สิทธิรักษ์
สิทธิรักษ์ รักษ์สิทธิธรรม รักษ์สิทธิธรรม

ความสมดุล


ความสมดุล เป็นเป็นกฏเกณท์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในสังคม ปรากฏการณ์ต่างๆล้วนก่อเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม ถึงจะมีคำพังเพยที่ว่า ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ไม่มีใครฉุดรั้งประวัติศาสตร์ได้ ช่วงเวลาที่มันจะต้องเป็นไปก็ต้องเป็นไป

ความสมดุล           

                ได้คิดอยู่หลายวันว่าจะบันทึกสักบันทึกหนึ่งว่าด้วยความสมดุล  ในความหมายของสังคม ของผู้คน  และของคนประชาชน  มันติดๆอยู่ในสมองซึ่งอยากจะถ่ายเทออกมาตั้งนานแล้วมันอัดอั้นตันใจเหลือเกิน

                 เรามาเริ่มต้นว่า  ความสมดุลมันเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างเราๆอย่างไร  ลองยกตัวอย่าง เช่น.............................

 บทความนี้ได้ย้ายไปที่   ลานปัญญา  (ลานเหลียง)

หมายเลขบันทึก: 161270เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2008 03:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 04:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

สวัสดีครับ พี่สิทธิรักษ์

วันนี้ดีใจที่เห็นบันทึกจากคนริมโขงเสียทีครับ

เรื่องการสร้างสมดุลนั้นเป็นโจทย์ที่ท้าทายชุมชนเหลือเกินครับ นอกจากการสร้างสมดุลในระดับปัจเจคแล้ว ระดับสังคมก็ยิ่งยากไปใหญ่

เพราะอะไร? ก็ตามที่พี่เขียนบันทึกมาทั้งหมดทั้งหมด หากเราหมายถึง "ทุนนิยม" ละก็สิ่งนี้หละครับที่เราต้องเรียนรู้อยู่ให้ได้ แนวคิดการเอาชนะธรรมชาติ เปิดการแข่งขันเสรี เน้นความเป็นปัจเจก และบริโภคนิยมเพื่อสรางผลกำไรสูงสุดทางธุรกิจ และ การก่อเกิด "ระบบการยึดกุมทรัพยากรโลก"

ขณะเดียวกันที่รุกคืบถึงชุมชนก็คือ การครอบงำทางวัฒนธรรมและการศึกษา จากการตัดสินใจพัฒนาที่ผิดพลาดของเรา จากการสึกษษในระบบที่ย้ำยีชนบทเสียสิ้น ...ช่างน่าเศร้า เราทำกันเอง

ถามต่อว่า ปรับตัวและตอบโต้อย่างไร???

กระบวนการทำงานที่เชียงแสนนั้น เป็นความพยายามหนึ่งของการต่อสู้เพื่อสมดุลจากแรงกระแทก แต่จะทานไหวหรือไม่นั้นมีปัจจัยมากมายที่มีอยู่...และเราก็ต้องสู้ต่อไป

ผมอ่านในเอกสารชุดหนึ่งที่ผมมีอยู่ บอกว่าการที่ชุมชนจะสามารถตอบโต้กับกระแสโลกได้ก็คือ

  1. การสร้างความมีตัวตนของชุมชน
  2. ชุมชนต้องจัดการตัวเองทั้งระบบ
  3. เชื่อมโยงพลัง
  4. ยกระดับสมบัติชุมชนให้เป็นสมบัติร่วม
  5. การทำความเข้าใจกับ"สังคม"
  6. การสร้างระบบการศึกษา
  7. การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมชุมชน
  8. นำเสนอสิ่งใหม่ที่คิดและทำโดยคนท้องถิ่นสู่โลก
  9. คำนึงถึงความอยู่รอดของโลก

ประเด็นทั้งหมดนี้ผมตั้งใจอยู่ครับ ว่าจะเขียนเป็นบันทึกต่อเนื่องทั้ง 9 ประเด็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

แต่ที่แน่ๆก็คือ มันยากมากสำหรับการเคลื่อนในสภาวะที่สังคมอ่อนด้อยทางปัญญาขั้นรุนแรง..นักคิดก็คิดไป คนทำงานระดับนโยบายก็ทำไป สอดรับกระแสทุนนิยมอย่างทันที ไม่คำนึกถึงผลกระทบ

แล้วจะสมดุลได้อย่างไร??

ช่วยคิดต่อกันครับ

สวัสดีค่ะ เล่าฮูหยิน

ขออนุญาติเรียกตามพี่เบิร์ด

สมดุล กับ พอเพียง ความหมายน่าจะคล้ายๆ กันไหมเอ่ยคะ

ทราบเพียงว่า ตอนนี้ชีวิตไม่ค่อยสมดุล เพราะมีแต่งาน งาน งาน

ไปปั่นรายงานก่อนเด้อท่าน

แล้วท่านเล่าคะ สบายดีนะคะ รักษาสุขภาพค่ะ

สวัสดีครับP

 จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร 
น้องเอกผู้มุ่งมั่น

ดีใจที่ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนกัน  ความหมายของน้องเอกเจาะลงไปในด้านการเคลื่อนไหวชุมชน  การเคลื่อนไหวในการสร้างสมดุลในภาคชุมชนที่มีต่อกระแสทุนนิยม

ปรับตัวและตอบโต้อย่างไร???

เป็นปฏิกิริยาต่อการถ่ายเทความสมดุลย์ ไม่มีเลยที่ทุกอย่างหยุดนิ่ง  ไม่มีเลยที่ความล้ำเหลื่อมต่างๆจะนิ่งเฉย  ไม่มีเลยทุกสิ่งทุกอย่างจะฝืนความเป็นธรรมชาติ

ปฏิกิริยา  เป็นหน่อของการเคลื่อนไหว  การหาความหมายของการปรับตัวแล้วตอบโต้ได้เกิดขึ้นแล้วโดยตัวของมัน  การรับบทเรียนต่างๆ การเคลื่อนไหวหาความจริง จนแล้วจนรอด ซึ่งจะนำไปสู่การสรุปบทเรียน

ความสมดุล  ที่ได้บันทึกดังกล่าว คงมีความหมายครอบคลุมไปทั่ว  พฤติกรรมต่างๆ ได้แสดงโดยตัวของมัน

เรามาแลกเปลี่ยนกัน นำไปซึ่งการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเกิดขึ้น

ขอบคุณมากๆครับ  น้องเอกผู้มุ่งมั่น

ชอบจังครับกับคำว่า "สมดุลย์"...

ผมว่าคนเราทุกวันนี้ขาดความสมดุลย์กันเกือบทุก ๆ ด้านครับ...

นอกจากความสมดุลย์ทางสังคมแล้ว...

ยังมีความสมดุลย์ในครอบครัว ที่หลาย ๆ ครอบครัวยังขาด ๆ เกิน ๆ กันอยู่เยอะครับ...

และที่สำคัญความสมดุลย์ในตัวเองที่หลาย ๆ คนก็ยังหาสมดุลย์ของตัวเองไม่เจอเลยครับ...

ขอบคุณมากครับ...

ป.ล ไม่ได้ทักทายกันนานเลยสบายดีนะครับพี่...

สวัสดีครับP  poo

สบายดีนะครับ  งานมากระวังสุขภาพหน่อยนะครับ อย่าเครียดมากมีเวลาว่างสร้างความสมดุลให้แก่ร่างกายหน่อยนะครับ  อย่าหนักไปด้านใดด้านหนึ่ง

ยินดีมากครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนกัน

สวัสดีครับP  Mr.Direct

 

สบายดีนะครับ เรก ไม่ได้เจอกันนาน สบายดีนะครับ

ผมว่าคนเราทุกวันนี้ขาดความสมดุลย์กันเกือบทุก ๆ ด้านครับ...

ใช่ครับ ทุกด้านขาดความสมดุล แต่มันได้สร้างความสมดุลในตัวของมันเอง ไม่ว่าในด้านไหนอยู่ที่ว่าไปถูกทางหรือไม่

สุดท้ายคงไม่หนีไปจากธรรมชาติ  ธรรมชาติจะกวาดล้างมันไปในที่สุด

พวกเราลองดูนะครับ ไม่ว่าในตัวของเราเอง ในครอบครัว ในสังคม ในประเทศ  หรือแม้กระทั่งในโลก  ลองดูๆกันนะครับมันจะพัฒนาไปในทางไหน จะดีหรือเลว จะราบรื่นหรือวุ่นวาย  ไม่ช้าครับ

ยินดีที่ได้มาแลกเปลี่ยนกันครับ

 

ขอบพระคุณค่ะ 

มายอมรับว่า ตัวเองก็ขาดสมดุลย์ ไปหลายอย่างจริงๆค่ะ

จ๊ะเอ๋เล่าฮูพาแดนซ์

ไหงวันนี้พาไปเรื่องความสะ มะ ดุลล่ะคะ

งั้นเบิร์ดป่วนๆๆๆๆ เพราะโลกเรานี้มีความเปลี่ยนแปลงทุกวินาที ความสมดุลที่ว่านี้จีรังหรือไม่? ์ หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลง ขยับเข้าออกอยู่ตลอดเวลาแบบเซลล์ที่มีชีวิตที่มีการปรับสมดุลของธาตุที่ผ่านเข้ามาออกผนังของเซลล์อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน และยังต้องมีการกลั่นกรองเฉพาะสิ่งที่เหมาะสมให้เข้าไปในเซลล์ เก๊าะถ้าปล่อยให้ผ่านแบบเสรีเมื่อไหร่เซลล์นั้นก็จะซี้แหงแก๋น่ะสิคะเล่าฮ

สมดุลมีความยั่งยืนหรือไม่ ? และนอกจากการสร้างความสมดุลแล้วยังต้องมีการกลั่นกรองด้วยหรือไม่เจ้าคะเล่าฮู

^ ^

สวัสดีครับP  DSS "work with disability" ( หนิง )

สบายดีนะครับ  ปีใหม่ไปเที่ยวไหนบ้าง

ทุกคนย่อมมีการขาดความสมดุลครับ ไม่งั้นคงเป็นเทวดาไปแล้ว อยู่ที่ว่าเราจะปรับสภาพความสมดุลกันได้อย่างไร  ไม่ว่าทางด้านร่างกายและจิตใจ สภาพภายในและภายนอก

เช่นน้องปู P

2. poo
ได้กล่าวไว้ว่า  สมดุล กับ พอเพียง ความหมายน่าจะคล้ายๆ กันไหมเอ่ยคะ

คงจะไม่ใช่เรื่องเดียวกัน  การปรับสภาพความสมดุลที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขความพอเพียงต่างหากที่จะโยงกันเป็นอันเดียวกัน

ขอบคุณมากครับที่มากเยี่ยมเยียน

สวัสดีครับP  เบิร์ด   

 

ยินดีที่มาป่วนครับ  สบายดีนะครับ 

สรรพสิ่งในโลกไม่มีวันหยุดนิ่ง  มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ว่าอะไร วัตถุ สิ่งของ  แม้กระทั่งคน 

ภายใต้อะไร

แน่นอนภายใต้เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลธรรมชาติ  

การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง  สร้างสิ่งใหม่ๆขึ้นมาอย่างมากมาย  ที่เป็นคุณและโทษต่อมนุษย์ชาติ 

ผู้คนพยายามดัดแปลงธรรมชาติเป็นให้คุณแก่พวกเรา  แต่ด้วยความไม่เข้าใจดีพอ หรือความไร้เรียงสา ทำให้เกิดภาวะที่เป็นโทษติดตามมา

ความสมดุลที่ได้ยกขึ้นมาพูดถึง คือปฏิกิริยาอันหนึ่งซึ่งเป็นผลพวงของการเปลี่ยนแปลง

การต่อสู้เพื่อความอยู่รอด  การต่อสู้เพื่อการอยู่ที่ดีกว่า ก็ไม่ได้หยุดนิ่ง

คุณเบิร์ดเคยได้ยินคำพูดเหล่านี้ไหม

ลูก  ลูกเห็นข้างบ้านเขาไหม รวยวันรวยคืน  เรียนเก่งๆสิลูกจะได้ไม่แพ้เขา

ลูก  ลูกเห็นไหมลูกเขาส่งเงินให้พ่อแม่เขาใช้เยอะแยะ  ลูกเอาแต่ผลาญ

อันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นหน่อปฏิกิริยานำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง และพยายามสร้างความสมดุล

ยังมีอะไรต่ออะไรที่เป็นตัวอย่าง  ซึ่งเราจะได้แลกเปลี่ยนกันต่อไป

อยากขอความเห็นต่อนะครับ  คุณ เหิรฟ้าท้าตะวัน

เล่าฮูที่เคารพอย่างสูงซุ้ด

สมดุลส่วนใหญ่จะเกิดหลังการเปลี่ยนแปลง เพื่อปรับตัวตามธรรมชาติของปัจจัยที่เกิดขึ้น สมดุลจึงไม่มีความนิ่ง คงที่ ตายตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลง..สมดุลจึงแกว่งไปมาเสมอเพื่อหาจุดที่เหมาะสมในภาวะหนึ่งๆ

จากตัวอย่างที่เล่าฮูยกมาเรื่องพ่อแม่ลูกก็จะเห็นว่าผลที่ตามมาย่อมเกิดแต่เหตุ 

อย่างตอนเนี้ยะ การเมืองไทยที่แกว่งโตงเตงอยู่ระหว่า่งขั้วต่างๆ จนก่อเกิดรัฐบาลที่แม้แต่ผู้นำก็ยอมรับว่าไม่สวย เนื่องเพราะไม่สามารถปรับแก้ได้ดังใจ และตัวเลือกก็ไม่มีดีเท่าไหร่เนี่ย

เราคนไทยที่หัวใจสะออน ทั้งหลายก็ต้องทำใจใ้ห้สมดุลมิให้สั่นไหวไปตามสิ่งเร้าที่ดูจะไม่งาม สง่าในการก้าวเดินซักเท่าไหร่ ก็จะทำยังไงได้ล่ะคะเล่าฮู เพราะเราๆท่านๆทั้งหลายต้องมีส่วนรับผิดชอบในเหตุที่เกิดขึ้นนี้ทั้งนั้น เรื่องนี้เก๊าะเป็นตัวอย่างของการทำสมดุลให้เกิดขึ้นให้ได้แม้จะมีข้อจำกัดของปัจจัยต่างๆก็ตาม

ทุกรายชื่อมีที่มาที่ไปแห่งความผูกโยงถึง "บุญคุณที่ต้องทดแทน" แทบทั้งสิ้นเลยนะคะเล่าฮู

กระทั่งน่าเป็นห่วงว่า การคัดสรรบุคคลเป็นรัฐมนตรีคราวนี้ เน้นการทดแทนคุณ และการเฟ้นหาทายาททางการเมือง โดยไม่สนใจเรื่องความรู้ความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดินหรือเปล่า หรือเกิดความกริ่งเกรงกันว่า ตำแหน่งรัฐมนตรี จะกลายเป็นการ "ตบรางวัลแก่ขุนพล" หลังเสร็จศึกสงคราม

เป็นการตีกรอบวางตัวทายาททางการเมืองที่พร้อมจะสืบทอดหาก "ตัวจริง" มีอันเป็นไปทางการเมือง

ทั้งหมดเป็นผลพวงที่เกิดขึ้น ภายหลังจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งกันเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ทั้งนั้นนี่คะ

ผลการเลือกตั้งที่ปรากฏว่า พรรคพลังประชาชนได้รับการสนับสนุนให้กลับคืนสู่บัลลังก์ กลายเป็นฝ่ายบริหารประเทศอีกครั้งหนึ่ง

ผลการเลือกตั้งททำให้ท่านสมัคร สุนทรเวช  ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของประเทศไทย

และผลการเลือกตั้งที่ยังมีผลทำให้ประเทศไทยมีรัฐมนตรีที่ปรากฏเป็นรายชื่อค่อนข้าง " ไม่สวย " ตามคำกล่าวของท่านผู้นำ..และคณะรัฐมนตรีกลุ่มนี้จะเป็นคนที่นำพาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ?

ทุกอย่างเป็นผลพวงจากการกระทำ

การกระทำนับตั้งแต่ไปหย่อนบัตรเลือกตั้ง

ดังนั้น นับแต่นี้เป็นต้นไป เราก็ต้องเตรียมรับผลจากการตัดสินใจทั้งในแง่ที่ดี และแง่ไม่ดี เพราะ
อย่าลืมว่า สิ่งที่อุบัติขึ้นในวันนี้ เกิดขึ้นมาได้เพราะพวกเราคนไทยทุกคนนี่แหละค่ะ

วันนี้สิทธิทางการเมือง ได้ตกอยู่ในมือของคนที่คนไทยเลือกตั้งเข้าไป

ผลจากการดำเนินการของบุคคลเหล่านั้น จึงเป็นผลที่ทุกคนต้องยอมรับค่ะเล่าฮู..

และเป็นเวลาที่ต้องทำให้เกิดสมดุลทั้งในใจของเราเองและในสังคมด้วยหรือเปล่าล่ะคะเล่าฮู เพราะนี่ก็คือการเปลี่ยนแปลงอีกรูปแบบหนึ่งมิใช่หรือคะท่านผู้อาวุโส ? ^ ^

 

  • สวัสดีค่ะคุณสิทธิรักษ์
  • กระทู้นี้คิดถึงเมืองไทยตอนนี้นะคะ อากาศดี(ในขณะที่เพื่อนบ้าน น้ำท่วม หิมะถล่ม) แต่................... คงเป็นเพราะธรรมชาติจัดสรรให้สมดุล
  • กระทู้นี้ทำให้นุชคิดถึงเรื่อง "กฎของระบบนิเวศ" (Principles of Ecology) ซึ่งอยู่ในทฤษฎีที่เรียกว่า "ข่ายใยแห่งชีวิต" หรือ The Web of Life(1996) หรือทฤษฎีของระบบชีวิต (The Theory of Living System) ของฟริจอฟ คาปร้า  หัวใจหรือความคิดหลักของทฤษฎีใหม่นี้คือ "ชีวิตทั้งหลายในระดับต่าง ๆ ล้วนดำรงอยู่อย่างเป็นระบบ ในลักษณะของระบบชีวิตที่โยงใยอยู่ด้วยกันเป็นข่ายใย โดยที่ระบบนิเวศเป็นระบบที่ใหญ่และสำคัญมากที่สุด คาปร้าเชื่อว่า การเข้าถึงความจริงในระบบนิเวศ จะทำให้เข้าใจในระบบชีวิตทั้งหลายด้วย เนื่องจากเขาเชื่อว่าการจัดระบบองค์กรของระบบนิเวศ คือหลักการจัดองค์กรของระบบชีวิตทุกระบบ มนุษย์ในฐานะระบบชีวิตหนึ่งของระบบใหญ่ จึงต้องจัดแบบแผนชีวิต ระเบียบสังคมให้สอดคล้องกับแบบแผนของระบบนิเวศ ในทัศนะของคาปร้า การพูดถึงระบบนิเวศก็คือการพูดถึง"ชุมชน" (Community) 


    1. เป็นเครือข่าย (Networks)
    สมาชิกของระบบหรือชุมชนทั้งหมด ติดต่อเชื่อมโยงกันและกัน (Interconnected) เป็นเครือข่ายอันกว้างใหญ่ไพศาล ประณีตซับซ้อน ในลักษณะของความสัมพันธ์แห่งข่ายใยชีวิต (The Web of Life) คุณสมบัติของระบบชีวิต กำหนดจากระบบความสัมพันธ์แบบนี้

    2.เป็นระบบซับซ้อน (Nested Systems)
    ระบบของธรรมชาติทั้งหมด มีโครงสร้างของระบบซ้อนระบบ ที่หลากหลายระดับรวมอยู่ด้วยกันอย่างเป็นบูรณาการ(integrated) หรือองค์รวมเดียว เป็นระบบย่อยอิสระที่สัมพันธ์เชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่ใหญ่กว่าด้วย

    3.เป็นวัฏ ( Cycles)
    การปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างสมาชิก เกี่ยวข้องกับการแลก เปลี่ยนแปลงพลังงาน ทรัพยากรในวงจรที่ต่อเนื่องหมุนเวียน วงจรจะผ่านกันไปมา กับวงจรที่ใหญ่กว่าในระบบนิเวศ

    4.เป็นระบบเลื่อนไหล (Flows)
    ระบบชีวิตทั้งหมดเป็นระบบเปิด ซึ่งต้องการการหล่อเลี้ยงอย่างต่อเนื่องของพลังงาน และทรัพยากรเพื่อความอยู่รอด พลังงานแสงอาทิตย ์คือพลังธำรงชีวิตและขับเคลื่อนวงจรของนิเวศทั้งหมด

    5.การพัฒนา (Development)
    ชีวิตมีการพัฒนาและการเรียนรู้ เพื่อวิวัฒนาการทั้งในระดับปัจเจก และในระดับวงศ์ (species) มีการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในการสร้างสรรค์และการดัดแปลงกัน และกันของของหน่วยชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่มีวิวัฒนาการร่วมกัน

         6. สมดุลอย่างพลวัต (Dynamic Balance)  ทุกวงจรในระบบนิเวศ มี      วงจรป้อนกลับ (Feedback Loops) ซึ่ง ทำให้ระบบสามารถควบคุมและจัดการกับตนเองได้ และรักษาสภาพสมดุลอย่างเป็นพลวัต (Dynamic) จากการแกว่งไหวอย่างต่อเนื่อง

  • อ่านเต็มๆ ได้ที่นี่นะคะ http://www.midnightuniv.org/miduniv2001/newpage12.html
  • พอดีนุชก็กำลังreview ทฤษฎีดังกล่าวอยู่ค่ะ เพราะคิดว่าใกล้ชีวิตที่สุดแล้ว เป็นความจริงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงการทำความเข้าใจ
  • กระทู้นี้ จึงลึกซึ้งนัก ไม่อาจผ่านไปได้โดยไม่แวะร่วมสนทนาค่ะ

สบายดีนะครับ P  เบิร์ด

 เหิรฟ้าท้าตะวัน

สมดุลส่วนใหญ่จะเกิดหลังการเปลี่ยนแปลง เพื่อปรับตัวตามธรรมชาติของปัจจัยที่เกิดขึ้น สมดุลจึงไม่มีความนิ่ง คงที่ ตายตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลง..สมดุลจึงแกว่งไปมาเสมอเพื่อหาจุดที่เหมาะสมในภาวะหนึ่งๆ

ไม่ผิดครับ ในสภาวะเงื่อนไขหนึ่งที่คงที่ การปรับตัวย่อมมีความสงบนิ่ง     ในสภาวะเงื่อนไขที่ไม่คงที่ การปรับตัวย่อมมีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม  การปรับสร้างความสมดุลย่อมหลีกเลี่ยงไปไม่ได้

ผลการเลือกตั้งที่ปรากฏว่า พรรคพลังประชาชนได้รับการสนับสนุนให้กลับคืนสู่บัลลังก์ กลายเป็นฝ่ายบริหารประเทศอีกครั้งหนึ่ง

ผลการเลือกตั้งททำให้ท่านสมัคร สุนทรเวช  ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของประเทศไทย

และผลการเลือกตั้งที่ยังมีผลทำให้ประเทศไทยมีรัฐมนตรีที่ปรากฏเป็นรายชื่อค่อนข้าง " ไม่สวย " ตามคำกล่าวของท่านผู้นำ..และคณะรัฐมนตรีกลุ่มนี้จะเป็นคนที่นำพาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ?

ทุกอย่างเป็นผลพวงจากการกระทำ

การกระทำนับตั้งแต่ไปหย่อนบัตรเลือกตั้ง     

ถ้าเราพิจารณาให้ดีว่า  สภาพการณ์ที่ดำเนินไป  เป็นการเคลื่อนไหวในปฏิกิริยาของประชาชน  ในกรณีที่ความลดหลั่นเหลื่อมล้ำในสังคมไทยยังมีช่องว่างมาก  เป็นช่องทางของผู้มีอำนาจในการสร้างเงื่อนไขในการให้ประชาชนปรับตัวเข้าหา  ประชาชนผู้ยากไร้เป็นเครื่องมือให้นักการเมือง  กระแสประชานิยมยังเป็นหนทางที่ใฝ่หาของประชาชนอันซึ่งปรับสร้างความสมดุลในทางผิด   เรายกตัวอย่างเช่น  เม็ดเงินที่หว่านลงในชนบท  ให้สิทธิประโยชน์ลวง  เป็นต้น   ทั้งนี้มันสนองตอบผลประโยชน์ของนักการเมือง

แนวทางการเติบโตของโลกทุนนิยมสมัยใหม่  คงต้องดำเนินไปเพราะการปรับสร้างความสมดุลระหว่างประเทศทุนนิยมก็ยังต้องดำเนินต่อไปพร้อมกัน  ในขณะเดียวกันประชาชนก็ยังต้องเป็นเบี้ยล่างที่จะต้องปรับตัวเขาหา โดยในทางที่ผิดๆ 

แต่เมื่อสุกงอมเต็มที่ เงื่อนไขคงต้องเปลี่ยนไป  การเปลี่ยนแปลงครั้งมโหราฬคงจะต้องเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน

ถึงเวลาเมื่อเวลานั้นพวกเราคงต้องปรับตัวเราเองให้เข้ากับสถานการณ์นั้นๆ  หรืออีกทางหนึ่งเราจะช่วงชิงปรับตัวให้กับมันล่วงหน้าเสียเอง

ผมยังไม่ได้พูดถึงการปรับความสมดุลในธรรมชาติ  อันนี้น่าสพรึงกลัวกว่า  มันกำลังมา มันกำลังปรับตัวอย่างค่อนข้างรุงแรง และเร็ว ภาวะโลกร้อน  ภาวะฝนตกไม่ถูกฤดูกาล  ภาวะหิมะในจีน  ภาวะน้ำท่วม  ภาวะแห้งแล้ง

คุณเบิร์ดครับ เรายังต้องคุยกันอีกมากครับ

ขอเชิญครับ เรามาแลกเปลี่ยนกัน.........................เพื่อ เพื่อ เพื่อ เพื่อ

อะไร อะไร  ที่ดีกว่านี้

ขอบคุณมากครับ

 

สวัสดีค่ะท่านพี่เหลียง

  • ครูอ้อยก็ปรับตัวให้สมดุลย์นะคะ  ปรับกันมาจนเก่าไปหมดแล้วยังปรับอยู่เลย  ไม่ปรับหรือเปลี่ยนก็เซ็งแย่  มีอยู่อย่างเดียวที่ไม่ปรับ  ก็คือ  ความพึงพอใจค่ะ  ที่ยังเหมือนเดิม

คิดถึงค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับP ดอกไม้น้อย

 ที่ว่า "สมดุล"  ความหมายคงบ่งบอกถึงการที่มีความหนักเบาสูงต่ำที่มีค่าใกล้เคียงกัน    ในระหว่างนี้ ความสมดุล คงจะได้กล่าวถึงปฏิกิริยาของเคลื่อนย้าย ถ่ายเท หมุนเวียน ของสรรพสิ่ง

  • "กฎของระบบนิเวศ" (Principles of Ecology) 
  • "ข่ายใยแห่งชีวิต" หรือ The Web of Life
  • ทฤษฎีของระบบชีวิต (The Theory of Living System)

เป็นทฤษฎีว่าด้วยการเคลื่อนย้าย ถ่ายเท หมุนเวียน

คุณ ดอกไม้น้อย ได้ลำดับไว้ว่า

1. เป็นเครือข่าย (Networks)
2.เป็นระบบซับซ้อน (Nested Systems)
3.เป็นวัฏ ( Cycles)
4.เป็นระบบเลื่อนไหล (Flows)
5.การพัฒนา (Development)
6. สมดุลอย่างพลวัต (Dynamic Balance
)
  

ทำให้คิดถึง ทฤษฎีว่าด้วย"ความสัมพันธ์"   ว่าด้วย"ความขัดแย้ง"

สรรพสิ่งล้วนมีคู่ความสัมพันธ์ และ ขัดแย้ง ดำรงค์อยู่  มันอยู่พึ่งพาอาศัยกัน และ ขัดแย้งกัน ในเวลาเดียวกัน  

  • ไม่มีขั้วบวก ก็ไม่มีขั้วลบ 
  • ไม่มีหญิง  ก็ไม่มีชาย
  • ไม่มีสูง  ก็ไม่มีต่ำ
  • ไม่มีทำลาย ก็ไม่มีสร้าง
  • เป็นต้น

ด้วยเงื่อนไขต่างๆ  ล้วนมีปฏิสัมพันธ์กันทั้งสิ้น   ในเงื่อนไขหนึ่งๆความสัมพันธ์และความขัดแย้งย่อมมีปฏิกิริยาหนึ่ง

มนุษย์ที่ว่าประเสริฐนักประเสริฐหนา  ดัดแปลงธรรมชาติเพื่ออำนวยความสดวกสบายให้แก่มวลมนุษย์ แต่หารู้ไม่ว่า  มันทำลายความสมดุลของธรรมชาติอย่างใหญ่หลวง  พวกเราต้องเตรียมใจรับสถานะการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป

ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับคุณครู P  สิริพร กุ่ยกระโทก

 

ครูอ้อย มีความเสมอต้นเสมอปลายมากครับ เป็นบุคคลตัวอย่างทีเดียว

ผมเข้าไปที่บันทึกครูอ้อยบ่อย แต่ไม่ได้ทิ้งร่องรอยไว้ ไม่ว่านะครับ

ยินดีมากครับผม

  • มาทักทายคุณดล
  • คิดถึงๆๆ
  • มาดูความสมดุลครับผม

ยินดีที่ได้รู้จักครับ

 

  • ตามมาขอบคุณอีกรอบ
  • รอดูคุณดลเขียนเรื่องใหม่ๆๆ
  • เช่นเรื่อง ความรัก อิอิอิอิ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณ ภณ วิเชียรฉันท์ ยินดีครับ

P  ขจิต ฝอยทอง  ผู้ขาดรัก

 

ขอบคุณ หลายๆ    ท่าน อ. ขจิต  ผู้มุ่งมั่น (ความรัก) 

ผมลืมไป น่าจะเขียนเรื่องความรักบ่อยๆ  เห็นใจผู้ขาดความรัก ฮ่าๆๆๆ

 

 

สวัสดีครับป๋าแพนดี้

ป๋ายังคมเหมือนเดิมนะครับ แต่ระวังนะครับป๋า คม มีไว้ลูบ ถ้าไม่ลูบก็ไม่รู้ว่า คม ลูบอย่างเดียวนะครับ ห้ามคลำ เดี๋ยวจะเสีย สมดุล อิอิ

คิดถึงป๋าจัง

คลำต้องปิดตา  ลูบต้องไล้

ถ้าคิดถึง  ต้องทั้งลูบทั้งคลำ   ไม่ต้องยืน ไม่มีเสียศูนย์

สร้างความสมดุลในแนวนอน                  ว่างซักหน่อยจะไปเยี่ยม   ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆ

เข้ามาเก็บเกี่ยวในรอยประสบการณ์ครับ

คิดถึงครับ  ครูปู  สุขสมหวัง ตลอดปีตลอดไปครับ

แม้จะเรื่องเก่า เขียนนานแล้ว แต่ก็ยังใหม่สำหรับคนที่สนใจอ่าน พูดเรื่องการเมือง ดิฉันรู้สูก ขาดสมดุลมากเลย ไม่ทันพวกท่านๆ แต่ก่จะพยายามหาอ่านจนสมดุลแหละคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท