ทรัพยากรมนุษย์ที่กระทรวงวัฒนธรรม


     สวัสดีครับลูกศิษย์ชาวกระทรวงวัฒนธรรมรุ่นที่1-3
     เป็นอย่างไรกันบ้าง ผมหวังว่าทุกท่านคงสบายดีนะครับ ผมอยากทราบว่าลูกศิษย์ของผมทุกรุ่นได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพไปต่อยอดกันอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นการ Share ข้อมูลและประสบการณ์ต่างๆผมจึงสร้าง Blog นี้มาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เพื่อประโยชน์ชาวกระทรวงวัฒนธรรมด้วยกัน และต่อผู้อื่นที่สนใจด้วย 
                                                           จีระ หงส์ลดารมภ์
หมายเลขบันทึก: 40573เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2006 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 09:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ยม "บทเรียนจากความจริง วาระแห่งาติ:การตรงต่อเวลา โดย ศ.ดร.จีระ"

วาระแห่งชาติ : การตรงต่อเวลา[1]

 

 

สัปดาห์นี้หากไม่พูดเรื่องการเมืองคงเชยเต็มที่ จะพูดอย่างไรที่สังคมจะได้ประโยชน์จากการสร้างความสมานฉันท์ เพราะในยุคนี้ สังคมแตกแยกมาก หลายคนอาจสะใจที่คณะกรรมการการเลือกตั้งทั้ง 3 คนคือ พลตำรวจเอกวาสนา เพิ่มลาภ คุณวีระชัย แนวบุญเนียร คุณปริญญา นาคฉัตรีย์ ต้องถูกจำคุก แต่ก็สร้างความเจ็บปวดให้แก่อีกฝ่ายที่เชียร์กกต.มาก ผมอยากเห็นสังคมมีความสามัคคีกันมากขึ้น ระบบตุลาการศาลยุติธรรมยังทำหน้าที่ได้เที่ยงธรรม ผมภูมิใจมากที่ได้เข้าประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกวันจันทร์ เป็นโอกาสที่ได้เห็นว่า ระบบศาลยุติธรรมยังรักษาความดี ความถูกต้องไว้ได้

 


ท่านลองคิดดูว่า ถ้าการเมืองเข้ามายุ่งกับระบบศาลยุติธรรม ประเทศจะเป็นอย่างไร จึงขอเตือนสติสังคมไว้ว่า อย่านึกว่าการเมืองจะเข้ามาไม่ได้ ถ้าระบบศาลยุติธรรมอ่อนแอ การเมืองที่มีเงินมาก มีอำนาจมากและขาดคุณธรรม เข้ามาได้เสมอ และเป็นธรรมดาของทุกแห่งในโลก ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกันเมื่อไร จะเกิดปัญหาทันที

 


ผมยังนึกถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างสุดซึ้ง


-
พระองค์ท่านทรงเน้นการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยออกพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 24 สิงหาคม 2549 ซึ่งทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ชุดนี้ ไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มกัน
-
ตอนท้ายพระราชกฤษฎีกา ทรงเน้นให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ ยุติธรรม


หากไม่มีพระองค์ท่าน การแก้ปัญหาของชาติ จะทำได้ยาก เพราะถ้าสองฝ่ายสู้กันต่อไป จะไม่มีทางสำเร็จ ประชาสังคมก็อ่อนแอ คนไทยส่วนมากใช้ชีวิตผ่านไปวันๆ ไม่คิดเป็นระบบ คิดไม่เป็น และส่วนมากไม่สนใจการเมือง ทำนองว่า ไม่ใช่ธุระของฉัน

 


คนไทยเก่งเฉพาะทาง เช่น จากการที่ผมสอนปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พยายามให้นักเรียนที่เรียน Food science มองให้กว้าง ข้ามศาสตร์ มองประเทศของตัวเองอย่างหวงแหน และมองปัญหาของประเทศให้ทะลุ

 
ไม่เช่นนั้น นักการเมืองที่ไม่ดีก็ชนะตลอด เพราะเขาสามารถคุมสื่อ คุมระบบราชการ ผมไม่ได้พูดเฉพาะนักการเมืองซีกรัฐบาล แต่นักการเมืองทุกระดับทั้งชาติและท้องถิ่น
การเมืองต้องสะท้อนความจริง กว่าจะเข้ามาเป็นรัฐบาลได้ ต้องใช้เงินทอง ใช้อำนาจ จะทำอย่างไรให้การเมืองไม่ต้องใช้เงินมากนัก และให้ราชการ ทหาร ตำรวจ ปลอดการเมือง เป็นโจทย์ที่ทุกคนต้องคิดต่อไป
การสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ คงจะดีกว่าเก่าแน่นอน เพราะศาลฎีกาเป็นผู้นำ ฉะนั้น
-
คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ 5 คน มาจากความยุติธรรม น่าจะโปร่งใสมากขึ้น
-
ตั้งแต่ระดับเลขาธิการ รองเลขาธิการ หรือผู้อำนวยการต่างๆ รวมทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด จะดูแลให้ทำงานโปร่งใสได้อย่างไร จะมีการแต่งตั้งคนใหม่เข้ามาหรือไม่ เพราะ 5 ปีที่ผ่านมา ข้าราชการประจำที่ กกต. ก็ทำงานไม่น่าไว้วางใจนัก


- บรรดาตำรวจ ทหาร และข้าราชการที่เคยรับใช้นักการเมืองแบบไม่เป็นกลางจะทำอย่างไร จะมีวิธีดูแลให้เกิดความยุติธรรมได้อย่างไร


- นายกฯทักษิณสัญญาเรื่ององค์กรกลาง (Pollwatch) โดยพูดไปเรื่อยๆ หรือจริงใจ เพราะขณะที่พูด กกต.ชุดเดิมยังอยู่ ก็ต้องดูต่อไปว่า ท่านจะทำอย่างไร เมื่อมี กกต.ชุดใหม่แล้ว ยังจะสนับสนุนองค์กรกลางจริงหรือไม่

 


วันนี้พูดเรื่องการเมืองค่อนข้างมาก ผมเป็นคนไทยที่รักชาติ ก็ต้องใช้จังหวะให้เหมาะสม การเมืองต้องมองไปข้างหน้า และให้ยั่งยืน

 


ผมขอฝากอีกประเด็นคือ ไม่ว่าจะมีองค์กรกลาง หรือ กกต.ชุดใหม่ ประชาธิปไตยจะต้องพัฒนาตลอดเวลา ความจริงการพัฒนาจิตวิญญาณประชาธิปไตย คือการพัฒนาสังคมการเรียนรู้ พัฒนาจิตใจ และพัฒนาวิธีการคิด ผมคิดว่าทฤษฎี 4L's ของผมน่าจะใช้ได้กับการพัฒนาประชาธิปไตย

 


สมัยคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดแรก มีอาจารย์โคทม อารียา เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม และนำการเรียนรู้ไปสร้างจิตสำนึก ระยะหลัง ไม่มีบทบาทหน้าที่นี้เลย กกต.ชุดนี้ เป็นการมองการเมืองแบบเอาชนะกัน แบ่งข้าง

 
คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่จะต้องหลากหลาย ไม่ใช่มีเฉพาะศาลฎีกาเป็นตัวยืนเท่านั้น ต้องมีคนที่สนใจการสร้างสังคมการเรียนรู้ สร้างจิตสำนึก และให้เกียรติชาวบ้าน (Respect) รับฟังความคิดเห็นอย่างจริงใจว่า ประชาธิปไตยจะต้องรักษาอย่างไร ถ้าได้คนที่สร้างสังคมการเรียนรู้อย่างแท้จริงเข้าไปบ้าง ก็คงจะดี  สัปดาห์นี้ ผมได้จบการอบรมหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำ 60 ชั่วโมง ให้สภาวิจัยไปแล้ว มีความสุขมากที่เห็นข้าราชการระดับ C8 เอาจริง


สุดท้าย ขณะผมนั่งเครื่องบินกลับจากขอนแก่น เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม ได้พบว่าที่สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพฯ และอดีตประธานรัฐสภา คุณอุทัย พิมพ์ใจชน ซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่เทพศิรินทร์ ท่านเมตตาต่อผมมาก ได้บอกผมว่า "จีระ พี่อุทัยอยากให้เน้นเรื่อง การตรงต่อเวลาของคนไทย ผมจึงขอรับหน้าที่ช่วยกระตุ้นให้คนไทย มองเรื่องเวลาให้มากขึ้น ผมคิดว่าการตรงต่อเวลา คงไม่ใช่คำสั่ง เหมือนสั่งให้อ่านหนังสือ ไปบอกไม่ได้ว่า คุณต้องตรงต่อเวลา ผมคงจะเน้นวัฒนธรรมการรักษาเวลา เพราะเป็นแนวคิดที่ดี


ผมเห็นด้วย อย่างผมเอง เมื่อตอนหนุ่ม ก็ไม่ตรงต่อเวลานัก แต่พออายุมากขึ้น ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ จึงขอฝากให้พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ สื่อมวลชน เน้นเรื่องนี้ให้มาก และจะมีการจัดรายการโทรทัศน์กับพี่อุทัยในเรื่องนี้ด้วยครับ

 


ผมตั้งใจจะจุดประกายให้เป็นวาระแห่งชาติ

  

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


                  โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง วาระแห่งาติ:การตรงต่อเวลา โดย ศ.ดร.จีระ"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / ชาวกระทรวงวัฒนธรรมรุ่นที่1-3 และท่านผู้อ่านทุกท่าน   
หวังว่าท่านผู้อ่านทุกท่านคงสบายดี  และได้มีโอกาสร่วม ตั้งจิตอธิษฐานให้องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแร็ง และทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน

เช้าวันนี้ ผมหาความรู้จาก internet เช่นเคย และศึกษาบทความจาก น.ส.พ.แนวหน้า จาก http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 ศึกษาบทความ ของ ศ.ดร.จีระ บทเรียนจากความจริง วาระแห่งชาติ : การตรงต่อเวลา

และคัดมาบางประโยคจากบทความที่ ศ.ดร.จีระ เขียนไว้ (สีนำเงิน) ส่วนที่ผมมีความเห็นเพิ่มเติม ผมเขียนไว้ทำเป็นสีดำ เพื่อแชร์ความคิด ที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน นักศึกษาที่สนใจ  รายละเอียดมีดังนี้    

วาระแห่งชาติ : การตรงต่อเวลา

 

 ผมภูมิใจมากที่ได้เข้าประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกวันจันทร์ เป็นโอกาสที่ได้เห็นว่า ระบบศาลยุติธรรมยังรักษาความดี ความถูกต้องไว้ได้

ประโยคนี้ เห็นได้ว่า ศ.ดร.จีระ ปฏิบัติภารกิจ ที่เป็นประโยชน์กับสังคม ประเทศชาติหลากหลาย  การที่จะเข้าไปเป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในตุลาการศาลยุติธรรม ไม่ใช่งานที่ใครก็ได้ ที่จะเข้าไป   ขึ้นชื่อว่า ตุลาการศาลยุติธรรม คนที่จะเข้าไปได้ผมมั่นใจว่า ต้องเป็นคนเก่งมีความรู้ความสามารถ เป็นคนดีมีฝีมือ และเป็นคนที่เป็นกลาง รักความยุติธรรมเหมือน ขงเบ้ง ซึ่งแน่นอน ผมและลูกศิษย์ เชื่อมั่นว่า ศ.ดร.จีระ มีครบถ้วน และพวกเราก็ภูมิใจในตัว ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างมาก

 

  การเมืองที่มีเงินมาก มีอำนาจมากและขาดคุณธรรม เข้ามาได้เสมอ และเป็นธรรมดาของทุกแห่งในโลก ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกันเมื่อไร จะเกิดปัญหาทันที

เรื่องการเมืองในบ้านเรา ยังเป็นการเมืองที่ต้องพัฒนาอีกมาก  ต้องเป็นการเมืองเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน อย่างบริสุทธิ์ อย่างยั่งยืน  ใช้คุณความดี มากกว่าเงิน ซึ่งต้องใช้เวลาอีกนาน   การเมือง เหมือนคน  ถ้ามีอำนาจมาก และขาดคุณธรรม ย่อมสร้างความเสียหาย มากกว่าความเจริญของบ้านเมือง  การเมืองที่มีการใช้อำนาจมาก มีเงินมากและขาดคุณธรรม ร้ายแรงยิ่งกว่าไข้หวัดนก แต่มีลักษณะคล้ายกันตรงที่ สามารถแพร่ระบาดเข้าไปในระบบบริหารราชการแผ่นดินได้อย่างรวดเร็วและมีอิทธิพลสูง  ก็ต้องฉีดวัคซีนด้วยการรีบวางรากฐานการศึกษาให้ประชาชนมีการศึกษาที่ดีมากขึ้น โดยเร็ว  ถึงแม้การฉีดวัคซีนดังกล่าวอาจจะเห็นผลช้า แต่ดีกว่าที่จะปล่อยให้บ้านเมืองเป็นเช่นนี้ตลอดไป การกำหนดคุณสมบัตินักการเมืองควรทบทวน เรื่องทุนทางจริยธรรม ทุนมนุษย์ ทุนปัญญา และที่สำคัญ คือ ทุนความยั่งยืน ให้มาก คนที่มีทุนความยั่งยืนมากพอแล้ว จะไม่โกงกิน ไม่บ้าอำนาจ

 

  พระองค์ท่านทรงเน้นการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยออกพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 24 สิงหาคม 2549 ซึ่งทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ชุดนี้ ไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มกัน

เรื่องนี้ เป็นสิ่งที่น่าปิติยินดีและน่าศึกษาเจริญรอยตามฝ่าพระบาท เป็นอย่างมาก พระองค์ท่านทรงเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำ การตัดสินใจในฐานะผู้นำนี้แฝงไปด้วยทุนทางความรู้/ทักษะ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน  รอบคอบเป็นอย่างยิ่ง  ไม่ตกเป็นเครื่องมือของใคร ผู้นำในบ้านเมือง  นักเรียน นักศึกษา ควรเรียนรู้เจริญรอยตามพระองค์ท่านในเรื่องนี้ 

   หากไม่มีพระองค์ท่าน การแก้ปัญหาของชาติประโยคนี้ ผมเชื่อว่า คนไทยทั้งชาติคิดเหมือนกับ ศ.ดร.จีระ  ในหลวงของเรา มีพระบารมีล้นพ้น เป็นที่รักและศรัทธาของปวงชนชาวไทย ท่านนายกรัฐมนตรี ควรเรียนแบบพระองค์ท่านในเรื่องการบริหารทุนทางความรัก ความศรัทธา รู้จักบริหารจัดการอำนาจ คือรู้จักสร้าง รู้จักใช้ และรู้จักรักษาอำนาจ โดยยึดทศพิศราชธรรมเป็นที่มั่น ซึ่งโดยตำแหน่งแล้ว ท่านนายกฯทำได้ง่ายกว่าคนทั่วไป  คนใกล้ชิดท่านนายกฯ น่าจะแนะนำท่านเรื่องนี้ ด้วย ที่กล่าวมานี้ ด้วยความเป็นห่วงท่านนายกฯ 
  
ผมสอนปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พยายามให้นักเรียนที่เรียน Food science มองให้กว้าง ข้ามศาสตร์ มองประเทศของตัวเองอย่างหวงแหน และมองปัญหาของประเทศให้ทะลุการสอนของ ศ.ดร.จีระ เป็นเช่นนั้นจริง ไม่ใช่แค่สอน ป.โท แม้แต่ ป.เอก และการสอนให้กับองค์กรทั่ว ๆ ไป ศ.ดร.จีระ ก็สร้างบรรยากาศแบบนี้ คือเน้นให้มองปัญหาบ้านเมือง ปัญหาองค์กร จากภาพกว้าง มาสู่ภาพลึก  จะทำให้เข้าใจเห็นสภาพปัญหาที่แท้จริงในบ้างเมือง ในองค์กร โดยใช้องค์ความรู้ข้ามศาสตร์ เช่น การสอนเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ศ.ดร.จีระ จะให้ความรู้หลากหลาย มาบูรณาการให้การสอนเข้มข้น มีสาระ  ที่สำคัญคือลูกศิษย์ ต้องตามท่านให้ทัน ต้องเรียนแบบคนมีบุญเรียนคือ สนใจ+ใส่ใจ+เอาใจใส่ และต้องหมั่นทบทวนสิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ได้สอนไป  ที่สำคัญ คือ ศ.ดร.จีระ พยายามจะเปลี่ยนิสัยนักเรียน นักศึกษาไทย ให้ตรงต่อเวลา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นคนรักการอ่าน คิดวิเคราะห์และใช้ IT ให้มากขึ้น ซึ่งเป็นประโยขน์ต่อการเรียนรู้ชีวิตในโลกปัจจุบันและอนาคต
การเมืองต้องสะท้อนความจริง กว่าจะเข้ามาเป็นรัฐบาลได้ ต้องใช้เงินทอง ใช้อำนาจ จะทำอย่างไรให้การเมืองไม่ต้องใช้เงินมากนัก และให้ราชการ ทหาร ตำรวจ ปลอดการเมือง เป็นโจทย์ที่ทุกคนต้องคิดต่อไปการเมือง ทุกประเทศต้องใช้เงิน แต่บ้านเราใช้เงินมาก ๆ ในเรื่องการเมือง ตั้งแต่กระบวนการแรกของการที่จะเข้ามาเป็นนักการเมือง ก็ต้องใช้เงิน  พอเข้ามาเป็นนักการเมือง ก็ต้องใช้เงินดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ใช้เงินเพื่อรักษาตำแหน่งหน้าที่ ใช้เงินเพื่อให้หลาย ๆ อย่างออกมาดี ใช้เงินเพื่อให้มีโอกาสได้กลับมาเป็นนักการเมืองอีกต่อไป พอมีการเลือกตั้งการเงินในประเทศสะพัดมาก การเมืองบ้านเรายังคงเป็นเช่นนี้อีกต่อไป ตราบใดที่ประชาชนคนส่วนใหญ่ ยังมีการศึกษาน้อย ยากจน และไม่มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม เพียงพอ  นักการเมืองที่ทำงานเพื่อชาติจึงควรจริงจังกับการเสริมสร้างประชาธิปไตย ด้วยการเร่งพัฒนาการศึกษาทุกระดับในประเทศให้ดียิ่งขึ้น  
ผมเป็นคนไทยที่รักชาติ ก็ต้องใช้จังหวะให้เหมาะสม การเมืองต้องมองไปข้างหน้า และให้ยั่งยืน เรื่องความรักชาติ ของ ศ.ดร.จีระ มีมากมาย ผมสังเกตจากการที่ได้มีโอกาสเรียนกับท่านในห้องเรียน ป.เอก และการได้มีโอกาสได้ฟัง ท่านสอน นักศึกษา ป.โท ที่ลาดกระบัง  ท่านพูดและสอนให้ คนรักชาติมากยิ่งขึ้นอยู่เสมอ  ทำหน้าที่เป็นครูและยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนแผ่นดิน ประชาสัมพันธ์ให้คนรักชาติ โดยไม่ได้หวังผลตอบแทนที่เป็นเม็ดเงินใด ๆ นี่เรียกว่า ทำไปด้วย อุดมการณ์รักชาติ น่ายกย่องสรรเสริญท่าน  เป็นอย่างมาก  
ประชาธิปไตยจะต้องพัฒนาตลอดเวลา ความจริงการพัฒนาจิตวิญญาณประชาธิปไตย คือการพัฒนาสังคมการเรียนรู้ พัฒนาจิตใจ และพัฒนาวิธีการคิด ผมคิดว่าทฤษฎี 4L's ของผมน่าจะใช้ได้กับการพัฒนาประชาธิปไตย ให้เกียรติชาวบ้าน (Respect) รับฟังความคิดเห็นอย่างจริงใจว่า ประชาธิปไตยจะต้องรักษาอย่างไร ถ้าได้คนที่สร้างสังคมการเรียนรู้อย่างแท้จริงเข้าไปบ้าง ก็คงจะดีประชาธิปไตย เหมือนต้นไม้ใหญ่ เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ในการบริหารประเทศชาติ ประชาธิปไตย ในอังกฤษ ในอเมริกา เติบโตมานาน เป็นต้นไม้ใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขา มีเมล็ดพันธ์ปลิวไปทั่วโลก  ประชาธิปไตยในประเทศไทย เป็นผลพวงจากความเจริญเติบโตทางด้านประชาธิปไตยของอังกฤษ อเมริกา  ประชาธิปไตยในบ้านเราเป็นต้นไม้ที่กำลังเติบโต  แต่ที่น่าห่วงก็คือ ที่รากเหง้าของต้นไม้แห่งประชาธิปไตย คือความรู้ การศึกษา ฐานะของประชาชนส่วนใหญ่นั้น ยังไม่แข็งแรงพอ ที่จะให้ต้นไม้แห่งประชาธิปไตยในประเทศไทย เติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแรงได้  การหันมาพัฒนาและให้เกียรติชาวบ้านอย่างที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวจึงเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยในบ้านเรา ให้แข็งแรง โตวัย ครับ   
"จีระ พี่อุทัยอยากให้เน้นเรื่อง การตรงต่อเวลาของคนไทย ผมจึงขอรับหน้าที่ช่วยกระตุ้นให้คนไทย มองเรื่องเวลาให้มากขึ้น ผมคิดว่าการตรงต่อเวลา คงไม่ใช่คำสั่ง เหมือนสั่งให้อ่านหนังสือ ไปบอกไม่ได้ว่า คุณต้องตรงต่อเวลา ผมคงจะเน้นวัฒนธรรมการรักษาเวลา เพราะเป็นแนวคิดที่ดี  ผมเอง เมื่อตอนหนุ่ม ก็ไม่ตรงต่อเวลานัก แต่พออายุมากขึ้น ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ จึงขอฝากให้พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ สื่อมวลชน เน้นเรื่องนี้ให้มาก และจะมีการจัดรายการโทรทัศน์กับพี่อุทัยในเรื่องนี้ด้วยครับ ผมเพิ่งทราบว่า ศ.ดร.จีระ เป็นรุ่นน้อง ท่านอุทัย พิมพ์ใจชน ที่เทพศิรินทร์  ผมไม่มีโอกาสรู้จักกับคุณอุทัย เป็นการส่วนตัว แต่รู้จักท่านจากการทำงาน จากสื่อต่าง ๆ ดูท่านเป็นคนมีอุดมการณ์ รักชาติ มุ่งมั่นพัฒนาการเมือง ศ.ดร.จีระ มีทุนทางสังคม มาก และแน่น  น่าศึกษาเอาอย่าง  การพัฒนาชาติ จำเป็นต้องมีทุนทางสังคมนี้ สิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษา  ส่วน เรื่องการตรงต่อเวลาของคนไทย นี้ก็สำคัญ คนไทยเรา ทำอะไรตามใจคือไทยแท้ น่าจะแก้ไขเป็นทำอะไรตรงเวลาคือคนไทย คงต้องเริ่มแก้กันตั้งแต่ผุ้เป็นพ่อ แม่ ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ในเรื่องนี้ ครูต้องเน้น ต้องสอน ต้องส่งเสริม  เมื่อเด็กนักเรียน ออกมาสู่สังคม สังคมก็ต้องเอื้อให้เด็กได้เห็นได้ทำอะไรที่ตรงเวลา เช่น รถเมลล์ รถไฟ ก็ต้องตรงเวลา ตามกันไป การปลูกฝังเรื่องการตรงต่อเวลาในคนไทย พวกเราคงต้องช่วยกันทุกฝ่าย   เพราะเป็นงานใหญ่ที่ต้องยกเครื่องทุนทางความรู้ ทุนทางจริยธรรม ทุนทางปัญญาให้แก่คนไทยทุกระดับกันใหม่ การเปลี่ยนนิสัยคน ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ผมได้ตรงนี้จาก ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างมาก ท่านจะมาสอนตรงเวลา ใครเป็นลูกศิษย์อาจารย์จีระ แล้วมาสาย จะร้อน ๆ หนาว ๆ เป็นแน่ เรื่องนี้ น.ศ. ป.โท และ ป.เอก ที่ท่านสอน ทราบเป็นอย่างดี   

ท่านผู้อ่านที่สนใจติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ท่านสามารถติดตามได้จากรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์ บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ   

 

ขอโชคดีจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

    
สวัสดีครับ  
ยม   
น.ศ.ปริญญาเอก  
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์  

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (กทม.2)

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ปฏิวัติการวัดค่าทรัพย์สิน (WEALTH)"
ปฏิวัติการวัดค่าทรัพย์สิน (WEALTH)[1] การจะทำอะไรสักอย่างต้องเกิดจากความชอบ ความสนุก อยากทำและท้าทาย การเขียน บทความของผมก็เช่นกัน ระยะแรกก็ไม่นึกว่า จะมีคนอ่าน และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะผมมักจะ พูดเรื่องที่กว้างไปสู่แคบ ที่ไม่ใช่กระแสหลักแบบการเมืองหรือธุรกิจ เพราะอยากเห็นคนไทยสนใจเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์
ผมได้พบกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น คุณเจตน์ ธนวัฒน์ เมื่อวันพุธที่ 2 สิงหาคม ในการ ประชุมที่สภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ท่านบอกผมว่า ได้อ่านบทความ รู้สึกว่ามีค่าและมีประโยชน์ เพราะ พูดความจริงและตรงประเด็น
ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ นายกเทศมนตรี ที่สนใจเรื่องระยะยาว ชอบสังคมการเรียนรู้ แบบสด ทันสมัย ข้ามศาสตร์ มีเหตุมีผล และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ผมก็มีกำลังใจที่จะทำและเขียนต่อ ผมรู้สึกมีความสุขมาก นับเป็นโชคดี ที่ท่านผู้ว่าฯเจตน์ จะไปรับตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครองคนต่อไป คง จะสร้างการเรียนรู้ในหมู่นักปกครองมากขึ้น
เมื่อดูทฤษฎี 3 วงกลม ที่ผมคิด ผม highly motivated มีแรงกระตุ้น แรงผลัก แรงดึง เพื่อไปสู่ ความเป็นเลิศ
หากพูดถึงเรื่อง motivation คนไทยมักจะมองแคบ คือ มองถึงอำนาจ เงินทอง เพชร นาฬิกา รถ แพงๆ คอนโดมิเนียม เป็นต้น เท่านั้น ไม่นึกถึงสิ่งที่วัดไม่ได้ เช่น ความสุข ความมีสมาธิ การแบ่งปัน การ มองส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว หรือสำหรับผม ให้คนอ่าน คิดเป็น วิเคราะห์เป็น
ดังนั้น สิ่งที่เขียนมาทั้งหมด คือ ผมพยายามทำ แลกเปลี่ยน แบ่งปัน หากใครสนใจก็เป็นแนวร่วม ได้ ยิ่งแนวร่วมขยายวง ประเทศก็จะเจริญขึ้นแน่นอน
มีลูกศิษย์ถาม อาจารย์ป๋วยว่า "ทำอะไรมากมาย ซึ่งเน้นทำความดีและเสียสละเพื่อส่วนรวม ทำไป เพื่ออะไร" ท่านตอบว่า "ในประเทศไทย ถ้าคนดีไม่ทำอะไร คนชั่วก็ต้องชนะ เพราะคนชั่วมีมากกว่าคนดี "
ผมมีความเห็นต่อว่า คนดีมักจะเก็บตัวเงียบ อาย ไม่มีแนวร่วม ขาด social capital อยู่อย่างสงบ แต่คนไม่ดีจะบ้าอำนาจ ใช้อำนาจเหนือทุกอย่างที่ตนเองมีพลัง
บทความผมอยู่ใน website ของแนวหน้า www.naewna.com ทุกวันเสาร์ โดย click ไปที่ " บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ "
ผมสังเกตว่า ยิ่งนานวัน บทความของผม ยิ่งมีคน click ไปมากขึ้นทุกสัปดาห์
อีกประการหนึ่ง ผมสอนหนังสือเกือบจะทุกอาทิตย์ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งให้ นักเรียนอ่านบทความ โดยให้วิเคราะห์ว่า
-
ผมเขียนโดยใช้ style อะไร
-
ได้อะไรที่โป๊ะเชะบ้าง
-
สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไรและปรับใช้กับตัวเองอย่างไร
เช่นสัปดาห์ที่แล้ว เรื่องตรงต่อเวลา สอนให้ผมดำเนินชีวิตอย่างมีวินัย พยายามไม่ผิดเวลา โดยเฉพาะยิ่งเราเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ต้องขอขอบคุณพี่อุทัย พิมพ์ใจชน มากที่แนะนำสิ่ง ดีๆ
สัปดาห์นี้มีกิจกรรมเรื่อง เทพศิรินทร์ ซึ่งคิดว่ามีประโยชน์ต่อกลุ่มอื่นด้วย จึงขอแบ่งปันให้อ่าน
เรื่องแรกคือ วันที่ 1 สิงหาคม คณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชุดใหม่ เข้าไปเยี่ยมคำนับและรายงานผลให้องคมนตรี พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ของ เรา การได้ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ที่เมตตาต่อโรงเรียน นักเรียนเก่า และนักเรียนปัจจุบัน รวมทั้งคณาจารย์ด้วย เป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์ พี่กำธนของเรา ได้เน้นว่า เด็กเทพศิรินทร์ต้องเก่งและดี ทั้งกีฬาและวิชาการ ต้อง เป็นคนมีมารยาท มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และเน้นว่าเทพศิรินทร์มี 7 แห่ง ไม่ใช่มีแห่งเดียวเหมือนเดิม แต่เทพศิริ นทร์ 7 แห่งเป็นหนึ่งเดียว คือ สถานที่อาจจะแยกกันอยู่ แต่จิตวิญญาณมีเทพศิรินทร์หนึ่งเดียว
ในวันรุ่งขึ้น ผมและคณะไปเยี่ยมโรงเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่น ซึ่งนักเรียนเก่าท่านหนึ่ง คือ คุณ อดิศร เพียงเกษ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น ผลักดันให้เทพศิรินทร์มีสาขาที่ภาคอีสาน ด้วย
ผมภูมิใจมาก เพราะผมมาขอนแก่นบ่อย แม้เมื่อยังไม่ได้เป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ผมได้มา 2 ครั้งแล้ว ครั้งนี้ได้พบนักเรียนกว่า 600 คน และคณาจารย์ด้วย ผมได้ให้กำลังใจว่า อะไรที่ผม และสมาคมช่วยได้ จะทำอย่างสุดความสามารถ เพราะการศึกษาของนักเรียนต่างจังหวัดเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นการยกฐานะของโรงเรียนต่างจังหวัดให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ
เด็กเทพศิรินทร์ขอนแก่น มีความภาคภูมิใจมาก ที่มีส่วนเป็นเทพศิรินทร์ ได้ศึกษาประวัติความ เป็นมาของเทพศิรินทร์ ผมได้มอบทุนก้อนหนึ่งให้เด็กที่ชนะการประกวดเรียงความเรื่อง "ขอนแก่นกับโลกา ภิวัตน์" ปรากฏว่า เด็กเทพศิรินทร์ขอนแก่นสามารถเขียนเรียงความได้ดี
ในอนาคต จะพยายามส่งครูเทพศิรินทร์ทั้ง 7 แห่ง ไปฝึกอบรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ มาก ขึ้น ในโครงการ "Super Teacher" ให้ต่อเนื่อง
ผมภูมิใจในบรรยากาศการเรียนรู้แบบ 4 L's ระหว่างผมกับนักเรียนเทพศิรินทร์ขอนแก่น 600 คน
สุดท้าย ผมขอหยิบยกหนังสือเล่มล่าสุดของ Alvin Toffler เรื่อง "Revolutionary Wealth" มาเล่า สู่กันฟัง เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ดร.อำนวย วีรวรรณ ได้เชิญ Toffler มาพูดที่ประเทศไทย ผมได้ใกล้ชิดและ สัมภาษณ์เขา
Toffler
เป็นนักทำนายอนาคต Futurist เป็นที่ยอมรับที่สุดของโลกในปัจจุบัน หนังสือเล่มที่ดังมาก ที่สุดคือ "The Third Wave" มอง
เกษตร-----------อุตสาหกรรม-----------เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
แต่มาวันนี้ เขาบอกว่า นอกจาก IT แล้ว จะมีความรู้เป็นคลื่นลูกที่ 4 และความรู้เป็นทรัพย์สินที่ สำคัญที่มองไม่เห็น ( Intangibles ) ทรัพย์สินไม่ใช่เฉพาะ ที่ดิน เงิน หรือวัตถุ แต่ทรัพย์สินในอนาคตเป็นสิ่ง ที่มองไม่เห็น ( Intangibles ) เช่น
- Happiness

- Blog

-
การสร้างสังคมการเรียนรู้
-
การเสียสละให้แก่ส่วนรวม
-
การอ่านหนังสือ
-
การใช้เวลากับลูก
-
การสอนหนังสือ
-
การมีสุขภาพทางกายและใจที่สมบูรณ์
-
การนั่งสมาธิ ทำใจให้สงบ
-
การทำงานอาสาสมัครให้ส่วนรวม
ซึ่งตรงกับทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ของผมในบางส่วน
เพราะผมได้ wealth จากการที่ใช้ชีวิตโดยแสวงหาความรู้อย่างไม่หยุดยั้ง และมีความสุขที่ได้ แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ แต่ความรู้และความสุขไม่ได้มาฟรีๆ ต้องเปลี่ยนทุนมนุษย์มาเป็นทุนทาง ปัญญา คือต้องคิดเป็น ทำเป็น ทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีก 2 ทุนคือ ทุนทางจริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืน ซึ่ง 2 Kนี้วัดไม่ได้ คนไทยจึงไม่เข้าใจ
แต่ผมและ Alvin Toffler เข้าใจครับ  จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]

โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ปฏิวัติการวัดค่าทรัพย์สิน (WEALTH)"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / และท่านผู้อ่านทุกท่าน  

  เช้าวันนี้วันที่ 5 สิงหาคม  2549 หลายท่านคงดีใจ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ทรงปลอดภัยและเสด็จกลับไปพักรักษาพระองค์ที่พระราชวังสวนจิตฯ ได้แล้ว  วันนี้ ผมศึกษาบทความจาก น.ส.พ.แนวหน้า จาก http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 ศึกษาบทความ ของ ศ.ดร.จีระ บทเรียนจากความจริง ปฏิวัติการวัดค่าทรัพย์สิน (WEALTH)และคัดมาบางประโยคจากบทความที่ ศ.ดร.จีระ เขียนไว้ (สีนำเงิน) ส่วนที่ผมมีความเห็นเพิ่มเติม ผมเขียนไว้ทำเป็นสีดำ เพื่อแชร์ความคิด ที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน นักศึกษาที่สนใจ  รายละเอียดมีดังนี้        การจะทำอะไรสักอย่างต้องเกิดจากความชอบ ความสนุก อยากทำและท้าทายเรื่องนี้ ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง กับ ศ.ดร.จีระ ที่ว่า คนเราจะทำอะไรสักอย่างต้องเกิดจากความชอบ ความสนุก อยากทำและท้าทาย  ผมขอเสริมตรงนี้ อยากจะฝากครู อาจารย์ในบ้านเมืองเรา ให้เข้าใจ และเห็นความสำคัญของสิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวในประโยคนี้  เพื่อนำไปใช้กระตุ้นให้เด็กนักเรียน เกิดความชอบ สนุก และอยากเรียนรู้ และท้าทายที่จะทำและคิดสิ่งใหม่ ๆ ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ได้ เช่น การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  ตามโรงเรียน สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ควรให้ความสำคัญในเรื่องการกระตุ้นเด็กนักเรียน ให้เกิดความชอบ ในการเรียนภาษาอังกฤษ สนุกที่จะเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ และอยากเรียนต่อ ไม่ใช่บังคับให้ท่องศัพท์ ท่องจำ เป็นต้น   การจะทำอะไรสักอย่างต้องเกิดจากความชอบ ความสนุก อยากทำและท้าทาย ที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้นี้  ยังสอดคล้องกับแนวพุทธศาสตร์ กล่าวคือพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า ธรรมแห่งความสำเร็จ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา  รวมกันเรียกว่า อิทธิบาท 4  เป็นรากฐานแห่งความสำเร็จ เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น 4 คือ 1.      ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น 2.      วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น 3.      จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น 4.      วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น ตรงนี้ อยากจะจุดประกายให้นักศึกษา ลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระ และลูกศิษย์ของผมได้ยึดเป็นหลักแห่งความสำเร็จ ในการเรียน และการดำเนินชีวิตทั้งปัจจุบันและอนาคต  บทความ รู้สึกว่ามีค่าและมีประโยชน์ เพราะ พูดความจริงและตรงประเด็น

บทความของ ศ.ดร.จีระ ถ้าอ่านแล้วคิดวิเคราะห์ต่อยอดจะเกิดประโยชน์กับตนเองและสังคม  เพราะ ศ.ดร.จีระ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ทันสมัย มีความรู้ใหม่ สด และยังเป็นผู้มีอุดมการณ์ คล้ายกับ ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ คือ มีความเป็นชาตินิยมสูงมาก คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมของ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นที่ตั้ง ด้วยความเป็นคนเช่น การคิด การเขียน การกระทำ การพูดก็ตาม ล้วนมีสาระ จริง ตรงประเด็นและเกิดประโยชน์ (อย่าไปคิดแค่พูดเพราะ หรือไม่เพราะ) ลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระ ที่ฟังแล้วคิดวิเคราะห์ ต่อยอดเป็นคือ ฟังและเรียนรู้อย่างผู้มีบุญ คือ ฟังอย่างสนใจ ใส่ใจและเอาใจใส่ ก็จะเกิดปัญญา ลูกศิษย์บางคนเริ่มแรกอาจจะตามอาจารย์ไม่ทัน อาจจะเกิดอาการมึนบ้าง แต่ถ้าตามติด อ่านต่อ จะเริ่มเห็นสัจจะธรรม คุณประโยชน์ ในบทความนั้น   “motivation คนไทยมักจะมองแคบ คือ มองถึงอำนาจ เงินทอง เพชร นาฬิกา รถ แพงๆ คอนโดมิเนียม เป็นต้น เท่านั้น ไม่นึกถึงสิ่งที่วัดไม่ได้ เช่น ความสุข ความมีสมาธิ การแบ่งปัน การ มองส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว หรือสำหรับผม ให้คนอ่าน คิดเป็น วิเคราะห์เป็น

เรื่อง Motivation เป็นเสมือนเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ถ้าใช้โดยปราศจากความรู้ ความเข้าใจ จะไม่เกิดประโยชน์กลับจะมีโทษตามมา

 การ Motivation ยังเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง ใช้และรักษาอำนาจ กล่าวคือเป็นการสร้างอำนาจได้ด้วยการให้  Motivation เป็นการให้อย่างหนึ่งที่ผู้บริหาร ผู้นำ มักใช้กันทั้งภาครัฐและเอกชน   ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบ อย่างที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้ ว่า Motivation ไม่ใช่แค่เรื่องการให้ทางวัตถุ เงินทอง ครับ แต่หลายองค์กรนำไปใช้ ด้วยการให้แก้ว แหวน เงินทอง ของใช้ต่าง โดยปราศจากความรู้และเทคนิคของการให้  การให้ดังกล่าว สมาชิกในองค์กรจะรู้สึกว่า การให้ให้แก้ว แหวน เงินทอง ของใช้ต่างดังกล่าว ถ้าเป็นการให้ครั้งแรก ผุ้ได้รับจะรู้สึกชื่นชมผู้ให้  ครั้งที่สองผู้ได้รับ จะรู้สึกขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง พอครั้งที่สาม จะขอบคุณผู้ให้และเริ่มคาดหวังว่าจะได้อีกมากขึ้นในคราวต่อไป พอถึงเวลาที่ควรจะให้ครั้งที่สี่ แล้วไม่ได้หรือได้น้อยกว่าที่เคยได้ ก็จะเกิดปัญหา ความผิดหวังเกิดขึ้น ทำให้เกิดปัญหาแรงงานสัมพันธ์ในองค์กรมากมาย เป็นมูลเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสหภาพแรงงานในองค์กรได้ และมีปัญหาตามมาอีกมากมาย  แนวทางในการแก้ไขและป้องกัน ผมแนะนำว่า การให้แก้ว แหวน เงินทองเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าให้โดยปราศจากเหตุผลของการให้   และควรให้ความรู้ ควบคู่จริยธรรม หลักศาสนา ไปให้มากกว่า ทรัพย์สินที่ให้  พระพุทธเจ้า ได้ให้หลักการให้  Motivation ไว้ว่า การให้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการให้ความรู้ ให้โอกาส ให้อภัย ให้ธรรมตามกาล   อาจารย์ป๋วยว่า "ทำอะไรมากมาย ซึ่งเน้นทำความดีและเสียสละเพื่อส่วนรวม ทำไป เพื่ออะไร" ท่านตอบว่า "ในประเทศไทย ถ้าคนดีไม่ทำอะไร คนชั่วก็ต้องชนะ เพราะคนชั่วมีมากกว่าคนดี "

คนดีมักจะเก็บตัวเงียบ อาย ไม่มีแนวร่วม ขาด social capital อยู่อย่างสงบ แต่คนไม่ดีจะบ้าอำนาจ ใช้อำนาจเหนือทุกอย่างที่ตนเองมีพลัง

 

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาคงไม่ถามกันใช่ไหมครับอาจารย์ เพราะคนส่วนใหญ่ในประเทศเหล่านั้น ล้วนมีหน้าที่ต้องทำความดี เสียสละเพื่อส่วนรวม เช่นประเทศญี่ปุ่นเป็นต้น  

 ในประเทศของเรา กำลังพัฒนา  ศ.ดร.ติน ปรัชพฤกษ์ ท่านเคยสอนไว้ว่า การพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดการเจ็บปวด คนเป็นผู้นำ คนเป็นนักพัฒนาต้องพร้อมรับและกล้าเผชิญกับความเจ็บปวดเหล่านี้ จึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง  ขอให้คนดีทั้งหลายอย่าได้ท้อใจ เพราะท่านกำลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาครับ ถ้าคนดีไม่ทำ แล้วใครจะทำ พอไม่มีใครทำความดี คนชั่วก็จะได้ใจ และเป็นใหญ่ในสังคม จะทำให้เกิดปัญหาความไม่สงบสุข ความไม่เจริญเกิดขึ้นในบ้านเมืองได้ ผมเชื่อมั่นว่า คงมีหลายคนถามประโยคนี้กับ ศ.ดร.จีระ ด้วยเช่นกัน เพราะอาจารย์ ทำงานอุทิศตนเหมือนเป็นนายกรัฐมนตรีผู้รักชาติ ทำงานพัฒนาคน พัฒนาชาติ โดยไม่ยึดมั่นในตำแหน่ง ไม่ต้องรอให้มีตำแหน่งแล้วจึงจะทำ  ผมหวังว่าสังคมประเทศชาติของเราจะพัฒนาขึ้นโดยเร็วและให้ผู้นำประเทศหันมาให้ความสำคัญกับบุคคลผู้ทรงคุณค่า บุคคลของแผ่นดิน เช่นนี้ ด้วยการให้การสนับสนุนทุกรูปแบบ 
บทความผมอยู่ใน website ของแนวหน้า www.naewna.com ทุกวันเสาร์ โดย click ไปที่ " บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ "

นอกจากที่อาจารย์กล่าวไว้  บทความดังกล่าวของ ศ.ดร.จีระ ยังมีอยู่ใน http://gotoknow.org/blog/chirakm ด้วย ครับ

  

ผมสอนหนังสือเกือบจะทุกอาทิตย์ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งให้ นักเรียนอ่านบทความ โดยให้วิเคราะห์ว่า
-
ผมเขียนโดยใช้ style อะไร
-
ได้อะไรที่โป๊ะเชะบ้าง
-
สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างไรและปรับใช้กับตัวเองอย่างไร

 ผมเป็นลูกศิษย์ในโครงการปริญญาเอก คนหนึ่ง ที่ ศ.ดร.จีระ เป็นผู้สอน  และส่วนหนึ่งที่ผมได้จาก ศ.ดร.จีระ คือ ได้นิสัยแห่งการเรียนรู้ การคิด การเขียน โดยเฉพาะการเขียนผ่าน Blog มากขึ้น จากการสอนของ ศ.ดร.จีระ ที่ต้องการเปลี่ยน และสร้างนิสัย ที่ดีให้กับลูกศิษย์  การเขียน Blog นี้ได้ประโยชน์มาก ผมต้องอ่าน คิด วิเคราะห์ และต่อยอดให้ได้ และผมจะฝึกต่อว่าต้องให้ได้ในเวลาที่ต้องให้รวดเร็ว การเขียน Blog นี้ จะปรากฏต่อสาธารณะชน  จึงต้องคิดไตร่ตรอง เขียนให้ดี ได้นิสัยระมัดระวังในการเขียนด้วย คือต้องเป็นกลาง มีสาระ เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน เป็นต้น ขอบคุณอาจารย์ที่เพิ่มทุนเรื่องนี้ให้ผม    คณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ชุดใหม่ เข้าไปเยี่ยมคำนับและรายงานผลให้องคมนตรี พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ของ เรา การได้ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ที่เมตตาต่อโรงเรียน นักเรียนเก่า และนักเรียนปัจจุบัน รวมทั้งคณาจารย์ด้วย เป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์ พี่กำธนของเรา ได้เน้นว่า เด็กเทพศิรินทร์ต้องเก่งและดี ทั้งกีฬาและวิชาการ ต้อง เป็นคนมีมารยาท มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี 

ผมเพิ่งทราบว่า ที่เทพศิรินทร์ มีท่านองค์คมนตรี พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพ ศรัทธาอย่างยิ่งเป็นศิษย์เก่าด้วย  เทพศิรินทร์สร้างคนที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม ประเทศชาติเป็นอย่างมากไว้หลายท่าน น่าภูมิใจแทนคนไทยทั้งชาติ 

 

ศ.ดร.จีระ ยังมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ โรงเรียนเทพศิรินทร์ ทั่วทุกแห่งมีคุณภาพเท่าเทียมกัน คือสร้างเด็กนักเรียนที่เทพศิรินทร์ให้เป็นคนเก่งและดี ทั้งกีฬาและวิชาการ ต้องเป็นคนีมารยาท มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี  ผู้ปกครองนักเรียนถ้าได้เห็นได้ยินเช่นนี้ คงจะสบายใจ  เพราะจากบทความของ ศ.ดร.จีระ แสดงให้เห็นว่า โรงเรียนเทพศิรินทร์แสดงมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม และมีการปฎิบัติอย่างจริงจัง เช่นนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี

 โรงเรียนหลาย ๆ แห่ง โดยเฉพาะนโยบายของรัฐ ในการบริหารด้านการศึกษา และพัฒนาเด็กนักเรียน น่าจะมาศึกษานโยบายในการบริหารโรงเรียนเทพศิรินทร์ แล้วนำไปเป็นหนึ่งในยุทธ์ศาสตร์บริหารโรงเรียน สร้างคนเพื่อสร้างชาติ ต่อไป  

การศึกษาของนักเรียนต่างจังหวัดเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นการยกฐานะของโรงเรียนต่างจังหวัดให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ

 เรื่องการบริหารการศึกษา ในต่างจังหวัด น่าเป็นห่วงครับ ผมดีใจที่ ศ.ดร.จีระ มีความคิดที่จะยกฐานะของโรงเรียนต่างจังหวัดให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งน่าจะเป็นงานสำคัญของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ มาช่วยสนับสนุนความคิดของอาจารย์ให้เป็นจริงโดยเร็ว  ท่านนายกฯทักษิณ น่าจะบริจาคเงินสร้างโรงเรียน ตัวอย่างทั่วทุกภาค เป็นโรงเรียนแห่งอนาคต เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพทั้งคุณภาพครู อาจารย์ คุณภาพสถานศึกษา สภาพแวดล้อม เพื่อที่จะเอื้ออำนวยในการสร้างคนที่มีคุณภาพให้ชาติ เพื่อวางรากฐานความเข้มแข็งทางทุนมนุษย์ของชาติในอนาคต    ”Toffler เป็นนักทำนายอนาคต Futurist เป็นที่ยอมรับที่สุดของโลกในปัจจุบัน หนังสือเล่มที่ดังมาก ที่สุดคือ "The Third Wave" มอง
เกษตร-----------อุตสาหกรรม-----------เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
แต่มาวันนี้ เขาบอกว่า นอกจาก IT แล้ว จะมีความรู้เป็นคลื่นลูกที่ 4 และความรู้เป็นทรัพย์สินที่ สำคัญที่มองไม่เห็น ( Intangibles ) ทรัพย์สินไม่ใช่เฉพาะ ที่ดิน เงิน หรือวัตถุ แต่ทรัพย์สินในอนาคตเป็นสิ่ง ที่มองไม่เห็น ( Intangibles )-                     Happiness
- Blog
-
การสร้างสังคมการเรียนรู้
-
การเสียสละให้แก่ส่วนรวม
-
การอ่านหนังสือ
-
การใช้เวลากับลูก
-
การสอนหนังสือ
-
การมีสุขภาพทางกายและใจที่สมบูรณ์
-
การนั่งสมาธิ ทำใจให้สงบ
-
การทำงานอาสาสมัครให้ส่วนรวม
ซึ่งตรงกับทฤษฎี 8 K's และ 5 K's ของผมในบางส่วน ใช้ชีวิตโดยแสวงหาความรู้อย่างไม่หยุดยั้ง และมีความสุขที่ได้ แลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ แต่ความรู้และความสุขไม่ได้มาฟรีๆ ต้องเปลี่ยนทุนมนุษย์มาเป็นทุนทาง ปัญญา คือต้องคิดเป็น ทำเป็น ทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีก 2 ทุนคือ ทุนทางจริยธรรม และทุนแห่งความยั่งยืน ซึ่ง 2 Kนี้วัดไม่ได้ คนไทยจึงไม่เข้าใจ

จากประโยคที่ ศ.ดร.จีระ เขียนไว้ ผมสรุปได้ว่า คลื่นลูกที่สี่ คือ ความรู้ เกษตร-------อุตสาหกรรม-------เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) --------ความรู้

ในอดีตประเทศใด องค์กรใด สังคมใด จะมีความเจริญมั่งคั่งหรือไม่ ดูที่การเกษตร ต่อมาดูที่การอุตสาหกรรม ต่อมาดูที่การเทคโนโลยีสารสนเทศ ในประเทศ ในองค์กร ในสังคมนั้น ๆ ตรงนี้ ในประเทศญี่ปุ่นเห็นชัดเจนมาก  ญี่ปุ่นพัฒนาตนเอง จากประเทศเกษตร เป็นประเทศอุตสาหกรรม และพัฒนามาทำเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รวดเร็วมาก

 

ในประเทศอินเดีย จากประเทศยากจน กำลังจะพลิกผันเป็นประเทศผู้นำด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ในประเทศจีน หลายท่านคงทราบดีว่า จีนมีครบหมด เกษตรอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และฐานความรู้ศาสตร์ต่าง ๆ ของจีนที่มีคุณค่าสะสมมานับพันปี ก็มีหลายศาสตร์

 

ในสังคม ในองค์กร ยุคปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องหันมาทบทวนเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ และเรื่องการจัดการด้านความรู้  ส่งเสริมให้คนในสังคม ในองค์กร เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ในยุคนี้ถ้าคนในองค์กร ในประเทศ มีทุนทางความรู้มากเท่าใด ยิ่งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทุกรูปแบบ ความรู้ที่คู่คุณธรรมจึงเป็นฐานของทุนมนุษย์   ทั้งภาครัฐและเอกชนควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากกว่ารถประจำตำแหน่ง วัตถุนิยมต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่ความยั่งยืนขององค์กร ของชาติ

  

ท่านผู้อ่านที่สนใจติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ท่านสามารถติดตามได้จากรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ   

  ขอโชคดีจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่าน    สวัสดีครับ  ยม    น.ศ.ปริญญาเอก   หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์   มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (กทม.2)
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์" เมื่อ
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

เช้าวันนี้ ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า  http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์   ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

 

สัปดาห์นี้ ผมมี 3 เรื่องมาแบ่งปันให้ได้รู้กัน
เรื่องแรกคือ ได้รับเชิญไปเป็นองค์ปาฐก ( keynote ) ของการประชุมนานาชาติ Science and Technology for Sustainable Development of the Greater Mekong Sub-region 

เรื่องที่สอง ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เป็นต้นไป เราจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11 เวลาประมาณ 10.30 น. วันละ 5 นาที สุดท้ายวันพุธที่ 16 สิงหาคม มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้จัด Learning forum เรื่อง Lesson study in Mathematics เป็นครั้งที่ 2 

สัปดาห์นี้ ศ.ดร.จีระ เขียนบทเรียนจากความจริง ท่านได้ทำสิ่งดีมีประโยชน์กับสังคมแล้วนำมาเขียนให้ศึกษาครั้งนี้ 3 เรื่อง เป็นสิ่งที่นักศึกษา ลูกศิษย์ ลูกหา ของอาจารย์ควรเอาอย่างอยู่สองประการ

ประการแรก  คือเรื่องการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม แบบข้ามศาสตร์  อาจารย์ทำงานที่เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวมประเทศชาติ มากกว่าเพื่อส่วนตน ตรงนี้น่ายกย่องสรรเสริญ และควรยึดถือเป็นตัวอย่างที่ดี  

ประการที่สองเรื่องการเขียน ศ.ดร.จีระ เขียนบรรยายสิ่งที่ปฏิบัติภารกิจในสัปดาห์ สรุปเป็นเรื่อง ๆ สามเรื่อง ให้ผู้สนใจได้อ่านหาสาระได้หลากหลาย   ที่สำคัญคือแนวทางในการเขียนสรุป ของท่าน ศ.ดร.จีระ ทำได้ดีไม่ติดขัด ถึงแม้เป็นสามเรื่อง แต่ก็ดูเหมือนเรื่องเดียวกัน โดยใช้วันเวลา เป็นตัวเรียงลำดับเรื่องราว คือวันที่ 15 16 และ วันที่ 18  อ่านได้เข้าใจง่าย เป็นหลักการเขียนเรื่องที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่าย ถ่ายทอดความคิดผ่านสื่อได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญคือการสอดแทรกข้อคิด ที่ชวนให้ศึกษาและเกิดปัญญาได้ดี 
มีนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัย จากกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงมากันมากมายกว่า 300 คน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน นอกจากนี้ ยังมีมาจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษด้วย  ในฐานะที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความรู้สึกว่าการประชุมเช่นนี้ทำให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีภาพลักษณ์ที่ดี มีชื่อเสียงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเรื่อง networking หรือการร่วมพันธมิตรทางวิชาการ การวิจัย การสร้างการทูตภาคประชาชน ( People to People Diplomacy : PPD)”
ศ.ดร.จีระ เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยหลายแห่ง ม.ขอนแก่นโชคดีที่มี ศ.ดร.จีระ ร่วมอยู่ในสภาฯ เพราะท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ สดเสมอ และเป็นผู้มีความเมตตา มีคุณธรรม จากประโยคนี้ ทำให้ทราบว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณาจารย์ที่นั่นทำงานใหญ่เพื่อชาติ  การที่มีนักวิชาการ นักวิจัย จากกล่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง และสหรัฐอเมริกา อังกฤษ มาร่วมกิจกรรมนี้ นอกจากจะเป็นการทำงานด้านวิชาการระดับชาติแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมด้านการทูต ด้วย ผมคิดว่าเนื้อหาสาระที่เสวนากันน่าจะเป็นเรื่องสำคัญระดับชาติและความร่วมมือต่อกัน คงไม่มาคุยกันเรื่องต้นไม้ข้างถนน หรือขยะในชุมชน 
 โดยพูดเรื่อง ทุนแห่งความยั่งยืนในทฤษฎี 8 K's มานาน ความยั่งยืนเป็นทุนเพราะการจะได้ความยั่งยืน ต้องเสียสละเพื่ออนาคต ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นตัวทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง นักการเมืองควรต้องรู้ 
เรื่องทุนแห่งความยั่งยืน ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ทุนแห่งความยั่งยืน เป็นสิ่งสำคัญ การบริหารกิจการบ้านเมืองก็ดี นโยบายสาธารณะต่าง ๆ ก็ดี นโยบายพรรคการเมืองต่าง ๆ ก็ดี ควรคิดถึงความยั่งยืนให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ผมได้เรียนรู้เรื่องทุนแห่งความยั่งยืน และการจะทำสิ่งใด ก็ตามขอให้คิดถึงความยั่งยืน จาก ศ.ดร.จีระ  ศ.ดร.บุญทัน ศ.ดร.ติน ศ.ดร.อุทัย อาจารย์แม่คุณหญิงเต็มศิริ และจากบทความต่าง ๆ ของ ศ.ดร.ป๋วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง  ประเทศเราผมคิดว่า ยังขาดทุนแห่งความยั่งยืนอยู่มาก รัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาควรจัดให้ครู อาจารย์ผู้สอนนักเรียนตั้งแต่ประถม มัธยม ให้มีองค์ความรู้ รู้จริงเกี่ยวกับทุนแห่งความยั่งยืน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  รวมทั้งทุนตามทฤษฎี 8K’s ของ ศ.ดร.จีระ เพื่อให้บรรดาครูทั้งหลายได้เข้าใจ เพื่อนำไปสอนนักเรียนได้อย่างถูกต้อง ไม่ใช่ไปสอนเด็กว่า เศรษฐกิจพอเพียงคือการจัดการพื้นที่น่าอย่างไร 
ผมจึงนำเอาความคิดของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ เรียกว่า 6 ปัจจัยของความยั่งยืน ( Chira 's 6 factors ) ซึ่งผมจะสรุปว่า
ปัจจัยแรกคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องเน้นให้ระยะสั้นสร้างความสมดุลย์ในระยะยาว 

ปัจจัยที่สองคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย

ปัจจัยที่ 3 คือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กัน

ปัจจัยที่ 4 คือต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้

ปัจจัยที่ 5 ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชนหรือประเทศ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย

สุดท้าย ต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง self - reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว
 

ตรงนี้ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ศ.ดร.จีระ ท่านสรุปไว้ได้ดี ทำให้เข้าใจถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้มากขึ้น เข้าใจถึงหลักแห่งความยั่งยืนมากขึ้น

 ปัจจัยแรก การพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องเริ่มที่การทำโครงการระยะสั้นให้ดี ทำอะไรอย่างคิดสั้นอย่างเดียว ต้องคิดให้ยาวด้วยว่าจะมีผลกระทบหรือไม่ 

ปัจจัยที่สอง การพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ  ที่มีอยู่ นอกจากไม่ทำลาย แล้วควรเป็นการทำเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ให้คงอยู่ไปถึงรุ่นลูก หลานในอนาคตด้วย ต้องคำนึงถึงตรงนี้ให้มาก ๆ มิฉะนั้นแล้วในอนาคตไทยอาจจะต้องซื้อข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน ขณะนี้เวียดนามเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวรายใหญ่รองจากไทยแล้ว  และถ้าเราไม่หันมาอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติกันให้ดี เวียดนามแซงหน้าไทยแน่นอน 
ปัจจัยที่สาม การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริธรรม  ควบคู่ไป ในความเข้าใจของผม สรุปสั้น ๆ ว่า คุณธรรม คือรู้ว่าอะไรควร ไม่ควร รู้ว่าปฏิบัติอย่างไรแล้วจะเกิดคุณประโยชน์ และเกิดความเป็นธรรม คือรู้  ส่วนจริยธรรม เป็นพฤติกรรมที่ควรต้องปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะตามหลักคุณธรรม และเป็นที่ยอมรับของสังคม  การพัฒนาอย่างยั่งยืน คนพัฒนาต้องมีตรงนี้  นักการเมืองที่กำหนดนโยบายพรรค รัฐมนตรีที่กำหนดนโยบายสาธารณะ ต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรม จึงจะเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราท่านตรงเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ 
ปัจจัยที่ 4 คือต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้ ตรงนี้ ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง การจะทำอะไรให้ยั่งยืน ต้องคิดแบบมีเหตุ มีผล มีที่มาที่ไป ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้ผ่านการศึกษา พิสูจน์ วิเคราะห์มาแล้ว ไม่ตัดสินใจด้วยอารมณ์และความคิดของตนเองเป็นหลัก สังคมใด องค์การใดมีผู้นำที่ตัดสินใจโดยเอาตนเองเป็นใหญ่ คงไปได้ไม่ยั่งยืน ในระยะยาวจะสร้างปัญหาตามมาอย่างมาก เพราะปกติการตัดสินใจแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ปัญหาอื่นมักจะตามมาเสมอ การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล ที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว จะทำให้ทราบว่าจะเกิดอะไรและจะแก้ไขป้องกันอย่างไรการหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ยั่งยืนได้เพราะโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความรู้ ความสำเร็จในอดีต อาจไม่สามารถรับรองความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคตได้ การหาความรู้อย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับความยั่งยืน 
ปัจจัยที่ 5 ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย ผมเห็นด้วยกับเรื่องนี้ ประเทศจะขับเคลื่อนได้ด้วยคุณภาพของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ  เรื่องนี้ ประเทศอินเดียรู้ปัญหาดีและมีการเตรียมการไว้ดีมาก อินเดียกำลังจะเป็นประเทศมหาอำนาจแข่งกับจีน  แต่อินเดียมีปัญหาว่า ความเจริญกำลังกระจุกตัวอยู่ที่บางเมืองและกับคนบางกลุ่ม รัฐบาลอินเดียมีมาตรการรองรับด้วยการปรับปรุงคุณภาพคนด้วยการศึกษา ยกระดับความสามารถของครู ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน และมีการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง โดยเน้นที่ภูมิปัญญา ไม่เน้นฟอร์ม  คนอินเดียไม่เน้นฟอร์มแต่เน้นว่าในหัวมีความรู้ มีปัญญาดีหรือไม่ ซึ่งในอนาคตเราจะเห็นคนอินเดียส่วนใหญ่มีความรู้ดีมากขึ้น  คนอินเดียพูดภาษาอังกฤษได้เป็นส่วนใหญ่ทำให้ง่ายต่อการพัฒนาศาสตร์อื่น ๆ

การจะทำอะไรให้ยั่งยืน ถ้าทำให้เกิดความเจริญเฉพาะกลุ่ม ไม่กระจายออกไปอย่างทั่วถึง ปัญหาความขัดแย้งแก่งแย่งชิงดีกันจะตามมา   

ปัจจัยสุดท้ายต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง self - reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ การให้ที่ทรงคุณค่าที่สุดคือการให้ผู้อื่นได้มีมีเข้มแข็งขึ้นทั้งความรู้ สติ สมาธิ ศีล ปัญญา ให้เขาได้มีความสามรถที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ และสามารถขยายผลสามารถช่วยผู้อื้น ต่อได้จะยิ่งเกิดความยั่งยืน  การให้วัตถุให้เงินเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าไม่ให้เขาได้มีโอกาสพึ่งตัวเองอย่างที่ ศ.ดร.จีระ ว่า ก็คงยั่งยืนได้ยากครับ 
เราจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11 เวลาประมาณ 10.30 น. วันละ 5 นาที เป็นความร่วมมือกันของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และ Chira Academy ธนาคารกรุงไทยมี ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ มาร่วมผนึกกำลังกัน น่าติดตามว่ามีอะไรน่าสนใจในประเด็น
คนไทยสับสนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ยังรู้ไม่จริง
สับสนเรื่องโลกาภิวัตน์ ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรและนึกว่าเศรษฐกิจพอเพียง จะแก้ปัญหาเฉพาะภาคคนจน 

รายการโทรทัศน์ ที่ท่าน ศ.ดร.จีระจัดเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ เดิมทราบว่าจะออกรายการทางช่อง 5 ต่อมาทราบภายหลังว่าจะออกทางช่อง 11 รายการนี้ ผมคิดว่าสำคัญและจะเกิดประโยชน์ ทางกระทรวงศึกษาธิการน่าจะร่วมด้วย เพื่อจัดทำรายการนี้เป็นวีดีโอทัศน์ ประกอบการพัฒนาองค์ความรู้ให้ครู เพื่อให้ครูใช้สอนนักเรียน ต่อไป รัฐบาลต้องเร่งพัฒนาครูให้มีความรู้เรื่องนี้ให้มาก ก่อนจะสายเกินไป ผมเคยได้ยินครูสอนนักเรียนเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครูตั้งใจดีมาก แต่สอนเรื่องการจัดสรรที่นา ที่เลี้ยงปลา ที่เพาะปลูก ไม่ได้สอนแก่นแท้ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้สอนเรื่องโลกาภิวัตน์ว่าคืออะไรและมีผลกระทบอย่างไร และในฐานะคนไทยควรต้องทำอย่างไร 

 

 ผมหวังว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่เกี่ยวข้อง ควรทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง กระจายความรู้เหล่านี้ไปอย่างทั่วถึงประชาชนส่วนใหญ่ และมีการติดตามประเมินผล และพัฒนาการให้ความรู้ด้านนี้อย่างต่อเนื่องทั้งระยะสั้นและระยะยาว   

 

ดร.ไมตรี อินทรประสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูกว่า 20 คน โดยดร.ไมตรี ต้องการสร้างเด็กให้คิดเป็น ไม่ปิดกั้นการคิดของเด็ก โดยให้เด็กได้คิดอย่างเสรี คิดนอกกรอบ คือการสอนแบบ Lesson study ซึ่งได้พัฒนาในประเทศญี่ปุ่นมากว่า 100 ปี

วิธีการนี้อาจจะขัดกับวัฒนธรรมของไทย เพราะการศึกษาของไทยตั้งแต่อดีตมักจะกำหนดการคิดให้เด็ก ไม่ค่อยรับฟังความคิดของเด็ก และไม่ยอมให้ใครมาวิจารณ์การสอนของตนเอง การศึกษาไทยจึงล้มเหลว แต่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจะทำงานต่อเนื่องต่อไปในด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย
ท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาน่าจะอ่านตรงนี้ และเชิญ ศ.ดร.จีระ ไปเป็นที่ปรึกษากระทรวงศึกษาธิการ เชิญ ดร.ไมตรี เข้าไปร่วมเป็นคณะที่ปรึกษาด้วย  เพื่อรีบปฏิรูปการทำงานของครู  รูปแบบการสอนของครูที่เป็นแบบดั้งเดิมถือเป็นโรคร้ายอย่างหนึ่งทางการพัฒนาเด็กไทย

ผลการวิจัยที่อินเดีย ซึ่งทาง BOI ได้จ้างนักวิชาการที่อินเดียวิจัยค้นหาอุปสรรคในการพัฒนาของไทย พบว่า ครูของไทยยังด้อยประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องภาษา และหลักการสอน ข้อเสนอแนะก็คือควรมีแผนระยะสั้นและระยะยาวในการพัฒนาครูอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมให้เกิดรูปแบบการสอนที่ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ ผมเห็นด้วยกับ ดร.ไมตรี ครับ รัฐบาลควรเข้ามาช่วยส่งเสริมแนวคิดนี้ให้เป็นจริง โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ครับ

  

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ 

   

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน

ยม   
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัฒน์" (ต่อ)
เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์[1]

สัปดาห์นี้ ผมมี 3 เรื่องมาแบ่งปันให้ได้รู้กัน
เรื่องแรกคือ ได้รับเชิญไปเป็นองค์ปาฐก ( keynote ) ของการประชุมนานาชาติ Science and Technology for Sustainable Development of the Greater Mekong Sub-region ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันอังคารที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ผมประทับใจการจัดการประชุมครั้งนี้มาก โดยเฉพาะคณบดี ศ.ดร.ละออศรี เสนาะเมือง ที่ทำงานอย่างหนักและได้ผล เพราะมีนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัย จากกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงมากันมากมายกว่า 300 คน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม จีน นอกจากนี้ ยังมีมาจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษด้วย
ในฐานะที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความรู้สึกว่าการประชุมเช่นนี้ทำให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีภาพลักษณ์ที่ดี มีชื่อเสียงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเรื่อง networking หรือการร่วมพันธมิตรทางวิชาการ การวิจัย การสร้างการทูตภาคประชาชน ( People to People Diplomacy : PPD )
ผมคงเป็นนักวิชาการคนเดียวที่ไม่ได้จบทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่ต้องพูดในหัวข้อเรื่องวิทยาศาสตร์ล้วนๆ ที่เน้นการสร้างทรัพยากรมนุษย์ในส่วนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อไปสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยพูดเรื่อง ทุนแห่งความยั่งยืนในทฤษฎี 8 K's มานาน ความยั่งยืนเป็นทุนเพราะการจะได้ความยั่งยืน ต้องเสียสละเพื่ออนาคต ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นตัวทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง นักการเมืองควรต้องรู้
ในวันนี้ ผมจึงเน้นมากๆ ว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนคืออะไร
ความจริง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนนั่นเอง
ผมจึงนำเอาความคิดของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ เรียกว่า 6 ปัจจัยของความยั่งยืน ( Chira 's 6 factors ) ซึ่งผมจะสรุปว่า
ปัจจัยแรกคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องเน้นให้ระยะสั้นสร้างความสมดุลย์ในระยะยาว อย่าให้ระยะสั้นดี แต่ทำลายระยะยาว ผมได้ตัวอย่างมาจากเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในประเทศไทย คือรวยระยะสั้น แต่มีปัญหาระยะยาวมากมายอย่างที่เห็นกัน
ปัจจัยที่สองคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย และต้องไปด้วยกันกับ การพัฒนา บางแห่งเรียกว่าเป็น Green development
ปัจจัยที่ 3 คือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันกับความเจริญ คือมีศีลธรรม คุณธรรมคู่ไปกับกับพัฒนา
ปัจจัยที่ 4 คือต้องคิดเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์เป็น หาความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นสังคมการเรียนรู้
ปัจจัยที่ 5 ต้องให้ประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ชุมชนหรือประเทศ มีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างกระจาย ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มเล็กๆ
และสุดท้ายต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง self - reliance ไม่ใช่รอแบมือให้รัฐบาลมาช่วยอย่างเดียว
ผมคิดว่า การเน้นเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่จะทำได้จริงหรือไม่ มีปัจจัยหลายอย่างที่ไปไม่ถึงเพราะ เหตุผลทางการเมือง ความโลภและความเห็นแก่ตัวของสังคม
อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย เราคิดว่ารัฐบาลจะมีหน้าที่ต้องทำ แต่จริงๆ แล้ว ประชาชน โดยเฉพาะชุมชนของนักวิทยาศาสตร์ก็สามารถมีส่วนร่วมกับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นได้ เพื่อจะพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผมจึงขอเน้นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะช่วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ในหลาย ๆ เรื่อง เช่น
-
สาขาแรกคือ ช่วยให้การศึกษาของชุมชนหรือสังคมดีขึ้น ในวันนั้น ผมเน้นเป็นพิเศษคือ การใช้ Internet การใช้ Blog การเรียนแบบทางไกลหรือ E-Learning
-
สาขาที่สองคือ การใช้เทคโนโลยี มาช่วยในการแพทย์ ซึ่งปัจจุบันการแพทย์มีต้นทุนสูงขึ้นเรื่อย การแพทย์ จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสังคม ไม่ใช่เฉพาะเรื่องรักษา แต่เป็นเรื่องการป้องกันด้วย ผมจึงเสนอเรื่อง Tele - Medicine ไปด้วย
-
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากคือ การพัฒนาชนบท และการพัฒนาศักยภาพของภาคเกษตรของประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงที่ยังล้าหลังอีกมาก
-
ต่อมาจะช่วยเรื่องการลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มศาสนาต่างๆ ในสังคม เพื่อสร้างสันติภาพ รวมทั้งการลดการก่อการร้ายข้ามชาติ
-
การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน Global warming หรือภัยธรรมชาติต่าง ๆ ซึ่งมีมากขึ้นทุกวัน และกระทบต่อประชาชนมาก
-
การแสวงหาพลังงานทดแทนน้ำมัน
-
และสร้างความสามารถในการแข่งขัน competitiveness แบบยั่งยืน ในสังคมในภูมิภาคนี้มากขึ้น แทนที่จะเน้นเฉพาะสินค้าส่งออกแรงงานราคาถูกเท่านั้น ให้มีการใช้ความรู้และวิทยาศาสตร์สำหรับการพัฒนาสินค้ามากขึ้น
ถ้าจะพัฒนาเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ผมขอให้นักวิทยาศาสตร์มองอะไรที่กว้าง เชื่อมโยงกับการพัฒนา ไม่ใช่สนใจแต่เรื่องวิจัยเฉพาะทางที่ตัวเองถนัด ต้องมี networking มากขึ้น รับฟังและเรียนรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ มากขึ้น
เรื่องที่สอง ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน เป็นต้นไป เราจะจัดรายการโทรทัศน์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทางช่อง 11 เวลาประมาณ 10.30 น. วันละ 5 นาที เป็นความร่วมมือกันของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และ Chira Academy ธนาคารกรุงไทยมี ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ มาร่วมผนึกกำลังกัน น่าติดตามว่ามีอะไรน่าสนใจในประเด็น
-
คนไทยสับสนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ยังรู้ไม่จริง
-
สับสนเรื่องโลกาภิวัตน์ ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
-
และนึกว่าเศรษฐกิจพอเพียง จะแก้ปัญหาเฉพาะภาคคนจน
ซึ่งแท้จริงแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา ซึ่งผู้ส่งออก นักลงทุน นักการเงิน นักวิทยาศาสตร์ นำไปใช้ได้ เพื่ออยู่ในโลกาภิวัตน์แบบยั่งยืน ซึ่งรายการโทรทัศน์นี้จะเชื่อมโยงให้ได้อย่างดี ผมอยากให้ผู้อ่านได้ติดตามชม
และสุดท้าย เมื่อวันพุธที่ 16 สิงหาคม มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้จัด Learning forum เรื่อง Lesson study in Mathematics เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเชื่อมโยงกับ APEC ที่ผมเคยเขียนถึงว่า คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ขอเงินสนับสนุนโครงการเรื่อง Lesson study โดยร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ ศึกษา และเผยแพร่ในประเทศไทย เป็นประโยชน์อย่างหนึ่งที่ไทยได้รับจาก APEC
ครั้งนี้มี ดร.ไมตรี อินทรประสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูกว่า 20 คน โดยดร.ไมตรี ต้องการสร้างเด็กให้คิดเป็น ไม่ปิดกั้นการคิดของเด็ก โดยให้เด็กได้คิดอย่างเสรี คิดนอกกรอบ คือการสอนแบบ Lesson study ซึ่งได้พัฒนาในประเทศญี่ปุ่นมากว่า 100 ปี การสอนแบบนี้ต้องมีการสังเกตว่าเด็กคิดอย่างไร ทำไมเขาถึงคิดแบบนี้ มีการสร้างคำถามลักษณะปลายเปิด ที่เด็กสามารถคิดหาคำตอบที่หลากหลาย จะมีการถกเถียงกัน ซึ่งจะนำไปสู่การบูรณาการที่ดี และมีการสังเกตการสอนของครู ครูจะต้องอภิปรายถกเถียงกันหลังจากเสร็จสิ้นการสอน คล้ายเป็นการวิจัยชั้นเรียน นับเป็นการปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง
แต่วิธีการนี้อาจจะขัดกับวัฒนธรรมของไทย เพราะการศึกษาของไทยตั้งแต่อดีตมักจะกำหนดการคิดให้เด็ก ไม่ค่อยรับฟังความคิดของเด็ก และไม่ยอมให้ใครมาวิจารณ์การสอนของตนเอง การศึกษาไทยจึงล้มเหลว แต่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจะทำงานต่อเนื่องต่อไปในด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทย และสิ่งสำคัญที่ได้รับนอกเหนือจากความรู้แล้วคือ networking ซึ่งครูทุกคนที่ได้มาร่วมกันในวันนั้น คงจะได้ร่วมมือกันเพื่อพัฒนาแผนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กไทยต่อไปในอนาคต
หวังว่าท่านผู้อ่านคงได้แนวทางจากกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ยุคนี้ สื่อดีๆ ต้องสร้างความรู้ใหม่ให้ผู้อ่าน และนำไปต่อยอด

จีระ หงส์ลดารมภ์


[email protected]


โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3


                   โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์"

ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์[1]

 

 

ท่านที่ติดตามบทความของผมมาตลอด 7-8 ปี คงจะเห็นแล้วว่าแต่ละสัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้น และตัวเราวิเคราะห์ให้เป็น เราจะเป็นสังคมการเรียนรู้อย่างแท้จริง กระหายความรู้ นำเอาความรู้ไปใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม
สิ่งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24
หลายฝ่ายอาจจะไม่เข้าใจประวัติความเป็นมาของท่าน ผมขอเรียนว่า ท่านเป็นทหารมืออาชีพ และเป็นทหารประชาธิปไตย ซี่งดีกว่านักประชาธิปไตยแต่ในรูปแบบ วันนี้ประเทศไทยทำงานแบบ Back to basics ที่เกิดขึ้นทั้งหมดคือ ความถูกต้องและความพอดี หรือหากจะเรียกว่าเป็นความพอเพียงทางการเมือง สังคมและวิถีชีวิตคนไทยคือเดินสายกลาง ไม่หลุดโลกไปทางใดทางหนึ่ง
มี 2 ประเด็นที่น่าจะเขียนถึงท่านนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 คือ
ท่านเป็นคนสมถะ ประหยัดและดำรงชีวิตแบบพอเพียงมาตลอด อุปนิสัยจะช่วยให้บทบาทของท่านนายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นตัวอย่างที่ดี " Role Model " ของคนไทยคือ หลังจากรับตำแหน่ง ท่านได้ไปกราบสมเด็จพระสังฆราช และไปพบผู้ใหญ่ที่ท่านเคารพนับถือ คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
หนังสือพิมพ์ The Nation เขียนว่า ช่วงที่นายกฯทักษิณชนะการเลือกตั้ง ท่านไป ช็อปปิ้งที่ เอ็มโพเรียม และดื่มกาแฟที่ Starbucks เป็นการเปรียบเทียบวิถีชีวิตของท่านทั้งสองได้ดี
อีกเรื่องหนึ่ง ภาพของนายกฯ สุรยุทธ์ จะนำไปสู่ภาพของความพอเพียง และเป็นภาพที่สร้างความจริงของสังคมไทย คือจะเจริญทางด้านวัตถุไม่พอ ต้องมี
Heritage
รากเหง้า
Head
คิดเป็น
Heart
มีคุณธรรม
Happiness
มีความสุข ความสมดุลในชีวิต
ในช่วง 1 ปีนี้ที่สำคัญคือ รูปแบบผู้นำของท่าน จะทำให้นิสัยของคนไทย ที่ฟุ้งเฟ้อ ลดน้อยลง สิ่งไม่ดีต่างๆ เช่น ความอยากได้ทุกอย่างเร็วๆ นิยมตะวันตก นิยมวัตถุ การไม่เคารพรากเหง้าหรือประวัติศาสตร์ของตัวเอง มองมนุษย์โดยไม่เน้นการเคารพ ( Respect ) และความมีศักดิ์ศรี ( Dignity ) อาจจะดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะหากท่านนายกฯ คนใหม่เน้นเรื่องสังคมเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวิถีชีวิตของคนไทยอย่างเป็นรูปธรรมและมองสังคมแบบยั่งยืนเป็นหลัก
ประเด็นนี้น่าสนใจ เพราะยุคคุณทักษิณ ไม่ใช่แค่ระบอบทักษิณ แต่เป็นวัฒนธรรมการคิดแบบคุณทักษิณที่เน้นเงินและอำนาจ แบบทุนนิยมที่ไร้ขอบเขต ไร้จิตวิญญาณเป็นหลัก ซึ่งในที่สุดแล้ว ไม่เหมาะกับสังคมไทยในระยะยาว จึงต้อง back to basics หลังจากเหตุการณ์รัฐประหารผ่านไป 2 สัปดาห์กว่า สิ่งหนึ่งที่ผมได้เขียนไปแล้วช่วงแรกคือ การสร้างความเข้าใจกับประชาคมโลก เพราะโลกาภิวัตน์ มีหลายเรื่องที่กระทบเรา เช่น
- Information Technology
เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
-
เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA
-
เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน
-
บทบาทของจีน อินเดีย และลาตินอเมริกา
-
เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right
-
เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ
-
เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
-
เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
-
เรื่อง Bird Flu หรือไข้หวัดนก
เรื่องใหญ่คือ เรื่องมาตรฐานประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชนของตะวันตก
จริงอยู่ การศึกษากำหนดมาตรฐานต่างๆ ต้องเน้นทฤษฎี 2 R's ของผมซี่งเน้นว่า จะวิเคราะห์อะไรต้องประกอบด้วย :
Reality
ความจริง
Relevance
ตรงประเด็น
ประชาธิปไตยภายใต้ระบอบทักษิณเป็นเรื่องไม่ปกติ หากปกติคงจะไม่มีการขัดแย้ง ไม่มีคดียุบพรรค ไม่มีคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง ความแตกแยกในสังคมไทย ขาดคุณธรรม จริยธรรม
ดังนั้น คนไทยจะต้องอธิบายว่า ปฏิวัติเกิดขึ้นเพราะอะไร ความจริงคืออะไร และแสดงให้เห็นว่า มาแก้ไขเพื่อไปประชาธิปไตยที่ดีในอนาคต ไม่ใช่เห็นรถถังก็กลัว คล้ายว่าถอยหลัง 1 ก้าว เพื่อไปข้างหน้า 2 ก้าวอย่างมั่นคงและยั่งยืน
การอธิบายต่อสังคมโลกเป็นสิ่งสำคัญ อย่าให้มาตรฐานของตะวันตกเป็นมาตรฐานโลกมากำหนดตัวเราเท่านั้น สหรัฐอเมริกายังไม่เห็นพูดถึงประชาธิปไตยในปากีสถาน บางครั้งอเมริกาก็มี Double Standard ด้วย จึงขอเรียนว่า อย่าตกใจไปกับข่าวทางลบของต่างประเทศมากเกินไป ผมคิดว่าอธิบายได้ ผมเป็นคนหนึ่งที่อธิบายให้เพื่อนต่างประเทศทุกวัน
หวังว่าข่าวรัฐประหารจะค่อยๆ จางไป แต่จะขอฝากท่านนายกฯ คนใหม่คือ เรื่องปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปให้คนไทยคิดเป็น เป็นสังคมการเรียนรู้ อยากรู้ อยากมีทุนทางปัญญา ไม่ใช่เห็นแก่ใบปริญญาเท่านั้น โดยเฉพาะในภาคอีสานและภาคเหนือ ประชากรส่วนมาก รอให้รัฐบาลช่วยเหลือ จะทำอย่างไรให้เขาพึ่งตัวเองได้มากขึ้น เพราะงานของรัฐบาลชั่วคราวที่สำคัญ ต้องปรับอุปนิสัยแบมือขอ ที่รัฐบาลไทยรักไทยทำอย่างต่อเนื่องมา 6 ปีเต็ม อบต.หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นต่างๆ จะมองการสร้างภูมิคุ้มกันให้ชาวชนบทอย่างไร การจะให้อะไรแบบประชานิยม ก็ต้องแน่ใจว่าระยะยาวอยู่รอดและเข้มแข็งขึ้น
หนังสือพิมพ์ Herald Tribune เขียนว่าการทำให้ชาวบ้านพอใจนั้น พรรคไทยรักไทยเก่งมาก เขาเน้นการตลาด การคิดนอกกรอบ การมีนวัตกรรมทางนโยบาย การใช้พลังทุกอย่าง ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องมีความเข้าใจ และปรับนโยบายระยะยาว ต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย
ขอจบด้วยการเล่าถึงโครงการต่อเนื่องที่ผมทำอยู่ 2 โครงการคือ
โครงการ Learning Forum ที่ Ho Chi Minh ที่ได้จัดไปเมื่อวันศุกร์ที่ 29 กันยายน ซึ่งได้เห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีคุณค่าต่อผู้นำทางภาคเกษตรของเวียดนามมาก เขาศึกษาอย่างละเอียด และมีบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนความคิดที่น่าสนใจ ยิ่งกว่านั้น เวียดนามจะขอมาดูงานที่ประเทศไทยด้วย ต้องถือโอกาสขอบคุณท่านกงสุลใหญ่ คุณสมปอง สงวนบรรพ์ และเจ้าหน้าที่ของสถานกงสุล คุณปาริฉัตร ลื้อไพบูลย์พันธ์ คุณพิมพ์พิรี ไพรามาน การทูตภาคประชาชนต้องมีรัฐบาลมาเป็นแนวร่วมด้วย
กงสุลใหญ่ ท่านเป็นคนใฝ่รู้ ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศมาก เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสถานกงสุลมานั่งฟังตลอด ได้เห็นวิธีการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม
ผมได้กลับไปที่โรงเรียนบ้านแพง จังหวัดมหาสารคาม เป็นครั้งที่ 3 ในช่วง 3 ปี กลับไปสร้างสังคมการเรียนรู้กับเด็กนักเรียนกว่า 400 คน ผอ.วาสนา เลื่อมเงิน เป็นลูกศิษย์ผม และเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนที่ทำงานนอกกรอบ สนใจการสร้างแนวร่วม Network ลูกศิษย์ก็กระตือรือร้น เช่น กลุ่มมัธยมศึกษา บอกว่า จะให้ผมและมูลนิธิฯ ช่วยสนับสนุนให้มาดูอุทยานวิทยาศาสตร์ในจังหวัดปทุมธานี การศึกษาในอนาคตไม่สามารถจะใช้แบบการบริหารในกล่อง รอให้รัฐบาลมาช่วย ต้องกระโดดออกนอกกล่อง พึ่งตัวเอง และให้นักเรียนเป็นผู้ได้ประโยชน์ ไม่ใช่ผู้อำนวยการโรงเรียนวิ่งหาตำแหน่ง เพื่อจะได้ C8 ตลอดเวลา

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์" (ต่อ)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระและท่านผู้อ่านทุกท่าน 

เช้านี้ วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความ บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์[1]ในบทความนี้          ศ.ดร. จีระ เขียน ถึงนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ และท่านได้เล่าเรื่องสำคัญที่ท่านได้ทำประโยชน์แก่สังคมไว้อย่างน่าสนใจเช่นกัน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ  


สิ่งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ประเด็นนี้ แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ในการตัดสินพระทัยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี  งานนี้ ถ้าไม่ใช่คนดี มีคุณธรรม และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย จนเป็นที่ประจักษ์ แก่ราษฎรอย่างท่านองคมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ก็อาจจะทำให้มีประท้วงครั้งใหญ่และอาจนำไปสู่การปฏิวัติซ้อนได้  เป็นแบบอย่างที่ดีในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา  เหมือนให้ยาที่ถูกกับโรคที่เกิดขึ้น  ในองค์กรถ้ามีปัญหาแล้วคิดให้รอบคอบ มองการณ์ไกล รองรับปัญหาที่คาดว่าน่าจะเกิด แล้วตัดสินใจบนหลักการและเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ เป็นใหญ่ การตัดสินใจแก้ไขปัญหานั้นก็จะบรรลุวัตถุประสงค์   ผมชื่นชม และขอสรรเสริญคณะองคมนตรีด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูง ที่พวกท่านคอยถวายการดูแล ช่วยเหลือภารกิจ ต่าง ๆ ของพระองค์ท่าน เป็นอย่างดี  เป็นตัวอย่างที่ดีของการทำงานเป็นทีม ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์    
มี 2 ประเด็นที่น่าจะเขียนถึงท่านนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 คือ
ท่านเป็นคนสมถะ ประหยัดและดำรงชีวิตแบบพอเพียงมาตลอด อุปนิสัยจะช่วยให้บทบาทของท่านนายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นตัวอย่างที่ดี " Role Model " ของคนไทยคือ หลังจากรับตำแหน่ง ท่านได้ไปกราบสมเด็จพระสังฆราช และไปพบผู้ใหญ่ที่ท่านเคารพนับถือ คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ผมสนใจและประทับใจ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มากขึ้น เมื่อครั้งทราบข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับว่า เมื่อท่านพ้นจากตำแหน่งทางราชการแล้ว ท่านหันไปบวช เพื่อต้องสละกิเลสทั้งหลาย ใช้ชีวิตเรียบง่ายสันโดษ มีคุณค่า อันที่จริง คนระดับนี้ พร้อมที่จะเลือกหาความสุขได้หลายรูปแบบ แต่กลับเลือกมาทางพุทธศาสนาเป็นเครื่องชี้นำ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าสรรเสริญ อย่างยิ่ง  เป็นแบบอย่างที่ดีของการดำเนินชีวิตที่มีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ภาพที่ท่านใช้ชีวิตเรียบง่าย ชอบเดินป่า และภาพการออกบวช เดินบิณฑบาต ยังอยู่ในความทรงจำของคนไทยได้ดี 

อีกเรื่องหนึ่ง ภาพของนายกฯ สุรยุทธ์ จะนำไปสู่ภาพของความพอเพียง และเป็นภาพที่สร้างความจริงของสังคมไทย คือจะเจริญทางด้านวัตถุไม่พอ ต้องมี
Heritage
รากเหง้า
Head
คิดเป็น
Heart
มีคุณธรรม
Happiness
มีความสุข ความสมดุลในชีวิต สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวในประเด็นนี้ ผมคิดว่า เป็นรูปแบบของการดำเนินชีวิตที่ยั่งยืน  การดำเนินชีวิต จะเจริญแต่วัตถุนิยมอย่างเดียวนั้นไม่ยั่งยืน  ต้องเจริญด้วย ศีล สมาธิ สติปัญญา เจริญด้วยทุนที่เกี่ยวกับมนุษย์ ตามทฤษฎี 8K’s ของ ศ.ดร.จีระ  เป็นสิ่งที่ผู้นำประเทศ ควรต้องมียุทธ์ศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ให้เจริญตามแนวคิดที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวถึงไว้อยู่เสมอ ผมยังอยากให้ ศ.ดร.จีระ เข้าไปช่วยรัฐบาลชุดนี้ ในตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงานฯ หรือเป็นที่ปรึกษาขอรัฐบาลชุดนี้ เพื่อกู้วิกฤตทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ของชาติซึ่งยากที่จะหาคนที่มีสายตาแหลมคม มองเห็นปัญหาเรื่องทรัพยากมนุษย์ได้ลึก กว้างและไกลได้เช่นนี้

 

 

ในช่วง 1 ปีนี้ที่สำคัญคือ รูปแบบผู้นำของท่าน จะทำให้นิสัยของคนไทย ที่ฟุ้งเฟ้อ ลดน้อยลง สิ่งไม่ดีต่างๆ เช่น ความอยากได้ทุกอย่างเร็วๆ นิยมตะวันตก นิยมวัตถุ การไม่เคารพรากเหง้าหรือประวัติศาสตร์ของตัวเอง มองมนุษย์โดยไม่เน้นการเคารพ ( Respect ) และความมีศักดิ์ศรี ( Dignity ) อาจจะดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะหากท่านนายกฯ คนใหม่เน้นเรื่องสังคมเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวิถีชีวิตของคนไทยอย่างเป็นรูปธรรมและมองสังคมแบบยั่งยืนเป็นหลัก ผมมีความเชื่อเช่นเดียวกับ ศ.ดร.จีระ ว่า ถ้าผู้นำประเทศ  กระตุ้นให้ทรัพยากรมนุษย์ของชาติ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมให้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของชาวไทย อย่างเห็นผลชัดเจน มีตัวชี้วัดได้ จะเป็นการพัฒนาชาติที่ยั่งยืน ถึงแม้เวลาบริหารประเทศจะกำหนดไว้เพียงไม่เกิน 1 ปี สำหรับรัฐบาลชุดนี้ แต่ถ้ามีทีมคณะรัฐมนตรีที่มีคุณภาพ รู้จริง และอาสา อยากมาช่วยพัฒนา แก้ไขปัญหาบ้านเมืองเพื่อชาติ ก็จะสามารถทำได้ แม้กระทั่งการกำหนดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ควรให้มีและใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วย พื่อกู้วิกฤตทางด้านทรัพยากรมนุษย์

 

สิ่งหนึ่งที่ผมได้เขียนไปแล้วช่วงแรกคือ การสร้างความเข้าใจกับประชาคมโลก เพราะโลกาภิวัตน์ มีหลายเรื่องที่กระทบเรา เช่น
- Information Technology
เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
-
เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA
-
เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน
-
บทบาทของจีน อินเดีย และลาตินอเมริกา
-
เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right
-
เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ
-
เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
-
เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
-
เรื่อง Bird Flu หรือไข้หวัดนก
เรื่องใหญ่คือ เรื่องมาตรฐานประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชนของตะวันตก

สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวมาในประเด็นนี้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อประเทศ ต่อประชาชนคนไทยทั้งปัจจุบันและอนาคต และเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญ ที่ควรต้องมีคณะรัฐบาลที่ดี มีฝีมือ มีคุณธรรม มีอุดมการณ์เพื่อชาติ เข้ามาช่วยบริหารจัดการ  และที่น่าเป็นห่วงคือ ท่านจะได้คนดี มีฝีมือเหล่านี้มาอย่างไร เพราะเขาเหล่านั้นมักไม่แสดงตน และใช้ชีวิตเรียบง่ายแบบท่านนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์  
ถอยหลัง 1 ก้าว เพื่อไปข้างหน้า 2 ก้าวอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ผมชอบประโยคนี้ ของ ศ.ดร.จีระ คือเข้าใจง่ายและใช้อธิบายเหตุผลของการปฏิวัติครั้งนี้ให้นักเรียน นักศึกษาเข้าใจได้ดี  เรียกว่า จังหวะของชีวิต บางครั้งในการเดินไปข้างหน้า เมื่อพบปัญหาอุปสรรคบนเส้นทางเดิน ก็จำเป็นต้อง หยุดและถอยหลัง เพื่อก้าวกระโดดไปข้างหน้าให้ได้ไกลกว่าที่ผ่านมา การบริหารจัดการเรียกว่า เป็นศิลปะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ก็ว่าได้ อย่างไรก็ตาม การถอยหลังก็ต้องถอยอย่างรอบคอบ สง่างาม มีการสื่อสารที่ดี มิฉะนั้นประชาคมโลกจะเข้าใจผิด อีกประเด็นหนึ่งก็คือ เมื่อถอยแล้ว การจะก้าวกระโดดไปข้างหน้า ต้องพร้อม มั่นคง ยั่งยืน สง่างามกว่าที่ผ่านมา และช่วงจังหวะหยุดและถอย กับการจะกว้ากระโดด อย่าให้นานจนเกินไป เพื่อรักษาประโยชน์ของชาติ เป็นหลัก


 

หวังว่าข่าวรัฐประหารจะค่อยๆ จางไป แต่จะขอฝากท่านนายกฯ คนใหม่คือ เรื่องปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปให้คนไทยคิดเป็น เป็นสังคมการเรียนรู้ อยากรู้ อยากมีทุนทางปัญญา ไม่ใช่เห็นแก่ใบปริญญาเท่านั้น
ประเด็นนี้ เห็นได้ชัดว่า ระบบการศึกษาสมควรมีการปฏิวัติ และจัดการใหม่  ผมเห็นรัฐบาลหลายคณะ มาบริหารประเทศไม่ค่อยได้เน้นเรื่องนี้อย่างจริงจัง มัวแต่ไปเน้นการก่อสร้าง วัตถุนิยม  ที่อินเดีย เน้นเรื่องการศึกษามากกว่าการสร้างวัตถุนิยม  ผมเชื่อว่าในที่สุดอินเดียจะเป็นประเทศที่พัฒนาแบบยั่งยืนกว่าประเทศจีน ที่ขณะนี้มุ่งเน้นการวางผังเมือง การสร้างอาคารต่าง ๆ อย่างมาก  
หนังสือพิมพ์ Herald Tribune เขียนว่าการทำให้ชาวบ้านพอใจนั้น พรรคไทยรักไทยเก่งมาก เขาเน้นการตลาด การคิดนอกกรอบ การมีนวัตกรรมทางนโยบาย การใช้พลังทุกอย่าง ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องมีความเข้าใจ และปรับนโยบายระยะยาว ต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย

จุดเด่นของพรรคไทยรักไทย คือทำให้ชาวบ้านพอใจโดยใช้ระบอบประชานิยม ในการบริหารนโยบายสาธารณะ มีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี  ดีคือสามารถสนองความต้องการของลูกค้า(ประชาชนได้) รัฐฯควรมองประชาชนเป็นลูกค้า และสนองความต้องการของลูกค้าได้  One stop service ในหน่วยงานราชการหลายแห่ง เกิดขึ้นในยุครัฐบาลของท่านทักษิณ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี รัฐบาลอิเล็คโทรนิค ก็เช่นกัน

 

อย่างไรก็ตามจุดอ่อนคือขาดการวิเคราะห์ผลกระทบระยะยาวในนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมือง ยังขาดหลักการแห่งความยั่งยืน  รัฐบาลยุคท่านทักษิณ เป็นครูที่ดี แก่ผู้นำและสัจจะธรรมชีวิต ทุกอย่างในโลกล้วนมีการเปลี่ยนแปลง และไม่มีอะไรแน่นอนในโลกนี้  เมื่อมีมา ย่อม มีไป เมื่อมีเกิด ย่อมมีแก่ มีเจ็บและตาย

 

อดีตนายกฯทักษิณ ให้บทเรียนที่ดีแก่ผู้นำทั้งหลาย ทุกองค์กร พึงสังวร ขอให้มองการณ์ไกลอย่างที่ ศ.ดร.จีระ เคยสอนนักศึกษาปริญญาเอกว่า อีก 20 ปีจะเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย  และจะแก้ไข ป้องกันอย่างไร  ทำให้คิดต่อไปว่า อีก 20 ปี จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา กับเครือข่าย กับทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต และจะบริหารจัดการอย่างไร เป็นสิ่งที่น่าคิดต่อไปว่า หลังจาก 1 ปี ของรัฐบาลชุดนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย  เศรษฐกิจ ส้งคม การเมือง การศึกษาของไทย จะเป็นอย่างไร จะเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และเป็นสิ่งกำหนดอนาคตประเทศไทย 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ    

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน   

ยม  

นักศึกษา ปริญญาเอก  

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต 

    

 lสวัสดีค่ะ ศ.ดรจีระ

ได้อ่านหนังสือ "จดหมายถึงสายน้ำ" แล้ว รู้สึกดีมาก มุมมองและความคิดของคุณธีรภาพ โลหิตกุล ผู้เขียน คงช่วยผู้อ่านมีปัญญามองเห็นความจริงและความงามของชีวิตผ่านข้อคิดแห่งธรรมะ ชีวิต และศิลปวัฒนธรรม ที่ผู้เขียนบรรจงร้อยเรียงประกอบภาพที่เต็มไปด้วยสีสัน เส้นงาน แสงเงา เรื่องราวที่แฝงความหมายของชีวิต

        ขอบคุณคุณธีรภาพที่มอบหนังสือเล่มเล็กแต่มากด้วยคุณค่าแก่พวกเรา
                                                      นัยนา  แย้มสาขา
                                                        วธ.กลุ่ม ๕
                                                       2/04/2007
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท