บันทึกของคุณออตในเล้าข่าวศึกษา กับการเติมแรงใจของคนที่คลุกคลีเรื่องวัฒนธรรมอีสาน


น่าจะทำให้ ผู้ที่ไม่ค่อยชำนาญในการใช้เทคโนโลยี สามารถค้นพบข้อมูลได้ง่ายขึ้น
จากบล็อก เล้าข้าวศึกษา ที่คุณออต บันทึกเรื่อง สิม (ทำไมแม่หญิงอีสาน ไม่เข้าไปในสิม คำตอบอยู่ที่สนาม)
นายบอนมีโอกาสได้พบกับบุคคลที่มีแนวคิดเหมือนคุณออต

เขาคนนี้ กำลังเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ พยายามเล่น Internet สืบค้นข้อมูลเช่นกัน พยายามค้นหาในสิ่งที่เขาสนใจ ตั้งแต่เรื่องศิลปะวัฒนธรรมอีสาน

แต่สิ่งที่ค้นพบ ยังไม่ใช่ข้อมูลที่เขาต้องการ
ในชุมชนปัจจุบัน เรื่องวัฒนธรรมนั้น คนในชุมชนไม่ให้ความสนใจมากนัก ดูเหมือนจะมีแต่เขาคนนี้เท่านั้น ที่กระตือรือร้นขวนขวายอยู่คนเดียว

เขาอาจจะอยู่ผิดที่จริงๆ อยู่ในชุมชนที่ผู้คนสนใจวัฒนธรรมตะวันตกมากกว่า วัฒนธรรมอีสาน   ในขณะที่ตามหมู่บ้านต่างๆ ยังมีคนที่ทำงานด้านศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นอยู่พอสมควร

เมื่อนายบอน print บันทึกของออตที่เขียนเรื่อง ทำไมแม่หญิงอีสาน ไม่เข้าไปในสิม คำตอบอยู่ที่สนาม  ที่เขาสนใจอย่างมาก
บันทึกนี้ เหมือนน้ำทิพย์ชะโลมใจ เหมือนแสงสว่างที่ทำให้เขารู้ว่า อย่างน้อยก็มีหลักฐานว่า มีคนที่สนใจในเรื่องแบบนี้อยู่

อ่านแล้ว ได้ข้อสังเกตหลายอย่างครับ
* เกี่ยวกับเขาคนนี้
- การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ แม้อาจจะดูไกลตัวบ้าง แต่เรียนรู้ไว้ ก็เป็นประโยชน์เช่นกัน
- ทักษะการสืบค้นข้อมูล สำหรับผู้ที่ไม่รู้วิธีการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ควรจะต้องศึกษาไว้บ้าง เพราะมีหลายคนเขียนบล็อก สร้างเวบไซต์เกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรมอีสานไว้หลายที่ การสืบค้นไม่พบสิ่งที่ต้องการ เนื่องจาก การใช้คำสืบค้นไม่เหมาะสมหรือไม่ หรือใช้คำที่กว้างเกินไป ไม่เฉพาะเจาะจง ได้ใช้การค้นหาแบบพิเศษในลักษณะต่างๆหรือยัง

*เกี่ยวกับคุณออต
- การเขียนบันทึกของคุณออต ในหลายบันทึกยังใส่ป้ายที่ไม่เอื้อต่อการค้นพบมากนัก.....................

การก้าวย่างที่ดูน่ากลัวสำหรับสินไซ เมืองขอนแก่น ๒
ป้าย (คำหลัก): ร.4

ทำไมต้องตั่งกี่ทอผ้าไว้ข้างทาง

ซึ่งสามารถระบุคำหลักได้อีก

- คงต้องเรียนรู้การใส่ป้าย เพื่อให้ผู้ที่สนใจในเรื่องวัฒนธรรมอีสาน สามารถค้นพบและแลกเปลี่ยนกับคุณออตได้ในโอกาสต่อไป
- เทคโนโลยีแม้จะดูยุ่งยากต่อการเรียนรู้ แต่นี่อาจเป็นสะพานเชื่อมโยงสู่คนที่สนใจในเรื่องของวัฒนธรรมอีสานเช่นเดียวกัน

.. ซึ่งคนที่สนใจเรื่องราวในแนวทางนี้ ไม่ค่อยจะชำนาญในการใช้เทคโนโลยีมากนัก ทั้งการสืบค้นข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ

...ดังนั้น อีกวิธีหนึ่งในการทำให้ คนที่สนใจเรื่องราวในแนวทางนี้ ได้ค้นพบข้อมูล คือ ฝ่ายผู้ที่สร้างสรรค์ข้อมูล (เขียนบันทึก) คือ คุณออต น่าจะทำให้ ผู้ที่ไม่ค่อยชำนาญในการใช้เทคโนโลยี สามารถค้นพบข้อมูลของคุณออต ได้ง่ายขึ้น จะด้วยการใส่คำหลัก ป้ายให้ค้นพบได้สะดวกขึ้น


อย่างน้อยบันทึกของคุณออต ที่นายบอนแนะนำให้เพื่อนที่กล่าวถึงในบันทึกเรื่องนี้ ได้ช่วยเติมแรงใจให้ของคนที่คลุกคลีเรื่องวัฒนธรรมอีสานได้อย่างมากมายทีเดียว

แล้วถ้าอีกหลายคนที่คลุกคลีเรื่องวัฒนธรรมอีสานค้นพบข้อมูลเหล่านี้มากขึ้น จะช่วยขับเคลื่อนการอนุรักษ์วัฒนธรรมอีสานได้มากมายขนาดไหน



หมายเลขบันทึก: 58423เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2006 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากครับ นายบอน นับป็นพี่เลี้ยงที่ดีสำหรับออตนะครับคงต้องพึ่งพาความสามารถด้านสารสนเทศอยู่เรื่อย ๆ จริง ๆ แล้วแนวคิดเรื่องพี่เลี้ยง BLOGER ของอาจารย์ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ ก็น่าสนใจมาก อาจจะเป็นพี่เลี้ยงแบบไม่เป็นทางการแบบที่ นายบอน ทำนี้ก็ได้นะครับ

 http://gotoknow.org/blog/papangkorn/58302

ขอบใจหลาย

แบบไม่เป็นทางการนี่แหละครับ มีอะไรให้เก็บตกมาบันทึกได้เรื่อยๆ พี่เลี้ยงแบบเป็นทางการสำหรับนายบอนแล้ว ดูกดดันมากเกินไปครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท