สิ่งที่คน (บางคน) กลัว...กลัวเรื่อง “การเปลี่ยนแปลง”


สิ่งที่คน (บางคน) กลัว...กลัวเรื่อง “การเปลี่ยนแปลง”

สิ่งที่คน (บางคน) กลัว...กลัวเรื่อง “การเปลี่ยนแปลง”

สำหรับชีวิตของคนไทย เดิมเป็นชีวิตที่เรียบง่ายโดยใช้วิถีชีวิตที่มองดูแล้วสงบ ไม่เดือดร้อน เป็นประเทศที่ไม่ค่อยถูกภัยธรรมชาติเล่นงานสักเท่าไหร่ ไม่เหมือนประเทศอื่นที่ถูกภัยธรรมชาติต่าง ๆ เล่นงานอยู่เรื่อย ๆ แต่ต่อไปในอนาคต ประเทศไทยหรือคนไทยควรต้องระมัดระวังให้มากขึ้น เพราะภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว สึนามิ กำลังคืบคลานใกล้ตัวเข้ามาทุกขณะ...เหตุอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโลกนั่นเอง...

สำหรับประเทศหรือคนที่อยู่ในประเทศที่ถูกภัยธรรมชาติ คุกคามนั้น พวกเขาจะได้รับภูมิคุ้มกัน เรียกว่า ได้รับผลของภัยธรรมชาติแล้ว ตนเองก็เกิดการที่จะต้องวางแผน เตรียมรับมือกับภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันสิ่งที่จะเกิดขึ้นอีก

การที่คนไทยใช้ชีวิตที่สงบมานาน เรียกว่า สบายกว่าชาติอื่น ๆ ที่ถูกภัยธรรมชาติ ทำให้คนไทยดูเหมือนจะไม่ค่อยเห็นความสำคัญของเรื่องภัยต่าง ๆ แม้แต่การเปลี่ยนแปลง เพราะหากเกิดภัยธรรมชาติต่าง ๆ ขึ้น หลังจากเกิดภัยต่าง ๆ แล้ว ย่อมเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในภายหลังได้ สำหรับคนไทย ความจริงเรื่องการเปลี่ยนแปลงบนโลกใบนี้ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพียงแต่เป็นไปอย่างช้า ๆ หรืออย่างรวดเร็วเท่านั้น บางประเทศก็ไม่มีภัยธรรมชาติ บางประเทศก็มีภัยทางธรรมชาติ มาเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น

แต่มา ณ ปัจจุบัน คนไทยย่อมได้รับผลของการเปลี่ยนแปลงจากภัยต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว สึนามิ แม้จะไม่มากเท่ากับบางประเทศ แต่ก็ทำให้ทราบว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ คนไทยได้ปรับเปลี่ยนบริบทของตนเอง เพื่อเตรียมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอีกเป็น ครั้งที่ 2,3,4...ที่จะตามมา จากวิถีชีวิตที่คนไทยเคยอยู่กันแบบสบาย ๆ นี้เอง ทำให้ไม่ค่อยรู้สึกถึงเรื่องของ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา แม้แต่ในชีวิตประจำวัน เช่น การเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน, การเติบโตของชีวิต, การศึกษา, การทำงาน ในความรู้สึกเมื่อรับรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลง ก็เพียงแค่ผิวเผิน ซึ่งยังพอรับได้ แต่ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเกี่ยวเนื่องกับตนเอง กับครอบครัว กับคนรอบข้าง กับงานที่ทำ กับตำแหน่งตนเองที่เป็นอยู่ จะเกิดอาการซึ่ง เรียกว่า “ทนไม่ได้” “ไม่ยอมรับ” “ต่อต้าน” ขึ้นมาทันที...ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว สิ่งที่จะทำให้เกิดความสงบ นั่นคือ “การยอมรับ” ยอมรับว่า “สิ่งที่เกิด มันเกิดขึ้นแล้ว” หรือ ที่เรียกว่า “อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด” และทางที่ดีที่สุดของ “การยอมรับ” นั่นก็คือ “การหาทางแก้ไข ปรับปรุง ในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว นั้นให้ดีขึ้น”...

สำหรับคนบางคน ที่เคยถูกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองบ่อยครั้ง เรียกว่า “มากกว่าคนอื่น ๆ” จะทำให้คน ๆ นั้น เกิดภูมิคุ้มกันในตนเอง ซึ่งมีมากกว่าคนที่ยังไม่เคยได้รับผลของการเปลี่ยนแปลง เรียกว่า “มีภูมิคุ้มกันในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าคนที่ได้รับผลของเหตุการณ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนั้น”

เมื่อมาถึงยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ จากโลก IT กระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย สำหรับเด็กยุคใหม่ เกิดมาในโลกยุคปัจจุบัน เกิดมาพร้อมกับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงซึ่งได้เห็นอย่างชัดเจน ได้รับผลกระทบอยู่บ่อยครั้ง จึงทำให้เห็นว่า เด็กยุคใหม่จะพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จึงเห็นเป็นเรื่องปกติ โดยตนเองเปิดใจและพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น...แต่สำหรับคนรุ่นเก่า ซึ่งเกิดมานานแล้ว จะไม่ค่อยได้เคยรับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสักเท่าไหร่ เพราะสมัยก่อน เรื่อง โลก IT กระแสโลกาภิวัตน์ ยังไม่เข้มข้นเท่ากับปัจจุบัน จึงทำให้ยังไม่เปิดใจและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เช่นกับเด็กยุคใหม่ ๆ เรียกว่า “ไม่ค่อยจะมีภูมิคุ้มกันในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสักเท่าไหร่”...จึงมีผลกระทบต่อการพัฒนาบุคลากรของประเทศ จะโทษให้เป็นความผิดก็ไม่ได้ เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีเหตุการณ์หรือเรื่องเช่นเดียวกับในสภาพปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องอาศัยเวลาเป็นตัวช่วยในการปรับเปลี่ยนในครั้งนี้...แต่สำหรับถ้าเป็นคนที่ใจเร็ว คือ ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าเป็นคนที่ใจช้า คือ อย่างไรก็ได้จะเร็วจะช้าหรือค่อยเป็นค่อยไป...แต่ในมุมมองของผู้เขียนในบางครั้งความรู้สึกที่ทำให้เสียมูลค่าไป นั่นคือ “เวลา” เสียดายที่เสียเวลาไป โดยที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเกิดขึ้นแล้ว แต่กลับปล่อยให้เวลาที่มีค่าสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์...แม้ว่า “เวลา” จะวัดมูลค่าเป็นตัวเงินไม่ได้...แต่ “เวลา” เป็นสิ่งที่มีมูลค่ามากกว่าตัวเงินเสียด้วยซ้ำ...

สำหรับสิ่งหนึ่งที่คนรุ่นเก่าสามารถทำได้ นั่นคือ ต้องพยายามปรับตัว ปรับสภาพของตนเองให้ได้ มิใช่ทำตนเสมือนเป็นจระเข้ขวางคลอง ไม่ทำ ไม่คิด ไม่เปลี่ยน เรียกว่า “ข้าอยู่มาอย่างไร ข้าก็จะเป็นอยู่อย่างนั้น โดยนำความคิดของตนเองซึ่งเป็นแบบเดิม ๆ มาใช้ ไม่นำมาประยุกต์ให้เข้ากับสมัยใหม่” ผู้เขียนมีความคิดว่า ลักษณะเช่นว่านี้ จะไม่ทำให้เกิดการพัฒนาต่อบ้านเมือง ยิ่งเป็นระบบของการทำงานด้วยแล้วละก็ ต้องคำนึงถึงให้มาก ๆ สำหรับคนที่ทำงานให้กับภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือบุคลากรที่ทำงานให้กับส่วนราชการทุกคน ต้องตระหนักถึงเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทนที่ได้รับจากรัฐ มิใช่ทำงานไปเพียงวัน ๆ เพื่อให้งานเสร็จไปเท่านั้น แต่ควรคำนึงถึงเรื่อง “คุณค่า”+ “การพัฒนา” ควบคู่ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตนเอง การพัฒนาหน่วยงาน การพัฒนาส่วนราชการ หรือการพัฒนาประเทศชาติ การคิดเรื่องการพัฒนาควบคู่ไปนั้นจะทำให้เห็นถึงความเติบโตของตนเอง ของหน่วยงาน ของส่วนราชการและของประเทศชาติเกิดขึ้น โดยมีการเติบโตหรือเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม

ในทางกลับกันถ้าคนรุ่นเก่าสามารถยอมรับและเปิดใจรับการเปลี่ยนแปลงกับโลกใหม่ ๆ แล้ว จะสามารถทำให้มองเห็นว่า ตนเองมีความพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง เรียกว่า “อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด” เพราะบางสิ่งบางอย่างเราไม่สามารถไปห้ามได้ เพียงเท่านี้ ชีวิตก็จะพบแต่ความสุข ซึ่งตรงกันข้ามกับการทำตนเองเป็นผู้ต่อต้าน ไม่เปิดใจ ไม่ยอมรับ ยิ่งจะทำให้ตนเองเกิดความอึดอัด ถ้าทำได้อย่างที่กล่าวข้างต้น ไม่ว่าชีวิตประจำวัน ชีวิตการทำงาน ชีวิตครอบครัวก็จะพบแต่ความสุขเพราะตนเองสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพการณ์ โดยการเปิดใจ การยอมรับ ซึ่งอาจเรียกว่า “การทำใจ” จะเป็นภูมิคุ้มกันตนเองในการพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเอง พัฒนาหน่วยงานและพัฒนาประเทศชาติได้อีกด้วย...

หมายเลขบันทึก: 454174เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2011 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท