ผู้เฒ่าเล่าเรื่องนี่แหล่ะชีวิต : จากผู้สูงอายุถึงเด็กและเยาวชน


จากอาชีพส่วนใหญ่เกษตรกรรมการทำนา ที่มีความเสี่ยงหลากหลายด้าน ยิ่งทำยิ่งจน ขาดโอกาสในการเรียนรู้ ต่อสู้กับภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ภัยแล้ง แสงแดดอันแรงกล้าทำให้คนหนุ่มคนสาว ต่างเมินหน้าหนี มีเพียงผู้เฒ่าผู้แก่ ลูกหลานตัวเล็กๆ อาศัยอยู่เท่านั้น

ในช่วงภาวะที่คนหนุ่มคนสาวต่างพลัดถิ่นฐานเข้าไปเป็นแรงงาน ทำอยู่ทำกินในเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยการจ้างงานที่ตอบแทนด้วยเงินสมน้ำสมเนื้อ และเหมาะกับวิถีชีวิตสมัยใหม่ ทำให้การเคลื่อนไหวหางานทำมุ่งสู่เมืองมากขึ้นอย่างคึกคัก  ขณะเดียวกันชนบทหรือท้องถิ่นบ้านนา กลับเงียบเหงาว่างเปล่า มีเพียงผู้เฒ่าผู้แก่ ลูกเด็กเล็กแดง ใช้ชีวิตด้วยกำลังและแรงใจที่พึงมีอยู่ รอคอยการส่งเงินทองจากคนหนุ่มสาวกลับมาตามสัญญาที่ให้กันไว้ (......เลี้ยงลูกให้หนู ให้ผม นะแม่นะ นะพ่อนะ เดี๋ยวจะส่งเงินมาให้.....)    

<p style="text-justify: inter-cluster; text-align: justify" align="justify">กรณีดังกล่าวกำลังแผ่กระจายไปทั่วทั้งประเทศ (ความสมดุลในปัจจุบันของประชากรเมืองกับชนบทสัดส่วนเท่าไหร่ ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกัน หากใครมีความกรุณาจะเติมเต็มได้ก็ขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง)     ที่ตำบลโพธิ์ไทรงาม กิ่งอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร ก็ไม่ได้รับการยกเว้นในกรณีเช่นกัน   จากอาชีพส่วนใหญ่เกษตรกรรมการทำนา ที่มีความเสี่ยงหลากหลายด้าน ยิ่งทำยิ่งจน ขาดโอกาสในการเรียนรู้  ต่อสู้กับภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ภัยแล้ง แสงแดดอันแรงกล้าทำให้คนหนุ่มคนสาว ต่างเมินหน้าหนี มีเพียงผู้เฒ่าผู้แก่ ลูกหลานตัวเล็กๆ อาศัยอยู่เท่านั้น  </p><p>              </p><p>  ทำอย่างไรจะทำให้ผู้เฒ่ากับเด็ก อยู่ด้วยกันอย่างเอื้ออาทรเข้าใจ เห็นใจกัน มีความสุข ((((ที่ไม่เพียงรับเบี้ยยังชีพ หรือสรรหากิจกรรมวูบวาบให้ทำเท่านั้น!!!!!)))) </p><p style="text-justify: inter-cluster; text-align: justify" align="justify">               </p><p style="text-justify: inter-cluster; text-align: justify" align="justify">                โครงการเสริมสร้างด้านอาชีพระยะสั้นแก่เด็กในวัยเรียน ซึ่งสนับสนุนโดย อบต.โพธิ์ไทรงาม   สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิจิตร  สสว.8 และสถานีอนามัยตำบลโพธิ์ไทรงาม   กลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้แน่นอนครับ คือ ผู้สูงอายุ และเด็ก ในพื้นที่ต.โพธิ์ไทรงาม กิ่งอ.บึงนาราง  ความประทับใจที่เห็นก็คือตอนที่ผู้เฒ่าเล่าเรื่องการใช้ชีวิตในอดีต สะท้อนให้เห็นความยากลำบาก แต่เต็มไปด้วยความสุข ปนความทุกข์(เล็กน้อย) เพราะจัดการด้วยตัวของตัวเอง ทุกวันนี้การใช้ชีวิตซับซ้อนมากขึ้น แม้ว่าจะพึ่งตัวเองได้(กับวิถีชีวิตเดิมๆ) แต่ว่าที่ยากลำบากเพราะลูกหลานถูกดึงถูกกระชาก ไปตามกระแสทุนนิยม วัตถุนิยม นิยมชมชอบความสบาย(กาย) แต่ทุกข์(ใจ)   </p> <p style="text-justify: inter-cluster; text-align: justify" align="justify">                และสิ่งที่ทำเอาผมทึ่งมากๆก็เห็นจะเป็นเครื่องมือเครื่องไม้โบราณต่างๆที่ยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่ เช่น เครื่องสีข้าวด้วยมือ  การฝัดข้าว(ที่ไม่ง่ายอย่างที่คิด)  การตำข้าว  การหุงข้าว ด้วยหม้อเตาโบราณ   และที่เป็นไฮไลท์ (สำหรับผมนะ)  คือ การจุดไฟด้วยกระบอกไม้ไผ่ สีสี ถูๆไถๆ ไม่ถึง 1 นาทีไฟก็ลุกพลึ่บ!!!  ที่ทึ่งเพราะผมเคยเห็นแต่แบบหมุนปั่นๆ ซึ่งใช้เวลานานแถมมือแทบแตกกว่าจะได้ไฟ มีไฟมาใช้ </p><p>              </p><p>  แม้ว่ากิจกรรมดังกล่าว อาจจะดูดูขัดแย้งกับวิถีชีวิตในปัจจุบันก็ตาม แต่สิ่งที่ได้เหนือสิ่งอื่นใดก็เห็นจะเป็นเรื่องแนวคิด การใช้ชีวิตแบบพึ่งตนเองได้ (จริงๆ) ในอดีต เด็กๆ สามารถซึมซับ เรียนรู้และเป็นองค์ความรู้ภูมิคุ้มกัน การใช้ชีวิตต่อสู้กับสภาพสังคมในปัจจุบันด้วยหัวใจที่แข็งแรง และมีความสุขได้   </p><p>   </p><p>          </p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 88258เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2007 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 00:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นกิจกรรมที่ดีมากๆครับ ผมขอสนับสนุน

ผมก็เป็นคนใน ต.โพธิ์ไทรงามเหมือนกัน อยู่ ม.9 นะครับ

เห็นอย่างนี้ผมล่ะอยากกลับบ้านเลย ตอนนี้ผมทำงานอยู่ที่ระยอง นานๆทีจะได้กลับไปเที่ยวที่บ้าน

พอมาต่างที่แล้วมันไม่มีที่ไหนมีความสุขเท่าบ้านเราจิงๆ

ผมขอขอบคุณสำหรับกิจกรรมที่ทำนะครับ ให้เด็กในชุมชนมีความรักหมู่บ้านของเรามากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท