ลปรร. เรื่องการจัดการความรู้ ของกองทันตฯ (12) ... KM กับงานกลุ่มวัยเรียน ... สร้างนักวิจัยน้อย


โครงการเรียนรู้คู่วิจัย คิดมาจาก การจะนำงานส่งเสริมทันตสุขภาพให้อยู่ใน รร. ให้ได้ + แนวคิดให้ทั้งครู โรงเรียน และนักเรียน ทำงานวิจัยร่วมกัน โดยมุ่งเป้าหมายที่กระบวนการพัฒนาทักษะการคิด การแสดงออกของเด็ก สำคัญที่ เด็กทำงานเอง และต้องคิดว่า เขาจะทำงานเองได้อย่างไร

กลุ่มเด็กวัยเรียน นำ KM ไปใช้กับการร่วมสร้างนักวิจัยน้อย ... นำทีมเล่าโดยหมอแว่น (ทพญ.วราภรณ์ จิระพงษา และหมอปิ (ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม) ค่ะ

การจัดการความรู้ของกลุ่มนี้ มีจุดประสงค์ที่กลุ่มเด็กนักเรียน ใน โครงการเรียนรู้คู่วิจัย คิดมาจาก การจะนำงานส่งเสริมทันตสุขภาพให้อยู่ใน รร. ให้ได้ + แนวคิดให้ทั้งครู โรงเรียน และนักเรียน ทำงานวิจัยร่วมกัน โดยมุ่งเป้าหมายที่กระบวนการพัฒนาทักษะการคิด การแสดงออกของเด็ก สำคัญที่ เด็กทำงานเอง และต้องคิดว่า เขาจะทำงานเองได้อย่างไร

กลุ่มเป้าหมาย 14 จังหวัด 210 รร. นับรวมแล้วทั้งหมด ก็ 2,000 กว่าชีวิต มี ทีมกองทันตฯ + ครู + เด็ก (นักวิจัยน้อย) เมื่อจบสุดท้ายก็นำมารวมแลกเปลี่ยนผลงานของกันและกัน

โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ มค.48 ถึง มิย.49 กิจกรรมเกิดในปีการศึกษา 48 โดย โจทย์นำเรื่อง คือ “อาหารกับฟันผุ”

ทีมทำงานได้ปิ๊งแนวคิดจาก อ.สุชาตา (รศ.ดร.สุชาตา ชินะจิตร) ที่ว่า “การวิจัยเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันของคนทุกคน แต่ว่า จะรู้และเข้าใจได้ ต้องลงมือปฏิบัติจริง และสร้างความคิดให้เกิดตั้งแต่เด็ก” และมองว่า งานทันตฯ อยู่ใน รร.มานาน น่าจะทำกับทาง รร. ได้ เขาก็มาดูต่อ และบอกว่า อยากให้เราลองทำดู ว่า เราสามารถที่จะดึงศักยภาพของเด็กออกมาได้หรือไม่

ตอนแรกที่ทำ ... ก็แค่นึกว่า ดึงเงินมาเพื่อการทำงานทันตฯ ใน รร. และได้ทำอะไรสักอย่าง ที่ไปอีกก้าวหนึ่งของการส่งเสริมสุขภาพใน รร. ก็คือ ไม่ได้จบอยู่แค่ตัวบุคลากร หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แค่ครู มันจะได้ลงไปถึงตัวเด็กสักที ...

จึง Design โครงการ โดยพยายามใส่ input อะไรบางอย่างเข้าไปด้วย ไม่ใช่แค่บอกว่าให้เขาทำ … เริ่มต้นคุยกันในกองฯ หลายรอบ ว่าจะเลือกจังหวัดไหนดีมาช่วยกัน สุดท้ายตัดสินใจว่า ต้องดูจังหวัดที่มีวี่แวว ได้ 14 จังหวัด แต่ละจังหวัด ต้องเป็นกลุ่มก้อน ก็ให้ 15 รร. 3 อำเภอ เพราะ 1 อำเภอต้องมีเพื่อนกันทำ เป็น 5 รร. พอได้อำเภอ ได้จังหวัด ก็ design โครงการร่วมกัน ... มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สกว. และกองทันตฯ ... และก็คิดต่อว่า งานนี้มันไม่ง่าย อยู่ดีดีบอกให้ทำก็ไม่ได้ ก็ต้องมี input ให้กับทีม input หลักๆ ก็เลยเป็น เรื่องคู่มือ 2 เล่ม ซึ่งเป็นหัวใจของโครงการเลยทีเดียว หมอดาว (ทพญ.ดาวเรือง แก้วขันตี) เป็นผู้ผลิต คู่มือครู “ผู้สร้างนักคิด” มี concept ว่า ครูจะทำอะไร การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับฟันผุอย่างไร ครูควรมีบทบาทอย่างไรที่จะพาเด็กทำให้เด็กเกิดเป็นหนูน้อยนักคิดให้ได้ อีกเล่มเป็นฝีมือพี่หมี “หนูน้อยนักคิด” ... เป็น input ที่แจกให้เด็ก และคุณครูที่เข้าร่วมโครงการ

นอกจากนั้น เพื่อการสร้างความมั่นใจให้ครู ว่า เด็กทำได้ เราจึง workshop ครูทุกคน ... ให้ครูเปิดใจ และสรุปได้ว่า เด็กมีศักยภาพ ต่อให้เป็นเรื่องวิจัย ก็จะทำได้ ทีมวิทยากร จาก ... สถาบันศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนา : มายา เป็นผู้นำ input 2 เล่มนี้มา workshop ทำให้เด็กเข้าใจได้ว่า การวิจัยง่ายๆ ที่เรียกว่าสำรวจมีอย่างไร หลักสำคัญเรื่องฟันผุ อาหารในโรงเรียนมีอะไรบ้าง เป็น workshop ที่ทั้งครู และเด็กสนุกมาก เด็กได้ทำเอง และทำจริง มีครูเป็นผู้สังเกตการณ์ และมี feedback จากครูอยู่ประโยคหนึ่ง ว่า ... เขาไม่คิดว่าเด็กเขาทำได้ขนาดนี้ ... สุดท้ายของการอบรม ... ก็ให้เด็กไปกำหนดว่า งานของเขา 1 ปีการศึกษา เรากำหนดกิจกรรมหลักที่เขาต้องทำ คือ เทอม 1 เด็กต้องสำรวจปัญหา ตั้งโจทย์เอง ในเรื่องปัญหาที่เกี่ยวกับ “อาหารกับฟันผุ” นอกนั้นไปคิดเอง โดยเทอม 2 เด็กต้องหาวิธีการแก้ปัญหา และลงมือทำ และมานำเสนอกันตอนหมดเทอม 2 เป็นการแลกเปลี่ยนในระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และมาแลกเปลี่ยนกันในระดับประเทศสุดท้าย

ผลของกิจกรรมที่เด็กทำใน รร. บางส่วนเด็กคิดเอง บางส่วนครูช่วยคิด เอามาผสมกัน มีตั้งแต่กิจกรรมที่เด็กสัมภาษณ์เด็กกันเอง ว่า กินขนมยังไง มีฟันผุไหม ตรวจกันแบบของเขา ทำแบบสำรวจที่เด็กสำรวจกันเอง โดยสำรวจ สัมภาษณ์ เด็กันเอง กระทั่งแม่ค้า ว่าอะไรขายดี เขาก็จะกำหนดกันเองว่าขายได้ 20 บาทต่อวัน เรียกว่าขายดี 5 บาทต่อวัน เรียกว่า ขายไม่ดี หรือจำนวนห่อ 2 ห่อ 10 ห่อ มีความหมายว่าอะไร เด็กก็ทำการสำรวจเอง ตั้งเกณฑ์กันเอง

สุดท้าย เราให้ทั้ง 5 รร. ใน 1 อำเภอ คุยกันว่า เขาทำกันอย่างไร กระตุ้นเด็กอย่างไร เด็กทำอะไรบ้าง ตอนระดับกำหนดปัญหา ... และพอระดับของการแก้ปัญหา ก็ออกมาเป็นกิจกรรมเยอะแยะ ตั้งแต่หลักสูตรของการเรียนรู้ โครงการรณรงค์ในโรงเรียน เรื่องของเสียงตามสายตอนเช้า เรื่องของหมอฟันน้อย (ตรวจเด็ก โดยพี่ตรวจฟันน้องทุกวัน และลง code เก็บไว้) หมอที่ลงไปประเมินก็บอกว่า ดีขึ้นเรื่อยๆ เด็กก็เริ่มตรวจถูกต้องขึ้นเรื่อยๆ และเขาก็รู้สึกว่า สุดท้ายเด็กก็ช่วยตรวจฟันได้จริงๆ ... 

และต่อจากตรงนี้ก็จะนำมาต่อยอดตอนต่อไปค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 51107เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2006 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 12:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท