@Moui
ภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ

ข้อเสนอจากการประชุม : การหารายได้


รายได้ ค่าใช้จ่าย

ปัญหา : ชุมชน g2k จะก้าวไปอีก 1 ก้าวย่างอันยิ่งใหญ่ คือการเติบโตด้วยตนเอง แบบไม่ต้องพึ่งพาผู้ปกครอง (ด้านการเงิน) ในปีหน้า โดยจำเป็นต้องมีงบประมาณ ปีละ 1,000,000 บาท หรือเฉลี่ยที่ 84,000 บาทต่อเดือน

ทางออก : ใช้วิธีการแบบ social network เพื่อหล่อเลี้ยงชุมชนให้อยู่รอด อย่างยั่งยืน

ขอสมมติเปรียบเทียบกับการเป็นชุมชนจริงในคอนโดมิเนียม

นิติบุคคล =  เว็บมาสเตอร์ (ผู้ดูแลเว็บ) gotoknow
ลูกบ้านคอนโดมิเนียม = ชาวชุมชน gotoknow
ค่าไฟ ค่าน้ำ ส่วนกลาง = ค่าอุปกรณ์  ค่าไฟฟ้า ค่าอินเทอร์เน็ต ค่า hardware
ค่าแม่บ้าน ค่า รปภ = ค่าวิชาชีพ programmer, administrator ระบบ
ค่าส่วนกลาง = รายได้ของเว็บไซต์

ความเห็น :

  1. ไม่ควรบังคับ หรือแม้แต่ใช้ความรู้สึกรับผิดชอบ ในการขอให้ชำระค่าบำรุงสมาชิก (เหตุผล - มันทำให้ความอยาก contribute content ลดลงไป, ความมีส่วนร่วมจะน้อยลง, ความคาดหวังของชาวชุมชนจะทวีขึ้น ตามมูลค่าค่าสมาชิกที่ถูกเรียกชำระ ในที่สุดจะตกเป็นความกดดันต่อผู้พัฒนา และผู้ดูแล)

  2. การขอทุนจากหน่วยงานภายนอกอาจจะทำได้ยาก หรือต้องใช้ connection ของผู้รับผิดชอบเว็บมาก อาจจะมากจนทำไม่ไหว (เหตุผล - ชุมชนเกิดจากทุกคน, ทุกคนควรมีส่วนช่วยเหลือ ไม่ใช่ผลักไปเป็นหน้าที่ของผู้พัฒนา และผู้ดูแล, การขอทุนนั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะได้เสมอไป หรือไม่ได้ในจำนวนเงินที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละปี)

  3. เงินนั้นสำคัญไฉน คำตอบคือ มันมีไว้หล่อเลี้ยงเว็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กำลังคน (มันสมองคน) คือ กลไกอันสำคัญ ที่จะทำให้เว็บยังคงเป็นเว็บ ในความเป็นจริงของชีวิต โปรแกรมเมอร์ ผู้ดูแลระบบ ต่างก็ต้องมีค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าเสียเวลา ค่าเสียโอกาส เพื่อพัฒนาเว็บ gotoknow นี้ จึงควรจะยอมต้องจ่ายในสิ่งที่สมควรจ่าย

  4. การขายโฆษณาทำได้ไหม อยากตอบว่า ยากเย็นเหลือเกิน ประสบการณ์ในวงการเว็บ ไม่เคยเห็นมีใครได้เงินอย่างจริงจัง  (หรือควรจะเรียกว่าเป็นกอบเป็นกำ) จากการขายโฆษณาออนไลน์ ยกเว้น สองเจ้าที่เห็นว่าสำเร็จ คือ Google และ Yahoo แต่!!!!! คิดหรือว่า gotoknow จะทำเป็นเครือข่ายได้ระดับนั้น?? เราคงต้องมองฐานที่มันเราชัดๆ อีกสักหน่อย

  5. ทางออกมีไหม ............ ลองพิจารณาข้อเสนอนี้ได้ไหมคะ


เว็บเพื่อสังคมนั้น เกือบทั้งนั้นหารายได้ยากมาก เว้นแต่มีนักบุญเอาเงินมาให้ แล้วบอกให้ผลิตเนื้อหาดีๆ โดยไม่เข้ามาแทรกแซงวิธีคิด และลักษณะการทำงาน (นึกภาพว่า ถ้าเป็นนักข่าว แล้วเจอ กองบก. เซ็นเซอร์ เจอภาครัฐเซ็นเซอร์นะคะ) โอกาสแบบที่ gotoknow เคยมี เคยได้รับจาก สคส นั้นจะมีไหม ดิฉันว่า ี แต่ว่าจะมีตลอดไปไหม ดิฉันว่า ไม่

ข้อเสนอดิฉันออกมาในรูปแบบนี้ค่ะ 

  1. ให้สมาชิกเว็บ gotoknow ยืนยันเรื่องลิขสิทธิ์ในเนื้อหาที่เราเขียนๆ กันขึ้นมา ให้กับทางเว็บ gotoknow เพื่อสิทธิในลำดับถัดไป

  2. ให้ programmer, admin เพิ่มระบบรองรับ การ add เฉพาะ blog (เอาเป็นชิ้นๆ เฉพาะข้อเขียน ไม่ใช่ add ทั้ง planet) เพื่อให้สมาชิก ได้รวม blog ที่มีเนื้อหาที่ต้องการ จาก blogger หลายท่าน

  3. สมาชิกเว็บ gotoknow สามารถสั่งซื้อเนื้อหาของ blog ตนเอง, และหรือ เนื้อหาของ blog สมาชิกท่านอื่น, และหรือ เนื้อหาของb blog รวมฮิตตามใจฉัน โดย ให้ทางผู้ดูแลเก็บเนื้อหาที่ระบุเหล่านั้น ในรูปแบบ CD, TrumbDrive, print เป็นเอกสาร A4 หรือรูปแบบของหนังสือ ตามแต่ผู้สั่งซื้อประสงค์ (ราคาย่อมแตกต่างไปตามต้นทุนของสื่อเหล่านั้น) และเนื้อหาที่ว่านี้ อาจจะสามารถสั่งซื้อ เพื่อเอกไปใช้ในการแจกจ่ายตามเทศกาล หรือ งานปีใหม่ หรือ งานเฉพาะกิจต่างๆ ได้

  4. รายได้จากการที่สมาชิกให้ทาง gotoknow บันทึกเนื้อหาของ blog ตนเองออกมาในสื่อต่างๆ นั้น ให้ถือว่า สมาชิกจ่ายไปเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการ backup ข้อมูล, สมาชิกไม่มีสิทธิพิเศษจากรายได้ที่ gotoknow จะได้รับ (เฉพาะกรณีนี้)

  5. สมาชิกที่ blog ตนเอง ถูกเพื่อนสมาชิกซื้อไป (ยก blog หรือ เฉพาะ blog) จะได้รับส่วนแบ่ง แบบค่าลิขสิทธิ์ (เหมือนการเขียนบทความลงหนังสือ) แบ่งเป็นอัตราส่วนที่ต้องตกลงกันกับ gotoknow เป็นการเฉพาะ และสมาชิกที่มีจิตกุศล สามารถบริจาคค่าลิขสิทธิ์ที่ว่านั้น กลับคืนสู่ gotoknow ได้โดยตรง

  6. เมื่อ gotoknow มีเนื้อหาเฉพาะหมวดที่เพียงพอจะทำเป็น pocket book ได้ ก็ควรจะตั้งทีมบรรณาธิการ ทำการรวบรวม เรียบเรียง เพื่อตีพิมพ์ จะเป็นทั้งการขายเพื่อเพิ่มผู้เข้าสู่ระบบ gotoknow และเป็นการแจกจ่ายความรู้ ออกไปยังผู้ที่ไม่ได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตอีกทางหนึ่ง

วันนี้ คิดทางออกเหล่านี้ ในขณะที่เป็นวิทยากรในงานสัมมนาเรื่องของการตลาดเพื่อสังคม (Social Marketing) ค่ะ คิดออก ตื่นเต้นมาก เลยรีบโทรไปปรึกษาคุณ Conductor และได้รับลูกยุว่า ลองมาเขียนให้ชาว gotoknow อ่านดู จึงได้ลองเขียนฝันมาในรูปแบบนี้

อนึ่ง แนวคิดนี้ ดิฉันขออุทิศให้กับชาว gotoknow ทุกท่าน หากท่านใดจะนำไปใช้ในชุมชนออนไลน์ของตนเองบ้าง ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อไดค่ะ 

Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-Noncommercial-Share Alike 3.0 Unported License.

คำสำคัญ (Tags): #gotoknow#รายได้
หมายเลขบันทึก: 136434เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2007 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
เห็นด้วยครับ กับข้อเสนอที่จะหารายได้จากเนื้อหาในบล็อก โดยที่ลิขสิทธิ์ยังเป็นของคนเขียน แต่คนเขียนจะมอบลิขสิทธิ์ให้กับบล็อกในภายหลังก็ได้ เนื้อหาบางเรื่อง มีคนเขียนหลายคน บรรณาธิการอาจรวบรวมมาไว้ในเล่มเดียวก็ได้ อย่างไรก็ตาม น่าจะมีคณะทำงานที่เป็นแมวมอง ค้นหาเนื้อหาที่น่าสนใจ และเสนอรูปแบบที่จะเผยแพร่ (หนังสือ หรือ CD) เพื่อสมาชิกหรือผู้สนใจจะได้ทราบ และเสนอสั่งซื้อ เพราะเนื้อหาหลายเรื่องกระจัดกระจาย สมาชิกและผู้ที่เข้ามาอ่านอาจไม่ทราบว่าเนื้อหาทั้งหมดมีอะไรบ้าง สำหรับพ็อกเก็ตบุ๊กต้นทุนค่อนข้างสูง ต้องพิจารณาให้รอบคอบ ให้คณะทำงานนี้ เป็นผู้ติดต่อเจรจาเพื่อเสนอสำนักพิมพ์ หรือติดต่อกับสำนักพิมพ์ บุคคลทั่วไป ที่สนใจ ด้วย นอกจากนี้ ก็เป็นการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ทราบกันในสื่ออื่นๆ จะได้ทราบว่า หากต้องการเนื้อหาในบล็อกที่นี่ เราจัดให้ได้...
  • เห็นด้วยครับ ว่าน่าจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ทางธุรกิจ และไม่ฝืนธรรมชาติคน ซึ่งจะทำให้ระบบไปได้ด้วยตัวเอง
  • ที่ไม่ฝืนธรรมชาติคน เพราะระหว่างการให้จ่ายเงินที่มีอยู่ออกไป กับการสละเงินที่ยังไม่เคยเข้ามาและคงไม่เข้ามาในสถานการณ์ปรกติ แม้จำนวนเงินเท่ากัน แต่ความเต็มใจกรณีหลังน่าจะสูงกว่ามาก
  • ขอเสนอเพิ่มเติมดังนี้ครับ

 

ในระยะอันใกล้มาก ควรถือเป็นระยะเวลา การทดลองหาลู่ทาง ควรทดลองหลายโมเดลผสมกัน เพื่อให้มีทางออกระยะยาวมาก ๆ

ตัวอย่างของโมเดลที่อาจทำได้ในระยะสั้น เช่น 

โมเดลธุรกิจ

  1. อาจทำเป็นแพ็คเกจข้อตกลงว่า ถ้าแมวมองที่ไหน จะอาสามาจัดการหยิบเรื่องในบล็อกไปทำเล่ม ในครั้งแรก อาจมีแรงจูงใจ จ่ายค่าทำให้ โดยหักเป็นเปอร์เซนต์ ก็จะเป็นการสร้างงาน สร้างคน
  2. การเลือกเรื่องไปทำเล่ม ใช้วิธีติดต่อตรงไปที่ผู้เขียน ให้ยินยอมการพิมพ์เป็นครั้ง ๆ แบบยกเว้นผลประโยชน์เฉพาะครั้ง โดยไม่ได้เป็นการโอนลิขสิทธิ์ให้แบบถาวร
  3. แบบนี้ น่าจะดึงดูดพวกกล้าเสี่ยงในการลงทุน ให้เข้ามาร่วมวง เพราะพิมพ์หนังสือขาย เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงทางการเงินมากระดับหนึ่ง และมีโอกาสเงินจมสูงมาก ถ้าอ่านตลาดผิด การใช้ข้อเสนอแบบแบ่งผลประโยชน์ที่เอื้อคนพิมพ์เฉพาะในช่วงต้น น่าจะทำให้ตั้งไข่ได้เร็ว
  4. กำหนดโครงสร้างการแบ่งผลประโยชน์ให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น ว่ากี่เปอร์เซนต์ ไปตรงไหน (ค่า hardware, ค่าตอบแทน, และกองทุนดำเนินการหมุนเวียน, ฯลฯ หรือแม้แต่คืนผู้เขียนบางส่วน - ซึ่งถ้ามีแบบฟอร์มให้ติ๊กช่องว่า ยินดีบริจาคเข้ากองทุนหมุนเวียน ผมเชื่อว่า ส่วนใหญ่จะยินดีกา) ซึ่งรูปแบบผลตอบแทนแบบนี้ ถ้ากำหนดดี ๆ ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงเรื่องขาดทุน เช่น ถ้าขายไม่ออก ไม่ต้องจ่าย ถ้าขายออกเกินระดับหนึ่ง จ่าย ทำให้ในส่วนของระบบ G2K เอง มีต้นทุนการดำเนินการตรงนี้ใกล้เคียงศูนย์

โมเดลอาสาสมัคร

  • ผมไม่คิดว่า จะยั่งยืน แต่อาจมีกรณีนี้เป็นครั้งคราวในโอกาสพิเศษ ซึ่งรูปแบบการจัดการ คงต้องว่ากันแบบเฉพาะกิจเป็นครั้ง ๆ ไป

ในระยะยาว

กรณีแรก ทำหนังสือแบบ mass

  1. พัฒนาระบบให้ผู้เขียนบล็อก สามารถกำหนดระดับสิทธิ์โดยสะดวก (คลิกลูกเดียว) ในการนำไปเลือกลงเล่ม โดยสามารถปรับเปลี่ยนประเภทสิทธิได้ง่ายในภายหลัง (ต้องยอมรับว่า บางท่าน อาจตั้งใจพิมพ์รวมเล่มข้อเขียนตัวเอง อย่าไปปิดช่องทางนั้นของเขา) ซึ่งหมายความว่า ต้องพัฒนาระบบซอฟท์แวร์ตามรอยการเลือกใช้สิทธิแสดงไว้ด้วย เพื่อให้เห็นเป็นสัญญาประชาคม ป้องกันปัญหากฎหมายระยะยาวได้อีกทาง
  2. แต่การเลือกไปพิมพ์ ยังไง ๆ ก็ต้องส่งใบเซ็นไปให้คนเขียนเซ็นด้วย จะได้ตัดปัญหาทางกฎหมายที่ไม่จำเป็นออกไปได้
  3. การมีกองทุนดำเนินงานหมุนเวียน จะทำให้สามารถคิดรูปแบบการจัดการอื่นที่ดีกว่าได้ เพราะสามารถใช้เงินทดลองดูได้เลย ว่าเป็นไปได้แค่ไหน และจะเป็นเบาะให้มีทางหนีทีไล่ในระยะยาวได้มากกว่า

กรณีที่สอง หนังสือทำมือ (สั่งทำเฉพาะกิจเล่มเดียว หรือไม่กี่เล่ม)

  • ใช้เงินจากกองทุนหมุนเวียน พัฒนาระบบตรงนี้ รูปแบบอาจเป็นผ่านเว็บล้่วน ๆ หรือจะเป็นหนังสือทำมือ ก็แล้วแต่ ค่อยว่ากันอีกที 
เสนอเพิ่มเติมครับ เปิดช่องรับบริจาคไว้ ให้สะดวก ยกตัวอย่าง ตอนนี้ผมช่วยงานเว็บไซต์หนึ่ง เขามีรับบริจาค คุยกันหลายคนก็อยากจะบริจาค แต่ว่ายุ่งยาก และต้องส่งเงินไปต่างประเทศ ถ้าสามารถโอนเงินผ่าน ATM ได้ง่ายๆ คงมีสมาชิกสมทบทุนไม่น้อยเลย

ขอบคุณคุณ minisiam สำหรับความคิดเห็นครับ

เรื่องลิขสิทธิ์เป็นเรื่องที่สำคัญมากครับ ตอนนี้เรารอให้ Creative Commons ภาษาไทยเรียบร้อยแล้วเราก็จะเปิดให้ผู้ใช้สามารถเลือก licenses ได้ครับ แล้วหลังจากนั้นหากสมาชิกท่านอื่นๆ เห็นด้วยเราก็จะเริ่มสามารถ implement ในส่วนต่างๆ ตามบันทึกนี้ได้ครับ

  • เข้ามาอ่านแนวทางคะ
  • ยินดีสนับสนุนทุกแนวทางนะคะ
  • และขอให้ได้ข้อสรุปที่เหมาะสมโดยเร็วนะคะ

ขอบคุณทุกท่าน ทุกความเห็นค่ะ ดิฉันแอบคิดเรื่องตัวเลขคร่าวๆ ไว้ในใจบ้างแล้ว ยกตัวอย่างเช่น

[สมาชิก]

- ค่าบริการ write แผ่น cd เนื้อหา blog ของตนเองทั้งหมด แผ่นละ 200 บาท รวมจัดส่ง

- ค่าบริการ write แผ่น cd เนื้อหา blog สมาชิกผู้อื่น (แต่ไม่สามารถเลือกเฉพาะเนื้อหาได้ ต้องเอาเป็นรวมทั้งหมดของสมาชิกท่านนั้นๆ) แผ่นละ 250 บาท รวมจัดส่ง (กรณีนี้ ใช้เพื่ออยากสะสม content ของสมาชิกท่านอื่น, หรือจะเป็นการส่ง แทน สคส ก็ได้, หรือจะเอาไว้บริจาค cd นั้นต่อให้ห้องสมุดในโรงเรียนก็ได้ค่ะ)

-  ค่าบริการ write ลง trumbdrive ต้องดูต้นทุนค่า trumbdrive สักหน่อย ค่อยประเมินราคา

- ค่าบริการ print เป็นเอกสาร (A4) หน้าละ 10 บาท

 

[บุคคลภายนอก]

- ราคาทั้งหมดจะเป็น 2 เท่า จากสมาชิกค่ะ

 

ส่วนการบริจาค น่าจะเป็นจิตศรัทธา กรณีที่มี สมาชิก  blog หนึ่ง (หรือบุคคลภายนอก) ซื้อ content ของอีก blog หนึ่ง

ละเอียดอ่อนมากครับ หากเราคิดในเชิงธุรกิจ...

ถือว่าทำลายระบบเกลียวความรู้ที่สั่งสมกันมาเลยทีเดียว

 

คุณ [minisiam] ขอบคุณสำหรับข้อเสนอครับ

ลิขสิทธิ์ในบันทึกและความคิดเห็นเป็นของผู้เขียน ดังนั้นก่อนจะดูดไปทำอะไร (ตาม #6) ก็ขึ้นกับความสมัครใจของเจ้าของลิขสิทธิ์ครับ

คุณเอกและบางท่านที่คุยกันเมื่อเช้าถึงบันทึกนี้ ผมเห็นว่าข้อเสนอก็คือข้อเสนอครับ จะทำหรือยังไม่ทำยังไม่ได้สรุปเลยนะครับ

เอาอย่างครูธวัชชัย (#1 และ #3) หรือ อาจารย์วิบุล (#2) ดีไหมครับ มีข้อเสนอใหม่มาเรื่อยๆ แต่ไม่จำเป็นต้องบอกว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย

ดีก็ปรับปรุง ไม่ดีก็ปรับปรุง ค่อยๆ ปิดจุดอ่อนไปทีละจุด แบบนี้เราน่าจะได้ความคิดที่ดีขึ้นเรื่อยๆ นะครับ

ส่วนเรื่องเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย ยังรอได้ครับ แล้วควรรอจนเรามีทางเลือกที่ดีพอ+มากพอที่จะเลือกได้

การระดมความคิดน่าจะทำต่างกับการยิงเป้าบินครับ :)

คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

  • เหรียญมีสองด้านครับ ขึ้นกับเจตนาการนำไปใช้
  • อ่านประวัติศาสตร์ มีตัวอย่างมากมายที่คนนำศาสนาไปบังหน้าการแสวงหาเงิน หรืออำนาจ ทั้งที่ศาสนาควรบริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นตัวอย่างการนำสิ่งที่ดีไปใช้ในทางที่ไม่ดี
  • เงินหรือแนวคิดธุรกิจ เป็นเรื่องกลาง ๆ จะดีจะเลว ต้องดูเจตนา ต้องดูรูปแบบ ต้องดูผล ถ้าไปในทางดี ก็ดี ถ้าไปในทางฉ้อฉล หรือการทำลายล้าง ก็ไม่ดี
  • แนวคิดธุรกิจ หยิบมาใช้เพื่อการดำรงอยู่ของ G2K ผมมองว่า เป็นสิ่งที่ดี ถ้าเจตนาของเราคือให้ G2K ยืนได้ด้วยตนเองอย่างชอบธรรม แม้เมื่อไม่มีแหล่งทุนใด ๆ เข้ามา
  • เพราะถ้าไม่นำแนวคิดธุรกิจมาใช้ แล้ว G2K คงต้องล้มไปเพราะมีแต่รายจ่ายปีละล้าน แบบนั้น ความรู้ที่สั่งสมก็น่าจะสูญหมดเหมือนกัน
  • ทางเลือกที่เสนอไว้ น่าจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของความรู้ออกไปในรูปแบบหนังสือ เพื่อให้ผลตอบแทนกลับมาสู่ G2K โดยผู้เขียน blog ลงขัน อุทิศรายได้(ที่ยังไม่เกิดขึ้น)จากค่าเช่าลิขสิทธิ์ที่ตนเองเขียนอยู่เป็นครั้ง ๆ ตามกำลังศรัทธา ไปดำเนินกิจกรรม (ทำหนังสือขาย) ที่ทำให้ G2K อยู่รอด-สังคมได้ประโยชน์-คนลงทุนลงแรงจัดการก็พอจะได้ประโยชน์บ้าง  ผมคิดว่า เงินไม่ใช่เรื่องน่าเสียหายครับ

 

อาจารย์ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์

  • creative commons อย่างเดียว อาจไม่พอนะครับ เพราะเหมือนกับแค่ประกาศเจตนารมย์ว่า จะตีกรอบข้อเขียนตนเองไว้อย่างไร แต่จริง ๆ แล้วอาจต้องมีรายละเอียดอื่นเพิ่มอีก

ยินดี น้อมรับ และเข้าใจ 

ขอบคุณครับพี่[minisiam]   พี่Conductor
พร้อมด้วย อ.wwibul ข้อเสนอจากทุกท่านครับ...

ก็คิดว่านับจากนี้ไปเราก็จะได้รับข้อคิดเห็นที่หลากหลาย เริ่มแรกจากการประชุมออนไลน์ที่พอเห็นวิธีคิดบางอย่าง

ก็ขอใช้เวลาในการระดมความคิดต่อไปครับ...

เพื่อหาข้อตกลงร่วมที่เป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับชุมชนของเราครับ

สวัสดีค่ะ

คุณวิบุล พูดได้ตรงค่ะ

  • เพราะถ้าไม่นำแนวคิดธุรกิจมาใช้ แล้ว G2K คงต้องล้มไปเพราะมีแต่รายจ่ายปีละล้าน แบบนั้น ความรู้ที่สั่งสมก็น่าจะสูญหมดเหมือนกัน
  • ดิฉันเอง ยังแอบหวั่นๆอยู่เลย ว่า ถ้า รายได้ไม่พอ มา support แล้ว จะทำอย่างไร

    ดิฉันอยากให้ g2kเดินไปต่อไปได้อย่างดี เพราะก็มีความผูกพันอยู่มากค่ะ

    โดยส่วนตัว ทีไหนดีๆดิฉันก็ไปสนับสนุน หรือไปมีส่วนร่วมด้วยบ้าง เช่นล่าสุด  ได้สนับสนุน มูลนิธิพันดารา ของดร.โสรัจ หงลดารมณ์ เป็นเรื่องของปรัชญา และจิตวิญาณค่ะ

    • มีประเด็นหนึ่งที่ใคร่จะเรียนฝากไว้
    • ชื่อ GotoKnow น่าจะ"ขายได้"
    • กลายเป็นจุดอ่อน
    • คนที่เจตนาไม่ดี เช่น กลุ่มองค์กรที่มีเจตนาแอบแฝง อาจฉกฉวยตรงนี้ไปใช้แบบ "ถือโอกาส" ได้ (เหมือนที่พวกนักโพสท์สแปม ทำเพื่อให้ search engine รับรอง  เีกียรติคุณของเว็บขยะ โดยให้เว็บของเหยื่อ ปั๊มตรารับรอง ranking)  
    • ดังนั้น การรวบรวมสร้างสื่อรูปแบบใหม่ (ในที่นี้คือหนังสือ) ก็ต้องระวัง ไม่งั้นจะมีการยืมชื่อไปปั๊มสร้างความชอบธรรม ว่า G2K สนับสนุนค่าย/กลุ่มองค์กรนั้น ๆ ไป
    • เมื่อตัดตอนไปทำหนังสือ อาจต้องห้ามประเด็นนี้ไว้ให้ชัดเจน ?

     

     

    ดิฉันว่า หลังจากเราได้พยายามอภิปรายข้อดีข้อเสีย ของการระดมทุนผ่าน content ของทุกคนด้วยวิธีนี้แล้ว เราควรจะให้ทุกคน ได้โหวต (ซึ่งคงจะต้องรบกวนทางทีมงาน ตระเตรียมโปรแกรมสำหรับการนี้โดยเฉพาะ)

    สำหรับดิฉันเอง อ่านหลายความเห็นเข้า ก็คิดว่า ถ้าจะเป็นแบบนี้ อาจจะต้องแบ่งวิธีการหารายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดทำเป็นหนังสือนั้น ต้นทุนมากกว่า การเสียเวลา และกำลังคน น่าจะมากกว่าการเขียนแผ่น (ซึ่งเหมือน backup ผลงานตนเองมากกว่า)  เราควรจะแยกเป็นสองประเด็นไปเลย (ถ้ามติของสมาชิกส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับวิธีการหาทุนลักษณะนี้) แล้วคงต้องเตรียมทีมงานอย่างเป็นจริงเป็นจัง รวมไปถึงทีมงานที่ต้องระวังพวกแอบอ้างด้วย ตามที่คุณ wwibul ชี้ช่องให้เห็น

    รีบร้อนเกินไปหรือเปล่าครับ จะสรุปในวันเดียวโดยมี hit rate ไม่ถึงร้อยเนี่ยนะ :)

    แล้วทำไมต้องโหวตด้วยครับ น่าจะเป็นวิธีสุดท้ายเลย ผมว่าน่าจะคุยกันจนเห็นพ้องว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับ GotoKnow แล้วคงจะไม่ต้องโหวตด้วยซ้ำไปครับ เมื่อข้อเสนอนั้นดีจริง 

    ขอบคุณที่ท้วงค่ะคุณ Conductor ยังไม่ได้จะหยุดการอภิปรายความเห็นค่ะ แต่พยายามจะอธิบายก้าวต่อไปน่ะค่ะ ว่าดิฉันคิดว่า หลังจากอภิปรายไปได้ระยะหนึ่ง แล้วก็โหวตกัน (ส่วนตัวคิดว่า ยังไงก็น่าโหวตค่ะ ถ้าไม่ได้โหวต มันมักไม่มีสถิติรองรับ คณะทำงานอาจจะลำบากใจภายหลังได้)

    เสนอความเห็นเพิ่มเติมครับ

    • คิดว่าต้องมีหลากหลายรูปแบบและแนวทางครับ
    • การทำหนังสือใช้ต้นทุนมากครับ แต่ก็มีข้อดี คือได้ประโยชน์ในแง่ของการประชาสัมพันธ์อีกทางหนึ่ง 
    • สำหรับเว็บที่มีคนเข้ามามากๆ  น่าจะลองใส่ google ads หรือแบนเนอร์ (เห็นในเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อกแทบทุกราย)
    • สำหรับผม การทำธุรกิจให้ได้ปีละล้าน เป็นเรื่องใหญ่ และต้องมีทุนดำเนินการส่วนหนึ่งด้วย ต้อง "สุมหัว" หลายๆ คนครับ ประกาศหัวข้อนี้ให้เด่นๆ สมาชิกที่เข้ามาจะได้ร่วมเสนอความเห็นได้ทั่วถึงครับ

    adsense ต้องทำเว็บเป็นภาษาไทยค่ะ ลองพิจารณา http://www.sponsoredreviews.com/ ดูไหมคะ 

    สวัสดีครับพี่ Minisiam

    ขอบคุณมากนะครับสำหรับประเด็นนี้ ผมได้ขบคิดหลายๆ รอบตั้งแต่มีคลิกเข้ามาหลังโพสต์ใหม่ๆนะครับ

    ผมมีความเห็นนำเสนอเพิ่มเติมนะครับ อยู่บนพื้นฐานของศรัทธานำครับ

    • ศรัทธาเกิดจากผู้อ่าน เข้ามาใน GotoKnow แล้วตามอ่านบทความ ไ่ม่ว่าจะหลงเข้ามาด้วยการค้นจาก Google หรือแหล่งอื่นๆ เช่นบอกกันแบบปากต่อปากครับ เช่นมีคนอ่านคนหนึ่ง ประทับใจคุณหมอท่านหนึ่งเขียนบทความไว้ แล้วมีประโยชน์มากๆ ก็เลยไปบอกต่อคนอื่น คนรับฟังก็จะรู้สึกว่าจะหาโอกาสเข้าไปอ่าน แล้วรู้สึกว่าใช่ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ
    • เกิดศรัทธาต่อผู้เขียน ต่อชุมชน ต่อกิจกรรมต่างๆ ที่สมาชิกได้จัดกันไป อาจจะนำไปสู่การบริจาคได้ครับ แล้วผู้เขียนบทความก็จะเขียนบทความนำเสนอไปอย่างต่อเนื่อง
    • เป็นการให้ความรู้ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ให้ได้คิด ลับสมอง นำไปใช้ปรับใช้ ได้แนวทางในการดำเนินชีวิต ได้แนวทางในการจัดการองค์กร และือื่นๆ
    • แนวทางเหล่านี้ จะเกิดการเกื้อกูลระหว่าง ผู้เขียนและผู้อ่าน ศรัทธาจะเกิดระหว่างกัน นี่คือตัวอย่างความยั่งยืนเล็กๆ ผมอาจจะศรัทธาต่อคุณหมอท่านนี้ ผมก็จะวางแผนบริจาคเข้าเดือนละจำนวนหนึ่งตามที่ผมศรัทธา เป็นการบริจาคเชิงประจำเข้าสู่กระปุก GotoKnow
    • สิ่งที่ำได้ที่ผมคิดว่าน่าสนใจคือ คนเขียนก็จะดีใจภูมิใจที่คนอ่านและเข้ามาแลกเปลี่ยน คนอ่านก็จะสบายใจที่ได้อ่าน ได้ความรู้ แล้วคืนกลับในรูปแบบการบริจาค โกทูโนว์ก็จะได้รับรายได้ส่วนหนึ่งไปหล่อเลี้ยงระบบให้เกิดขึ้นได้
    • ส่วนหากใครจะสนใจบริจาคแบบรายใหญ่ อาจจะมีการจัดเก็บบทความที่ผู้บริจาคนั้นสนใจ แล้วจัดส่งให้ในรูปแบบซีดี เป็นการตอบแทนด้วยก็ได้ เป็นสินน้ำใจในการคืนบทความให้ท่านผู้บริจาคได้อ่านผ่านซีดี หรือรูปแบบอื่น
    • มุมมองแบบนี้ ผมก็คิดว่าเป็นความยั่งยืนได้ เพราะผมว่าความประทับใจหลายๆ คนก็คงได้รับเมล์ตอบกลับจากผู้ใช้บ้างนะครับ จากผู้อ่านบ้างนะครับ ที่ตามอ่านบทความคุณแล้วเค้าชื่นชอบ ชื่นชมในตัวคุณ แต่หากเค้าเข้าใจว่าสังคมนี้ จะอยู่รอดได้ จะร่วมบริจาคตามศรัทธาก็ด้วยความยินดี การบริจาคนี้ อาจจะอยู่ในรูปแบบเวลา พลัง ทรัพยากร และอื่นๆ หรือแม้แต่เงินก็ตาม
    • ผมเคยไปคุยโครงการบริจาค สนับสนุนทุนการศึกษาน้องๆ ในจังหวัดทางอีสานตอนใต้ ในละแวกเยอรมันและยุโรปบางประเทศ เป้าหมายผม คือ แนะำนำเพื่อเชื่อมโยงแนวทางของคนใจบุญกับคนเดือนร้อนให้ชนกัน แต่ไ่ม่ได้หวังว่าจะต้องให้เงินผมตอนที่ผมพูดจบ แต่ผมอยากให้เค้าเกิดกระบวนการคิด เผื่อเอาไปทำกันในชุมชนตัวเอง เพราะการช่วยการศึกษาช่วยอย่างไรก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ทำแล้วสบายใจ ก็ทำกัน ศรัทธาเค้าจะเกิดหรือไ่ม่นั้น จะตามมาภายหลัง และกิจกรรมที่เค้าดำเนินการต่อไปกันอย่างต่อเนื่องครับ
    • ผมขอเสนอแค่นี้ก่อนนะครับ มีอะไรสงสัยในกระบวนการนี้ ก็ฝากไว้ได้นะครับ ผมมีความรู้สึกว่าศรัทธานั้น สำคัญมาก และเป็นที่มาของการสนับสนุนอย่างยั่งยืนครับ
    • ศรัทธา ที่ผมกล่าวนี้ก็คือ ใจ นั่นเอง ใจจริง หรือ จริงใจ ผมเรียกว่า NORM หรือบรรทัดฐานทางใจ Network of Real Mind
    • กราบขอบพระคุณทุกๆ ความเห็นครับ รบกวนทุกท่านชี้แนะนะครับ ผมยังด้อยประสบการณ์ในเรื่องการหาทุนในด้านอื่นๆ มากครับ แต่ด้วยความเป็นห่วงชุมชนนี้เช่นกัน และผมก็มาในชุมชนนี้ เพราะศรัทธาเช่นกัน และไ่ม่อยากจะจากชุมชนนี้ไปเพราะขาดศรัทธาเช่นกันครับ
    • กราบขอบพระุคุณมากๆ นะครับ

    สวัสดีค่ะ สมาชิกใหม่นะคะ

    • มี Idea มานำเสนอค่ะ 
    • พอดีอ่านพบคำว่า รายได้ / หนังสือ /สมาชิก/การคัดเลือก บทความ
    • เลยนึกถึง หนังสือวารสาร รายเดือน/รายสองเดือน ที่มีระบบคัดสรรบทความมาจาก web G2K
    • แบ่งเป็นหมวดหมู่ ตามที่แบ่งไว้ใน web
    • มีกรรมการคัดเลือก ลงหนังสือ เป็นหมวด ๆ ไป
    • การรับสมาชิก ให้เป็นสมาชิกที่รับหนังสือไม่ใช่สมาชิกจาก web g2k  รับเป็นรายปี เน้นกระจายลงสู่เครือข่ายการเรียนรู้  ทั้งสมัครเพื่อตัวเอง  หรือ ระบบ สมาชิกอุปถัมภ์ เช่น คุณ จตุพร สมัครเพื่อ ห้องสมุดโรงเรียน ........
    • การบริหาร วารสาร ให้เป็นแบบ WS ควบคู่ไปกับหนังสือ
    • เปิดกว้างรับสมาชิก ทั้งที่เป็น และไม่เป็นสมาชิก จากทาง WS
    • มีเนื้อหาบทความที่เป็นลักษณะ สมาชิกสัมพันธ์ / Blog of the month / Blogger of the month /
    • มีการจัดทำ ดัชนีรายการ blog /ที่น่าสนใจ
    • รายได้มาจาก ค่าสมาชิกที่รับหนังสือ / ค่าโฆษณา / ค่าขายผลิตภัณฑ์ลิขสิทธิ์ G2K
    • เหมาะ ไม่เหมาะ  ควรไม่ควร แล้วแต่พิจารณาค่ะ

                                                            Coffee_mania

       

    ตามมาเก็บความเห็นต่อค่ะ มีท่านใดแนะนำอะไรอีกบ้างไหมคะ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท