แฉเงินคงคลังแทบเกลี้ยง


แฉเงินคงคลังแทบเกลี้ยง
รมว.การคลังนั่งไม่ติด หน่วยงานราชการซิกแซ็กใช้เงินคงคลังจนแทบไม่เหลือ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.การคลัง กล่าวว่า สถานการณ์ด้านฐานะเงินสดของรัฐบาลตอนนี้ค่อนข้างมีปัญหา เพราะเงินคงคลังที่จะนำมาใช้แทบไม่มีแล้ว รมว.การคลัง ชี้แจงว่า ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรี 4 เดือน พบว่ากระทรวงการคลังยังมีจุดอ่อนเรื่องการบริหารการคลังหลายเรื่อง โดยเฉพาะ ใน 4 ด้านหลัก  เรื่องแรกคือมีการตั้งงบประมาณต่ำกว่าความเป็นจริง แต่ขอเงินคงคลังจำนวนมากมาใช้ทดแทนงบประมาณที่มีไม่พอ เพราะกฎหมายเปิดทางไว้ นายฉลองภพ กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีหลายหน่วยงานที่ตั้งงบต่ำกว่าที่ใช้จริง เช่น เงินวิทยฐานะครูที่ยังคงเป็นปัญหาอยู่ เนื่องจากตั้งไว้ไม่พอจ่ายในปีงบประมาณ 2550 กว่า 1 หมื่นกว่าล้านบาท และในปี 2551 ตั้งไว้ไม่พอ อีก 2.4 หมื่นล้านบาท และยังมีค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ ที่ปีงบประมาณ 2550 ตั้งไว้ 3 หมื่นล้านบาท แต่มีการใช้จริง 4 หมื่นล้านบาท   ปัญหาดังกล่าวหากกระทรวงการคลังมีเงินคงคลังเหลือเพียงพอ ก็คงไม่มีปัญหาอะไรในการใช้จ่าย แต่ถ้าเงินคงคลังไม่มี ก็ไม่รู้จะหาเงินจากไหน เพราะปัจจุบันเงินคงคลังที่มีอยู่และสามารถนำมาใช้ได้ก็เกือบไม่มีแล้ว   หากมีเงินคงคลังเหลือ 2-3 แสนล้านบาท ก็คงพอดูแลได้ แต่หากใกล้เหลือศูนย์ ก็ไม่รู้จะเอาเงินจากไหน อย่างปัจจุบันเงินคงคลังที่นำมาใช้ได้ ก็เกือบไม่มีแล้วนายฉลองภพ ชี้แจง  สำหรับด้านที่สองนั้น ในช่วงที่ผ่านมามีช่องโหว่ในการดำเนินกิจการของภาครัฐ โดยเฉพาะกระบวนการตรวจทานโครงการลงทุนต่าง ๆ นั้น ปรากฏว่าไม่มีการตรวจสอบความคุ้มค่าเท่าที่ควร เช่น การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล จึงได้เสนอให้แก้ไข พ.ร.บ.ร่วมทุนภาครัฐและเอกชน เพราะหากไม่รีบแก้ไข การใช้เงินจากโครงการต่าง ๆ จะทำให้เกิดภาระทางการคลังอย่างมาก  กรณีการเซ็นสัญญาก่อสร้างโครงการศูนย์ราชการ    ถนนแจ้งวัฒนะ ที่เหมือนมัดมือชกให้รัฐบาลเซ็นสัญญา เพราะหากไม่ดำเนินการต่อก็จะเหมือนว่าผิดสัญญา ก่อให้เกิดความเสียหายมากนายฉลองภพ ระบุ นอกจากนี้ ยังมีการใช้ช่องโหว่ ของการดำเนินกิจการของภาครัฐมาหาคะแนนนิยม เช่น การรับจำนำสินค้าเกษตรที่สูงกว่าราคาตลาด โดยเฉพาะข้าวที่ก่อให้เกิดความเสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท  จนรัฐบาลจะต้องชดเชยให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เรื่องที่สามคือ ระบบการตัดสินใจทางนโยบายที่เป็นภาระทางการคลังในอนาคต ซึ่งที่ผ่านมายังมีข้อมูล   ไม่เพียงพอจึงทำให้การตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการอนุมัติวงเงินงบประมาณสำหรับการลงทุนของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่รัดกุมหรือรอบคอบเพียงพอ จะเป็นภาระทางการคลังในอนาคตได้ ประเด็นสุดท้ายคือ การที่หน่วยงานราชการต่าง ๆ มักต้องการความคล่องตัวทางการเงินและขอให้จัดตั้งองค์กรมหาชน ตั้งกองทุนขอสิทธิพิเศษทางภาษี ตั้งบริษัทลูกขึ้นมาดำเนินการ เพื่อหลีกเลี่ยงระเบียบการตรวจสอบ หากปล่อยให้ดำเนินการโอกาสที่จะเกิดวินัยทางการคลังน้อยลง โพสต์ทูเดย์  17  ก.ค.  50
คำสำคัญ (Tags): #เงินคงคลัง
หมายเลขบันทึก: 112192เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2007 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นข้อมูลที่ดีมากครับ ผมในฐานะเป็นข้าราชการกรมหนึ่งของกระทรวงการคลังร้สึกเป็นห่วงการคลังของประเทศ เพราะมีปัจจับลบหลายอย่างทีทำให้การจัดเก็บภาษีไม่เป็นไปตามเป้า เช่นปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาการเมืองที่ยังไม่นิ่ง ขอให้ท่าน รมว.การคลังเริ่งดำเนินการแก้ปัญกหาเฉพาะหน้าไปก่อน และคิดแก้ปัญหาระยะยาวต่อไป อย่าให้เกิดวิกฤติการณืทางการเงินซ้ำรอยปี 2540 อีกเลย สงสารประเทศไทยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท