จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

อิสลามมานุวัตรกับการบูรณาการ


คำว่า อิสลามมานุวัตร อาจเป็นคำใหม่สำหรับคนไทยอยู่ครับ คำนี้มาจากในภาษาอังกฤษที่ว่า islamization แปลง่ายๆ สไตล์ผม คือ ทำให้ทุกอย่างสอดคล้องกับหลักการของศาสนาอิสลามนั่นเอง เรื่องของอิสลามมานุวัตรในประเทศไทยมีคนที่คุยเรื่องนี้อย่างเป็นกิจลักษณะอยู่สามสี่ท่าน คือ ดร.นิเลาะ ดร.สุกรี ดร....โต๊ะเฮง (ตอนนี้นึกชื่อไม่ออกแล้วครับ) ออ! "นิพนธ์" ครับ และคำที่ใช้ในภาษาไทยที่ว่า อิสลามมานุวัตร ก็เป็นการบัญญัติขึ้นโดย ดร.นิเลาะ กับ ดร.นิพนธ์ ครับ

อิสลามมานุวัตร เป็นแนวคิดในการปริวัตรสู่หลักคำสอนของศาสนาที่ถูกต้อง โดยเริ่มจากกระบวนการจัดการศึกษา เพราะต้นตำรับคิดว่า การศึกษาสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

เรื่องของอิสลามมานุวัตร เป็นเรื่องน่าสนใจ และแบบอย่างที่ประสบความสำเร็จมาแล้วคือประเทศมาเลเซีย ซึ่งอาจารย์ทั้งสามสี่ท่านที่ยกว่าแนะนำข้างต้นก็สำเร็จการศึกษาจากมาเลเซียทั้งสิ้น

สำหรับประเทศไทย ผมมองว่า สถาบันที่นำเสนอภาพนี้ได้ชัดเจน คือ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ถึงแม้มหาวิทยาลัยนี้จะเป็นน้องใหม่ แต่ก็มีเอกลักษณ์และกระบวนการอิสลามมานุวัตรที่เป็นเฉพาะ ซึ่งแนวคิดหลักก็มาจากท่านอธิการบดีนั่นเอง

มีนักวิชาการจากมาเลเซียหลายท่านให้ความเป็นห่วงกับกระบวนการอิสลามมานุวัตรในประเทศไทย เนื่องจากบริบททางสังคมไม่เหมือนกัน เนื่องจากมาเลเซียเป็นประเทศที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม การนำเสนอประเด็นนี้จึงไม่ได้รับการต่อต้าน ในขณะที่ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ การนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้อาจได้รับการต่อต้านจากคนส่วนใหญ่ของประเทศก็เป็นได้ ซึ่งจากประสบการณ์ของผม ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับความเห็นดังกล่าวเท่าไรนัก เพราะผมรับรู้ได้อย่างหนึ่งว่า "คนไทยใจกว้างพอครับ" และคนไทยก็มีหลักยึดอยู่ว่า ทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดีอยู่แล้ว ดังนั้นหากคนเข้าใจศาสนามากขึ้นก็จะยิ่งทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้นเช่นกัน

นักวิชาการกลุ่มดังกล่าวยังเสนอเพิ่มเติมว่า ในประเทศไทยน่าจะใช้แนวทางของการบูรณาการก่อนจะดีกว่า

ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ระยะทางของการก้าวเดินของอิสลามมานุวัตรในประเทศมาเลเซียเองกว่าจะประสบความสำเร็จได้ก็ใช้เวลาที่ยาวนานพอสมควร ดังนั้นในประเทศไทยก็น่าจะใช้เวลาที่นานกว่านั้นอีกนิดหนึ่ง จึงจะเห็นเส้นชัยของความสำเร็จ

ดังนั้นในใจผมจึงไม่ได้ตั้งเป้าที่บูรณาการ แต่ตั้งเป้าที่อิสลามมานุวัตรเลย เพราะยังงัยทางผ่านไปยังเป้าหมายก็ต้องผ่านบูรณาการอยู่แล้วครับ เพราะผมกลัวว่า เราจะมัวพวงกับบูรณาการจนลืมเป้าใหญ่ไปเสียก่อน

ในความจริงอีกประการหนึ่งก็คือ จนถึงตอนนี้นับตั้งแต่การปฏิรูปการศึกษาเป็นต้นมา ผมว่า การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการของครูไทยยังไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุผลหลายประการ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ครูหลายคนยังไม่เข้าใจว่า บูรณาการแล้วจะได้อะไร เกิดอะไรขึ้นบ้าง ถึงถ้าเป็นอย่างนี้อีกนานครับปฏิรูปการศึกษาจะเต็มใบ

วันหนึ่งผมไปบรรยายเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการสอน เพราะยกตัวอย่างการสอนตามแบบอย่างของท่านศาสนฑูตให้ผู้เข้าอบรมฟัง แล้วถามเขาว่า คุณสอนตามท่านศาสนฑูตหรือเปล่า เหตุผลที่ถามอย่างนั้นก็เพราะว่า คุณครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอนแบบบรรยายจนเคยตัว แล้วบอกว่านี้แหละเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ผมจึงยกตัวอย่างท่านศาสนฑูตให้ดูว่า ท่านสอนด้วยวิธีการที่หลากหลายมาก ไม่ใช้วิธีการเดียว

หลังการบรรยายของผม ครูคนหนึ่งลุกขึ้นพูดพร้อมน้ำตาว่า ยอมรับว่ายังสอนไม่ได้เหมือนที่ท่านศาสนฑูตสอน แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ สิ่งที่ผมสอนนั่นมันเป็นสิ่งที่ผิดกับหลักการศาสนาอยู่

ผมถามเขาว่า วิชาอะไรครับ เขาตอบว่า ศิลปะ ครับ ผมตั้งคำถามว่า ในอิสลามีศิลปะหรือเปล่า เขาตอบว่า มีครับ ผมก็ถามต่อว่า ถ้ายังงันสอนศิลปะ ผิดหลักศาสนาได้อย่างไร

ปัญหามันอยู่ที่ความเข้าใจว่า อะไรคือเนื้อหาที่อิสลามบอกว่าสอนได้สอนไม่ได้ ซึ่งผมตอบง่าย(อีกนั่นแหละ) ว่า ทุกความจริง อิสลามอนุญาตให้สอน และห้ามสอนในสิ่งที่เป็นความเท็จแล้วอ้างว่าเป็นความจริง

ปัญหาในปัจจุบัน คือ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาทั้งในมุมของตะวันตกที่นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่าถูกต้องที่สุดแล้ว และสอนกันต่อๆ กันมาหลายชั่วอายุคน กับอีกหนึ่งความรู้จากมุมมองของอิสลามที่หลายคนยังค้นหาไม่เจอ ซึ่งจริงๆ แล้วเมื่อเป็นความจริงมันจะสอดคล้องกันอยู่แล้วครับ แต่เมื่อนำมาสอนครูต้องเข้าใจเป้าหมายของวิชาและเนื้อหานั้นๆ

คุยเรื่องนี้แล้วต้องใช้เวลาครับ ยังไม่จบโอกาสนี้คุยกันใหม่

 

คำสำคัญ (Tags): #อิสลามมานุวัตร
หมายเลขบันทึก: 96399เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2007 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ผมขอยก อายัต อัลกุรอาน ซึ่งคิดว่า เป็นหลักฐานสำคัญในการที่ยืนยันว่า ความรู้ทางโลกต้องควบคู่ความรู้ศาสนา

وَابْتَغِ فِيمَا آتَاكَ اللَّهُ الدَّارَ الْآخِرَةَ وَلَا تَنسَ نَصِيبَكَ مِنَ الدُّنْيَا  [القصص : 77]

ความว่า : เจ้าจงแสวงหาในสิ่งที่อัลลอฮฺประทานมาแก่เจ้าสิ่งโลกอะคีเราะฮฺ แต่เจ้าต้องไม่ลืมวาสนาของเจ้าจากโลก (สูเราะห์ อัลเกาะศอศฺ อายัตที่ 77)

เป็นประเด็นที่น่าเผยแพร่แก่สาธารณชนภายนอกนะครับ

และก็เร็ว ๆ นะครับอาจารย์ รออ่านอยู่......

สิ่งที่ถูกสร้างบนโลกใบนี้มีไว้สำหรับให้ประโยชน์แก่มนุษย์ แต่มีหลักการหนึ่งคือ ห้ามไม่ให้มนุษย์ทำความเสียหายแก่มัน ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยความรู้ในการจัดการ ดังนั้นมนุษย์จึงจำเป็นต้องศึกษาที่ครอบคลุมสำหรับการใช้ชีวิตที่สมบูรณ์

อัสลามุอาลัยกุม วาเราะมาตุลลอฮ วาบารอกาตุฮ

ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับอาจารย์ครับ เพราะอิสลามเป็นประชาชาติอิกเราะ(แห่งการอ่าน) อิสลามได้เน้นย้ำว่า"การศึกษาด้านสามัญและศาสนานั้นจะแยกกันไม่ได้" และอิสลามยังได้กำชับอีกว่าทั้งสองด้านนี้ต้องไปด้วยกัน เราเรียนสามัญเพื่อให้เรามีความเสมอภาคกับประชาชาติอิ่นๆ แต่เราเรียนศาสนาเพื่อให้เรามีความเหนือกว่าประชาชาติอื่นๆ ครับ

 

วัสลามุอาลัยกุม วาเราะมาตุลลอฮ วาบารอกาตุฮ  

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นดีๆ ครับ

ไม่มีรูป
มุฮตาดีน อัลฮัก

 

มหาลัยอิสลามน่าจะผลิตหลักสูตรนี้ตรงๆเลย จะเห็นเป็นรูปแบบชัดเจน

สวัสดีครับท่าน

P

ขอนำข้อความดีๆไปรวมในรวมตะกอนครับ ขอบคุณมากครับ  http://gotoknow.org/blog/mrschuai/117622#

ขอบคุณข้อเสนอจากผู้ไม่แสดงตนครับ

เรื่องนี้อยู่ในแผนมาหลายปีแล้วครับ แต่ยังไม่ได้เปิดสักทีหนึ่ง ล้าสุดกำลังจะเสนอเป็นหลักสูตร e-learning เต็มรูปแบบของมหาวิทยาลัยครับ กำลังดังเนินการ

ขอบคุณ

P
สิทธิรักษ์ ที่เห็นคุณค่างานเขียนของผม

 

การบูรณาการวิชาศิลปะกับอิสลาม มีอายัดอัลกรุอานกับหะดีษหรือเปล่าค่ะ

มีหลักการที่สามารถนำมาประยุกต์สำหรับการสอนศิลปได้ครับ เช่น การวาดรูปอะไรที่ห้ามบ้าง การใช้ภาพเพื่อการสื่อสาร การที่อัลลอฮ์ทรงบอกว่า มนุษย์ถูกสร้างในร่างกายที่สวยงาม ทั้งนี้ในอัลกุรอานพูดถึงคำว่าสวยงามไว้หลายที่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท