หลังสิบแรก ..เริ่มสบาย


เริ่มเดินและมีสมาธิจดจ่อกับการเดินแล้ว ผ่านสิบนาทีแรกไปจะรู้สึกตัวเบา

ตั้งชื่อบันทึกไปตามความรู้สึกของการออกกำลังกายค่ะ

เมื่อก่อนรำมวยจีนมาตลอด แต่ระยะหลังนี้ รู้สึกว่า จะเป็นการออกกำลังที่ไม่พอหรือเปล่า เพราะว่าชีพจรที่เคยเต้นตึกตักตอนเริ่มหัดไม่เพิ่มขึ้นเท่าไหร่ และเหงื่อก็แค่ซึมๆ ไม่ออกมากเหมือนเมื่อเต้นแอโรบิก หรือวิ่ง

แต่จะเต้นแอโรบิกอีก ก็เริ่มไม่มั่นใจว่าอายุเยอะขึ้นสมควรเต้นอยู่ไหม ยิ่งวิ่งนี้เลิกไปเลย เลยลองเปลี่ยนเป็นเดินบนดาดฟ้าทุกเช้า 

ความที่รำมวยจีนจะเคลื่อนไหวช้าและอยู่กับลมหายใจของตัวเอง พอเริ่มเดินเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มีจุดกำหนด ทำให้เหลือบมองนาฬิกาอยู่บ่อยๆ ใหม่ๆ เบื่อ เพราะเหมือนกับเดินๆ ไป นาฬิกาก็หมุนช้าจัง เมื่อย ปวดเท้า...เสวยทุกขเวทนา

ตอนหลังเลยใช้วิธีนับจังหวะก้าวที่เดิน นับไปเรื่อยๆ จนลืมดูนาฬิกา

ก็ค้นพบว่า ถ้าเริ่มเดินและมีสมาธิจดจ่อกับการเดินแล้ว ผ่านสิบนาทีแรกไปจะรู้สึกตัวเบา ให้เดินนานกว่านั้นก็จะเดินได้เรื่อยๆ ความเร็วในการเดินก็จะเพิ่มขึ้นอย่างไม่เหนื่อย เหงื่อจะซึมๆ และไม่เบื่ออีก

คราวนี้พัฒนาขึ้นในขั้นที่ไม่ต้องนับก้าว แต่มองข้ามขอบฟ้า มองผ่านหลังคาชาวบ้าน มองยอดต้นไม้ ...ขอเพียงให้ผ่านสิบนาทีแรกไปก็จะเข้าสู่ความสุขเงียบๆ ในตอนเช้าของทุกวันค่ะ

 

คำสำคัญ (Tags): #physical_health
หมายเลขบันทึก: 46416เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2006 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • อยากทำแบบอาจารย์จันทรรัตน์มาก ๆ เลยครับ
  • แต่ผมเป็นพวกที่มนุษย์ค้างคาวครับ ตาสว่างตอนกลางคืน
  • สติและสมาธิชอบมาตอนกลางคืนครับ บางครั้งทำงานได้จนกระทั่งสว่างครับ ก็เลยไม่ค่อยได้มีโอกาสมาสูดอากาศยามเช้าสักเท่าไหร่ครับ (นานแล้วครับที่ไม่ได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นครับ)

 

อยากตอบอาจารย์ปภังกรทันทีค่ะ เพราะเห็นว่า "ทำงานได้จนสว่าง" อันแรกคือ ..อาจารย์เห็นแสงแรกของวันก่อนใครค่ะ

แต่ว่า อันต่อมาที่สำคัญกว่าคือ ...เมลาโทนินจะหลั่งกลางคืนค่ะ เมลาโทนินเป็นสารที่หลั่งและทำให้ร่างกายได้พักเต็มที่ เช่นถ้าสังเกตจะเห็นว่า ถ้านอนกลางวันกับกลางคืน ความอิ่มจากการนอนมักไม่เท่ากัน

ข้อดีในการเป็นคนคือ สามารถนอนชดเชยได้ค่ะ วันไหนนอนดึกมากเกินไปอีกวันให้รีบเข้านอนแต่หัวค่ำค่ะ เชื่อกันว่าคนที่นอนดึกกว่าตีสอง มักจะเป็นภูมิแพ้ค่ะ..

แต่เชื่อว่าอาจารย์จะแข็งแรง...ตรงที่เคยอ่านพบว่าอาจารย์เดิน 1 กิโลเมตรทุกวัน..

  • ลองเดินจงกลม บ้างไหมครับ เจริญ สติ
  • ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ
  • ปกติผมชอบนั่งสมาธิมากกว่าครับ
  • ขอบคุณครับ

นึกตามอาจารย์จันทรัตน์ แล้วเห็นบรรยากาศการออกกำลังกายและการสร้างสมดุลระหว่างกายกับจิต

อาจารย์ลองปั่นจักรยานดูน่าจะดีมั้ยครับ ...ไม่มีผลเสียต่อข้อเข่า ข้อเท้าเท่าไหร่ แต่ก็มีปัญหาว่า ถนนของเราไม่เอื้อให้ปั่นจักรยานเลยนะครับ

ส่วนการเดินก็เหมาะกับ ผู้ที่สูงอายุ ...แต่คาดเดาจากรูปอาจารย์ อาจารย์ยังเต้นแอโรบิคได้สบายๆนะครับ 

 

สวัสดียามเช้าคะคุณเอก ....กะปุ๋มตามมาคุยด้วยนะคะ...กะปุ๋มว่า อ.จันทรรัตน์ของเราน่าจะต้องการบริหารสองอย่างที่ควบคู่สองอย่างพร้อมกันนะคะ...ทั้งทางกายและทางจิต...เพื่อปรับความสมดุลย์แห่งชีวิตที่ผ่านการลงมือกระทำ ปฏิบัติ และเรียนรู้ด้วยตนเอง...สำหรับกระปุ๋มนั้น...ส่วนตัวชอบเดินและว่ายน้ำ....เพราะตรงกับจริตตนเอง...และที่สำคัญได้ปลดปล่อยแรงขับภายในตามจังหวะของเราได้ด้วย...

 

 

ขอบคุณค่ะอาจารย์ขจิต

จะลองดูค่ะ ...บางคืนนั่งสมาธิไม่ได้เลยค่ะ สวดมนต์เสร็จก็ง่วง...ต้องนอนสมาธิหลับอยู่เรื่อย...นอนดึกค่ะ

 

ขอบคุณค่ะคุณจตุพร

ตอนเริ่มทำงานใหม่ๆ ปั่นจักรยานจากหอพักใน โรงพยาบาลสวนดอกไปว่ายน้ำสระรุจิรวงค์ทุกวัน ไม่ว่าจะขึ้นเวรอะไร แต่พอหมุนตัวเองมาเป็นอาจารย์พยาบาล..กลับกลายเป็นว่าเวลาหายไปๆๆๆ อีกอย่างคือปั่นจักรยานแล้วรู้สึกปลอดภัยน้อยค่ะ รถเยอะ

รูปคงหลอกลวงไปหน่อยค่ะ เป็นรูปเมื่อปี พ.ศ 2547 ขออภัยค่ะ ไม่ค่อยมีรูปเดี่ยวเลยหารูปปัจจุบันมาโพสต์ยังไม่ได้ค่ะ...แต่ก็มักจะมีปัญหาว่าถ่ายรูปแล้วดูอายุน้อยกว่าตัวจริงทุกทีเลยค่ะ...(กล้องยี่ห้อแคนนอนค่ะ...แอบบอก)

สวัสดีค่ะ คุณกะปุ๋ม (ฉวยโอกาสเรียกตามคนอื่นๆ)

ใช่ค่ะ เรื่องปรับสมดุลย์นี่เป็นเรื่อยๆค่ะ ทำอะไรก็จะนึกสนุกว่าลองทำนั่นทำนี่ดู แม้แต่ทำครัวก็ไม่เคยได้รสชาติซ้ำสักที....พูดอย่างนี้จะถูกจัดกลุ่มในเครือข่ายผู้ป่วยจิตเวชโรคไหนหรือเปล่าคะนี่...หวั่นๆ

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท