Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

การสรุปองค์ความรู้เพื่อสอบในวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล


                 ในประการแรก เราต้องรวบรวมองค์ความรู้ด้านญานวิทยา (Epistemological) ที่จะวิเคราะห์ปัญหาหรือโอกาส โดยการกำหนดประเด็นที่จะคิด ซึ่งเป็นการกำหนดทิศทางของความคิด ในวิชากฎหมาย เป็นเรื่องของมนุษย์และมนุษย์ด้วยกันเอง (แปลว่า มันเป็นเรื่องของนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชน ซึ่งมีได้แค่ ๕ เรื่อง กล่าวคือ 1-บุคคล 2-หนี้ 3-ทรัพย์สิน 5-ครอบครัว และ 6-มรดก) หรือเป็นเรื่องของมนุษย์กับรัฐ (แปลว่า   มันเป็นเรื่องตามกฎหมายมหาชน ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๑๓ เรื่อง กล่าวคือ 1-รับรองความเป็นบุคคลตามกฎหมาย 2-การศึกษา 3-การสาธารณสุข   4-ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 5-การมีสัญชาติของรัฐ (การทะเบียนคนต่างด้าว)  6-การเข้าเมือง (การทะเบียนคนต่างด้าว)  7-การอาศัยอยู่ 8-การเข้าร่วมทางการเมือง 9-การทำงาน 10-การลงทุนหรือการประกอบธุรกิจ 11-การถือครองทรัพย์สิทธิ 12-การก่อตั้งครอบครัวตามกฎหมาย 13-การเข้าสู่กระบวนกการยุติธรรมแพ่ง/อาญา/ปกครอง)  และในวิชากฎหมายระหว่างประเทศ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรัฐตั้งแต่ ๒ รัฐขึ้นไป

                    ในประการที่สอง เราต้องใช้หลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยอำนาจอธิปไตยในการพิจารณาและกำหนดจุดเกาะเกี่ยวกับบุคคลหรือหนี้ (นิติสัมพันธ์หรือทรัพย์สิน) ทั้งนี้ เพราะว่า การทราบว่า รัฐใดมีอำนาจอธิปไตยเหนือกรณี ย่อมจะทราบว่า กฎหมายของรัฐใดมีผลบังคับกรณี

                       ในประการที่สาม เราจะทราบว่า จะต้องใช้หลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการเลือกกฎหมายหรือไม่ ? หากกรณีเกาะเกี่ยวกับรัฐเดียว เราก็จะใช้กฎหมายของรัฐนั้นกำหนดกรณีที่พิจารณา แต่ถ้ากรณีเกะเกี่ยวกับหลายรัฐ เราก็จะต้องพิจารณากรณีภายใต้กลไกการเลือกกฎหมาย

หมายเลขบันทึก: 164600เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2008 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนถามอ แหววที่เคารพคะ

อยากทราบจริงๆคะว่าSovereignty of State กับ Sovereign Rights เช่นต่างกันแค่ไหนหรือไม่ อย่างไร เพราะหาอ่านหนังสือก็มักเขียนรวมๆไม่อธิบายให้ชัดเจนแบบกระจ่างชัด และที่สำคัญบางคนเขียนแล้วไม่เหมือนกัน อ่านแล้วเลยมึน.. เพราะต้องการนำมาวิเคราะห์ให้ละเอียด ลึกซึ้ง..ไปเลยคะ เดี๋ยวผิดพลาด..ขอบพระคุณมากคะอาจารย์แหวว อาจารย์แหววจะช่วยแนะนำหนังสือหรือweb site ก็ได้นะคะ ขอบพระคุณล่วงหน้าคะ

หนูไม่ได้เป็นลูกศิษย์อาจารย์คะ ถ้าเป็นคงสนุกดีนะคะ แต่ทราบว่าอาจารย์สอนให้ที่คณะนิติ มน ด้วย

 ขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าคะสำหรับคำอธิบาย กรณีข้างต้น กับขอบพระคุณที่อาจารย์กรุณามาช่วยสอนหนังสือให้นิสิต มน นะคะ

ด้วยความเคารพคะ

จิรประภา มากลิ่น "หมูอ้วน"

 

สองคำนี้ เป็นคำที่เคยเรียนในกฎหมายทะเลล่ะค่ะ

ก็เคยสงสัยนะคะ แต่ไม่เคยไปหาคำตอบสักทีค่ะ

ทราบแต่ว่า อำนาจอธิปไตย (Sovereignty of State) นั้นเป็นสิ่งที่รัฐมีอยู่เอง ไม่ต้องมีใครมาให้ แต่สิทธิอธิปไตย (Sovereign Rights) นั้นเป็น "สิทธิ" ประเภทหนึ่งที่มาจากกฎหมายระหว่างประเทศ ตัวอย่างที่อ่านพบที่ชัดเจน ก็คือ โดยกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยทะเล รัฐจึงมีสิทธิอธิปไตยเหนือเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ไหล่ทวีป หรือเขตต่อเนื่อง

เล่าเท่าที่เข้าใจนะคะ อาจผิด หรือคลาดเคลื่อน ก็ขออภัยค่ะ ท่านอื่นที่ทราบช่วยมาอธิบายให้เราทราบด้วยนะคะ 

แหล่งค้นคว้าหรือคะ

พวกงานเกี่ยวกับกฎหมายทะเลจะมีคำแบบนี้มาก

หรือเขียนจดหมายถาม ดร.อรุณ ภาณุพงษ์ ซิคะ จำได้ว่า ท่านเป็นคนแรกๆ ที่เอามาเล่าในประเทศไทยค่ะ

สวัสดีคะอาจารย์แหวว

ขอบพระคุณมากค่ะ อาจารย์ ที่ช่วยให้คำอธิบายเพิ่มเติมและคำแนะนำคะ

ขอบพระคุณค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท