วิถี"ผู้ป่วยเรา...


เราจึงได้แต่หวังและรอว่าจะมีจิตแพทย์สักท่าน ย้ายมาประจำที่โรงพยาบาลของเรา ผู้ป่วยเราคงจะได้รับอะไรดีๆ แน่นอนเมื่อมารับบริการ

       สืบเหตุจากการมุ่งพัฒนา"คุณภาพ"..ไม่เพียงแต่ก่อทุกข์ให้เราคนทำงาน แต่ยังทำให้ผู้ป่วยของเรา (ผู้ป่วยจิตเวช) พลอยอึดอัดใจไปด้วย เพราะในองค์กรเรามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย

       กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลยโสธร เน้นการบริการที่เป็นลักษณะผู้ป่วยนอก มีผู้มารับบริการอย่างหนาคั่งในวันจันทร์ เพราะมีข้อจำกัดหลายอย่าง คือ กลุ่มงานเราไม่มีจิตแพทย์ ผู้ป่วยที่มาหาเราจะไปตั้งต้นการรักษาที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จ.อุบลราชธานี จากนั้นจึงถูกส่งมารับยาต่อที่ กลุ่มงานจิตเวช รพ.ยโสธร ซึ่งผู้ป่วยจะมารับยาทุกเดือน โดยมีแพทย์อายุรศาสตร์ 2 ท่านเท่านั้นที่เสียสละมาผลัดกันออกตรวจสลับกันในแต่ละเดือน

       แต่กว่าแพทย์ทั้งสองท่านจะผละเวลามาตรวจได้นั้น ก็จะเป็นช่วงบ่ายของวันจันทร์(วันเดียว)เพราะท่านต่างมีภาระงานมากเช่นกัน ดังนั้น ผู้ป่วยจิตเวชของเราที่ต้องได้รับการบำบัดโดยยา ก็จะมารับบริการในวันจันทร์ แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เป็น "ชาวบ้าน" ที่ต้องตื่นแต่เช้ามีรถออกมาจากหมู่บ้านวันละเที่ยวในตอนเช้า ผู้ป่วยเราจึงมาถึงโรงพยาบาลแต่เช้ามายื่นบัตรและมานั่งรอตรวจในตอนบ่าย

       กิจกรรมที่เราทำระหว่างที่ป่วยรอตรวจนั้น ก็จะมีตรวจและประเมินสภาพจิต ทำกลุ่มบำบัด ให้คำปรึกษารายบุคคล  สอนสุขศึกษา กลุ่มนันทนาการนำโดยพี่เขียวและบางครั้งก็จะเป็นผู้ป่วยด้วยกันมาช่วยกัน นับดูเวลาที่ผู้ป่วยต้องรอตรวจจากแพทย์รวมแล้วเฉลี่ยประมาณ 5-6 ชั่วโมงแต่เมื่อหมอมา ใช้เวลาในการตรวจแต่ละรายไม่นาน จากผู้ป่วยที่มารอประมาณ  80 คนขึ้นไปต่อวัน แพทย์ใช้เวลาตรวจประมาณ 1 ถึง 2 ชั่วโมง ซึ่งใช้เวลาเร็วมาก หากแต่ใช้เวลารอนาน...

       การให้บริการนี้ก่อให้เกิดความอึดอัดใจ ในพวกเรา "ชาวจิตเวช" กันทุกคน เพราะสงสารผู้ป่วยที่ต้องมารอนานและเวลากลับต้องเหมารถกลับ เพราะรถที่วิ่งเข้าหมู่บ้านวันละเที่ยวจะหมดประมาณช่วงเที่ยง(ออกจากตัวเมือง) เพราะเหตุที่เกิดนี้อยู่นอกเหนือการควบคุมของเราที่จะเข้าไปจัดการอะไรได้ เราเคยเสนอต่อผู้บริหาร และ PCT OPD หลายครั้ง หลายปี แต่ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เราจึงได้แต่หวังและรอว่าจะมีจิตแพทย์สักท่าน ย้ายมาประจำที่โรงพยาบาลของเรา ผู้ป่วยเราคงจะได้รับอะไรดีๆ แน่นอนเมื่อมารับบริการ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 25177เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2006 23:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
     พร้อม ๆ กับความไม่เพียงพอของแพทย์ที่เป็นปัญหา และกระทบต่อชาวบ้านแน่ ๆ และแก้ยากมาก พอ ๆ กับที่จะแก้ให้มีรถวิ่งตลอดเวลาเพื่อชาวบ้านสะดวกนั่นแหละครับ
     ในฐานะที่เป็นคนชุมชน คงต้องตั้งคำถามที่น่าจะพอคิดช่วยแก้ได้บ้างว่า...เกิดอะไรขึ้นในชุมชน คนป่วย "จิต" จึงได้มีมากมายขนาดนี้ เป็นเพราะเกณฑ์การตัดสินว่าเขา (ป่วย) ต้องได้รับการบำบัดด้วยยาที่ รพ. หรือเป็นเพราะสภาพที่เปลี่ยนไปของคน ชุมชน และสังคม หรือเพราะการพึ่งพาอย่างคาดหวังมากไปกับแวดล้อมโดยไม่ได้มองว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน "พึ่งตนเองกันได้ด้วยตนเอง" หรือ...กันแน่ครับ

คุณ"ชายขอบ"

หากเรารู้เท่าทัน..สิ่งที่ก่อเกิด

บางครั้ง..อาจป้องกันอะไรได้

มากกว่า...

ที่คอยแก้ไข...อย่างเดียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท