สภามหาวิทยาลัย : เครื่องมือตรวจจับการขโมยผลงานวิจัย


 

          บทความ Errami M, Garner H. A tale of two citations. Nature 2008; 451 : 397 – 399. และบทความที่ตามหลังมาเป็นระลอก ก่อผลสะเทือนต่อวงการวิชาการทั่วโลก   เพราะมีหลักฐานจับนักวิชาการที่ขโมยผลงานคนอื่น (plagiarism)    หรือตีพิมพ์ผลงานของตัวเองซ้ำ (duplication) เพื่อให้มีจำนวน paper มากๆ ซึ่งเขาถือว่าเป็นเสมือนขโมยผลงานของตัวเอง (self-plagiarism)  

 
          เครื่องมือนี้คือ eTBlast  http://invention.swmed.edu/etblast/index.shtml   ผลของการตรวจสอบคือความคล้ายคลึงของข้อความ    นำไปสู่ข้อสงสัยให้หาข้อมูลโดยเอา article ที่เข้าใจว่ามีการคัดลอกกัน หรือซ้ำซ้อนกันมาตรวจสอบ   เวลานี้ eTBlast ยังมีข้อมูลเฉพาะการตีพิมพ์ด้าน Biomedical เท่านั้น    แต่เดาว่าต่อไปคงจะขยายไปสู่ สาขาอื่นๆ


          ต่อไปนี้ หน่วยงานที่ทำหน้าที่อนุมัติตำแหน่งผลงานวิชาการ หรือยกย่องนักวิจัยดีเด่น นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ฯลฯ คงต้องมีเจ้าหน้าที่หาข้อมูลตรวจสอบ plagiarism และ duplication กันเป็นหน้าที่ประจำ


          เวลานี้มีการส่งข้อมูลหลักฐานที่แสดงว่าคนบางคนในประเทศไทยมีผลงานตีพิมพ์แบบ plagiarism หรือ duplicate   ซึ่งคงจะก่อความเจ็บปวดในแวดวงวิชาการไม่ใช่น้อย    ผมในฐานะคนแก่ อยากให้มีการจัดพูดคุยเชิงสร้างสรรค์ในเรื่องนี้ เพื่อประโยชน์ในภาพรวมของบ้านเมืองเรา    ซึ่งอาจจัดในศาสตราจารย์สโมสร ของ สกอ.   หรือจัดโดย บวท. ร่วมกับ สกอ.,  สกว., สวทช., และ วช.   โดยควรเชิญบรรณาธิการวารสารในประเทศมาร่วมทำความเข้าใจด้วย    จะได้ร่วมมือกันป้องกันชื่อเสียงของวงการวิชาการของประเทศ

 

วิจารณ์ พานิช
๓ พ.ค. ๕๑

 

                   
           
                    

หมายเลขบันทึก: 180817เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2008 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ถ้าได้ลองมาใช้กับ papers ในเมืองไทย ไม่ทราบจะอึ้งกันหรือเปล่านะค่ะ เพราะเห็น thesis ของนักศึกษาแล้วดูมันซ้ำๆ กันอย่างไรชอบกลค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท