ดร. ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร


นักวิจัยอาวุโส
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
Username
sarunphotonics
สมาชิกเลขที่
56629
เป็นสมาชิกเมื่อ
เข้าระบบเมื่อ
-
(ไม่มีตั้งแต่ พ.ศ. 2564)
ประวัติย่อ

ดร. ศรัณย์  สัมฤทธิ์เดชขจร จบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี พ.. 2537 ปริญญาโท และ เอก สาขา Optical Science and Engineering ด้วยเกรดเฉลี่ย 4.00 จาก University of Central Florida ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.. 2541 และ 2543 ตามลำดับ

 

เริ่มต้นทำงานในปี พ.. 2537 ในตำแหน่งผู้ช่วยนักวิจัย ณ ห้องปฏิบัติการอิเล็กโตรออปติกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โดยร่วมวิจัยทางด้านการผลิตฮอโลแกรมสลัก หลังจากนั้นได้สอบชิงทุนไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และ เอก  ในปี พ.. 2544 ได้เข้าทำงานที่บริษัท Nuonics จำกัด ณ เมือง Orlando มลรัฐ Florida ประเทศสหรัฐอเมริกา ในตำแหน่งวิศวกรโฟโทนิกส์ โดยรับผิดชอบการออกแบบ ทดสอบ และ วิเคราะห์ ระบบควบคุมลำแสงจากเส้นใยแก้วนำแสง ที่ใช้เทคโนโลยีผลึกเหลว (Liquid Crystal Technology) เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาค (Microelectromechanical Systems Technology) และ เทคโนโลยีการควบคุมแสงด้วยเสียง (Acousto-Optic Technology) ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม พ.. 2544-ปัจจุบัน เป็นนักวิจัยสังกัดหน่วยวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ โดยรับผิดชอบงานวิจัยที่ใช้การผสมผสานระหว่างความรู้ทางแสง และ ความรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำมาช่วยแก้ปัญหาทางด้านอุตสาหกรรม การแพทย์ เกษตร สิ่งแวดล้อม และ การสื่อสาร ผลงานวิจัยที่ผ่านมาได้แก่ เครื่องบันทึกลายพิมพ์นิ้วมือด้วยแสง ระบบตรวจตราการเข้าออกราคาประหยัด สวิทช์สัมผัสด้วยแสง แป้นคีย์สัมผัสด้วยแสง ระบบตรวจสอบคุณภาพของหัวอ่านฮาร์ดดิสค์ไดร์ฟ ระบบตรวจจับเท็จแบบไม่สัมผัส และ ระบบตรวจสอบบัตรเครดิตปลอม

 

นอกจากผลงานวิจัย ในปี พ.. 2545 ดร. ศรัณย์ ยังได้ริเริ่ม และ ชักชวนนักวิจัยในประเทศจัดตั้งสาขาของ Optical Society of America (OSA) IEEE-Lasers and Electro-Optics Society (LEOS) และ Society for Photo-Optical Instrumentation Engineers (SPIE) ขึ้น และ ทำเป็นเครือข่าย (ชมรม) โฟโทนิกส์ของประเทศเพื่อกระจายความรู้สู่สังคม รวมไปถึงการทำโครงการ สสส: ส่องแสงสู่สังคม เพื่อกระตุ้นให้เด็กรุ่นใหม่ และ สังคมไทยเล็งเห็นความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแสงในชีวิตประจำวัน

 

ดร. ศรัณย์ ได้รับรางวัลหลายรายการ อาทิ รางวัล New Focus Student Award จาก OSA รางวัล D. J. Lovell Award จาก SPIE รางวัล Graduate Fellowship Award จาก IEEE-LEOS รางวัล Virtual Display Outstanding Proposal Award จาก Motorola รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเยี่ยม สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และ อุตสาหกรรมวิจัย จากสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ และ นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ (สาขาโฟโทนิกส์) จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ รวมไปถึงรางวัล ICO-ICTP Galieno Denardo จาก International Commission for Optics (ICO) และ The Abdus Salam International Centre for Theoretical Physics (ICTP) ปัจจุบันมีผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ 58 เรื่อง ได้รับสิทธิบัตรจากสหรัฐฯ 1 เรื่อง ในประเทศ 4 เรื่อง และ ได้ยื่นขอสิทธิบัตรในประเทศอีก 20 เรื่อง รวมทั้งเป็น Members ของ OSA, SPIE และ Senior Member ของ IEEE-LEOS

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท