วยเกรียงปาดสี  ห้อง 512    ด.ช.สมทรง
28  สิงหาคม  2550   เขียนสีลวดลายลงบนกระจกใสด้วยเกรียงปาดสี   ห้อง 512    ด.ช.สมทรง 
4  กันยายน   2550  เขียนสีลวดลายลงบนแจกันดินเผาตามถนัด  ห้อง 512  ด.ช.สมทรง
11  กันยายน   2550   เขียนสีลวดลายลงบนหวีตามถนัด   ห้อง 512   ด.ช.สมทรง
18  กันยายน   2550   ประเมินผลการเรียนกลางปี           ห้อง 512   ด.ช.สมทรง
25  กันยายน   2550   ประเมินผลการเรียนกลางปี           ห้อง 512  ด.ช.สมทรง
16  ตุลาคม    2550   เขียนสีลวดลายลงบนหวีตามถนัด    ห้อง 512  ด.ช.สมทรง
23  ตุลาคม    2550   เขียนสีลวดลายลงบนหวีตามถนัด    ห้อง 512  ด.ช.สมทรง
30  ตุลาคม    2550   เขียนสีลวดลายลงบนหวีตามถนัด    ห้อง 512  ด.ช.สมทรง 
6 พฤศจิกายน 2550   เขียนสีลวดลายลงบนหวีตามถนัด     ห้อง 512  ด.ช.สมทรง
13พฤศจิกายน 2550   เขียนสีลวดลายลงบนหวีตามถนัด   ห้อง 512  ด.ช.สมทรง
20พฤศจิกายน 2550   เขียนสีลวดลายลงบนหวีตามถนัด   ห้อง 512  ด.ช.สมทรง
27พฤศจิกายน 2550   วางแผนประเมินผลงาน                ห้อง 512  ด.ช.สมทรง 
 4 ธันวาคม   2550    นำผลงานไปเสนอให้เพื่อนประเมิน 2-3 คน    ห้อง 512   ด.ช.สมทรง
11  ธันวาคม  2550    ประเมินผลงานต่อไปจนครบทุกชิ้น   ห้อง 512   ด.ช.สมทรง
18  ธันวาคม  2550    ปรับปรุงผลงานครั้งที่ 1 (ชิ้นที่ 1-4)   ห้อง 512  ด.ช.สม
ทรง25  ธันวาคม  2550    ปรับปรุงผลงานครั้งที่ 2 (ชิ้นที่ 5-8)  ห้อง 512  ด.ช.สมทรง 
8  มกราคม  2551    ปรับปรุงผลงานครั้งที่ 3 (ชิ้นที่ 9-12)   ห้อง 512  ด.ช.สมทรง
15  มกราคม  2551    ปรับปรุงผลงานครั้งที่ 4 (ชิ้นที่ 13-16)  ห้อง 512  ด.ช.สมทรง
22  มกราคม  2551    ปรับปรุงผลงานครั้งที่ 5 (ชิ้นที่ 17-20)  ห้อง 512  ด.ช.สมทรง
29  มกราคม  2551    เขียนรายงานการจัดทำโครงงานและจัดทำสื่อ    ห้อง 512    ด.ช.สมทรง 
5  กุมภาพันธ์ 2551    เขียนรายงานการจัดทำโครงงานและจัดทำสื่อ     ห้อง 512    ด.ช.สมทรง
12  กุมภาพันธ์ 2551   นำเสนอผลงาน จัดแสดงแผ่นพับราบงานผล     ห้อง 512    ด.ช.สมทรง
19  กุมภาพันธ์ 2551   นำเสนอผลงาน จัดแสดงแผ่นพับราบงานผล     ห้อง 512    ด.ช.สมทรง
25  กุมภาพันธ์ 2551   ประเมินผลปลายปี                    ห้อง 512  ด.ช.สมทรง 
     
  
    
 
  เมื่อนักเรียนตรวจสอบปฏิทินเรียบร้องแล้ว ก็สามารถที่จะเริ่มลงมือทำงานตามรายการปฏิบัติที่ปรากฏในปฏิทิน ตั้งแต่งานชิ้นที่ 1 จนถึงงานชิ้นสุดท้าย ครูทำหน้าที่คอยให้คำแนะนำและดูแลให้เขาอยู่ในกรอบ (การวัดและประเมินตรงส่วนนี้ ยึดกระบวนการทำงาน ทำตามปฏิทิน) ซึ่งขั้นตอนนี้แหละครับ ถ้าท่านสอนโครงงานจริง ครูจะเหนื่อยต่อการที่จะต้องคอยชี้แนะให้นักเรียนที่ออกนอกกรอบ การเรียน (ออกนอกห้อง ไม่ทำงาน ไม่มีอุปกรณ์มาทำงาน นั่งคุยกัน จนถึงหนีเรียน) มีความเข้าใจและเห็นคุณค่าของระบบการทำงาน รู้จักตนเองอย่างแท้จริง ก็ยากครับ ยากมาก ๆ ยากกว่าการสอนปกติในวิชาที่เน้นสาระมาก เพราะนี่คือการสอนคนที่มีความสนใจต่างกัน พฤติกรรมของนักเรียนจะปรากฏให้เราเห็นหลากหลายปัญหา ต้องใช้ภูมิปัญญามาแก้ไข 10 คน 10 ปัญหา 10 วิธีการ ถ้าผ่านขั้นตอนนี้ไปได้ ตอนต่อไปจะสนุกยิ่งขึ้นครับ นักเรียนจะไม่เบื่อ ความสำคัญอยู่ตรงนี้ ตรงที่นักเรียนลงมือปฏิบัติ (ถ้าเขาเลือกทำโครงงานที่มิใช่ความจริงและยังค้นหาตัวเองไม่พบ จะต้องย้อนกลับไปวิเคราะห์ใหม่ครับ)       
      แต่สำหรับนักเรียนที่มีความสมารถด้านศิลปะ เช่น ถนัดชอบวาดภาพ ถนัดทางด้านการแสดงเพลงพื้นบ้าน เขาก็จะทำงานด้วยความสุข เพราะผมมีสื่อ/นวัตกรรมประกอบการเรียนรู้ เป็นผลงานที่ผมได้รับรางวัลจากสำนักงานคุรุสภา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536-2550 อยู่ทั้งหมด 5 ชุด (รางวัลที่ 1 สองชุด รางวัลที่ 2 หนึ่งชุด และรางวัลที่ 3 สองชุด) และรางวัลยอดเยี่ยม จากกรมสามัญศึกษา 1 ชุด เด็กได้ศึกษารูปแบบของผลงานศิลปะแนวการสอน การเรียนรู้โครงงานจำนวนมาก ทั้งเรื่องราวภาพประกอบ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน นักเรียนศึกษา หาความรู้ได้และฝึกปฏิบัติงานได้อย่างมาก แต่ถ้าเลือกทำโครงงานที่ไม่ใช่ตัวตนของเขา ลักษณะที่แสดงออกมา คือ จะหลบงาน ไม่มีงานทำ และจะมาคอยถามครูว่า ครูครับ ผมจะทำงานนั้น งานนี้ได้ไหมครับ แทนที่จะกลับไปวิเคราะห์ตนเอง เพื่อหาให้พบว่า มีความสามารถด้านใด แต่กลับไปถามครูและถามเพื่อน เด็กประเภทนี้ช้ามากนะครับ  กว่าที่เขาจะเข้ามาอยู่ในเส้นทางของการเรียนรู้ได้ตรง  อาจเป็นเพราะเหตุนี้ก็เป็นได้  ที่ครูบางคน ให้นักเรียนทำโครงงานแบบเดียวกันไปเสียเลย (ผมไม่อาจชี้ลงไปได้ว่าถูกหรือผิด) แต่เด็ก ๆ จะไม่ได้คิด วิเคราะห์ วางแผน ลงมือทำงาน ประเมิน ปรับปรุงจนได้ชิ้นงาน สู้เราสอนให้เขาเลือกทำเองดีกว่า ปัญหามีบ้างค่อยแก้กันไป ผมแก้ ปัญหาอยู่กับเด็กมานานกว่า 38 แล้วครับ (ยังไหว)         

     ยังมีโอกาสนะครับที่จะปรับเปลี่ยนวิธีสอนวิธีจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมถูกต้อง เพื่อที่จะได้ช่วยกันนำนักเรียนไปสู่ การคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง      

(พบกันในตอนที่ 4 วิธีการประเมิน และปรับปรุงโครงงาน ครับ)

       

                                 

   

คำสำคัญ (Tags): #ศิลปะ
หมายเลขบันทึก: 99899เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2007 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขออนุญาติครับ ข้อความบางตอนตัดไปลง http://gotoknow.org/blog/mrschuai/99502

ขอบคุณมากครับ

  • เยี่ยมยุทธ สุดยอด สอดคล้อง
  • ครรลอง ของงาน สานสร้าง
  • วิเคราะห์ เจาะคิด จิตวาง
  • แนวทาง อย่างนี้ พี่ชำเลือง

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์..ชำเลือง

  • ครูอ้อยขอชื่นชมอาจารย์มากเลยค่ะ  ที่จัดการเรียนรู้ได้ดีเยี่ยม  ครูอ้อยอยากจะเลียนแบบท่านในการจัดกิจกรรม แต่นักเรียนของครูอ้อยยังเล็กมาก  เลยทำกิจกรรมแบบกึ่งโครงการกึ่งแบบฝึกค่ะ  แต่บางกิจกรรมก็ใช้โครงงานแบบเต็มรูปแบบเลยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ  นักเรียนของอาจารย์คงรักอาจารย์น่าดูค่ะ
  • อาจารย์เป็นอาจารย์แบบความรู้ที่คงทนค่ะ

ขอบคุณค่ะ

P

อนุญาติครับ ข้อความบางตอนตัดไปลง http://gotoknow.org/blog/mrschuai/99502

  • ท่านที่จะเรียนรู้แก่นแท้ ๆ ขอเชิญเข้าไปที่บันทึกขอลคุณสิทธิรักษ์ได้ ครับ
  • เฉพาะชอทสั้น ๆ ที่นั่นคือที่เก็บขุมความรู้เพียบเลย
P
 ขอขอบคุณมาก อ. พิสูจน์
  •  ที่ผมมี กำลังใจ ได้จากเพื่อน
  • คอยติเตือน ชี่นชม ไม่ข่มเหง
  • มีพลาดพลั้ง ผิดไป  ใช่นักเลง
  • คนที่เก่ง กว่าเรา เข้าประคอง
P

สวัสดี ครับ ครูอ้อย

  • ขอบคุณมากในความมีน้ำใจของน้อง วันนี้ผมปล่อยให้เด็ก ๆ เขาแสดงศักยภาพกันตามความสามารถ ผมคอยเป็นผู้เสริม และบอกสิ่งที่ถูกต้องให้เขาในตอนท้าย ๆ ครับ
  • เด็กเล็ก ๆ ก็ทำได้ (ผมเคยเป็นครูสอนตั้งแต่ชั้น ป.1-ป.6 และ ม.1-ม.6 มาแล้วครับ)
  • ช่วงหลัง ๆ นี้ (วัยใกล้เกษียณ) ผมเน้นจัดการเรียนรู้อาชีพศิลปะ  การแสดงเพลงพื้นบ้าน และคอมพิวเตอร์มากขึ้น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท