NKM3 <5> : จุดเริ่มและเดินมาของ To Be Number One Friend Corner


สืบเนื่องจากความเห็น...ของ ท่าน อ.หมอวิจารณ์ที่ให้โจทย์มาว่า...

วิจารณ์ เมื่อ พฤ. 07 ธ.ค. 2549 @ 10:46 จาก 202.139.223.18   ลบ
อยากให้เล่าสาระ วิธีการ ผลลัพธ์ ผลกระทบ ที่แต่ละกลุ่มดำเนินการ    และอยากให้ ดร. กะปุ๋ม เสนอแนะว่าควรมีการต่อยอดกิจกรรมเหล่านี้อย่างไร

ขอบคุณครับ

วิจารณ์

............
เป็นความเห็นที่กระตุ้นนำให้เล่าเรื่องใน NKM3 <3> : AAR ห้อง To Be Number One Friend Corner
จริงๆ แล้วในเรืองการเดินมาของทีม To Be Number One Friend Corner ต่างมีเรื่องที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็ยังมีจุดที่แตกต่างกัน จากในช่วงเช้าที่เล่าถึง "จุดเกิด การเดินมา และสานต่อ"...

       อาจารย์เย็นจิตร แห่งโรงเรียนเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต เล่าให้ฟังว่า สืบเนื่องจากที่ในเขตพื้นที่มีการระบาดปัญหายาเสพติดมาก และทางโรงเรียนและผู้ใหญ่ในจังหวัดหลายท่าน ต่างเห็นพ้องว่าน่าจะมีการทำกิจกรรมอะไรสักอย่างเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ไม่ให้แพร่ระบาดมากในโรงเรียน สถาบันการศึกษา และชุมชน โดยจุดเริ่มกิจกรรมนั้นมาจากโครงการพลังแผ่นดิน ช่วงนั้นโครงการ To Be Number One ของทูลกระหม่อมฯ เข้ามา...ทางโรงเรียนก็เริ่มลุยโครงการนี้ทันที โดยมีคุณไฝ-(ตัวแทนชุมชน)และทีมการเมืองท้องถิ่น...เป็นผู้ให้การสนับสนุน...ในเรื่องงบประมาณร่วมกับทางของกรมสุขภาพจิต...มีการรณรงค์การป้องกันการแพร่ระบาดยาเสพติดทั้งในโรงเรียน และในชุมชน ... เส้นทางการเดินทางในโครงการนี้ อ.เย็นจิตรเล่าให้ฟังว่าเรียนรู้และผลักดันพอสมควร...

       ในส่วนของโรงเรียนนครขอนแก่น...อาจารย์อุไรวรรณ เล่าให้ฟังว่าพื้นที่ตั้งของโรงเรียนมีการแพร่ระบาดของยาเสพติดมาก นักเรียนไม่เข้าเรียน มีทั้งเสพและค้า...จวบจนมีการเคร่งครัดการปราบปราบ...กรอปกับมีโครงการ To Be Number One  ผู้บริหารโรงเรียนและทีมคณาจารย์ในโรงเรียนไม่รอช้าที่จะดำเนินกิจกรรมนี้ ตั้งต้นจากที่ครูแนะแนว ร่วมกับเด็กนักเรียนจัดตั้งชมรมนี้ขึ้นมา และดำเนินกิจกรรม ของ To Be Number One และมีมุม Friend Corner มีบทบาทในเรื่อง "เพื่อนช่วยเพื่อน"..การให้คำปรึกษา และมีการขยายผลลงไปในชุมชน "โครงการฝากเด็กไว้กับบ้าน" ในยามปิดเทอม...และอีกหลายๆ โครงการที่นอกเหนือจากกรอบที่กรมสุขภาพจิตกำหนด โดยกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ นั้นเด็กนักเรียนช่วยกันคิด โดยมีครูคอยเป็นพี่เลี้ยง ระยะแรกอาจารย์อุไรวรรณเล่าให้ฟังว่า ... เกิดข้อคำถามจากชุมชนพอสมควร แต่โรงเรียนและทีม To Be Number One ก็ไม่ย่อท้อ ยังเดินหน้าต่อไป...มีโครงการเยี่ยมบ้านเด็ก และการสร้างเครือข่ายเด็กในโรงเรียน ในห้องเรียน และในชุมชน

       สำหรับโรงเรียนยโสธรพิทยาคมนั้นเริ่มมาตั้งแต่ โครงการ Friend Corner แรกๆ โครงการและกิจกรรมนี้ค่อนข้างเงียบมาก และหาครูพี่เลี้ยงที่อยากเข้ามาร่วมรับผิดชอบแทบจะไม่มี เพราะมองว่าการทำกิจกรรมในเรื่องนี้ค่อนข้างยาก จนพี่จากกลุ่มงานจิตเวช พี่เบิร์ด พี่หนิง..ต่างร่วมผลักดันกับน้องๆ ล้มลุกคลุกคลานกันมา จนครูหมี...ย้ายมาประจำที่โรงเรียนและได้รับผิดชอบโครงการนี้ ได้มารื้อกันใหม่หาห้องให้เด็กๆ และจัดตั้งเป็นชมรม ให้เป็นกิจลักษณะมากขึ้น สนับสนุนให้เด็กได้ทำกิจกรรม ฝึกอบรมการให้คำปรึกษา และคอยเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนทั้งความคิด และการทำงาน คลุกอยู่กับเด็กตลอดอย่างไม่ปล่อย เด็กๆ จะเรียกครูว่า ..."แม่หมี"...ด้วยความรักที่ครูหมีไม่ได้ทำเพียงหน้าที่แต่เป็นทั้งเพื่อน พี่ แม่ และทุกอย่างให้เด็กๆ ซึ่งตรงจุดนี้ค่อนข้างคล้ายคลึงกันกับ "แม่อุ" หรือ อ.อุไรวรรณ เช่นเดียวกัน

       ส่วนโรงเรียนโพธิสาร อ.นุชจรีย์ เล่าให้ฟังว่าตนเองค่อนข้างเป็นน้องใหม่ในโครงการ To Be Number One Friend Corner เพราะเพิ่งเริ่มมาได้ประมาณหนึ่งปี แต่ทันทีที่เริ่มทางโรงเรียนก็ทำอย่างจริงจัง ทุกอย่างดำเนินไปตามกรอบที่ทางกรมสุขภาพจิตกำหนด แต่ในขณะเดียวกันทางโรงเรียนก็มีกิจกรรมการส่งเสริมการดำเนินงานของเด็กและเยาวชนที่นอกเหนือจากกรอบที่กำหนด ทางโรงเรียนมีมุมกิจกรรมออกเป็นสี่มุม เช่น มุมให้คำปรึกษา มุมปรับทุกข์สร้างสุข มุมสบาย สบายสไตล์โพธิสาร มุมพัฒนา EQ เป็นต้น และนอกจากนี้ทางชมรมก็ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์วิเคราะห์สารเสพติด

       จะเห็นได้ว่าในแต่ละโรงเรียนนั้น เป็นระดับโรงเรียนมัธยมศึกษา แต่ในวันนั้นเรามีระดับอุดมศึกษาเข้ามาร่วมด้วย คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยมีอาจารย์วรินทรีย์ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย โดยอาจารย์มองว่ากิจกรรมนี้ไม่น่าจะมีเฉพาะในระดับโรงเรียน ...ในส่วนของระดับมหาวิทยาลัยเองน่าเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้สานต่อ และที่สำคัญอาจารย์เป็นอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ กิจกรรมทางด้านสื่อสารมวลชลน่าจะมาสอดรับกับชมรม To Be Number One Friend  Corner  ได้อย่างดียิ่ง ดังนั้น อาจารย์จึงรวมกับนักศึกษาที่รักในการทำกิจกรรมร่วมกันก่อตั้งชมรมดังกล่าว จนต่อมาทางกรมสุขภาพจิตได้เข้ามาให้การสนับสนุน และดำเนินงานภายใต้กรอบงาน To Be Number One Friend  Corner แต่ที่แตกต่างออกไปนั้น ทาง ม.ราชภัฏเชียงรายนี้ผนวกเข้าไปในกิจกรรมทางด้านสื่อสารมวลชนเข้าร่วมในการรณรงค์กิจกรรมต่างได้อย่างมาก เพราะนักศึกษาที่ run งานนี้ส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์เป็นส่วนใหญ่...

หมายเลขบันทึก: 65894เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 05:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท